PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
  • ตำราใบใหญ่ ลำดับที่ 19
ตำราใบใหญ่ ลำดับที่ 19 รูปภาพ 1
  • Title
    ตำราใบใหญ่ ลำดับที่ 19
  • เสียง
  • 11647 ตำราใบใหญ่ ลำดับที่ 19 /aj-sumran/19.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 03 พฤษภาคม 2566
ชุด
ตำราใบใหญ่
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ ตั้งแต่เช้าขึ้นมาตั้งแต่ตื่นขึ้นมา พากันได้สร้างสติแล้วหรือยัง พากันได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง พากันได้วิเคราะห์กายวิเคราะห์ใจของตัวเราเองแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสีย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย 

     

     

    เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าหายใจออก เราก็มีความรู้สึกรับรู้ให้ต่อเนื่อง เผลอแล้วก็เริ่มใหม่ ทำอยู่บ่อยๆ ให้รู้จักทำความเข้าใจ หมั่นแก้ไขใจของเรา อบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ปล่อยวันเวลาทิ้ง เรารู้จักวิธีการแล้ว แนวทางแล้ว เราก็รีบไปทำ เราติดขัดตรงไหนเราก็รีบแก้ไข ติดขัดในทางสมมติ เราก็พยายามแก้ไขในทางสมมติ ทางสมมติสมบูรณ์บริบูรณ์ แล้วก็จะส่งผลถึงวิมุตติ ถึงทางด้านจิตใจ

     

     

    ไม่ใช่ว่าจะเอาเฉพาะธรรมแต่ไม่รู้จักทำ มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราพยายามมาสร้างความขยัน สร้างความหมั่นเพียร แก้ไขใจตัวเราอยู่ตลอดเวลา ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร สอนเรื่องหลักของอริยสัจ ความหมายของอริยสัจ สอนเรื่องความทุกข์ อะไรคือทุกข์ เหตุแห่งทุกข์เป็นอย่างไร เราจะแก้ไขได้อย่างไร เราก็พยายามค่อยแก้ไขไป

     

     

    ไม่ใช่ว่าไปผัดวันประกันพรุ่ง แก้ไขทางด้านรูปธรรม แก้ไขทางด้านนามธรรม เพราะทุกสิ่งทุกอย่างก็เกี่ยวเนื่องกันอยู่ ถ้าเราไม่ทำความเข้าใจให้ถูกต้องก็ยากที่จะเข้าใจ ก็ต้องพยายามกัน

     

     

    ศึกษาค้นคว้าขณะที่ยังมีกำลังยังมีลมหายใจอยู่ หมดลมหายใจก็มีแต่เรื่องบุญเรื่องบาป ถ้าบุคคลที่จะศึกษาทำความเข้าใจได้ รู้จักแนวทางวิธีการแล้วก็ กายวิเวกเป็นอย่างนี้นะ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้นะ โลกธรรมเป็นอย่างนี้ อันนี้ส่วนกองรูป กองนาม กองวิญญาณเป็นอย่างนี้ มันก็จะเห็นเป็นส่วนๆ แต่เขาก็อาศัยกันอยู่ รวมกันอยู่ 

     

     

    ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากเลยสิ่งพวกนี้ เพียงแค่รู้แนวทางแล้วก็ไปทำ ไม่จำเป็นต้องไปพูดไปคุยกันเลยก็ได้ รู้จักแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา รู้ไม่ทันก็รู้จักดับ รู้จักหยุด รู้จักละ

     

     

    อะไรคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายของเรา อะไรคือรูป อะไรคือนาม อะไรส่วนนามธรรม อะไรส่วนรูป มันจะดูรู้อยู่ตลอดเวลา อะไรคือสติที่เราสร้างขึ้นมา เอาไปใช้การใช้งานได้หรือไม่ กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร นิวรณธรรมเป็นอย่างไร มันจะค้นคว้าเข้าไปดูรู้เห็นหมด ชี้เหตุชี้ผล ทุกอย่างก็ลงที่เหตุ ก็ต้องพยายามกัน

     

     

    สร้างความรู้สึกตัวให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึง ถ้าไม่ต่อเนื่องกันจริงๆ ทำใจให้โล่งสมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ

     

     

    พากันไหว้พระแล้วก็ไปทำความเข้าใจ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service