PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
  • วิวัฒน์พัฒนาสู่เมตตากรุณา
วิวัฒน์พัฒนาสู่เมตตากรุณา รูปภาพ 1
  • Title
    วิวัฒน์พัฒนาสู่เมตตากรุณา
  • เสียง
  • 9637 วิวัฒน์พัฒนาสู่เมตตากรุณา /aj-visalo/2021-08-04-06-10-52.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันศุกร์, 30 กรกฎาคม 2564
ชุด
ธรรมะสั้นๆ ก่อนอาหารเช้า 2564
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • หลายวันก่อนได้ดูการสนทนา ระหว่างทะไลลามะกับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งเป็นชาวอเมริกัน นักวิทยาศาสตร์คนนี้เป็นคนที่สนใจเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต 

    แล้วแกยกตัวอย่าง การทดลองอันหนึ่งที่น่าสนใจคือ เขาทดลองกับไก่ แม่ไก่ที่มันออกไข่ ในฟาร์มแห่งหนึ่งก็มีหลายเล้า เขาก็เลือกแม่ไก่ที่ออกไข่ได้เย่อะที่สุด อย่างเช่น อาทิตย์หนึ่งออกไข่สัก 10 ฟองมากกว่าตัวอื่น แล้วเขาก็แยกออกมา แล้วก็มาดูว่าลูก หลาน เหลน โหลน ของไก่ตัวนี้เป็นยังไง ก็ติดตาม มา 5 รุ่น 

    พอมาถึงรุ่นที่ 5  เขาก็พบว่า ไก่ซึ่งเป็นทายาทของตัวที่ว่า มันมีนิสัยที่ดุร้ายดุดัน ก้าวร้าว เวลาหากิน มันจะคอยจิกไก่ตัวอื่นที่เข้ามาหากิน ก็จะไม่ให้เข้ามาใกล้เลย โดยเฉพาะเวลาที่มันเจอเหยื่อหรือเจอหนอน หรือไส้เดือน และมิหนำซ้ำไก่ตัวไหนวางไข่อยู่ มันก็ไปแกล้ง ไปจิกไล่ เหมือนกับว่าจะไม่ให้ไก่ตัวอื่นออกไข่หรือฟักไข่เลย มันกลายเป็นอันธพาลเลย 

    แต่ว่าเขาก็ไม่ได้ทำแค่นั้น เขาทำการทดลองหรือศึกษาอีกอันหนึ่งตามมาด้วยควบคู่กันก็คือ เลือกไก่ในเล้าที่ออกไข่มากที่สุด คือ ในเล้าหนึ่งจะมีไก่สัก 3 ตัว ก็ดูว่ากลุ่มไหนออกไข่ได้มากที่สุด 

    เช่น กลุ่มหนึ่งมีไก่ 3 ตัว ออกไข่ได้ 25 ฟองใน 1 อาทิตย์ มากที่สุด เขาก็แยกออกมาแล้วก็ดูว่า ลูกหลานเหลนโหลนของไก่กลุ่มนี้เป็นอย่างไร ผ่านไป 5 รุ่นปรากฏว่า ไก่ไม่มีนิสัยก้าวร้าวเลย เป็นไก่ที่รักสงบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกับไก่ตัวอื่นเลย แถมยังช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกันด้วย ไก่ตัวอื่นเจอเหยื่อ ก็ไม่ไปจิก ไม่ไปแย่ง ไก่ตัวอื่นกำลังฟักไข่อยู่ก็ไม่ได้ไปยุ่ง กลายเป็นไก่นิสัยดี โอบอ้อมอารีย์

    มันแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างไก่ 2 กลุ่ม และนักวิทยาศาสตร์คนนี้ได้ตั้งข้อสังเกตว่า นิสัยของไก่ก็สามารถที่จะส่งผ่าน ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก จากลูกสู่หลานได้ และนิสัยก็ไม่ใช่แค่เห็นแก่ตัว เอาตัวรอดอย่างเดียว นิสัยที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ก็ถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้เหมือนกัน อันนี้เขาว่าน่าสนใจเพราะว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการที่สอนกันหรือเข้าใจกัน มักจะจำกัดอยู่แต่ว่า ถ้าเห็นแก่ตัวก็จะอยู่รอด 

    เพราะฉะนั้น สัตว์ที่จะอยู่รอดได้ต้องมีความเห็นแก่ตัวมากๆ และความเห็นแก่ตัวก็จะถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ แต่นักวิทยาศาสตร์คนนี้เชื่อว่าการทดลองนี้ชี้ให้เห็นเลยว่า ไม่ใช่ความเห็นแก่ตัวอย่างเดียว ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ก็ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ ก็แปลว่าวิวัฒนาการไม่ใช่เป็นเรื่องที่สนับสนุนความเห็นแก่ตัวอย่างเดียว มันก็ส่งเสริมความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีน้ำใจ ความรักสงบได้เหมือนกัน 

    อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจได้เหมือนกัน ที่นักวิทยาศาสตร์คนนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า ความเมตตากรุณาของคนเราก็เหมือนกัน มันก็สามารถที่จะส่งเสริมจากรุ่นสู่รุ่น และการส่งเสริมนี้ก็จะทำให้รุ่นต่อๆไปมีความเมตตากรุณามากขึ้น 

    การทดลองของนักวิทยาศาสตร์คนนี้ยังมีความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า นิสัยใจคอของไก่ ถ้าหากว่าผ่านจากรุ่นสู่รุ่น มันจะมีความเข้มข้นมากขึ้น ไก่ตัวแรกอาจจะไม่ก้าวร้าวเท่าไร แต่พอผ่านไปผ่านไปสู่รุ่นที่ 5 ที่ 6 ความเห็นแก่ตัวมันจะรุนแรงมากขึ้นยิ่งกว่าบรรพบุรุษ 

    ในทำนองเดียวกัน การทดลองอีกฝั่งหนึ่งที่เขาศึกษาทดลองจากไก่ในเล้าทั้งกลุ่มที่มีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พอผ่านไป 5 รุ่น 6 รุ่น  ความเอื้อเฟื้อก็เพิ่มขึ้นๆ จากรุ่นสู่รุ่น จนไปถึงรุ่นที่ 5 รุ่นที่ 6 มันใจดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ยิ่งกว่าบรรพบุรุษอีก 

    และที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า จำนวนไข่ของไก่กลุ่มหลังมันมากขึ้น ไม่ได้ลดลงเลย รุ่นบรรพบุรุษ 1 อาทิตย์ออกไข่มา 25 ฟอง พอถึงรุ่นหลาน ไม่ได้น้อยไปกว่ากัน  อาจจะมากขึ้น ในขณะที่ไก่ที่ฟักไข่ได้มาก รุ่นแรกก็ 10 ฟอง พอไปถึงรุ่นหลาน มันจะลดลงแล้วเพราะว่าอะไร เพราะเห็นแก่ตัว มันชอบไปแย่งไปจิกตัวนั้นตัวนี้ ในขณะที่ไก่ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กลับออกไข่ได้มากขึ้น

    อันนี้เขาก็มาเล่าให้ท่านทะไลลามะฟัง เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่าความเมตตากรุณาของคนเราก็สามารถจะถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ หรือจะพูดอีกอย่างหนึ่งว่าวิวัฒนาการของคนเรานี้ มันสามารถที่จะวิวัฒนาการไปสู่ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันได้ ไม่ใช่วิวัฒนาการไปสู่ความเห็นแก่ตัวอย่างเข้มข้นอย่างที่เข้าใจกัน 

    ที่จริงการที่ไก่ กลุ่มที่ 2 เขามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของธรรมชาติที่มันส่งทอดนิสัยจากบรรพบุรุษโสดรุ่นหลาน รุ่นเหลน รุ่นโหลน แต่อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะเกิดจากการเรียนรู้ก็ได้เพราะว่า ลูกเห็นแม่เพื่อเผื่อแผ่กัน ไม่ไล่จิกตีไก่ตัวอื่น มันก็เรียนรู้พฤติกรรมนี้จากแม่ ถึงเวลามันออกลูก ลูกมันก็เรียนรู้พฤติกรรมนี้ ถ่ายทอดกันเป็นรุ่นๆ 

    เพราะฉะนั้น มันก็ไม่ใช่เป็นเรื่องของธรรมชาติล้วนๆ ตามทฤษฎีวิวัฒนาการอย่างเดียว มันเป็นเรื่องของการเลี้ยงดูและการหล่อหลอมด้วย ซึ่งอันนี้มันก็หมายความว่า มนุษย์เราในด้านหนึ่งเราก็สามารถที่จะถ่ายทอดความเมตตากรุณาจากรุ่นสู่รุ่นได้ จากพ่อจากแม่สู่ลูก จากลูกสู่หลาน จากหลานสู่เหลน จากเหลนสู่โหลนทำได้ และยิ่งนานวันความเมตตากรุณาก็จะเพิ่มพูนมากขึ้น

    แต่ว่ามันไม่ใช่การถ่ายทอดตามธรรมชาติอย่างเดียว มันเกิดจากการเลี้ยงดูเกิดจากการหล่อหลอมด้วย ลูกเห็นพ่อเห็นแม่มีความเอื้อเฟื้อก็ซึมซับรับเอานิสัยนี้ แล้วพอมีลูกก็ถ่ายทอดนิสัยนี้ผ่านพฤติกรรมผ่านการปฏิบัติให้เขาได้เรียนรู้

    ที่พูดมาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการถ่ายทอดตามทฤษฎีวิวัฒนาการ วิวัฒนาการเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงที่กินช่วงเวลายาวนานอย่างเช่น กรณีไก่ 5 รุ่นถึงจะมีความเมตตากรุณามากขึ้น หรือมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น แต่ว่าเราไม่ต้องรอวิวัฒนาการ ในชั่วอายุคนๆหนึ่งก็สามารถจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านนิสัยใจคอได้ อันนี้เขาเรียกว่าพัฒนาการไม่ใช่วิวัฒนาการ

    คนเราก็สามารถที่จะเปลี่ยนตัวเองได้เหมือนกัน จากคนที่เห็นแก่ตัวกลายเป็นคนที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จากคนก้าวร้าวกลายเป็นคนที่มีเมตตา อันนี้เราฝึกตัวเองได้ ฝึกตัวเองได้จากการปฏิบัติเช่น การให้ทาน ไม่ได้ให้ทานเพื่อตัวเองแต่ให้ทานเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ได้ให้ทานเฉพาะกับพระ แต่ว่ากับคนที่เดือดร้อนยากไร้ หรือว่าช่วยเหลือส่วนรวม 

    รวมทั้งการที่เราแผ่เมตตา เจริญเมตตาจิตอยู่เนืองๆ พวกนี้มันก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้ เรียกว่าเกิดพัฒนาการ จากคนที่เห็นแก่ตัวกลายเป็นคนที่เสียสละเอื้อเฟื้อ จากคนที่ก้าวร้าวกลายเป็นคนที่อารมณ์ดี รักสงบ เผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ต้องรอธรรมชาติให้เปลี่ยนแปลงคนเราจากรุ่นสู่รุ่น แต่อาศัยพัฒนาการจากวันนี้เปลี่ยนแปลงไปสู่ความใฝ่ธรรม มีคุณธรรมในวันหน้าได้

    ทั้งหมดนี้ ชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นความเห็นแก่ตัวก็ดี ความเอื้อเฟื้อก็ดี มันเปลี่ยนแปลงกันได้ จะขยายให้มากขึ้น หรือจะลดลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การเลี้ยงดู การหล่อหลอมด้วยเหมือนกัน

    - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล แสดงธรรมก่อนฉันเช้า วัดป่าสุคะโต วันที่ 30 กรกฎาคม 2564

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service