PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
  • ตามความเป็นจริง77
ตามความเป็นจริง77 รูปภาพ 1
  • Title
    ตามความเป็นจริง77
  • เสียง
  • 11821 ตามความเป็นจริง77 /aj-sumran/77.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 28 มิถุนายน 2566
ชุด
ตามความเป็นจริง
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 77

    วันที่ 7 กันยายน 2557

    ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่าน จงสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ผ่อนคลายร่างกายกล้ามเนื้อของเราทุกส่วน อย่าไปเกร็งร่างกาย ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก

    สูดลมหายใจเข้าไปยาว ๆ ลึก ๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาว ๆ เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก พวกเราก็ขาดการสังเกต ขาดการวิเคราะห์

    หายใจยาวมีความรู้สึกรับรู้อยู่เป็นอย่างไร หายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่เป็นอย่างไร ความรู้สึกที่ต่อเนื่องเป็นอย่างไร นี่แหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเราทำให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’

    เพียงแค่เราประคับประคอง สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องก็ยาก ไม่มีความเพียรตรงนี้เพียงพอ ก็เลยรู้ไม่เท่าทันการเกิดของใจ ไม่รู้ลักษณะของใจ ไม่รู้ลักษณะของความคิด ทั้งที่ใจก็เป็นบุญ ใจอยากจะได้บุญ อยากจะทำบุญ ไปด้วยใจ ไปตามอำเภอใจ ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ในส่วนลึก ๆ นั้น ใจเขายังหลงความคิดอยู่ เขายังรวมอยู่ นอกจากเราจะสังเกตสักวันหนึ่ง ถ้าเราสังเกตบ่อย ๆ เราก็อาจจะเห็นใจคลายออกจากความคิด

    ถ้าเรารู้ทันการก่อตัว การเกิดเขาจะแยกของเขาเอง แยกของเขาแล้วก็ยังไม่เพียงพอ เราต้องทำความเข้าใจทุกเรื่อง ใจก็จะว่างรับรู้ เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขันธ์ห้าของเรา เห็นวิญญาณในกายของตัวเอง แล้วทำความเข้าใจอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรปล่อยควรวาง จนใจเกิดความเบื่อหน่ายนั่นแหละ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสาระประโยชน์แก่นสารอะไร มีตั้งแต่ความไม่เที่ยง

    ที่พวกเราพากันสวด พากันท่องอยู่ตามตำราทุกเช้าทุกเย็นนั่นแหละ เราก็จะเห็นในกายของเราในใจของเรา มีเรื่องเดียวเท่านี้แหละ ถ้าเราเห็นเรื่องนี้แล้ว เรื่องอื่นมันไม่มีปัญหาเลย เราตามทำความเข้าใจ เราละ ทีนี้เราจะละกิเลสได้หมดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่ความเพียรของเรา กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ทำความเข้าใจแล้วก็ละ อยู่กับกองกิเลส กายของเรานี่แหละเป็นก้อนกิเลส เราต้องทำความเข้าใจ

    ใจอยากจะวาง ถ้าเรายังไม่รู้จุดวาง ก็วางไม่ได้ ถ้าเราแยกขันธ์ห้าไม่ได้ ตามดู รู้ เห็นความเป็นจริงไม่ได้ มันก็ได้แค่ความสงบ แต่การเกิดเขาก็ยังมีอยู่ ตราบใดที่ยังเกิด ถ้าเขาไม่หลง เขาไม่เกิดหรอก เราต้องทำความเข้าใจให้ละเอียด ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ค่อย ๆ เดิน สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมาย ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ถ้าไม่ถึงจริง ๆ ก็จะไปต่อเอาภพหน้าโน่น เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีหมด วันนี้มี พรุ่งนี้มี มะรืนนี้มี ภพนี้มี ภพหน้ามี เราต้องมองเห็นหนทางเดินของเรา ก็ต้องพยายาม แต่อย่าไปทิ้งในการทำบุญให้ทาน สร้างอานิสงส์ สร้างบารมีของเราไปเรื่อย ๆ สักวันหนึ่งก็คงจะเต็ม

    สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจนกันนะ

    พากันไหว้พระพร้อม ๆ กัน ค่อยไปสร้างสานตามความเข้าใจต่อกันให้รู้ทุกอิริยาบถกันนะ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service