PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
  • ภัยอนาคตที่น่าห่วงมากที่สุด
ภัยอนาคตที่น่าห่วงมากที่สุด รูปภาพ 1
  • Title
    ภัยอนาคตที่น่าห่วงมากที่สุด
  • เสียง
  • 13302 ภัยอนาคตที่น่าห่วงมากที่สุด /aj-visalo/178.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันอังคาร, 17 ธันวาคม 2567
ชุด
ธรรมะสั้นๆ ก่อนอาหารเช้า 2567
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต แสดงธรรมก่อนฉันเช้าวันที่ 30 ตุลาคม 2567
    เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการสอบถามคนทั่วโลกประมาณ 2 หมื่นกว่าคน คำถามมีข้อเดียวว่า ภัยอนาคตที่คุณเป็นห่วงมากที่สุดคืออะไร พบว่าภัยอนาคตที่มีคนเป็นห่วงมากที่สุด ติดอันดับ 1 ใน 5 คือความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ ซึ่งรวมไปถึงการที่โลกร้อนขึ้น น้ำท่วม พายุพัดกระหน่ำ และคลื่นความร้อน พวกนี้รวมหมดอยู่ในหมวดความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ
    นอกนั้นก็เป็นปัญหาที่หลายคนวิตกอยู่ แต่ว่ายังไม่สร้างความห่วงใย ห่วงกังวลมากเท่าเรื่องปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ เช่น ความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ หรือว่าการก่อความปั่นป่วนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ปัญหาที่เกิดจากปัญญาประดิษฐ์ เอไอ พวกนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่
    แต่ว่าปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศติดอันดับต้น ๆ 1 ใน 5 และที่น่าสนใจคือว่า ติดอันดับแบบนี้มา 3 ปีติดต่อกันแล้ว ซึ่งประมวลความเห็นมาจากคนทั่วโลก 23,000 คน ที่เป็นคนธรรมดา ชาวบ้านทั่วไป 20,000 คน อีก 3,000 คนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความเสี่ยงภัย
    นับเป็นเรื่องที่น่าคิดมากทีเดียว บางคนอาจจะนึกถึงปัญหาโรคระบาด ปัญหาการก่อการร้าย แต่พวกนี้ยังไม่น่ากลัวเท่ากับปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ ซึ่งถือว่าเป็นภัยอนาคตที่น่ากลัวที่สุด
    ที่จริงไม่ใช่ภายในอนาคต แต่มันเกิดขึ้นแล้ว จับต้องได้ สัมผัสได้ รู้สึกได้ เขาสอบถามเพิ่มเติม ปรากฏว่าคน 77 เปอร์เซ็นต์ หรือเกือบ 4 ใน 5 รับรู้ได้ หรือรู้สึกถึงความเดือดร้อนที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ
    นี่เป็นข้อเตือนใจว่า ในขณะที่เรายังวิตกพะวงถึงปัญหาต่าง ๆ แต่อย่าลืมว่าปัญหาต่าง ๆ ที่เราวิตกนั้นยังน่ากลัวน้อยกว่าปัญหาความเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ ในขณะที่ผู้คนทะเลาะเบาะแว้งกันเรื่องนั้นเรื่องนี้ ลืมไปเลยว่าโลกหรือมนุษยชาติกําลังพุ่งไปสู่จุดไหน
    สถานการณ์ตอนนี้เหมือนกับว่าคนที่นั่งอยู่ในรถกําลังทะเลาะกัน ว่าใครจะควรจะเป็นคนขับรถ ใครจะเป็นคนที่มีสิทธิ์ในการขับรถ ทะเลาะเบาะแว้งกันโดยไม่ตระหนักเลยว่ารถกําลังพุ่งไปที่หน้าผา ใครจะขับรถก็แล้วแต่ สุดท้ายโอกาสที่รถจะตกหน้าผามีสูงมาก แต่คนไม่ได้สนใจว่ารถจะตกหน้าผาหรือเปล่า สนใจแต่ว่าใครจะขับรถคันนี้ดี
    ฉะนั้น ถ้าเรามองภาพกว้างจะพบว่า ตอนนี้มีปัญหาที่น่ากลัวรอเราอยู่ เป็นปัญหาที่คนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ปู่ย่าตายายไม่เคยประสบพบเห็นมาก่อน คือปัญหาโลกร้อน ซึ่งที่จริงก็เชื่อมโยงไปถึงปัญหาโรคระบาด โควิดก็ดี อีโบลาก็ดี เอ็มพ็อกซ์ก็ดี หรือฝีดาษลิงก็ดี พวกนี้เชื่อมโยงกับปัญหาโลกร้อน มีสาเหตุเดียวกันคือ การทำลายป่า ทำลายสิ่งแวดล้อม
    ในขณะที่เราพยายามดูแลรักษาใจด้วยการมาปฏิบัติธรรม ซึ่งดีแล้วที่เราดูแลใจ แต่อย่าลืม ต้องห่วงใยโลกด้วย ความรู้ตัวของเราไม่ใช่แค่รู้เรื่องกายเรื่องใจ แต่รู้เรื่องโลกภายนอกด้วย โดยเฉพาะที่เป็นปัญหาที่จะกระทบกับตัวเรา กับพ่อแม่ของเรา กับลูกหลานของเรา
    ตอนนี้ต้องคิดถึง 2 อย่าง หนึ่ง ทำอย่างไรจะทำให้ปัญหาโลกร้อนรุนแรงน้อยลง หรือว่าชะลอไม่ให้ความรุนแรงที่เขาคาดว่าจะเกิดขึ้นมาถึงเร็ว อันนี้ต้องช่วยกัน ลดการตัดไม้ทำลายป่า หรือว่าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การสัญจร ขับรถ การใช้พลังงาน จะต้องใช้พลังงานที่ก่อปัญหาหรือปล่อยคาร์บอนออกมาให้น้อยที่สุด นี่เป็นการบรรเทาปัญหา
    โอกาสที่มันจะเกิดขึ้น 99 เปอร์เซ็นต์แล้ว เพราะฉะนั้น ต้องคิดต่อไปว่า เราจะอยู่อย่างไรเมื่อปัญหามันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความร้อนที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นแม้กระทั่งในกรุงเทพฯ ตอนนี้ต้องคิดกันแล้วว่าจะอยู่กับมันอย่างไรโดยที่เดือดร้อนน้อยที่สุด
    แต่ว่าการพยายามชะลอปัญหาให้เกิดขึ้นช้าที่สุดยังต้องทำ ช่วยกันรณรงค์ปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น หรือว่าปกป้องป่าไม่ให้มีการทำลาย ไม่ว่าจะโดยโครงการของรัฐ หรือว่าโดยโครงการของธุรกิจเอกชน ตอนนี้ไม่ว่ารัฐก็ดี เอกชนก็ดี ที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ก็มีส่วนในการทำลายสิ่งแวดล้อมมาก
    แต่ไม่ใช่เท่านั้น วิถีชีวิตของเราก็เหมือนกัน การใช้ชีวิตของเราจะต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงาน การขับรถ การบริโภค ต้องกลับมาใช้ชีวิตที่ก่อให้เกิดคาร์บอนน้อยที่สุด คาร์บอนนี่รวมถึงคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก
    เรื่องพวกนี้เป็นของใหม่ที่ต้องเรียนรู้ เพราะว่าคนรุ่นเราเป็นรุ่นแรกที่มีภารกิจต่อโลกแบบนี้ คือช่วยกันชะลอปัญหาโลกร้อน ไม่มีมนุษย์รุ่นใดในประวัติศาสตร์ที่จะต้องมาสนใจเรื่องนี้ แต่ตอนนี้ต้องเป็นรุ่นของเราแล้ว
    ปลูกป่าให้มากขึ้น ลดการใช้พลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง แม้กระทั่งอาหารที่กินก็ต้องกินอาหารที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิต กระบวนการขนส่ง พวกนี้เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ เพราะถ้าเราไม่ได้รู้ สุดท้ายเราก็ต้องเดือดร้อนลูกหลานของเราก็เดือดร้อนด้วย.

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service