PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
  • งานเก่าแต่ใจใหม่
งานเก่าแต่ใจใหม่ รูปภาพ 1
  • Title
    งานเก่าแต่ใจใหม่
  • เสียง
  • 9440 งานเก่าแต่ใจใหม่ /aj-visalo/2021-06-19-03-02-07.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพฤหัสบดี, 10 มิถุนายน 2564
ชุด
ธรรมะสั้นๆ ก่อนอาหารเช้า 2564
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • มีหลายคนที่ตอนนี้อยู่บ้านทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลานาน ๆ เพราะว่าต้องกักตัวเป็นเวลานาน เนื่องจากติดเชื้อโควิค หรือแม้จะไม่ได้ติดเชื้อ แต่ก็มีเหตุให้ต้องทำงานที่บ้าน ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปไหนมาไหนหรือ ไปทำงานอย่างที่เคยได้บ้างบางคนก็บอกว่าช่วงนี้ทำอะไรก็ไม่ค่อยมีสมาธิ อ่านหนังสือก็อ่านได้แป๊บเดียว ทำงานก็ทำได้ไม่นาน ช่วงนี้แม้จะมีเวลาว่างเยอะ มีเวลาอยู่กับบ้านมาแต่ว่าก็ไม่สามารถทำงานเป็นชิ้นเป็นอันได้ ไม่รู้จะทำอย่างไรดี

    ทั้งนี้เป็นเพราะว่าจิตใจมีความกังวลก็ได้ กังวลเรื่องนั้นเรื่องนี้ กังวลเรื่องโรค covid บ้าง กังวลเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจ เกี่ยวกับเรื่องรายได้ หรือกังวลเกี่ยวกับลูกหลาน พ่อแม่ว่าจะติดเชื้อโควิด ป่วยด้วยโรคนี้หรือเปล่าใจ พอใจกังวลด้วยเรื่องนั้นเรื่องนี้ ก็เลยทำอะไรก็ไม่มีสมาธิ อย่าว่าแต่ทำงานเลย แม้กระทั่งดูหนังดูละคร ก็ไม่ค่อยมีสมาธิกับการดู ทำอะไรก็เลยจับจด ถ้าสังเกตดูเรื่องที่กังวลที่ทำให้ไม่มีสมาธิกับการทำอะไรเลย ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับอนาคตที่มันยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ว่าที่คิดไปไกลแล้วว่า ถ้าโควิดระบาดนานมากกว่านี้ตัวเองอาจจะมีอันเป็นไปขึ้นมา หรือว่าอาจจะตกงาน มีรายได้น้อยลงชักหน้าไม่ถึงหลัง อาจจะต้องปิดกิจการ

    อันนี้มันเป็นอนาคตทั้งนั้นเลย มันจะเกิดขึ้นจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ อาจจะไม่เกิดก็ได้ หรือว่าถึงเกิดก็ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ว่าวาดภาพเอาไว้ เพราะฉะนั้นต้องเตือนตนเองอย่างนี้บ้าง ไม่เช่นนั้นใจก็จะถูกฉุดกระชากจมลงไปอยู่กับความทุกข์ความกลุ้มอกกลุ้มใจ กับเรื่องราวที่มันเกิดจากการปรุงแต่งของใจ พอกังวลอย่างนี้แล้ว ทำอะไรก็ไม่ค่อยได้ ไม่มีสมาธิ ต้องรู้ทันความกังวลเหล่านี้ว่ามันเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมา มันยังไม่ได้เกิดขึ้นจริงเลย แต่ก็ไปคิดเอาเป็นตุเป็นตะว่ามันกำลังเกิดขึ้นแล้ว ก็เลยใจเสีย และถึงแม้มันจะเกิดขึ้น มันก็อย่างที่ว่า มันยังไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิดก็ได้ เอาประสบการณ์ในอดีตของเรามาย้ำเตือนจิตใจของเราว่า หลายครั้งที่เรากังวลเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่เอาเข้าจริง ก็ไม่ได้เป็นอย่างที่นึกเลย

    ลูกหรือคนรักยังไม่กลับบ้านสักที ผิดเวลา ดึกแล้วก็ยังไม่กลับ คิดไปแล้วว่าเขาจะเกิดอุบัติเหตุหรือเปล่า ตอนนี้เขาอยู่โรงพยาบาลหรือเปล่า ถูกใครทำร้ายหรือว่าเจอเหตุการณ์ร้าย ๆ หรือเปล่า คิดว่าอย่างนี้ใจเสียเลย ไม่เป็นอันทำอะไร แต่ปรากฏว่าพอลูกคนรักกลับมาถึงบ้าน แล้วเขาก็อธิบายว่าที่เขามาสายมาดึกเพราะมีเหตุจำเป็น เพื่อนมีความทุกข์ใจจึงต้องอยู่ปลอบใจให้กำลังใจใช้เวลาหลายชั่วโมง ก็เลยกลับบ้านดึก มันไม่ใช่เป็นเหตุร้ายอะไรที่พ่อแม่วาดภาพปรุงแต่ง จนเกิดความกังวลขึ้นมา ประสบการณ์ของเราน่าจะสอนเราว่าบ่อยครั้งว่า เราตีตนไปก่อนไข้ ปรุงแต่งไปเกินเหตุ ถ้าเราเตือนแบบนี้ จะทำให้เราไม่ไปเชื่อสิ่งที่เราปรุงแต่งมาก เพราะรู้ว่ามันอาจจะเป็นการมองลบมองร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่าไปเชื่อมันมากเกินต้นแบบนี้จะทำให้เรารู้จักคลายกังวลได้ แล้วก็ทำให้กลับมามีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ ไม่ถูกความกังวลมาเล่นงานจนกระทั่งทำให้อยู่ไม่ติด ทำอะไรไม่เป็นสุข หรือว่าทำอะไรไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ต้องเรียนรู้ที่จะกลับมาอยู่กับปัจจุบัน อย่าไปปล่อยใจให้ไหลไปกับเรื่องราวปรุงแต่งเกี่ยวกับอนาคตมาก อันนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่ง

    อีกสาเหตุหนึ่ง อาจจะเป็นเพราะว่า ที่ทำมันทำแล้วทำอีก มันซ้ำซากจำเจในความรู้สึกของเรา เพราะว่าอยู่ที่บ้านเป็นเวลานาน ๆ หลายอย่างที่เราทำแม้กระทั่งดูหนัง ดูไปนาน ๆ ดูบ่อย ๆ ก็เกิดความรู้สึกจำเจขึ้นมา มันก็เลยไม่มีสมาธิ มันก็เลยเกิดความเบื่อ จะทำอย่างไร ก็ลองหาอะไรใหม่ ๆ ทำดูบ้าง คิดค้นงานการที่ใหม่ ๆ อาจจะเป็นงานที่เราทำคนเดียวหรือทำกับคนในบ้าน เช่น จัดบ้านใหม่หรือว่าจัดห้อง หาอะไรใหม่ ๆ มาทำดูบ้าง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนบรรยากาศ หรือว่าเปลี่ยนความรู้สึกด้วย พอได้ทำอะไรใหม่ ๆ ใจเรา หรือธรรมชาติก็จะจดจ่อ เพราะใจชอบของใหม่อยู่แล้ว ได้ทำสิ่งใหม่ ๆ โดยเฉพาะที่ใช้มือใช้ไม้ จัดบ้านจัดสวน จัดห้องใหม่หรือซ่อมแซมหลังคา พอมีอะไรใหม่ ๆ ทำ มันก็จะรู้สึกว่ามีชีวิตชีวาขึ้นมา เกิดความตื่นตัวขึ้นมา โดยเฉพาะถ้าทำกับหลาย ๆ คน ชวนคนในบ้านมาช่วยกันทำ หรือแม้กระทั่งทำอาหาร กินอาหารที่สั่งมาเช้า เย็น ๆ  เบื่อแล้ว ลองทำอาหารเองบ้าง ดูคิดค้นใหม่ ๆ ดูบ้าง กินอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ บ้าง มันก็ทำให้เกิดมีชีวิตชีวาขึ้นมา

    หรือแม้จะไม่ได้ทำอะไรใหม่ ๆ เราสามารถที่จะทำด้วยความรู้สึกที่ใหม่ได้ งานที่ทำเป็นงานเดิมอาจจะดูซ้ำ ๆ แต่ใจที่ใส่ลงไปในงาน หรือความรู้สึกในการทำงาน ลองทำความรู้สึกให้มันใหม่กว่าเดิม เช่น ให้รู้สึกว่าเราโชคดีที่เรายังได้มีโอกาสทำสิ่งเหล่านี้ การที่เรายังทำสิ่งเหล่านี้ได้ มันแปลว่าเราไม่เจ็บไม่ป่วย แสดงว่าเรายังมีสุขภาพดี แสดงว่าเรายังมีมือไม้เป็นปกติ ทำอะไรได้ ถ้าเราเจ็บป่วย มือไม้เราเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตขึ้นมา ก็คงไม่มีโอกาสได้ทำสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้แม้จะซ้ำซากจำเจ แต่ดีน่ะที่เราได้ทำกับคนรัก หรือคนรักอยู่ใกล้ ๆ ให้มองแบบนี้บ้าง มองด้วยความรู้สึกที่ใหม่ สายตาใหม่ แทนที่จะบ่นโวยวายตีโพยตีพายว่าไม่มีอะไรทำ เมื่อไหร่โควิดจะยุติสักที เมื่อไหร่จะได้ออกจากบ้าน เมื่อไหร่จะได้ไปทำงานอย่างที่เคยทำสักที คิดแบบนี้ก็กลายเป็นลงโทษตัวเอง ซ้ำเติมตัวเอง

    แต่ถ้าเราคิดว่า เราโชคดีที่ได้มีโอกาสทำสิ่งเหล่านี้ รู้สึกขอบคุณที่ยังมีสุขภาพดี มีโอกาสที่ได้ทำเหล่านี้ ขอบคุณที่ลูกหลานยังอยู่กับเรา ขอบคุณที่ยังกินอิ่มนอนอุ่น ทำให้ยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ ลองเปลี่ยนมุมมองบ้าง มันก็จะทำให้ความรู้สึกเปลี่ยนไป จะไม่รู้สึกน่าเบื่อ ซ้ำซากจำเจ งานเก่าแต่ใจใหม่ มันก็จะทำให้เรามีชีวิตชีวาขึ้นมา และมีสมาธิกับสิ่งที่เราทำ อันนี้เป็นโอกาสในการที่เราจะมาดูแลจิตใจของตัว แล้วก็ปรับเปลี่ยนจิตใจ ปรับเปลี่ยนความคิด ซึ่งมันจะเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามากสำหรับชีวิตของเราในวันข้างหน้าในยามที่เราจะต้องเจออะไรต่ออะไรอีกมากมาย ซึ่งอาจจะร้ายแรงหรือยังยากกว่าอีกก็ได้

    - พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล แสดงธรรมก่อนฉันเช้าวัดป่าสุคะโตวันที่ 10 มิถุนายน 2564

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service