PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
  • ตามความเป็นจริง04
ตามความเป็นจริง04 รูปภาพ 1
  • Title
    ตามความเป็นจริง04
  • เสียง
  • 11746 ตามความเป็นจริง04 /aj-sumran/04.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันจันทร์, 26 มิถุนายน 2566
ชุด
ตามความเป็นจริง
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 4

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557

    ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบายวางกายให้สบาย ไม่ต้องไปเกร็งร่างกาย ไม่ต้องพนมมือ นั่งตามสบายเสียก่อนนะ ฟังไปด้วย ลองน้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาว ๆ ลึก ๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจมายาว ๆ สักสองสามเที่ยว กายของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ใจของเราก็จะสงบลงทันที

    การสูดลมหายใจยาว ๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาว ๆ ใจของเราจะสงบอยู่กับลมหายใจเอง ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นมาใหม่ การสูดลมหายใจยาว ๆ ความรู้สึกที่กระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน

    เวลาหายใจเข้า หายใจออก อันนี้เราพยายามสร้างความรู้ตัวตรงนี้ ตั้งแต่ยังไม่ตื่น ตั้งแต่พอรู้ตัว ลุก พอรู้ตัวจากที่ปุ๊บ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจเราต้องรู้ทันที เค้าเรียกว่า ‘รู้กายอยู่ปัจจุบัน’ อันนี้เป็นการเจริญสติ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ อันนี้เป็นส่วนของสติปัญญา

    ในหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านให้ ต้องให้เจริญ เอาไปใช้การใช้งาน รู้เท่าทัน รู้ลักษณะของใจ ก็เพื่อที่จะเข้าไปอบรมใจ หมั่นพร่ำสอนใจ จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ หรือว่า ‘คลายความหลง’ ความหลงของพระพุทธองค์อยู่ตรงนี้

    ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ ใจก็จะพลิก ใจก็จะหงาย ใจก็จะว่าง ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมา ก็จะตามเห็นการเกิดการดับของความคิด นั่นแหละ ท่านถึงบอกว่า ‘เห็นอนิจจัง ความไม่เที่ยงของความคิด’ ‘อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา’ เขาเกิดขึ้น เขาตั้งอยู่ เวลาเขาดับไป อนัตตา ความว่างเปล่าก็เข้ามาปรากฏ 

    ใจของเราไปหลง ไปรวมจนเป็นตัวเดียวกันไปด้วยกัน เป็นความหลงอย่างลุ่มลึก ถ้าคลายตรงนี้ไม่ได้ เราก็อาจจะได้อยู่เพียงแค่ในการสร้างประโยชน์ สร้างคุณงามความดี สร้างอานิสงส์ สร้างตบะ สร้างบารมี แต่ในส่วนลึก ๆ เราต้องคลายตรงนี้ เราก็ดับความเกิด หยุดความเกิดของตัววิญญาณ ไม่ให้ใจของเราส่งออกไปภายนอก ถ้าใจส่งไปภายนอกท่านเรียกว่า ‘สมุทัย-สาเหตุแห่งทุกข์’

    เพียงแค่ใจส่งออกไปภายนอกนั้นแหละ ก็เรียกว่า ‘ความทุกข์เกิดแล้ว’ ถึงไม่ยึด แต่การเกิด การเกิด ๆ ดับ ๆ ใจส่งไปภายนอกยังไม่พอ ยังมีความทะเยอทะยานอยากผสมโรงเข้าไปอีก ความทะเยอทะยานอยากผสมโรงแล้วก็ไปรวมกับขันธ์ห้าอีก มันหลายชั้น หลายขั้นหลายตอน กิเลสหยาบกิเลสละเอียด มีอยู่ในใจของเรามากมาย

    เพียงแค่การเจริญสติให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง พวกเราก็ยังทำกันได้ยาก มันก็เลยยากที่จะเข้าใจในชีวิต ยากที่จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ ถ้าเราไม่ศึกษา ไม่ค้นคว้าให้ถูกวิธี ถูกแนวทาง เราอาจจะมองถูกอยู่ในระดับของสมมติเท่านั้นเอง ถูกอยู่ในการสร้างคุณงามความดี คิดดีทำดีสร้างบุญสร้างอานิสงส์ อันนี้ก็ยังดับทุกข์ไม่ได้ แต่ก็ยังเป็นตบะเป็นบารมีที่จะส่งให้เข้าถึงจุดหมาย คือความสะอาดความบริสุทธิ์ในวันข้างหน้า

    เราก็ต้องพยายาม หาความจริง ทำความจริงให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา อย่าไปเลือกกาลเลือกเวลา เวลาโน้นถึงจะทำเวลานี้ถึงจะทำ ความจริงมีอยู่ พระพุทธองค์ท่านก็สอนเรื่องกายของเรา เรื่องชีวิตของเรานี้แหละ ไม่ได้สอนเรื่องอื่น เราพยายามทำให้รู้แจ้งเห็นจริง แล้วก็ละกิเลส ดับความเกิดให้มันหมด มันไม่เหลือวิสัยหรอก ได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็พยายามทำ อย่าไปทิ้ง ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ปรับปรุงตัวเราใหม่

    ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ จนกระทั่งหมดลมหายใจนั่นแหละ ถึงจะได้จบกัน ถึงหมดลมหายใจ ถ้าใจยังเกิดก็ต้องไปสานต่อ ไปแก้ไขต่อในวันข้างหน้าในภพหน้าอีก เพราะว่าวันนี้มี พรุ่งนี้มี เมื่อวานนี้ก็มี

    สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักพักนะ

    พากันไหว้พระพร้อม ๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อกันเอา

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service