แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน แล้วก็ให้ต่อเนื่อง
ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จนกระทั่งถึงเวลานี้ แล้วก็เดี๋ยวนี้ พวกเราได้สร้างความรู้ตัว หรือว่าเจริญสติ ให้มี ให้เกิด ให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสีย อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง พยายามทำ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ไม่ต้องพนมมือก็ได้
วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ดูสิ การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ ให้เป็นธรรมชาติที่สุด สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็รู้สึกว่าสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจก็จะชัดเจน
พยายามสร้างความรู้ตัวให้มี ให้เกิดให้ต่อเนื่อง พลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ ค่อยพัฒนา ค่อยพัฒนาหรือว่ามาสร้างผู้รู้ ส่วนใจของเรานั้นเป็นธาตุรู้ ทั้งรู้แล้วก็ทั้งหลง ทั้งเกิด ทั้งเป็นทาสกิเลส
เราก็มาคอยเจริญสติเข้าไปอบรมใจของเรา แต่กำลังสติของเรามีน้อย ก็ยากที่จะเข้าไปอบรมใจของเราได้ เราอาจจะอบรมใจของเราได้เป็นบางครั้งบางคราว แต่เรารู้ไม่ต่อเนื่อง เราก็อบรมใจของเราไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่เป็น ต้องพยายามสร้างผู้รู้ เจริญสติ เขาเรียกว่า 'ตนเป็นที่พึ่งของตน' พึ่งของเราให้ได้ ทั้งระดับสมมติ ความเป็นอยู่ของเราก็ให้ช่วยเหลือตัวเองให้ได้ ระดับวิมุตติ ระดับจิตใจเราก็ไม่ให้ไปหลงไปยึด แล้วก็ทำความเข้าใจ แต่ละวันๆ เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความเพียรเพียงพอหรือเปล่า หรือว่ามีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ
เรามีความเสียสละ มีความอดทน มีความขยัน รู้จักฝักใฝ่ รู้จักสนใจ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ กายทวารทั้ง 6 หูตาจมูกลิ้น กายเขาทำหน้าที่อย่างนี้ ภาษาธรรมภาษาโลก จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ รู้เรื่องชีวิตของตัวเรา
เข้าถึงคำสอนของพระพุทธองค์ คำว่า 'อัตตา อนัตตา' เป็นอย่างไร 'สมมติ วิมุตติ' เป็นอย่างไร รู้หลักของอริยสัจ4 ความทุกข์ ทุกข์อยู่ในระดับไหน ระดับสมมติ ระดับวิมุตติ ระดับกาย ระดับวิญญาณ วิญญาณในกายของเราเป็นอย่างไร เราต้องศึกษาค้นคว้า ไม่ใช่ว่าไปผัดวันประกันพรุ่ง ปล่อยวันเวลาทิ้ง ทุกเรื่องที่เราจะต้องศึกษา สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เราก็ไม่ปล่อยทิ้ง
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาความรู้ตัวเป็นอย่างไร สติเป็นอย่างไร จนกระทั่งถึงเวลานี้ที่จะขบจะฉัน เราจำแนกแจกแจงความอยาก ความหิว ออกจากกันได้แล้วหรือยัง ใจเกิดความอยาก เราดับได้ไหม เราละได้ไหม เราควบคุมได้หรือไม่
กาย วาจา กายของเราปกติ ปกติเราไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อน ไปทำลายคนนู้นคนนี้ ใจของเราก็ไม่ได้ไปคิดอคติ เพ่งโทษ คนโน้นคนนี้ ไม่พูดจาส่อเสียด วาจาของเราก็ไม่ได้ไปว่าคนโน้นคนนี้ เราต้องทำความเข้าใจให้เรียบร้อย
ไม่ใช่ว่าจะไปเอาตั้งแต่ธรรมแต่ไม่รู้จักทำ จะไปปฏิบัติธรรมมีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ มันก็ไปไม่ถึงไหน คนที่จะฝึกหัดปฏิบัติธรรม คนที่จะเข้าถึงธรรมได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ขยันในการขัดเกลากิเลส ขยันในการละกิเลส ขยันในการทำความเข้าใจ สติเราพลั้งเผลอได้ยังไง ใจของเราเกิดขึ้นมาได้อย่างไร อาการของความคิดของขันธ์ 5 เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ใจเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร เรารู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็รู้จักดับเอาไว้ รู้จักดับ ใช้สมถะเข้าไปดับ
ใจของเรามีความแข็งกร้าว เราก็พยายามละความแข็งกร้าว สร้างความอ่อนน้อมถ่อมตน ใจของเรามีพรหมวิหาร มีความเมตตาหรือไม่ รู้จักให้อภัยอโหสิกรรม รู้จักแก้ไข
รู้เรื่องของกรรม กรรมส่วนรูป กรรมส่วนนาม รู้จักละกรรม ละความคิด กรรมคือการกระทำระดับสมมติ ระดับวิมุตติ ค่อยไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ ปรับสภาพใจของเรา แก้ไขใจของเราให้ได้ ถ้าเราสอนใจของเราไม่ได้ ไม่มีใครจะสอนให้เราได้เลย นอกจากตัวของเรา
เรามาเจริญสติเข้าไปอบรมใจของเรา พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ เราก็ค่อยพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ เอาไปใช้กับชีวิตประจำวันของเรา จนมองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน ก็ต้องพยายาม
งานสมมติเราก็ขยันหมั่นเพียร ยังประโยชน์ ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์สูงสุด ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์อยู่ปัจจุบัน เราทำปัจจุบันให้ดีก็จะส่งผลออกไปถึงอนาคต จนกว่าเราไม่กลับมาเกิดกันนั่นแหละ
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกัน