แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เมื่อถึงวันพระ เราก็มารักษาศีลกัน ไม่ใช่แค่ศีล 5 ศีล 8 อุโบสถศีล แต่ถ้ารักษาศีล 5 ให้มั่นคง อย่างน้อยในวันพระก็ยังดี ถ้ารักษาศีล 5 แล้วก็มาถือศีล 8 ศีล 5 กับศีล 8 มันแตกต่างกันอย่างไร
ศีล 5 เป็นเครื่องควบคุมกายวาจาของเรา ไม่ให้ไปเบียดเบียนคนอื่น การเบียดเบียนคนอื่น ชีวิตอื่น ก็มีตั้งแต่หนักสุดก็คือฆ่า ฆ่าก็คือ การเอาชีวิตเขา ทุกชีวิตก็ต้องถือว่า ชีวิตนี้มันมีค่ามากที่สุด ไม่มีชีวิตมันก็ไม่เหลืออะไรแล้ว การไม่เบียดเบียน อย่างน้อยๆ ก็ไม่เอาชีวิต แล้วก็ทำได้มากกว่านั้น คือ ไม่เอาทรัพย์สินของเขา ไม่แย่งชิงคนรักของเขา ไม่หลอกลวงเขา หรือว่าด่าเขาด้วยคำรุนแรง อันนี้มันก็เป็นการกระแทกใจ สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ฟัง สุดท้ายก็ปิดโอกาสที่จะไปเบียดเบียนผู้อื่น ด้วยการไม่เสพสุรายาเมา เพราะถ้าเสพแล้ว แม้แต่คนดี มันก็เผลอไปฆ่าคนอื่นได้ ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ตั้งใจคือว่า ไปทุบตีเขาด้วยความโกรธความแค้น คนเวลาเมา มันไม่มีสติยับยั้ง เวลาโกรธ ก็โกรธง่าย โกรธแล้วก็ทำชั่วได้ง่าย เพราะว่าห้ามใจได้ยาก บางอย่างก็เป็นการฆ่าเขาโดยความไม่ตั้งใจ เช่น ขับรถชนเขาตาย
คราวนี้ ศีล 5 จริงๆ แล้ว ถ้าจะรักษาให้ครบถ้วน มันก็ไปรวมถึง ทำสิ่งตรงข้ามด้วย ทำสิ่งตรงข้าม ก็คือว่า นอกจากไม่เบียดเบียนเอาชีวิตเขาแล้ว ก็ยังมีเมตตากรุณา ศีลข้อที่ 1 เมื่อรวมถึงความเมตตากรุณา ช่วยสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก กำลังจะตายก็ช่วยชีวิตเขา มดเอย แมลงเอย แม้จะเป็นสัตว์เล็กสัตว์น้อย มันกำลังตกน้ำ ก็ช่วยเขาขึ้นมา ไม่ใช่แค่ไม่เหยียบ แต่ว่าช่วยชีวิตด้วย
ส่วนศีลข้อที่ 2 ก็เหมือนกัน นอกจากไม่ลักขโมยแล้ว ก็ต้องรู้จักแบ่งปัน รวมทั้งการมีสัมมาอาชีวะด้วย มีอาชีพที่สุจริต มันก็ไม่ไปทำการลักขโมย ข้อที่ 3 นอกจากไม่ไปแย่งชิง ลูกเมียใคร หรือไปเป็นชู้กับใคร แล้วก็ต้องมีความพอใจในคู่ครอง มีความพอใจในคู่ครองของตัว ถ้าไม่มีตรงนี้มันก็เผลอไปแย่งชิงลูกเมียเขา
ส่วนข้อที่ 4 นอกจากไม่ไปโกหกหลอกลวงใครแล้วก็ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต พูดคำไหนคำนั้น ส่วนข้อ 5 นอกจากไม่ไปเสพสุรายาเมา แล้วก็ต้องมีสติ มีสติ ตั้งสติให้ดี ทำความรู้สึกตัว ไม่หลง ไม่ลุกับโทสะ เพราะคนเรา มันไม่ใช่แค่เมาเหล้าแล้วไปทำชั่วอย่างเดียว บางทีเมาอารมณ์ อารมณ์ก็ความโกรธนี่แหละ ความเกลียดนี่แหละ บางทีความเผอเรอ มันก็ทำให้ไปเบียดเบียนเขาได้ การมีสติสำคัญ อันนี้เป็นเรื่องของศีล 5 ไม่เบียดเบียนใคร แล้วก็ทำดีกว่านั้นคือช่วยเหลือ
ศีล 8 มีเพิ่มมาอีก อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของการอยู่อย่างเรียบง่าย การไม่ไปพึ่งพิงติดยึดในกาม ภาษาธรรมะเขาเรียกว่า เนกขัมมะ เนกขัมมะแปลว่า การออกจากกาม ไม่เกี่ยวข้องกับกาม รวมทั้ง การไม่เห็นแก่การเสพ การปรนเปรอตน ปรนเปรอด้วยอะไร ปรนเปรอด้วยกาม หรือว่า กามสุข เช่น ศีลข้อ 3 ก็เปลี่ยนจากการไม่ไปแย่งชิงลูกเมีย เป็นชู้กับลูกเมียใคร ก็มาทำให้มันเข้มงวด ไม่เสพเมถุน ไม่หาความสุขจากการเสพกาม เรียกว่าเป็น เนกขัมมะข้อหนึ่ง รวมทั้ง การที่ไม่กินอาหารในเวลาวิกาล เสพทางปาก เสพทางปากก็ให้รู้จักพอดีบ้าง ก็คือว่า กินมื้อหนึ่ง สองมื้อก่อนเที่ยงพอแล้ว ไม่ปรนเปรอตนด้วยสิ่งเสพทางปาก ข้อต่อมาก็เหมือนกัน ละเว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง บรรเลงดนตรี และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ป็นการเสพทางตาบ้าง ทางหูบ้าง บางทีก็เรียกง่ายๆ คือ ไปเสพความบันเทิง อันนี้ก็เป็นกามอย่างหนึ่ง แล้วก็รู้จักยับยั้งบ้าง งดเว้นบ้าง รวมทั้ง การประดับประดาด้วยดอกไม้ ด้วยของหอม หรือว่าเครื่องลูบไล้ แป้งก็ดี น้ำหอมก็ดี เพื่อต้องการประดับประดาให้ดูสวยงาม หรือเพื่อเรียกว่า พะนออัตตา อยากดูสวยอยากดูมีเสน่ห์ ก็งดซะ อันนี้ก็กามเหมือนกัน เพราะว่ากามก็รวมถึง การชอบของสวยของงาม ทั้งที่อยู่รอบตัวเรา และก็ทั้งที่เป็นตัวเราด้วย ข้อสุดท้ายก็เหมือนกัน ไม่นอนในที่นอนอันสูงใหญ่ที่จะทำให้เกิดความขี้เกียจ เกิดความสบายเกินไป
ทำไมเนกขัมมะจึงทำไมสำคัญ เนกขัมมะสำคัญก็เพราะว่า คนเรา ถ้าหากว่าเรา ไม่รู้จักเป็นอิสระจากกามแล้ว เราจะเป็นทุกข์ง่าย เราจะเป็นทาสของมัน กามหมายถึง ความสุข ความเอร็ดอร่อยทางกาย ทางเนื้อหนัง ไม่ว่าจะมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย คนเราถ้าหากว่าเป็นทาสของกาม หรือเป็นทาสของวัตถุสิ่งเสพ หาความสุขได้ยาก เพราะมันจะมีแต่ความโลภ อยากได้อยากมี มันเป็นการเบียดเบียนตน ศีล 8 ที่เพิ่มขึ้นมาสี่ข้อ มันช่วยทำให้เราได้รู้จักความสุขที่ดีกว่า เป็นความสุขที่ประณีต ที่ประเสริฐกว่า เพราะถ้าหากว่าคนเรายังปรารถนา ยึดติด ในความสุขแบบหยาบๆ ที่เรียกว่า กามสุข มันจะไม่มีทางได้พบกับความสงบอย่างแท้จริง สุขกายแต่ใจไม่สงบ เพราะว่ามันไม่รู้จักพอ ได้เท่าไรมันก็อยากได้อีก คนเราทำร้ายกัน เบียดเบียนกัน ก็เพราะแย่งชิงสิ่งที่เรียกว่า กามสุข ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ รถยนต์ เดี๋ยวนี้ก็โทรศัพท์ รวมทั้งคนรัก อันนี้ก็ฆ่ากัน ศีล 5 จะรักษาได้ดี ก็ต้อง จิตใจก็ต้องไม่เป็นทาสของกาม
พระพุทธเจ้าเปรียบว่า กาม กามสุข เหมือนกับไต้ที่ทำด้วยหญ้าแห้ง เวลาจุดไฟขึ้นมามันก็ให้แสงสว่าง แต่เป็นแสงสว่างที่มันมัวๆ มันไม่เหมือนแสงไฟ ไม่เหมือนแสงเทียน แสงเทียนมันสว่างนวล แสงจากไต้ที่ทำด้วยหญ้าแห้ง มันมัวๆ ก็ดีมีประโยชน์ ให้แสงสว่างในเวลามืด แต่ว่า ควันก็เยอะ ควันมันก็ทำให้ระคายเคือง โดนตาก็น้ำตาไหล เข้าจมูกก็หายใจลำบาก แถมมันยังจะไหม้มือด้วย ไหม้ พอไฟไหม้ไปนานๆ ถ้าไม่วาง ถ้าถือไปนานๆ มันไหม้มือลวกมือได้ อันนี้ก็เป็นการเบียดเบียนตน สร้างความทุกข์ให้กับเจ้าของ
แต่ถ้าคนเรา รู้จักอยู่แบบง่ายๆ โดยการมาถือศีล 8 ศีล 8 คือการอยู่ง่าย เป็นการเรียนรู้จากความสันโดษ เป็นการเปิดโอกาสให้จิตใจเจ้าของได้พบกับความสุขที่มันเรียบง่าย เป็นความสุขที่ไม่ต้องพึ่งพาวัตถุ พอคนเรารู้จักความสุขแบบนี้แล้ว ถึงมีน้อยก็ไม่ทุกข์ ไม่อิจฉาใคร ไม่อิจฉาตาร้อน แล้วก็ไม่ท้อแท้ ไม่ตีอกชกหัว อยู่อย่างง่ายๆ ก็มีความสุข และแทนที่จะเอาเวลาหาไปเงินมาปรนเปรอตนด้วยกาม ก็เอาเวลาไปทำสิ่งดี ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรม ช่วยเหลือส่วนรวม ก็ยิ่งได้บุญได้กุศล ให้เข้าใจความหมาย หรือจุดมุ่งหมายของการถือศีล 8 ซึ่งที่จริงก็คือ การบำเพ็ญบารมี มันไม่ใช่แค่การทำบุญอย่างเดียว มันเป็นการบำเพ็ญบารมี
บารมี มี 10 ประการ บารมีแปลว่า อะไร บารมี แปลว่า ความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่ออะไร เพื่อจุดมุ่งหมายที่สูงส่ง ไม่ใช่เพื่อรวย ไม่ใช่เพื่อดัง ไม่ใช่เพื่อยิ่งใหญ่ แต่เพื่อความพ้นทุกข์หรือการตรัสรู้ ชาวพุทธเราจะต้องเชื่อ ต้องเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเชื่อว่า การพ้นทุกข์ เพราะมีปัญญาเห็นธรรมรู้แจ้ง มันเป็นจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ เป็นชาวพุทธ ถ้าอยากรวยอยากใหญ่ ยังถือว่าโง่อยู่ เพราะว่า มันมีสิ่งที่ดีกว่านี้ที่ชีวิตจะมอบให้กับเราได้ มันมีสิ่งที่ดีกว่านี้ที่เราสามารถจะได้จากชีวิตนี้ ไม่ใช่แค่รวย ไม่ใช่แค่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่ดัง แต่คือ ความสงบ คือความพ้นทุกข์ แล้วจะทำได้ก็นั่นแหล่ะ บำเพ็ญบารมี 10 ประการ มีอะไรบ้าง
1 ทาน 2 ศีล 3 เนกขัมมะ เรามาวันพระเราก็มาให้ทาน ถวายสังฆทาน อันนี้ก็เรียกว่า บำเพ็ญทาน แต่บางคนมาแล้วก็ไป พวกเรามาถือศีล บางคนก็ถือศีล 5 บางคนก็ถือศีล 8 ศีล 8 มันก็เป็นเนกขัมมะบารมีไปด้วย มาวัดทีเดียวได้สามบารมีเลย ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ที่จริงยังมีอีก อีก 7 ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี 10 ข้อ คนเราเป็นชาวพุทธแล้วก็ต้องรู้จักการบำเพ็ญบารมีบ้าง ถ้าเรามารักษาศีลดีๆ มันได้อีกหลายข้อ ได้ทั้งเนกขัมมะบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี
พระพุทธเจ้าก่อนที่จะบำเพ็ญ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บำเพ็ญบารมีมามากมาย ไม่ใช่แค่รักษาศีลอย่างเดียว บางทีก็ต้องเจอกับอะไรต่ออะไรมากมาย เจอคนกลั่นแกล้ง ก็ถือว่า มาบำเพ็ญบารมี บางทีโดนกลั่นแกล้งอย่างหนัก อย่างสมัยหนึ่งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ชื่อ ขันติวาทีดาบส ขันติวาทีดาบส ดาบสก็คือฤาษีนั่นแหละ วันหนึ่งก็ไปบำเพ็ญพรต อยู่ใกล้ๆ อยู่ในชายป่านี่แหละ ก็บังเอิญมันใกล้อุทยาน อุทยานของพระราชา พระราชาก็มีนางสนมกำนัลในไปสนุกสนานด้วยกัน พระราชาก็สรงน้ำ อาบน้ำในสระ พอขึ้นมาจากสระก็เพลีย ก็นอน ตื่นขึ้นมา อ้าว นางสนมกำนัลในหายไปไหน ปรากฏว่า พากันไปฟังธรรมะจากขันติวาที พระราชาก็โกรธ เพราะว่าเหมือนกับมีคู่แข่ง จะเรียกว่า อิจฉาก็ได้ ก็หาทางกลั่นแกล้ง ไปถามว่า ท่านเป็นใคร ปฏิบัติธรรมอย่างไร ขันติวาทีก็บอกว่า ก็ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญขันติบารมี พระราชาก็อยากจะรู้ว่า มีขันติแค่ไหน ก็จับ ไม่ใช่แค่ทรมานอย่างเดียว จับแล้วก็ตัดหู ตัดจมูก ขันติวาทีก็ไม่ร้องเลย มีความอดทนมาก ก็เลยตัดมือ แล้วก็ตัดเท้า ตัดขา ตัดแขน โอ้ทรมาน ขันติวาที บำเพ็ญบารมีมาก ไม่โกรธเลย พระราชาต้องการเอาชนะ อยากจะให้ขันติวาที ยอมแพ้ ร้องขอชีวิต แต่ขันติวาทีก็ไม่มีความรู้สึกทุกข์ทรมานเลย อดกลั้นเอาไว้ได้ นอกจากจะไม่ด่า ไม่โกรธ ไม่ร้องขอชีวิตแล้ว ก็ยังบอกเลย ยังอวยพรให้กับพระราชาว่า ขอให้พระราชา มีอายุยืนนาน มีประสบความสุขความเจริญ จิตใจเรียกว่า ประเสริฐมาก สุดท้ายก็ตาย แล้วพระราชาเองก็ หลังจากเหตุการณ์นั้นก็แค่ไม่นานก็ตายเหมือนกัน โดนธรณีสูบ อันนี้ก็เห็น ว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ถ้าเราดู พระโพธิสัตว์สิบชาติสุดท้ายก็ล้วนแต่บำเพ็ญบารมีทั้งนั้น อย่างมหาชนก มหาชนกก็บำเพ็ญบารมีข้อ วิริยะ รู้เรื่องพระมหาชนกบ่ พระมหาชนกฉากสำคัญคือ ฉากที่เรือแตก เรือเดินสมุทรมันอับปาง คนก็ไปจม ลอยคออยู่ในทะเล พระมหาชนกทีแรกก็มีไม้ มีเศษไม้ เอาไว้คอยช่วยให้พยุงตัว ลอยคออยู่ในทะเลได้ แต่ตอนหลังก็คิดว่า เอ๊ะมันลอยคออยู่ในทะเลก็คงไม่ได้การ ต้องว่ายเข้าหาฝั่ง ทะเลมันกว้างใหญ่ ฝั่งก็ไม่เห็น เคยไปอยู่กลางทะเลบ่ เรือเดินสมุทร โอ้ย มันไม่เห็นฝั่งเลย ไกลๆ ไม่เห็นเลย พระมหาชนกทำไง ว่าย ว่าย ว่ายเข้าหาฝั่ง ฝั่งอยู่ทางไหนไม่รู้ แต่ว่ายก่อน วันแรกก็ไม่ถึง วันที่สองก็ยังไม่เห็นฝั่งก็ยังว่าย วันที่สามก็ยังว่าย ไม่เห็นฝั่งก็ยังว่าย ก็คงจะมีอะไรคอยพยุงตัวอยู่บ้าง เวลาเหนื่อยก็ได้พัก พอหายเหนื่อยก็ว่าย ว่าย 7 วัน 7 คืน เพิ่นก็ยังว่ายอยู่ พระอินทร์เห็นเหตุการณ์ก็เลยสั่งให้นางมณีเมขลาไปช่วย นางมณีเมขลาคงจะไปเที่ยวที่ไหนสักแห่ง ไม่ทำหน้าที่ เพราะหน้าที่นางมณีเมขลา คือ ช่วยคนดีที่อยู่กลางทะเล พอนางมณีเมขลาได้การเตือนจากพระอินทร์ ก็ไปตามหา ก็ไปเจอพระมหาชนกกำลังว่าย แต่แทนที่จะช่วยเหลือทันที นางมณีเมขลาก็ถามพระมหาชนกว่า ท่านว่ายไปทำไม 7 วัน 7 คืน ในเมื่อมองไม่เห็นฝั่ง พระมหาชนกตอบว่า ก็เพราะเราเห็นประโยชน์ของความเพียร เราจึงว่าย นางมณีเมขลาถามต่อไปว่า ว่ายทำไม ว่ายแบบนี้ตายเปล่า เพราะไม่มีทางจะถึงฝั่ง พระมหาชนกก็ตอบว่า แม้จะตายเพราะทำความเพียร ก็ถือว่าไม่เป็นหนี้ใคร ไม่เป็นหนี้เทวดา ไม่เป็นหนี้พ่อแม่ ใครก็จะกล่าวตำหนิติเตียนไม่ได้ ท่านก็บอกด้วยนะว่า คนเรา ถ้าเห็นว่าตัวเองกำลังทำอะไร รู้ความประสงค์ของตน และทำความเพียร ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ คือ จะถึงฝั่งหรือเปล่าก็ผลแห่งความเพียรย่อมประจักษ์แก่เจ้าของ คือ ยังไงก็มีประโยชน์ สำเร็จไม่สำเร็จมันมีประโยชน์แน่ ประโยชน์อย่างหนึ่งคือได้บำเพ็ญบารมี
นางมณีเมขลายอมแพ้ จนต่อคำพูดของพระมหาชนก ก็เลยอุ้มพระมหาชนกขึ้นฝั่ง อันนี้เรียกว่าการบำเพ็ญบารมี วิริยะบารมี พวกเราก็ไม่ต้องรอให้ไปลอยคออยู่กลางทะเลแล้วค่อยบำเพ็ญวิริยะบารมี อยู่ที่นี่ก็บำเพ็ญได้ บำเพ็ญด้วยการรักษาศีลให้ดี มาให้เป็นประจำ อย่างหลายคนก็มาจำศีล ทุกศีลเลย ตลอดพรรษาเหลือ ศีลสุดท้ายก่อนออกพรรษา เหลืออีกศีลหนึ่งก็ให้ทำความเพียรไว้
การบำเพ็ญบารมีบางอย่าง มันต้องอาสาเข้าไป อาสาเข้าไปช่วย แต่บางอย่าง ไม่ได้อาสาหรอก แต่มันมาเอง ก็คือ เวลาเจอความทุกข์ เจอความยากลำบาก มีคนมากลั่นแกล้ง คนเราไม่ต้องรอให้ใครมากลั่นแกล้ง บางทีมันก็ต้องเจอความยากลำบาก เช่น ความเจ็บความป่วย ความแก่ ความพลัดพรากสูญเสีย และความตาย อย่างที่เราสวดกัน เมื่อสักครู่ อะภิณหะปัจจะเวกขะณะ ทั้งหมดพวกนี้มันมา มันมาเพราะมันเป็นธรรมดา มันเป็นธรรมชาติของทุกชีวิต
ส่วนใหญ่พอเจอแล้วคนเราก็ทุกข์ ทุกข์เพราะแก่ ทุกข์เพราะเจ็บป่วย ทุกข์เพราะพลัดพรากสูญเสีย ทุกข์เพราะตาย แต่ถ้ามองดีๆ มันก็คือการมา มันเป็นการมาเพื่อทดสอบ เพื่อให้เราได้บำเพ็ญบารมี ถ้าคนฉลาดเขาจะมองแบบนั้น แต่คนที่ไม่ฉลาด พอเกิดขึ้นก็จะทุกข์ เศร้าโศกเสียใจ ตีโพยตีพาย โอดครวญ อย่างนี้เรียกว่าซ้ำเติมเจ้าของ ซ้ำเติมตัวเอง เพราะว่าเวลาป่วยแทนที่จะป่วยแต่กาย ก็ป่วยใจด้วย คนที่คร่ำครวญร้องห่มร้องไห้กำลังซ้ำเติมเจ้าของ เวลาของหายเงินหาย แทนที่จะหายแต่ของ เสียแต่เงิน ใจก็เสีย พอเสียมากๆ เข้า สุขภาพก็เสีย เพราะกินไม่ได้นอนไม่หลับ บางทีไม่ยอมกินไม่ยอมนอน เหมือนกับว่าจะประชด ประชดตัวเอง ป่วย เรียกว่า เสียสุขภาพ ทำงานก็ทำไม่ได้ มันกลุ้มใจก็เสียงาน และเสียอะไรอีกหลายอย่างตามมา อันนี้ก็เรียกว่า เป็นคนไม่ฉลาดเพราะซ้ำเติมเจ้าของ คนฉลาดเสียอย่างเดียวก็คือ เสียเงิน เสียทรัพย์ แต่อย่างอื่นไม่เสีย แต่ถ้าหากฉลาดกว่านี้ นอกจากใจไม่ทุกข์แล้ว ก็ยังถือว่า เป็นการมาสร้างบารมี ให้เกิดบุญ ให้มีกำไร คือ รู้จักหาประโยชน์จากมัน กำไรได้มาอย่างไร กำไรเกิดจากการที่รู้จักหาประโยชน์จากความทุกข์
อย่างเมื่อเช้า ก็ได้ฟังพระซี ท่านเล่า ก็ได้เจอกับความทุกข์ ภาษาพระเรียกว่า อนิฎฐารมณ์ ตัวเองไม่ได้ป่วย แต่ว่าภรรยาป่วย อันนี้ก็เป็นความทุกข์ที่มันเจ็บปวดมาก คนบางคนถ้าป่วยเองยังดีกว่า คนบางคนป่วยเองยังดีกว่า เช่น แม่ถ้าป่วยเองดีกว่าให้ลูกป่วย สามีป่วยดีกว่าภรรยาป่วย มันเป็นความเจ็บความทุกข์ที่หนักหนา แต่ว่าก็รู้จักหาประโยชน์จากมัน อย่างที่เพิ่นพูดประโยคหนึ่งบอกว่า ถ้าเราไม่ทุกข์ วันนี้เราจะมีความสุขอย่างนี้หรือ ถ้าภรรยาไม่เป็นมะเร็ง แล้ววันนี้เราจะมีความสุขเหรอ มะเร็งบางทีมันทำให้คนที่เป็นสามีภรรยากันใกล้ชิดกันมากขึ้น รักกันมากขึ้น อันนี้แหละคือ การรู้จักหาประโยชน์ แทนที่จะเอาแต่ตีอกชกหัว ก่นด่าชะตากรรม ทำไมต้องเป็นฉัน ทำไมต้องเป็นฉัน ชีวิตกำลังจะมีความสุขอยู่แล้ว ได้คนรักที่เป็นคู่ชีวิต ทำไมอยู่กันได้แค่สามสี่ปีต้องมาเจอแบบนี้ ถ้าคร่ำครวญแบบนี้มันทุกข์ ก็ซ้ำเติมตัวเอง คนฉลาด ก็อย่างน้อย ข้อแรกก็ต้องยอมรับก่อนว่า มันคือความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว และมันเป็นธรรมดาของชีวิตเหมือนกับที่เพิ่นว่า เหมือนกับพระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออก ตกทางตะวันตก เหมือนกับกลางวันและกลางคืน มันเป็นธรรมดา มันเป็นความจริงที่ต้องยอมรับ ยอมรับแล้วก็หาประโยชน์จากมัน ก็เห็น อ้อ ในเมื่อฝ่ายหนึ่งป่วย เราก็พยายามทำดีต่อกัน แทนที่จะเอาแต่ร้องห่มร้องไห้คร่ำครวญ คนที่ร้องห่มร้องไห้คร่ำครวญ กินไม่ได้นอนไม่หลับ จะทิ้งโอกาสที่จะทำความดีต่อกัน
เคยมีผู้หญิงคนหนึ่งเขียนมาปรึกษา ผัวเพิ่นเป็นมะเร็งอาการหนักแล้ว ก็เหมือนกับรอวันตาย ตัวผู้หญิงเอาแต่เศร้าเสียใจ แล้วถ้าสามีตาย ใครจะส่งเสียลูกชาย แล้วตัวเองจะอยู่ยังไง เพราะอาชีพการงานก็ไม่มี ไหนบ้านไหนรถที่ต้องผ่อนจะทำยังไง เมื่อคิดแบบนี้แล้วก็ห่อเหี่ยวท้อแท้ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ร่างกายผ่ายผอม เขียนมาถามอาตมา อาตมาก็บอกว่า ก็เห็นใจ เห็นใจที่ต้องมาเจอแบบนี้ แต่อยากเตือนว่า สามียังไม่ตาย สามียังอยู่ แต่วันเวลาที่สามีจะอยู่กับเรามันก็จะหายไปเรื่อยๆ คือ โอกาสทองที่เราจะทำความดีต่อกัน มีสุขร่วมกัน ถ้าไม่ทำวันนี้ วันหน้าอาจจะไม่ได้ทำ เขียนไปอย่างนี้ เพิ่นได้สติเลย บอกว่า ตอนนี้เริ่มมาดูแลตัวเองแล้ว เริ่มหันมากินมานอน และก็เริ่มจะใช้เวลาดูแลสามี ให้เขามีความสุข ทำความดีร่วมกัน
เราก็ได้ฟังจากเมื่อเช้า พอรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่ง พอภรรยาป่วยเป็นมะเร็ง ก็ทำความดี เริ่มจากการบอกรัก บอกรักแล้วก็ปรนนิบัติภรรยา ฟัง รู้จักฟัง การฟังมันก็ช่วยสมานใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยทำให้รักกันมากขึ้น เพราะทำให้รู้จักกันมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นมาคืออะไร เกิดความสุข สุขกว่าตอนที่ภรรยายังไม่ป่วยเสียอีก พอภรรยาป่วย มันมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับชีวิตหลายอย่าง มีความรักกันมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น และก็เห็นความดีของกันและกัน เจ้าตัวก็ทำตัวดีขึ้น รักตัวเองมากขึ้น รักตัวเองอย่างแท้จริง อันนี้มันเป็นธรรมะ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องของสามีภรรยา ที่อยู่ในโลก แต่ว่าที่เล่ามาเป็นธรรมะ ที่สอนให้เรารู้ว่า ความทุกข์เช่นความเจ็บป่วย มันก็สามารถทำให้ชีวิตเรามีความสุขได้ ทำให้รักกันมากขึ้นได้ ทำให้เกิดสิ่งดีๆ กับชีวิต อันนี้เป็นการบำเพ็ญบารมีอย่างหนึ่ง มันเป็นข้อสอบ มันเป็นโจทย์ใหญ่ว่า เราจะไม่ใช่แค่ผ่านมันอย่างไร เรามาทำให้เกิดสิ่งดีงามขึ้นในชีวิตของเรา
คนเราถ้าจะทุกข์แล้ว อย่าทุกข์ฟรีๆ เวลาป่วยก็อย่าป่วยฟรีๆ หลายคนป่วยฟรีๆ ก็คือ เกิดความเจ็บความปวด นอนไม่หลับ ไม่ได้อะไรเลย คนเราถ้าเจอทุกข์แล้วมันต้องรู้จักได้อะไรสักอย่าง อย่าทุกข์ฟรีๆ ของหายแต่ได้ธรรมะ ของหายแต่ได้ธรรมะ อย่างเมื่อปี 2554 มีน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพ ภาคเหนือ ภาคกลาง เสียหายกันหลายแสนเป็นล้าน คนเป็นแสนครอบครัวเดือดร้อนกัน บางคนบางครอบครัวก็หมดเนื้อหมดตัว เท่านั้นไม่พอ บางคนก็เป็นบ้า บางคนก็ฆ่าตัวตาย แต่บางคนเสียแต่ทรัพย์ แต่ว่าได้ ได้อะไร ไม่ใช่ได้ค่าชดเชย ได้ธรรมะ
มีคนหนึ่งบอกว่า น้ำท่วมคราวนี้ก็ทำให้เห็นเลยว่า มันไม่มีอะไรที่เป็นของเราเลย ของที่เรามีนี่มันอยู่กับเราแค่ชั่วคราว วันดีคืนดี ไฟก็ไหม้ น้ำก็ท่วม อย่างนี้เรียกว่าได้ธรรมะ เสียของ เสียทรัพย์ แต่ได้ธรรมะ คือ ได้ปัญญา ถ้าคนที่มีปัญญาแบบนี้ต่อไปถ้าเสียอีก ใจไม่ทุกข์แล้ว สมบัติข้าวของหายไป เสียไปซื้อใหม่ได้ แต่ธรรมะหรือปัญญา มีเงินเท่าไรก็ซื้อบ่ได้ มันต้องรู้จักมอง รู้จักคิดพิจารณา อันนี้เรียกว่า การบำเพ็ญบารมี ที่มันมาแบบไม่อยาก ไม่ตั้งใจ ไม่อยากเจอ แต่พอเจอแล้วก็ต้องตั้งหลักให้ดี หาประโยชน์จากมันให้ได้ นอกจากรักษาใจไม่ให้ทุกข์แล้ว ต้องได้ประโยชน์จากมัน ประโยชน์อย่างหนึ่ง คือ ได้เห็นธรรมะจากสิ่งที่เกิดขึ้น ก็นี่แหละเป็นธรรมดาโลก หรือใช้มันเพื่อทำให้ชีวิตเราดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น มะเร็งก็ดี ความเจ็บความป่วย ความสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง มันก็สามารถจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นได้ ทำให้คนรักกันมากขึ้น ทำให้ฉลาดมีปัญญามากขึ้น หรือมีธรรมะมากขึ้น เวลามันเกิดขึ้นกับเราทุกข์ ตั้งหลักให้ดี ตั้งสติให้ได้ แล้วเดี๋ยวมันก็จะกลายเป็นของดีไป เตือนใจตัวเองเด้อว่า เมื่อเวลาเจอทุกข์ อย่าทุกข์ฟรีๆ มันต้องได้อะไรสักอย่างหนึ่งจากความทุกข์ ได้นี่ไม่ใช่ได้เงินชดเชย นั่นมันเล็กน้อย มันต้องได้ธรรมะ มันต้องได้ปัญญา หรือว่า ทำให้มีความรักกันมากขึ้น อันนี้แหละ มันคือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งที่ต้องรู้จัก เอาละครั้งนี้พูดกันเท่านี้เมื่อถึงวันพระ เราก็มารักษาศีลกัน ไม่ใช่แค่ศีล 5 ศีล 8 อุโบสถศีล แต่ถ้ารักษาศีล 5 ให้มั่นคง อย่างน้อยในวันพระก็ยังดี ถ้ารักษาศีล 5 แล้วก็มาถือศีล 8 ศีล 5 กับศีล 8 มันแตกต่างกันอย่างไร
ศีล 5 เป็นเครื่องควบคุมกายวาจาของเรา ไม่ให้ไปเบียดเบียนคนอื่น การเบียดเบียนคนอื่น ชีวิตอื่น ก็มีตั้งแต่หนักสุดก็คือฆ่า ฆ่าก็คือ การเอาชีวิตเขา ทุกชีวิตก็ต้องถือว่า ชีวิตนี้มันมีค่ามากที่สุด ไม่มีชีวิตมันก็ไม่เหลืออะไรแล้ว การไม่เบียดเบียน อย่างน้อยๆ ก็ไม่เอาชีวิต แล้วก็ทำได้มากกว่านั้น คือ ไม่เอาทรัพย์สินของเขา ไม่แย่งชิงคนรักของเขา ไม่หลอกลวงเขา หรือว่าด่าเขาด้วยคำรุนแรง อันนี้มันก็เป็นการกระแทกใจ สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ฟัง สุดท้ายก็ปิดโอกาสที่จะไปเบียดเบียนผู้อื่น ด้วยการไม่เสพสุรายาเมา เพราะถ้าเสพแล้ว แม้แต่คนดี มันก็เผลอไปฆ่าคนอื่นได้ ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ตั้งใจคือว่า ไปทุบตีเขาด้วยความโกรธความแค้น คนเวลาเมา มันไม่มีสติยับยั้ง เวลาโกรธ ก็โกรธง่าย โกรธแล้วก็ทำชั่วได้ง่าย เพราะว่าห้ามใจได้ยาก บางอย่างก็เป็นการฆ่าเขาโดยความไม่ตั้งใจ เช่น ขับรถชนเขาตาย
คราวนี้ ศีล 5 จริงๆ แล้ว ถ้าจะรักษาให้ครบถ้วน มันก็ไปรวมถึง ทำสิ่งตรงข้ามด้วย ทำสิ่งตรงข้าม ก็คือว่า นอกจากไม่เบียดเบียนเอาชีวิตเขาแล้ว ก็ยังมีเมตตากรุณา ศีลข้อที่ 1 เมื่อรวมถึงความเมตตากรุณา ช่วยสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก กำลังจะตายก็ช่วยชีวิตเขา มดเอย แมลงเอย แม้จะเป็นสัตว์เล็กสัตว์น้อย มันกำลังตกน้ำ ก็ช่วยเขาขึ้นมา ไม่ใช่แค่ไม่เหยียบ แต่ว่าช่วยชีวิตด้วย
ส่วนศีลข้อที่ 2 ก็เหมือนกัน นอกจากไม่ลักขโมยแล้ว ก็ต้องรู้จักแบ่งปัน รวมทั้งการมีสัมมาอาชีวะด้วย มีอาชีพที่สุจริต มันก็ไม่ไปทำการลักขโมย ข้อที่ 3 นอกจากไม่ไปแย่งชิง ลูกเมียใคร หรือไปเป็นชู้กับใคร แล้วก็ต้องมีความพอใจในคู่ครอง มีความพอใจในคู่ครองของตัว ถ้าไม่มีตรงนี้มันก็เผลอไปแย่งชิงลูกเมียเขา
ส่วนข้อที่ 4 นอกจากไม่ไปโกหกหลอกลวงใครแล้วก็ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต พูดคำไหนคำนั้น ส่วนข้อ 5 นอกจากไม่ไปเสพสุรายาเมา แล้วก็ต้องมีสติ มีสติ ตั้งสติให้ดี ทำความรู้สึกตัว ไม่หลง ไม่ลุกับโทสะ เพราะคนเรา มันไม่ใช่แค่เมาเหล้าแล้วไปทำชั่วอย่างเดียว บางทีเมาอารมณ์ อารมณ์ก็ความโกรธนี่แหละ ความเกลียดนี่แหละ บางทีความเผอเรอ มันก็ทำให้ไปเบียดเบียนเขาได้ การมีสติสำคัญ อันนี้เป็นเรื่องของศีล 5 ไม่เบียดเบียนใคร แล้วก็ทำดีกว่านั้นคือช่วยเหลือ
ศีล 8 มีเพิ่มมาอีก อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของการอยู่อย่างเรียบง่าย การไม่ไปพึ่งพิงติดยึดในกาม ภาษาธรรมะเขาเรียกว่า เนกขัมมะ เนกขัมมะแปลว่า การออกจากกาม ไม่เกี่ยวข้องกับกาม รวมทั้ง การไม่เห็นแก่การเสพ การปรนเปรอตน ปรนเปรอด้วยอะไร ปรนเปรอด้วยกาม หรือว่า กามสุข เช่น ศีลข้อ 3 ก็เปลี่ยนจากการไม่ไปแย่งชิงลูกเมีย เป็นชู้กับลูกเมียใคร ก็มาทำให้มันเข้มงวด ไม่เสพเมถุน ไม่หาความสุขจากการเสพกาม เรียกว่าเป็น เนกขัมมะข้อหนึ่ง รวมทั้ง การที่ไม่กินอาหารในเวลาวิกาล เสพทางปาก เสพทางปากก็ให้รู้จักพอดีบ้าง ก็คือว่า กินมื้อหนึ่ง สองมื้อก่อนเที่ยงพอแล้ว ไม่ปรนเปรอตนด้วยสิ่งเสพทางปาก ข้อต่อมาก็เหมือนกัน ละเว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง บรรเลงดนตรี และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ ป็นการเสพทางตาบ้าง ทางหูบ้าง บางทีก็เรียกง่ายๆ คือ ไปเสพความบันเทิง อันนี้ก็เป็นกามอย่างหนึ่ง แล้วก็รู้จักยับยั้งบ้าง งดเว้นบ้าง รวมทั้ง การประดับประดาด้วยดอกไม้ ด้วยของหอม หรือว่าเครื่องลูบไล้ แป้งก็ดี น้ำหอมก็ดี เพื่อต้องการประดับประดาให้ดูสวยงาม หรือเพื่อเรียกว่า พะนออัตตา อยากดูสวยอยากดูมีเสน่ห์ ก็งดซะ อันนี้ก็กามเหมือนกัน เพราะว่ากามก็รวมถึง การชอบของสวยของงาม ทั้งที่อยู่รอบตัวเรา และก็ทั้งที่เป็นตัวเราด้วย ข้อสุดท้ายก็เหมือนกัน ไม่นอนในที่นอนอันสูงใหญ่ที่จะทำให้เกิดความขี้เกียจ เกิดความสบายเกินไป
ทำไมเนกขัมมะจึงทำไมสำคัญ เนกขัมมะสำคัญก็เพราะว่า คนเรา ถ้าหากว่าเรา ไม่รู้จักเป็นอิสระจากกามแล้ว เราจะเป็นทุกข์ง่าย เราจะเป็นทาสของมัน กามหมายถึง ความสุข ความเอร็ดอร่อยทางกาย ทางเนื้อหนัง ไม่ว่าจะมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย คนเราถ้าหากว่าเป็นทาสของกาม หรือเป็นทาสของวัตถุสิ่งเสพ หาความสุขได้ยาก เพราะมันจะมีแต่ความโลภ อยากได้อยากมี มันเป็นการเบียดเบียนตน ศีล 8 ที่เพิ่มขึ้นมาสี่ข้อ มันช่วยทำให้เราได้รู้จักความสุขที่ดีกว่า เป็นความสุขที่ประณีต ที่ประเสริฐกว่า เพราะถ้าหากว่าคนเรายังปรารถนา ยึดติด ในความสุขแบบหยาบๆ ที่เรียกว่า กามสุข มันจะไม่มีทางได้พบกับความสงบอย่างแท้จริง สุขกายแต่ใจไม่สงบ เพราะว่ามันไม่รู้จักพอ ได้เท่าไรมันก็อยากได้อีก คนเราทำร้ายกัน เบียดเบียนกัน ก็เพราะแย่งชิงสิ่งที่เรียกว่า กามสุข ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ รถยนต์ เดี๋ยวนี้ก็โทรศัพท์ รวมทั้งคนรัก อันนี้ก็ฆ่ากัน ศีล 5 จะรักษาได้ดี ก็ต้อง จิตใจก็ต้องไม่เป็นทาสของกาม
พระพุทธเจ้าเปรียบว่า กาม กามสุข เหมือนกับไต้ที่ทำด้วยหญ้าแห้ง เวลาจุดไฟขึ้นมามันก็ให้แสงสว่าง แต่เป็นแสงสว่างที่มันมัวๆ มันไม่เหมือนแสงไฟ ไม่เหมือนแสงเทียน แสงเทียนมันสว่างนวล แสงจากไต้ที่ทำด้วยหญ้าแห้ง มันมัวๆ ก็ดีมีประโยชน์ ให้แสงสว่างในเวลามืด แต่ว่า ควันก็เยอะ ควันมันก็ทำให้ระคายเคือง โดนตาก็น้ำตาไหล เข้าจมูกก็หายใจลำบาก แถมมันยังจะไหม้มือด้วย ไหม้ พอไฟไหม้ไปนานๆ ถ้าไม่วาง ถ้าถือไปนานๆ มันไหม้มือลวกมือได้ อันนี้ก็เป็นการเบียดเบียนตน สร้างความทุกข์ให้กับเจ้าของ
แต่ถ้าคนเรา รู้จักอยู่แบบง่ายๆ โดยการมาถือศีล 8 ศีล 8 คือการอยู่ง่าย เป็นการเรียนรู้จากความสันโดษ เป็นการเปิดโอกาสให้จิตใจเจ้าของได้พบกับความสุขที่มันเรียบง่าย เป็นความสุขที่ไม่ต้องพึ่งพาวัตถุ พอคนเรารู้จักความสุขแบบนี้แล้ว ถึงมีน้อยก็ไม่ทุกข์ ไม่อิจฉาใคร ไม่อิจฉาตาร้อน แล้วก็ไม่ท้อแท้ ไม่ตีอกชกหัว อยู่อย่างง่ายๆ ก็มีความสุข และแทนที่จะเอาเวลาหาไปเงินมาปรนเปรอตนด้วยกาม ก็เอาเวลาไปทำสิ่งดี ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรม ช่วยเหลือส่วนรวม ก็ยิ่งได้บุญได้กุศล ให้เข้าใจความหมาย หรือจุดมุ่งหมายของการถือศีล 8 ซึ่งที่จริงก็คือ การบำเพ็ญบารมี มันไม่ใช่แค่การทำบุญอย่างเดียว มันเป็นการบำเพ็ญบารมี
บารมี มี 10 ประการ บารมีแปลว่า อะไร บารมี แปลว่า ความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่ออะไร เพื่อจุดมุ่งหมายที่สูงส่ง ไม่ใช่เพื่อรวย ไม่ใช่เพื่อดัง ไม่ใช่เพื่อยิ่งใหญ่ แต่เพื่อความพ้นทุกข์หรือการตรัสรู้ ชาวพุทธเราจะต้องเชื่อ ต้องเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเชื่อว่า การพ้นทุกข์ เพราะมีปัญญาเห็นธรรมรู้แจ้ง มันเป็นจุดหมายสูงสุดของชาวพุทธ เป็นชาวพุทธ ถ้าอยากรวยอยากใหญ่ ยังถือว่าโง่อยู่ เพราะว่า มันมีสิ่งที่ดีกว่านี้ที่ชีวิตจะมอบให้กับเราได้ มันมีสิ่งที่ดีกว่านี้ที่เราสามารถจะได้จากชีวิตนี้ ไม่ใช่แค่รวย ไม่ใช่แค่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่แค่ดัง แต่คือ ความสงบ คือความพ้นทุกข์ แล้วจะทำได้ก็นั่นแหล่ะ บำเพ็ญบารมี 10 ประการ มีอะไรบ้าง
1 ทาน 2 ศีล 3 เนกขัมมะ เรามาวันพระเราก็มาให้ทาน ถวายสังฆทาน อันนี้ก็เรียกว่า บำเพ็ญทาน แต่บางคนมาแล้วก็ไป พวกเรามาถือศีล บางคนก็ถือศีล 5 บางคนก็ถือศีล 8 ศีล 8 มันก็เป็นเนกขัมมะบารมีไปด้วย มาวัดทีเดียวได้สามบารมีเลย ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ที่จริงยังมีอีก อีก 7 ปัญญาบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี 10 ข้อ คนเราเป็นชาวพุทธแล้วก็ต้องรู้จักการบำเพ็ญบารมีบ้าง ถ้าเรามารักษาศีลดีๆ มันได้อีกหลายข้อ ได้ทั้งเนกขัมมะบารมี วิริยะบารมี ขันติบารมี
พระพุทธเจ้าก่อนที่จะบำเพ็ญ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า บำเพ็ญบารมีมามากมาย ไม่ใช่แค่รักษาศีลอย่างเดียว บางทีก็ต้องเจอกับอะไรต่ออะไรมากมาย เจอคนกลั่นแกล้ง ก็ถือว่า มาบำเพ็ญบารมี บางทีโดนกลั่นแกล้งอย่างหนัก อย่างสมัยหนึ่งเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ชื่อ ขันติวาทีดาบส ขันติวาทีดาบส ดาบสก็คือฤาษีนั่นแหละ วันหนึ่งก็ไปบำเพ็ญพรต อยู่ใกล้ๆ อยู่ในชายป่านี่แหละ ก็บังเอิญมันใกล้อุทยาน อุทยานของพระราชา พระราชาก็มีนางสนมกำนัลในไปสนุกสนานด้วยกัน พระราชาก็สรงน้ำ อาบน้ำในสระ พอขึ้นมาจากสระก็เพลีย ก็นอน ตื่นขึ้นมา อ้าว นางสนมกำนัลในหายไปไหน ปรากฏว่า พากันไปฟังธรรมะจากขันติวาที พระราชาก็โกรธ เพราะว่าเหมือนกับมีคู่แข่ง จะเรียกว่า อิจฉาก็ได้ ก็หาทางกลั่นแกล้ง ไปถามว่า ท่านเป็นใคร ปฏิบัติธรรมอย่างไร ขันติวาทีก็บอกว่า ก็ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญขันติบารมี พระราชาก็อยากจะรู้ว่า มีขันติแค่ไหน ก็จับ ไม่ใช่แค่ทรมานอย่างเดียว จับแล้วก็ตัดหู ตัดจมูก ขันติวาทีก็ไม่ร้องเลย มีความอดทนมาก ก็เลยตัดมือ แล้วก็ตัดเท้า ตัดขา ตัดแขน โอ้ทรมาน ขันติวาที บำเพ็ญบารมีมาก ไม่โกรธเลย พระราชาต้องการเอาชนะ อยากจะให้ขันติวาที ยอมแพ้ ร้องขอชีวิต แต่ขันติวาทีก็ไม่มีความรู้สึกทุกข์ทรมานเลย อดกลั้นเอาไว้ได้ นอกจากจะไม่ด่า ไม่โกรธ ไม่ร้องขอชีวิตแล้ว ก็ยังบอกเลย ยังอวยพรให้กับพระราชาว่า ขอให้พระราชา มีอายุยืนนาน มีประสบความสุขความเจริญ จิตใจเรียกว่า ประเสริฐมาก สุดท้ายก็ตาย แล้วพระราชาเองก็ หลังจากเหตุการณ์นั้นก็แค่ไม่นานก็ตายเหมือนกัน โดนธรณีสูบ อันนี้ก็เห็น ว่าเป็นการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ถ้าเราดู พระโพธิสัตว์สิบชาติสุดท้ายก็ล้วนแต่บำเพ็ญบารมีทั้งนั้น อย่างมหาชนก มหาชนกก็บำเพ็ญบารมีข้อ วิริยะ รู้เรื่องพระมหาชนกบ่ พระมหาชนกฉากสำคัญคือ ฉากที่เรือแตก เรือเดินสมุทรมันอับปาง คนก็ไปจม ลอยคออยู่ในทะเล พระมหาชนกทีแรกก็มีไม้ มีเศษไม้ เอาไว้คอยช่วยให้พยุงตัว ลอยคออยู่ในทะเลได้ แต่ตอนหลังก็คิดว่า เอ๊ะมันลอยคออยู่ในทะเลก็คงไม่ได้การ ต้องว่ายเข้าหาฝั่ง ทะเลมันกว้างใหญ่ ฝั่งก็ไม่เห็น เคยไปอยู่กลางทะเลบ่ เรือเดินสมุทร โอ้ย มันไม่เห็นฝั่งเลย ไกลๆ ไม่เห็นเลย พระมหาชนกทำไง ว่าย ว่าย ว่ายเข้าหาฝั่ง ฝั่งอยู่ทางไหนไม่รู้ แต่ว่ายก่อน วันแรกก็ไม่ถึง วันที่สองก็ยังไม่เห็นฝั่งก็ยังว่าย วันที่สามก็ยังว่าย ไม่เห็นฝั่งก็ยังว่าย ก็คงจะมีอะไรคอยพยุงตัวอยู่บ้าง เวลาเหนื่อยก็ได้พัก พอหายเหนื่อยก็ว่าย ว่าย ๗ วัน ๗ คืน เพิ่นก็ยังว่ายอยู่ พระอินทร์เห็นเหตุการณ์ก็เลยสั่งให้นางมณีเมขลาไปช่วย นางมณีเมขลาคงจะไปเที่ยวที่ไหนสักแห่ง ไม่ทำหน้าที่ เพราะหน้าที่นางมณีเมขลา คือ ช่วยคนดีที่อยู่กลางทะเล พอนางมณีเมขลาได้การเตือนจากพระอินทร์ ก็ไปตามหา ก็ไปเจอพระมหาชนกกำลังว่าย แต่แทนที่จะช่วยเหลือทันที นางมณีเมขลาก็ถามพระมหาชนกว่า ท่านว่ายไปทำไม ๗ วัน ๗ คืน ในเมื่อมองไม่เห็นฝั่ง พระมหาชนกตอบว่า ก็เพราะเราเห็นประโยชน์ของความเพียร เราจึงว่าย นางมณีเมขลาถามต่อไปว่า ว่ายทำไม ว่ายแบบนี้ตายเปล่า เพราะไม่มีทางจะถึงฝั่ง พระมหาชนกก็ตอบว่า แม้จะตายเพราะทำความเพียร ก็ถือว่าไม่เป็นหนี้ใคร ไม่เป็นหนี้เทวดา ไม่เป็นหนี้พ่อแม่ ใครก็จะกล่าวตำหนิติเตียนไม่ได้ ท่านก็บอกด้วยนะว่า คนเรา ถ้าเห็นว่าตัวเองกำลังทำอะไร รู้ความประสงค์ของตน และทำความเพียร ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ คือ จะถึงฝั่งหรือเปล่าก็ผลแห่งความเพียรย่อมประจักษ์แก่เจ้าของ คือ ยังไงก็มีประโยชน์ สำเร็จไม่สำเร็จมันมีประโยชน์แน่ ประโยชน์อย่างหนึ่งคือได้บำเพ็ญบารมี
นางมณีเมขลายอมแพ้ จนต่อคำพูดของพระมหาชนก ก็เลยอุ้มพระมหาชนกขึ้นฝั่ง อันนี้เรียกว่าการบำเพ็ญบารมี วิริยะบารมี พวกเราก็ไม่ต้องรอให้ไปลอยคออยู่กลางทะเลแล้วค่อยบำเพ็ญวิริยะบารมี อยู่ที่นี่ก็บำเพ็ญได้ บำเพ็ญด้วยการรักษาศีลให้ดี มาให้เป็นประจำ อย่างหลายคนก็มาจำศีล ทุกศีลเลย ตลอดพรรษาเหลือ ศีลสุดท้ายก่อนออกพรรษา เหลืออีกศีลหนึ่งก็ให้ทำความเพียรไว้
การบำเพ็ญบารมีบางอย่าง มันต้องอาสาเข้าไป อาสาเข้าไปช่วย แต่บางอย่าง ไม่ได้อาสาหรอก แต่มันมาเอง ก็คือ เวลาเจอความทุกข์ เจอความยากลำบาก มีคนมากลั่นแกล้ง คนเราไม่ต้องรอให้ใครมากลั่นแกล้ง บางทีมันก็ต้องเจอความยากลำบาก เช่น ความเจ็บความป่วย ความแก่ ความพลัดพรากสูญเสีย และความตาย อย่างที่เราสวดกัน เมื่อสักครู่ อะภิณหะปัจจะเวกขะณะ ทั้งหมดพวกนี้มันมา มันมาเพราะมันเป็นธรรมดา มันเป็นธรรมชาติของทุกชีวิต
ส่วนใหญ่พอเจอแล้วคนเราก็ทุกข์ ทุกข์เพราะแก่ ทุกข์เพราะเจ็บป่วย ทุกข์เพราะพลัดพรากสูญเสีย ทุกข์เพราะตาย แต่ถ้ามองดีๆ มันก็คือการมา มันเป็นการมาเพื่อทดสอบ เพื่อให้เราได้บำเพ็ญบารมี ถ้าคนฉลาดเขาจะมองแบบนั้น แต่คนที่ไม่ฉลาด พอเกิดขึ้นก็จะทุกข์ เศร้าโศกเสียใจ ตีโพยตีพาย โอดครวญ อย่างนี้เรียกว่าซ้ำเติมเจ้าของ ซ้ำเติมตัวเอง เพราะว่าเวลาป่วยแทนที่จะป่วยแต่กาย ก็ป่วยใจด้วย คนที่คร่ำครวญร้องห่มร้องไห้กำลังซ้ำเติมเจ้าของ เวลาของหายเงินหาย แทนที่จะหายแต่ของ เสียแต่เงิน ใจก็เสีย พอเสียมากๆ เข้า สุขภาพก็เสีย เพราะกินไม่ได้นอนไม่หลับ บางทีไม่ยอมกินไม่ยอมนอน เหมือนกับว่าจะประชด ประชดตัวเอง ป่วย เรียกว่า เสียสุขภาพ ทำงานก็ทำไม่ได้ มันกลุ้มใจก็เสียงาน และเสียอะไรอีกหลายอย่างตามมา อันนี้ก็เรียกว่า เป็นคนไม่ฉลาดเพราะซ้ำเติมเจ้าของ คนฉลาดเสียอย่างเดียวก็คือ เสียเงิน เสียทรัพย์ แต่อย่างอื่นไม่เสีย แต่ถ้าหากฉลาดกว่านี้ นอกจากใจไม่ทุกข์แล้ว ก็ยังถือว่า เป็นการมาสร้างบารมี ให้เกิดบุญ ให้มีกำไร คือ รู้จักหาประโยชน์จากมัน กำไรได้มาอย่างไร กำไรเกิดจากการที่รู้จักหาประโยชน์จากความทุกข์
อย่างเมื่อเช้า ก็ได้ฟังพระซี ท่านเล่า ก็ได้เจอกับความทุกข์ ภาษาพระเรียกว่า อนิฎฐารมณ์ ตัวเองไม่ได้ป่วย แต่ว่าภรรยาป่วย อันนี้ก็เป็นความทุกข์ที่มันเจ็บปวดมาก คนบางคนถ้าป่วยเองยังดีกว่า คนบางคนป่วยเองยังดีกว่า เช่น แม่ถ้าป่วยเองดีกว่าให้ลูกป่วย สามีป่วยดีกว่าภรรยาป่วย มันเป็นความเจ็บความทุกข์ที่หนักหนา แต่ว่าก็รู้จักหาประโยชน์จากมัน อย่างที่เพิ่นพูดประโยคหนึ่งบอกว่า ถ้าเราไม่ทุกข์ วันนี้เราจะมีความสุขอย่างนี้หรือ ถ้าภรรยาไม่เป็นมะเร็ง แล้ววันนี้เราจะมีความสุขเหรอ มะเร็งบางทีมันทำให้คนที่เป็นสามีภรรยากันใกล้ชิดกันมากขึ้น รักกันมากขึ้น อันนี้แหละคือ การรู้จักหาประโยชน์ แทนที่จะเอาแต่ตีอกชกหัว ก่นด่าชะตากรรม ทำไมต้องเป็นฉัน ทำไมต้องเป็นฉัน ชีวิตกำลังจะมีความสุขอยู่แล้ว ได้คนรักที่เป็นคู่ชีวิต ทำไมอยู่กันได้แค่สามสี่ปีต้องมาเจอแบบนี้ ถ้าคร่ำครวญแบบนี้มันทุกข์ ก็ซ้ำเติมตัวเอง คนฉลาด ก็อย่างน้อย ข้อแรกก็ต้องยอมรับก่อนว่า มันคือความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว และมันเป็นธรรมดาของชีวิตเหมือนกับที่เพิ่นว่า เหมือนกับพระอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออก ตกทางตะวันตก เหมือนกับกลางวันและกลางคืน มันเป็นธรรมดา มันเป็นความจริงที่ต้องยอมรับ ยอมรับแล้วก็หาประโยชน์จากมัน ก็เห็น อ้อ ในเมื่อฝ่ายหนึ่งป่วย เราก็พยายามทำดีต่อกัน แทนที่จะเอาแต่ร้องห่มร้องไห้คร่ำครวญ คนที่ร้องห่มร้องไห้คร่ำครวญ กินไม่ได้นอนไม่หลับ จะทิ้งโอกาสที่จะทำความดีต่อกัน
เคยมีผู้หญิงคนหนึ่งเขียนมาปรึกษา ผัวเพิ่นเป็นมะเร็งอาการหนักแล้ว ก็เหมือนกับรอวันตาย ตัวผู้หญิงเอาแต่เศร้าเสียใจ แล้วถ้าสามีตาย ใครจะส่งเสียลูกชาย แล้วตัวเองจะอยู่ยังไง เพราะอาชีพการงานก็ไม่มี ไหนบ้านไหนรถที่ต้องผ่อนจะทำยังไง เมื่อคิดแบบนี้แล้วก็ห่อเหี่ยวท้อแท้ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ร่างกายผ่ายผอม เขียนมาถามอาตมา อาตมาก็บอกว่า ก็เห็นใจ เห็นใจที่ต้องมาเจอแบบนี้ แต่อยากเตือนว่า สามียังไม่ตาย สามียังอยู่ แต่วันเวลาที่สามีจะอยู่กับเรามันก็จะหายไปเรื่อยๆ คือ โอกาสทองที่เราจะทำความดีต่อกัน มีสุขร่วมกัน ถ้าไม่ทำวันนี้ วันหน้าอาจจะไม่ได้ทำ เขียนไปอย่างนี้ เพิ่นได้สติเลย บอกว่า ตอนนี้เริ่มมาดูแลตัวเองแล้ว เริ่มหันมากินมานอน และก็เริ่มจะใช้เวลาดูแลสามี ให้เขามีความสุข ทำความดีร่วมกัน
เราก็ได้ฟังจากเมื่อเช้า พอรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่ง พอภรรยาป่วยเป็นมะเร็ง ก็ทำความดี เริ่มจากการบอกรัก บอกรักแล้วก็ปรนนิบัติภรรยา ฟัง รู้จักฟัง การฟังมันก็ช่วยสมานใจให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยทำให้รักกันมากขึ้น เพราะทำให้รู้จักกันมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นมาคืออะไร เกิดความสุข สุขกว่าตอนที่ภรรยายังไม่ป่วยเสียอีก พอภรรยาป่วย มันมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับชีวิตหลายอย่าง มีความรักกันมากขึ้น มีความสุขมากขึ้น และก็เห็นความดีของกันและกัน เจ้าตัวก็ทำตัวดีขึ้น รักตัวเองมากขึ้น รักตัวเองอย่างแท้จริง อันนี้มันเป็นธรรมะ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องของสามีภรรยา ที่อยู่ในโลก แต่ว่าที่เล่ามาเป็นธรรมะ ที่สอนให้เรารู้ว่า ความทุกข์เช่นความเจ็บป่วย มันก็สามารถทำให้ชีวิตเรามีความสุขได้ ทำให้รักกันมากขึ้นได้ ทำให้เกิดสิ่งดีๆ กับชีวิต อันนี้เป็นการบำเพ็ญบารมีอย่างหนึ่ง มันเป็นข้อสอบ มันเป็นโจทย์ใหญ่ว่า เราจะไม่ใช่แค่ผ่านมันอย่างไร เรามาทำให้เกิดสิ่งดีงามขึ้นในชีวิตของเรา
คนเราถ้าจะทุกข์แล้ว อย่าทุกข์ฟรีๆ เวลาป่วยก็อย่าป่วยฟรีๆ หลายคนป่วยฟรีๆ ก็คือ เกิดความเจ็บความปวด นอนไม่หลับ ไม่ได้อะไรเลย คนเราถ้าเจอทุกข์แล้วมันต้องรู้จักได้อะไรสักอย่าง อย่าทุกข์ฟรีๆ ของหายแต่ได้ธรรมะ ของหายแต่ได้ธรรมะ อย่างเมื่อปี 2554 มีน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพ ภาคเหนือ ภาคกลาง เสียหายกันหลายแสนเป็นล้าน คนเป็นแสนครอบครัวเดือดร้อนกัน บางคนบางครอบครัวก็หมดเนื้อหมดตัว เท่านั้นไม่พอ บางคนก็เป็นบ้า บางคนก็ฆ่าตัวตาย แต่บางคนเสียแต่ทรัพย์ แต่ว่าได้ ได้อะไร ไม่ใช่ได้ค่าชดเชย ได้ธรรมะ
มีคนหนึ่งบอกว่า น้ำท่วมคราวนี้ก็ทำให้เห็นเลยว่า มันไม่มีอะไรที่เป็นของเราเลย ของที่เรามีนี่มันอยู่กับเราแค่ชั่วคราว วันดีคืนดี ไฟก็ไหม้ น้ำก็ท่วม อย่างนี้เรียกว่าได้ธรรมะ เสียของ เสียทรัพย์ แต่ได้ธรรมะ คือ ได้ปัญญา ถ้าคนที่มีปัญญาแบบนี้ต่อไปถ้าเสียอีก ใจไม่ทุกข์แล้ว สมบัติข้าวของหายไป เสียไปซื้อใหม่ได้ แต่ธรรมะหรือปัญญา มีเงินเท่าไรก็ซื้อบ่ได้ มันต้องรู้จักมอง รู้จักคิดพิจารณา อันนี้เรียกว่า การบำเพ็ญบารมี ที่มันมาแบบไม่อยาก ไม่ตั้งใจ ไม่อยากเจอ แต่พอเจอแล้วก็ต้องตั้งหลักให้ดี หาประโยชน์จากมันให้ได้ นอกจากรักษาใจไม่ให้ทุกข์แล้ว ต้องได้ประโยชน์จากมัน ประโยชน์อย่างหนึ่ง คือ ได้เห็นธรรมะจากสิ่งที่เกิดขึ้น ก็นี่แหละเป็นธรรมดาโลก หรือใช้มันเพื่อทำให้ชีวิตเราดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น มะเร็งก็ดี ความเจ็บความป่วย ความสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง มันก็สามารถจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นได้ ทำให้คนรักกันมากขึ้น ทำให้ฉลาดมีปัญญามากขึ้น หรือมีธรรมะมากขึ้น เวลามันเกิดขึ้นกับเราทุกข์ ตั้งหลักให้ดี ตั้งสติให้ได้ แล้วเดี๋ยวมันก็จะกลายเป็นของดีไป เตือนใจตัวเองเด้อว่า เมื่อเวลาเจอทุกข์ อย่าทุกข์ฟรีๆ มันต้องได้อะไรสักอย่างหนึ่งจากความทุกข์ ได้นี่ไม่ใช่ได้เงินชดเชย นั่นมันเล็กน้อย มันต้องได้ธรรมะ มันต้องได้ปัญญา หรือว่า ทำให้มีความรักกันมากขึ้น อันนี้แหละ มันคือการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งที่ต้องรู้จัก เอาละครั้งนี้พูดกันเท่านี้