PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
  • ตามความเป็นจริง52
ตามความเป็นจริง52 รูปภาพ 1
  • Title
    ตามความเป็นจริง52
  • เสียง
  • 11795 ตามความเป็นจริง52 /aj-sumran/52.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันอังคาร, 27 มิถุนายน 2566
ชุด
ตามความเป็นจริง
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 52

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2557

    ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจนกันสักระยะหนึ่งเสียก่อน ถึงไม่ต่อเนื่องกัน เราก็ขอให้ต่อเนื่องกันขณะที่นั่งอยู่นี่แหละ นั่งให้สบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยสำเหนียกหรือว่าน้อม

    ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาว ๆ ลึก ๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาว ๆ สักสองสามเที่ยว กายของเราก็สบายขึ้นเยอะ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน ถ้าไม่ชัดเจนเราก็พยายามสูดลมหายใจเข้าไปยาว ๆ พยายามหัดสังเกต หัดสร้างความรู้สึกรับรู้ เหมือนกับนายประตูทวารที่นั่งอยู่ประตู รถคันไหนวิ่งเข้าก็รู้ รถคันไหนวิ่งออกก็รู้ รู้อยู่ที่ปลายจมูกก็พอ อันนี้เป็นการสร้างความรู้ตัวลงอยู่ที่กายของเราให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงให้ได้เสียก่อน

    ถ้ากำลังสติความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง เราก็จะรู้เท่ารู้ทันการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ รู้ลักษณะของความคิดซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรม กายของเรานี่เป็นส่วนของรูป ส่วนจิตวิญญาณนั้นเป็นฝ่ายนามธรรม ซึ่งมีอยู่สี่ลักษณะ รวมกันกับกายเขาเรียกว่ามีห้า ที่ว่า ‘ขันธ์ทั้งห้าเป็นของทุกข์’ ทำไมถึงว่าเป็นของทุกข์ เราต้องมาสร้างความรู้ตัวตัวใหม่ ให้ต่อเนื่อง ให้รู้เท่าทัน เรารู้ไม่ทันตั้งแต่ต้นเหตุ เราก็พยายามหยุด พยายามดับ ด้วยการสูดลมหายใจยาว ๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาว ๆ หรือว่าเอาคำบริกรรมเข้าไปกำกับ แล้วแต่จริตของเรา เขาเรียกว่า ‘สมถะ’ หยุดใจของเรา

    ถ้าเราเห็นการเกิดการดับ การแยกการคลาย นี่เขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ-ความรู้แจ้งเห็นจริง’ เปิดทางให้ เพียงแค่แยกได้ยังไม่พอ เราต้องตามดูรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้น ใจของเราไปรวมได้อย่างไร ไปร่วมได้อย่างไร ทำไมใจถึงหลง ทำไมถึงเกิดอัตตา พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องอะไร เราก็จะเข้าใจคำว่า ‘อัตตา’ ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไรอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตาในขันธ์ห้าเป็นอย่างไร รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในโลก โลกธรรม ทำความเข้าใจ

    ขอให้เรารู้ต้นเหตุให้ได้เสียก่อน แยกแยะที่ต้นเหตุให้ได้เสียก่อน ท่านถึงบอกให้เชื่อ ตามดูตามรู้ตามเห็นจนใจของเรามองเห็นความเป็นจริง แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีน้อย มีไม่เพียงพอ อาจจะรู้บ้าง ละได้บ้าง ดับได้บ้าง อยู่ในระดับของการสร้างบารมีกัน ก็ต้องพยายามนะ อย่าไปน้อยใจ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเองใหม่อยู่ตลอดเวลา จนเราเข้าถึงธรรมชาติที่แท้จริง ไม่ถึงช้า ก็ต้องถึงเร็ว ถ้าไม่ถึงจริง ๆ เขาจะไปต่อเอาภพหน้าโน่นแหละ เพราะว่าใจมันยังเกิดอยู่

    สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนกันนะ

    พากันไหว้พระพร้อม ๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจให้รู้ทุกอริยาบทนะ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service