PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
  • ตามความเป็นจริง29
ตามความเป็นจริง29 รูปภาพ 1
  • Title
    ตามความเป็นจริง29
  • เสียง
  • 11772 ตามความเป็นจริง29 /aj-sumran/29-2.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันอังคาร, 27 มิถุนายน 2566
ชุด
ตามความเป็นจริง
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 29

    วันที่ 13 เมษายน 2557

    ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่าน​ จงเจริญสติให้ต่อเนื่องกันซักนิดหนึ่ง สร้างความรู้สึกรับรู้​สัมผัสของลมหายใจเข้าออกของเราให้ชัดเจน​ วางกายให้สบาย​วางใจให้สบาย​ ไม่ต้องพนมมือ

    หยุด วางภาระหน้าที่การงานทางสมมติ​ เราก็วางมาแล้ว ทีนี้เราก็มาหยุด​ ระงับ​ยับยั้งทางด้านจิตวิญญาณของเราให้สงบ แล้วก็มาสร้างความรู้สึกรับรู้​สัมผัสของลมหายใจ ในหลักธรรมท่านเรียกว่า 'สติ'​ ถ้าเรารู้ มีความรู้สึกให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า 'สัมปชัญญะ'​ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม

    เราพยายามสร้างความรู้สึกให้ต่อเนื่อง ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอ​เราก็เริ่มขึ้นมาใหม่​ อย่าไปเกียจคร้าน จนกระทั่งความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง​ จากหนึ่งครั้งสองครั้ง จนรู้ตัวทุกขณะลมหายใจเข้าออก ลึกลงไปก็รู้ตัวทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก​ รู้ลักษณะของใจของเรา รู้ความปกติ​ รู้การเกิด รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้า​ ซึ่งอยู่ในกายของเรา

    วิเคราะห์พิจารณา รู้เห็นตามความเป็นจริง เข้าใจในความหมาย เข้าใจในภาษาธรรม​ที่พระพุทธองค์ท่านชี้แนะ ที่ท่านพร่ำสอนว่า​ อัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ อนัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ การเกิดของใจเป็นลักษณะอย่างนี้ สาเหตุแห่งทุกข์ การเกิดแห่งทุกข์ อะไรคือทุกข์ คือ​ความไม่เที่ยง​ ซึ่งเป็นส่วนรูป​ ทั้งส่วนนาม เราต้องเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ พิจารณา หมั่นพร่ำสอนใจ ​ชี้เหตุชี้ผล จนใจของเรายอมรับความเป็นจริง จนไม่มีทางจะต่อสู้​นั่นแหละ​ เขาถึงจะปล่อย​ เขาถึงจะวาง เขาถึงจะละกิเลสได้

    แต่เวลานี้​กำลังสติของเราทุกคน​มีไม่มาก เอาตั้งแต่ปัญญาที่เกิดจากใจ​ เกิดจากขันธ์ห้าเสียมากกว่า เขาก็เลยปิดกั้นตัวเองเอาไว้​ ก็เลยมองไม่เห็นความเป็นจริง 

    พากันตั้งสติ​ สร้างความรู้ให้ต่อเนื่องกัน​ให้ได้กันสักพักหนึ่ง​ ทำใจให้โล่ง​ สมองให้โปร่ง​ อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว​ อยู่คนเดียวขณะนี้​ ก็ให้รู้ว่าลมวิ่งเข้าวิ่งออกให้ชัดเจนกันนะ  

    พากันไหว้พระพร้อม ๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อกันเอานะ อันนี้เพียงแค่ย้ำ​ แค่เตือนเท่านั้นเอง

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service