PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
  • ตามความเป็นจริง02
ตามความเป็นจริง02 รูปภาพ 1
  • Title
    ตามความเป็นจริง02
  • เสียง
  • 11744 ตามความเป็นจริง02 /aj-sumran/02.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันจันทร์, 26 มิถุนายน 2566
ชุด
ตามความเป็นจริง
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 2

    วันที่ 12 ตุลาคม 2557

    ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน แล้วก็ให้ต่อเนื่องกันสักนาทีสองนาทีก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย วางความนึกคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ด้วยการสูดลมหายใจเข้าไปยาว ๆ ลึก ๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาว ๆ

    พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน การสูดลมหายใจเข้าไปยาว ๆ ลึก ๆ นี่รู้สึกว่าใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้นมาทันที ความรู้สึกสัมผัสเวลาลมหายใจเข้ากระทบปลายจมูกนั่นแหละ เขาเรียกว่า ‘ความรู้ตัว’

    ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง ทั้งลมหายใจเข้า หายใจออก เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’  ให้มีความรู้ตัวทั่วพร้อม ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ก็เพื่อที่จะให้มีสติอยู่กับกาย รู้ตัวอยู่ปัจจุบันธรรม ทุกขณะลมหายใจเข้าออก

    ส่วนความคิดเก่าที่เกิดจากตัวใจ หรือว่าวิญญาณนั้น เขาเกิด ๆ ดับ ๆ อาการของขันธ์ห้า เขาก็เกิด ๆ ดับ ๆ อันนั้นมีอยู่แล้ว แต่กำลังสติที่เราจะสร้างขึ้นมานี้แหละ เข้าไปควบคุมใจ เข้าไปอบรมใจ มีกำลังไม่เพียงพอ กำลังปัญญาเก่าเขาก็เลยปิดกั้นเอาไว้หมด

    ท่านถึงให้ได้มาเจริญสติ แล้วก็มาสร้างตบะบารมี มีความอดทน อดกลั้น มีความเสียสละ มีการบริจาค มีการให้ มีการเอาออก มีการทำความเข้าใจ อดกลั้น ทั้งภายนอก ทั้งภายใน จนกว่าจะทำความเข้าใจปล่อยวาง ละกิเลส ดับความเกิดได้หมดจดทุกเรื่อง วางใจให้เป็นอิสรภาพจากกิเลส จากการเกิดได้

    การพูด พูดง่าย แต่การฝึกหัดปฏิบัติต้องอาศัยความเพียรอย่างยิ่งยวด เราอย่าไปมองข้ามในสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ของดีอยู่ภายในกายของเรา สนามรบก็อยู่ที่กายของเรา เราชนะใจตัวเรา เราชนะกิเลสของเรา เราจะชนะได้หมด แต่คนส่วนมากมีตั้งแต่ส่งเสริม ส่งเสริมกับแสวงหาด้วยความทะเยอทะยานอยาก มันก็เลยกลับกัน

    การฝึกหัดใจนี่ใหม่ ๆ นี้จะเป็นการสวน เป็นการทวนกระแส ถ้าเราเข้าใจแล้ว จะไปตามกระแสธรรม จะเอา จะมี จะเป็นจะทำ ก็เป็นเรื่องของปัญญา ทำหน้าที่ด้วยปัญญา รับผิดชอบด้วยปัญญา ผิดถูก ชั่วดียังไง สติปัญญาไปแก้ไข แม้สติปัญญาเป็นอกุศล ถ้าเกิดอกุศล เราก็ยังให้หยุดให้ละให้ดับ ก็ต้องพยายามกัน อย่าไปทิ้งในการวิเคราะห์ตัวเรา ได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็พยายามทำ

    ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ทุกอิริยาบถ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย การได้ยินได้ฟังได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือวิเคราะห์สังเกต ตามดูตามรู้ตามเห็น ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ ทุกเรื่อง ตรงนี้สำคัญ จนไม่มีอะไรที่จะค้น จนไม่มีอะไรที่จะเหลือ เหลือตั้งแต่ธรรมชาติล้วน ๆ

    ธรรมชาติของใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ธรรมชาติของกายก็เป็นอย่างนี้ ถึงเวลาเขาก็แตก ก็ดับ เราก็มองเห็นทางเดิน ว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือว่าเกิด ไปยังไง มายังไง เรารู้ใจของเรา ก็ต้องพยาพยามนะ

    สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจเข้าออกให้ชัดเจนกัน

    พากันไหว้พระพร้อม ๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อให้รู้ทุกอิริยาบถนะ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service