แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : สวัสดีทุกท่านที่มาพบกันอีกครั้งที่ห้องปฏิบัติธรรมหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) รวมทั้งท่านที่ติดตามทางช่องทางออนไลน์ทางเพจกิจกรรมสวนโมกข์ กรุงเทพ เพจมูลนิธิหมอชาวบ้าน และมูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ที่มาดำเนินการด้านการถ่ายทอดออนไลน์ กิจกรรรมพุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) ทางท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ตั้งใจที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตของท่านที่ศึกษาเรียนรู้พระพุทธศาสนาแล้วนำมาใช้ กิจกรรมมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตอนนี้เข้าสู่ครั้งที่ ๖ และมีอีก ๒ - ๓ มูลนิธิที่มีสวนร่วม นอกจากหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) ยังมีมูลนิธิหมอชาวบ้าน มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ที่มาร่วมกันช่วยจัดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๖ เดินทางมาครึ่งทางแล้ว มีการเตรียมการไว้ตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดโควิด-๑๙ เขียนบทความมาเรื่อย ๆ ลงในหมอชาวบ้าน และได้มีการหารือกันแล้วท่านอาจารย์หมอประเวศฯปรับรูปแบบใหม่ให้สอดรับกับปัจจุบัน หากมีการติดตามมาตั้งแต่ต้น
นัดนี้ได้รับทราบมาจากอาจารย์หมอประเวศ วะสีว่า จะบอกเล่าสมาธิอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียนรู้ และอาจารย์หมอประเวศ วะสี ท่านเป็นคนชอบคิด อ่านหนังสือและชอบคิด ฉะนั้นต้องหาเทคนิคที่เอาอยู่เอาใจที่คิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อสองครั้งที่แล้วท่านกล่าวถึงเรื่องน้ำเย็นของหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ได้รับหนังสือมาแจกด้วยที่ผ่านมา และท่านอาจารย์หมอประเวศฯ ได้กำชับให้อ่านหนังสือเพื่อเตรียมคราวหน้า อาปานาสติของหลวงพ่อมิตซูโอะ ชิบาฮาชิหาไม่ได้ ได้สอบถามไปที่มูลนิธิมายาโคตมี หนังสือได้หมดไปนานแล้ว สำหรับวันนี้ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี นำเสนอสิ่งที่ท่านพบมานานหรือยัง เรื่องสมาธิเหวี่ยง เหวี่ยงไปข้างหน้า เหวี่ยงจนจิตนิ่ง เสร็จแล้วนำจิตมาทำ body scan ส่วนรายละเอียดเป็นอย่างไรหลายท่านคงอยากฟังอาจารย์แล้ว อาจารย์หมอประเวศ วะสี บรรยายประมาณ ๔๕ นาที หลังจากนั้นท่านใดที่จะสอบถามทางออนไลน์สามารถอินบล็อกได้ หรือส่งมาให้ที่ทางหน้าเพจจะมีคนคอยติดตามอยู่ สำหรับที่ห้องปฏิบัติธรรมหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) เขียนใส่กระดาษ มีเจ้าหน้าที่ไปรับโน๊ตคำถามจากท่าน เพราะท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ท่านผู้สนใจในพุทธธรรมทั้งที่อยู่ในที่นี่และทางออนไลน์ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๖ แต่ทุกครั้งจะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจริญสติ พุทธธรรมกว้างขวางมากมาย แต่พระพุทธองค์ทรงวางไว้วิธีปฏิบัติตรง ทางเอกเรียกว่าเอกานยมรรค คือ การเจริญสติเป็นเครื่องมือทั้งหมดที่กล่าวมาอาจจะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่เครื่องมือการปฏิบัติ คือ การเจริญสติ การเจริญสติเป็นทางอันเอกเรียกว่าเอกานยมรรค ที่จะไปสู่ธรรมะทุกชนิด เพราะฉะนั้นเราจึงใช้เวลาตรงนี้มาก เพราะเวลาการพูดกับการเขียนหนังสือไม่เหมือนกัน การพูดช่วยให้เข้าใจ ช่วยให้ทำได้ จุดนี้ คือ ช่วยให้ทำได้ การเจริญสติสำหรับผู้ที่ได้ทำไปแล้ว เจอแล้วถือว่าเป็นเรื่องของชีวิตเลย เป็นเครื่องมือของชีวิต ในชีวิตของเราก็ต้องฝึกให้มีทักษะต่าง ๆ เช่น ว่ายน้ำเป็นโอกาสรอดตัวจากจ่มน้ำ การเจริญสติก็เหมือนการหัดว่ายน้ำ ใหม่ ๆ ก็รู้สึกว่ายากเหลือเกินที่จะลอยตัว ที่จะดำน้ำ ลองนึกภาพเมื่อตอนเด็ก ๆ แต่ในที่สุดถ้ามีความพยายามก็สามารถว่ายได้ทุกคน เช่นเดียวกับการเจริญสติ ยากแค่ไหน หรือลำบากแค่ไหน ก็เหมือนเป็น life skill เป็นทักษะชีวิตที่ช่วยให้เราไม่จมยิ่งกว่าจมน้ำ จมไปในกระแส จมไปในมหาสมุทรของชีวิต เพราะฉะนั้นในตรงนี้ ตรงนี้อยากให้กำลังใจว่ายากแค่ไหนก็แล้วแต่ แต่ถ้าเราทำในที่สุดก็เหมือนการว่ายน้ำได้ สามารถว่ายได้ทุกคน เพราะทุกคนมีเครื่องมืออยู่แล้ว ธรรมชาติให้มา คือ สมองส่วนหน้าอยู่หลังหหน้าผากเป็นสมองที่เกี่ยวกับสติปัญญา วิจารณญาณ ศีลธรรมและการบรรลุธรรม แต่มนุษย์ธรรมทั่วไปใช้สมองส่วนหลังเป็นสมองสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อการอยู่รอด มีการต่อสู้ยิ่งชิง หลบภัย ขณะนี้ถึงเวลาที่ไปไม่ได้แล้ว สมองส่วนหลังเกิดการวิกฤตสุด ๆ มีความจำเป็นที่ต้องสวิตช์สมอง โปรแกรมสมองมาใช้สมองส่วนหน้า สติปัญญาอยู่ตรงนี้ และทุกคนมีตรงนี้อยู่แล้ว รอให้มนุษย์มีการใช้มาประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าปีแล้ว เพราะฉะนั้นทุกคนสามารถที่จะบรรลุตรงนี้ได้ แต่ต้องมีความพยายาม อย่างที่หมอบัญชา พงษ์พานิช ได้เกริ่นนำไว้ “ผมเป็นคนทำได้ยากจึงเห็นใจคนอื่น” ทำได้ยากกว่าคนอื่นเพราะความชอบคิดที่เป็นมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว คิดว่าทำอย่างไรให้มนุษย์ดีขึ้น เขียนบทความ เขียนบทความครั้งหนึ่งให้ความคิด นอนก็ยังคิด เพราะฉะนั้นทำให้การเจริยสติเป็นไปได้ยาก การเจริญสติให้เป็นความสงบ อันที่หนึ่ง ถ้ามีการนับตอนทำสมาธิจะช่วยได้ “เข้า หนึ่ง ออก หนึ่ง” “เข้าสอง ออกสอง” เหมือนกับการมีเป้าหมายที่ตั้งไว้ ๕ ก็ต้องพยายามไปให้ถึง ตั้งไว้ ๑๐ ตั้งไว้ ๑๐๐ เกิดการกระตุ้นการตั้งเป้าหมาย แล้วก็ต้องการความเอาจริงเอาจังที่เรียกว่า will power ตรงกับ “วิริยะ” กับ “วีระ” มาจากรากศัพท์เดียวกัน ความกล้าหาญเอาจริงเอาจัง ถ้าเกิดอ่อนแอจะล้มไม่สำเร็จ มันเหมือนกับการตั้ง จากล้มกลายเป็นตั้ง เอาจริงถึงจะตั้งได้
สิ่งหนึ่งที่ทำไป ๆ แล้วเจอเรียกว่าอานาปานสติเหวี่ยงให้มันแรง เวลาขึ้นขึ้นให้สุดไปที่สมอง ส่วนลงก็ไปที่ก้นกบเป็นเคล็ดพิเศษที่ทางโยคีพบ Kenio cycle แต่บางคนมีจะเหวี่ยง ผมได้มาเจอท่านมิตซูโอะ ชิบาฮาชิ การหายใจโดยปลายเท้า เหวี่ยงไปถึงปลายเท้า แรง ช่วงไกลตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงทำให้จับได้ง่าย ถ้าจากรูจมูกมาถึงท้องค่อนข้างเบา บางคนทำได้ก็ดีไปแล้ว แต่บางคนก็จับยาก จึงมีคนพยายามดัดแปลงต่าง ๆ อย่างทางด้านพม่าไปจับเอา “ยุบหนอ” “พองหนอ” ที่ท้องแต่ตรงนี้ต้องเรียนว่า แต่ความจริงไม่ใช่ลมไปแต่เป็นความรู้สึกว่าลมไป หรือเรียกว่านิมิตรก็ได้ ลม ๆ จริง ๆ อยู่ภายในปอด ที่บอกว่าท้องพองท้องยุบทางพม่าไปจับตรงนั้น “พองหนอ” “ยุบหนอ” จับง่ายกว่าลม แต่ถ้าหากว่าเราเหวี่ยงให้ไกล ลงมาถึงก้นกบหรือว่าลงมาถึงเท้าก็ได้ ทำให้จับง่ายขึ้น เหมือนกับแรงเครื่องสูบลมจับหัวไปเท้า เท้ามาหัว พระพุทธองค์ก็ใช้คำนี้ว่าเหมือนเครื่องสูบลม ครั้งโบราณช่างตีเหล็กต้องเหยียบเครื่องสูบลมให้ไฟมันแรง สูบลมของช่างตีเหล็ก เหมือนเครื่องสูบลมสูบเข้า สูบออก สูบเข้า สูบออก เหมือนเครื่องสูบลมผ่านทั้งตัวเลย จากเท้าขึ้นหัว การเหวี่ยงตรง เหวี่ยงเฉียง ๆ ก็ได้ เหวี่ยงทางไหนก็ได้ เพราะไม่ใช่ตัวลมจริงเป็นความรู้สึกว่าหรือนิมิตร บางครั้งก็ยกขึ้นมาให้เหวี่ยงต่อหน้าเรา หรือเหวี่ยงไปข้าง ๆ ก็ได้ เหมือนลมเหวี่ยงไปทางซ้ายสุด ขวาสุด แล้วลอยอยู่ข้างหน้าเราเลย ลอยอยู่ข้างหน้าเลย อย่างไรก็ได้ต้องลองดู เหวี่ยงได้ทุกทิศทุกทาง เพราะว่าเป็นความรู้สึกลม เป็นนิมิตว่าเป็นลม ถ้าทำไป ๆ ทำไป แล้วจับได้ว่ารู้หายใจเข้าก็รู้ หายใจเข้ายาว ออกยาว รู้สึกว่ายาว เข้ายาว ออกยาว นับไปด้วยก็ได้หรือบริกรรมกำกับไปด้วยก็ได้ หรือ เข้า “พุท” ออก “โธ” หรือเข้า “หนึ่ง” ออก “หนึ่ง” เข้า “สอง” ออก “สอง” เข้า “สาม” ออก “สาม” ...ต่อไปเรื่อย ๆ ถ้าเข้าได้ต่อเนื่องก็ไปถึงร้อย แล้วก็หวนกลับมาจาก จากร้อย เป็น เก้าสิบเก้า เก้าสิบแปด เก้าสิบเจ็ด จิตก็จะอยู่กับลมหายใจยาว แล้วจิตก็ค่อยสั้นเข้าไม่ต้องไปตั้งใจสั้นมันจะสั้นเอง ถึงเวลามันจะสั้นของมันเอง สั้นเข้าเรื่อย สั้นเข้าเรื่อย สั้นเข้าเรื่อย สั้นเข้าเรื่อยจนเหลือนิดเดียวจนกลายเป็นสมาธิ สติจะคอยตามไป พอมาเหลือจุดเดียวก็กลายเป็นสมาธิที่จุดนั้น ถ้าไปดู ๑๖ ขั้นตอนเป็นการหายใจตลอดเวลา ถึงแม้ลมหายใจเบา ลมหายใจระงับ ก็มีการกล่าวตลอดถึงขั้นที่ ๑๖ หายใจเข้าก็ทำความรู้สึก เข้า-ออก เข้า-ออก เข้า-ออก เหลือจุดเล็กนิดเดียว มาเป็นสมาธิแล้ว เหมือนจุดเดียว แต่เราก็อาจจะบริกรรม เข้า-ออก เข้า-ออก เข้า-ออก หรือพุท-โธ พุท-โธ พุท-โธ จิตเป็นสมาธิแล้ว ความสุขแพร่ซ่านออกไปในตัว เรียกว่าสมาธิสุข จิตเริ่มเชื่องแล้วสามารถจับเคลื่อนที่ได้ ปกติหายใจไปสุดอยู่ในท้อง ที่หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ท่านว่าเป็นการดึงการรู้เข้ามาอยู่ภายใน จะสู่ภายนอกรับรู้ตา หู จมูกลิ้น ไปเรื่อย ๆ ปรุงแต่งไปเรื่อย ๆ พยายามเอามาไว้ภายใน ภายในก็เหลือ จิตรู้อยู่ที่จุดเดียว โดยธรรมชาติจะอยู่ในท้อง ตรงนั่นแหละเหมือนอยู่กลางตัว เพราะฉะนั้นในท้องที่หลายฝ่าย หลายสำนักมาเจอ อย่างธรรมกายก็บริกรรม “สัมมาอะระหัง” เป็นดวงแดง ๆ อยู่ในท้องตรงนี้แหละ เขาเรียกว่าธรรมกาย เกิดเป็นสมาธิอยู่ตรงนั้น คล้าย ๆ กับการเป็นนิมิต เป็นสมาธิที่อยู่ที่นั่นได้นาน แต่ตรงนี้เราสามารถจับเคลื่อนที่ได้ เคลื่อนไปตรงไหนก็ได้ จิตที่รู้ ไปที่หัว ไปตามตัว จิตเกิดการเคลื่อนตัว ผมใช้คำว่ากระส่วย เป็นกระส่วยเล็ก ๆ ที่บรรทุกจิตรู้ไปด้วย ทำให้เคลื่อนไปทางไหนก็ได้ เคลื่อนไปที่ศีรษะ เคลื่อนไปที่ไหนก็ได้ ก็ใช้มันเคลื่อนไปทั่วตัว เคลื่อนไปที่ศีรษะก็ได้ ให้แวะไปเยี่ยมทุกส่วนของร่างกายเป็น body scan ให้รู้ตามไปเรื่อย ๆ แขนขาสุดเท้า ทำหลายเที่ยวได้ scan ไป-กลับ เมื่อไปเยี่ยมที่ไหนตรงนั้นจะรู้สึกดี มีคนอธิบายว่าเซลต่าง ๆ ชอบให้เจ้าของไปเยี่ยม จะดีใจจะมีความสุขมาก บางคนใช้คำว่า Self-Talk ทั่วร่างกายจะรู้สึกดี เราก็รู้สึกดี มีความสุขไปทั่วหมดเลย เป็น body scan ด้วยจิตรู้ ตอนนี้ไม่ได้คิดอะไรแล้ว คราวนี้รู้แล้ว ปกติเราคิดแล้วเราไม่รู้ คล้ายกับการรู้ตัวทั่วหมด ไปตรงกับของอาจารย์โกเอ็นก้า ไม่รู้มีกี่ร้อยแห่งทั่วโลก เจริญสติ แล้วพาสติไปเยี่ยมจุดต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าอยู่ที่เดียวนาน ๆ จะเบื่อ เหมือนได้ไปเที่ยว สามารถทำได้เพลิน ๆ แล้วก็ซ้ำอีก ทำให้ทั่วตัวเกิดความสบาย รู้สึกมีความสุขไปหมดเลย จ่อตรงไหนนานก็ได้เป็น Body scan ด้วยจิตรู้รู้ไปทั้งตัวเลย ถ้าสนใจอาจารย์โกเอ็นก้าก็เขียนไว้เยอะ และมีศูนย์ที่เทรนแบบท่านอาจารย์โกเอ็นก้า ในต่างประเทศก็รู้จักกันดีเป็นที่นิยมมาก อาจมีประมาณ ๑,๐๐๐ แห่งทั่วโลก ย้ายตัวสติไปรู้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าหากไปกระตุ้นที่สมองไปรู้ ๆ ที่สมอง เหวี่ยงไปหรือว่าจุดไป บ่อย ๆ ครั้งจะเกิดแสงสว่างเกิดขึ้น ออกมาจากสมองเป็นแสง ไม่ใช่แสงแรงแบบแสงอาทิตย์ เป็นแสงที่นุ่มนวลมากสีขาวและนวล เหลืองอ่อน ๆ เป็นแสงออกมาจากสมองออกมาจนหมดเต็มสมองแล้วก็ล่ามไป พาไปไหนแสงไปด้วยที่ว่าไปเยี่ยมทั้งตัวเรากลายเป็นแสงไปหมดเลย ตัวหายไปเลยไม่มีตัวมีแต่แสงเป็นนิมิตตรงนี้ อาจจะเล่นกับมัน เล่นหายตัวตัวหายกลายเป็นแสง ตรงนี้มันจะเกิดได้ ลองดูต้องไปกระตุ้นสมองเหวี่ยง พอเหวี่ยงไปโดนจะเห็นแสงออกมาเลยจากสมองตอนเหวี่ยง หรือว่าตอนไปเยี่ยมสมอง เดี๋ยวแสงจะออกมา ค่อย ๆ ออกมา แพร่เต็มศีรษะ จะรู้สึกศีรษะหายไปมีแต่แสง จากนั้นจะล่ามไปทั่วร่างกายเรียกล้อ ๆ เล่น ๆ ว่า “หายตัว” ตัวหายกลายเป็นแสง แล้วเราก็อยู่กับแสง อาจบริกรรมพุทโธไปด้วย เป็นแสงไปหมดไม่มีตัว ตัวไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อยอะไร ไม่รู้สึกแล้ว กลายเป็นแสงไปแล้ว ทำได้อยู่นาน ทำให้สมาธิอยู่ได้นาน จิตที่รู้ขณะนั้นก็มีความสุขไปด้วยทั้งเนื้อทั้งตัวเป็นเป็นสมาธิสุขนั่นเอง ถ้าเมื่อไรมีสมาธิจะมีความสุข แพร่ซ่านไปถ้าทางวิทยาศาสตร์จะเจอสารเอนโดฟินส์ (Endorphins) หลั่งออกมา เอนโดฟินส์คล้าย ๆ มอร์ฟีนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ใช้คำว่า “เอนโด” ที่แปลว่า ภายใน “เอนโดรฟิน” แปลว่า มอร์ฟีน ที่เกิดขึ้นในร่างกาย นักวิยาศาสตร์ได้ค้นพบมีวิธีคิดว่าทำไมเวลาเอามอร์ฟีนเข้าไปคนรู้สึกมีความสุข มอร์ฟีนอยู่ในพืชแล้วเรื่องอะไร ในร่างกายของคนจะมี receptor ต่อมมอร์ฟีน แสดงว่าต้องมีมอร์ฟีนภายในร่างกาย แล้วก็ค้นพบสารกลุ่มนี้ที่เรียกว่าเอนโดฟินส์ ผู้ที่ค้นพบเป็นผู้หญิงที่อยู่ระหว่างการทำปริญญาเอกชื่อ PEART เรียกว่า Emotional Moresque พบ Moresque ของสารที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ มีอารมณ์สุข ทุกข์ เกิดขึ้น ตอนสมาธิเป็นอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดเอนโดฟินส์ มีวิธีหลายอย่างออกกำลังกายเยอะ ๆ เอ็นโดฟินส์ก็ออก เวลาออกกำลังการเยอะ ๆ จะรู้สึกมีความรู้สึกมีความสุขในเนื้อในตัวสมาธิก็เกิดเอ็นโดฟินส์ขึ้น มีความสุขไปทั้งเนื้อทั้งตัวเราก็ enjoy ตรงนั้นได้ แต่ต้องระวังมันเหมือนติดฝิ่น ติดสุขที่สมาธิแล้วไม่ไปไหนทางพุทธก็ไม่ใช่ ทางพุทธบอกว่าต้องไปปัญญาตรงนี้เป็นทางแยก ที่ว่าเวลาทำอานาปานสติแล้วไปทางสมถะก็ได้ คือการไปทางสมาธิไปเลยจนเข้าเป็นฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ แต่ทางพุทธไปทางสายปัญญา จึงเรียกว่า “วิปัสสนา” วิปัสสนาไปทางปัญญา มีสมาธิขั้นหนึ่งแต่ไม่จำเป็นต้อง ถ้าไปถึงนั้นเป็นสายสมถะ บางครั้งจะเรียกว่าสมถะวิปัสสนา สมถะ คือ สมาธิ วิปัสสนา คือ ปัญญา เห็นฝรั่งตอนนี้มีการใช้วิปัสสนาตาม ๆ กัน ในสหรัฐอเมริกาเขาบอกว่าเขาทำวิปัสสนาใช้คำนี้เลย จะใช้จริงหรือเปล่าไม่รู้เลยไม่ได้ไปดูในรายละเอียดเขา ก็ไม่เป็นไรถ้าเราก็ enjoy ไปสมาธิสุข เรียกว่าเสวยสุข สุขดีแต่ว่าต้องรู้แล้วตรงนี้ ถ้าติดสุขตรงนี้จะไม่ไปทางปัญญาแล้ว จะเรียกว่าวิปัสนูปกิเลส คือ กิเลสติดสุขบางคนไม่ทราบนึกว่าบรรลุธรรม เคยมีพระ ๒๐ องค์ ทำกรรมฐานกันอยู่แล้วมีความรู้สึกว่าบรรลุธรรม ได้ไปขอเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่านบอกอย่าเพิ่งมาให้แวะไปที่ป่าช้าเสียก่อน เจอศพผู้หญิง สาว สวย ทุกคนรู้สึกซูซ่าหมด แสดงว่ายังไม่ได้บรรลุธรรมจริง บางครั้งมีการเข้าใจผิด
เรื่องแสงเคยเจอเหมือนกัน ในพระไตรปิฎกมีพระ ๓ องค์ ไปภาวนาในป่าชื่อพระอนุรุทธเถระ พระกิมพิละเถระ อีกองค์จำชื่อไม่ได้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยี่ยม วิธีถามโอภาปราศรัยกันก็น่าสนใจ “เธอทั้งสามยังรักกันดีอยู่หรือ” “เธอทั้งสามยังมองตากันด้วยความรักใคร่หรือ” ทั้งสามองค์มองตากันแล้วก็บอว่ายังรักใคร่กันดีอยู่ การปฏิบัติก้าวหน้าดี รู้สึกมีองค์หนึ่งบอกว่าที่ปฏิบัติเกิดแสงสว่างขึ้นด้วย ต้องรู้ทันและรู้ศัพท์ที่ใช้ว่า “วิปัสนูปกิเลส” เป็นกิเลสที่กว้างกั้นไม่ให้ไปทางวิปัสสนาติดอยู่ที่ความสุขตรงนี้ ตรงนี้ท่านก็มีวิธีที่ไปต่อ ถ้าเราดู ๑๖ ขั้นตอน จะเป็นเหตุเป็นผลกันไปหมดไว้คราวหน้าจะเอา ๑๖ ขั้นตอนเลย แต่ตอนนี้เป็นการเริ่มต้นยังไม่เอาเอาแบบลูกทุ่งไปก่อน ไปเอา ๑๖ ขั้นตอนตั้งแต่ต้นกลัวจะยากเกิน แต่ว่าคราวหน้าเป็น ๑๖ ขั้นตอนแล้ว
ขั้นตอนที่ ๑ สติปัฏฐาน ๔ หมวดแรก คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมวดสอง คือ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมวดสาม คือ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และหมวดสี่ คือ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่ละหมวดมี ๔ ขั้นตอน รวมเป็น ๑๖ ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ ๑ หายใจยาวก็รู้ว่ายาว ออกยาว สั้นยาว ขั้นที่ ๒ ก็สั้นซึ่งจะเป็นเองโดยอัตโนมัติ เข้าสั้นออกสั้นก็ตามรู้ ขั้นที่ ๓ มีปัญหาความเข้าใจ ท่านกล่าวว่าสัพพะกายะปะฏิสังเวที คำว่า “สัพพะกายะ” แปลว่า กายทั้งปวง คำว่า “ปะฏิสังเวที” แปลว่า รู้ คือ รู้กายทั้งปวง (รู้ตัวทั่วพร้อม) หรือ หมายถึง รู้กองลมทั้งปวง (รู้เฉพาะลมหายใจชนิดต่าง ๆ) คำว่า “กาย” คือ กายลม คำว่า “ลม” ถือว่าเป็นกาย คำว่า “สัพพะกายะ” กายทั้งปวง ตรงนี้จะแปลต่างกันส่วนใหญ่จะแปลว่าแต่ไม่ว่าเป็นส่วนหใญ่หรือเปล่า แปลว่า ทางลมทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนปลายว่าตรงนี้ สัพพะกายะปะฏิสังเวที รู้กับกายทั้งปวง อันนี้เป็นขั้นที่สาม แต่ในทางปฏิบัติที่เราเห็นไม่น่าจะใช่แบบนั้น เพราะตอนนั้นหายใจสั้น จนเหลือจุดเดียวแล้ง ไม่ได้ไปดูทางลมทั้งหมด รู้สึกมันขัดกันอีกความหมายหนึ่งกลายเนื้อกลายลมเกิดการเชื่อมกัน กลายลมสงบ กลายเนื้อก็สบายมันเชื่อมกัน ของท่านอาจารย์พุทธทาสมีการกล่าวตรงนี้ กลายเนื้อ กลายลม แต่ท่านไม่ได้อธิบายรายละเอียด หากมีการปฏิบัติจะทราบดีว่าตรงนี้ พอขั้นที่ ๒ เริ่มสั้นแล้ว ไม่ได้ไปรู้ทางลมทั้งหมด แต่อีกความหมายหนึ่งเขาใช้คำว่าอย่างนี้ รู้ตัวทั่วพร้อม เป็นการรู้กลายทั้งหมด รู้ตัวทั่วพร้อมหายใจเข้า รู้ตัวทั่วพร้อม หายใจออก พอมาถึงภาคปฏิบัติมาถึงสั้นเหลือนิดเดียวแล้ว แล้วก็รู้ตัวทั้งหมด สัพพะกายะ กายทั้งปวง ปะฏิสังเวที รู้กายทั้งปวง พอขั้นที่ ๔ ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ คำว่า “ปัสสัมภะยัง” แปลว่า สงบ ระงับ เป็นการสงบระงับลมหายใจแล้ว สติปัสสัมภะยัง เป็นขั้นที่ ๔ แปลว่า ลมเบาเหลือนิดเดียว แต่ว่าความสุขเกิดการแผ่ซ่านไปหมดแล้ว ถ้ามีการทำอานาปานสติ ที่จริงตั้งแต่ขั้นแรกก็มีความรู้สึกสบายขึ้นแล้ว เขายาว ออกยาว บางอาจารย์บอกว่าเข้าสบาย ออกสบาย มันรู้สึกสบายแล้ว ตั้งแต่อย่างยาวมาอย่างสั้น พอมาถึงสัพพะกายะปะฏิสังเวที รู้ตัวทั่วพร้อม ความสุขไปทั้งตัวแล้วถึงตอนนั้น พอขั้นที่ ๔ ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง สงบ ระงับ อันนี้ยังไม่ถูดถึงนะแต่เชื่อมต่อ ทั้งหมดเป็นการเชื่อมโยงกันเป็นผลต่อเป็นลูกโซ่ พอเวทนาหมวดที่ ๒ ข้อแรกจะบอกปีติ รู้ปีติ คือ ความสุขอย่างหยาบ ๆ ปีติปะฏิสังเวที ให้รู้ปีติ พอขั้นที่ ๕ หรือขั้นที่ ๖ หรือขั้นที่ ๒ ของเวทนา คือ สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ ปีติสุขก็รู้ว่าสุข อันนี้คือ เวทนา ความรู้สึกปีติหรือความสุข มันเป็นเวทนาตรงนั้น ต่อไปท่านก็มีวิธีแก้ที่จะไปทางวิปัสสนาวันนี้ยังไม่กล่าวถึง ให้เกิดการรู้เท่าทัน ถ้าไม่รู้เท่ากันก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส พอขั้นที่ ๓ ขอเวทนาขั้นที่ ๔ เพื่อแก้ที่จะรู้ทันเอาไว้คราวหน้า
ถึงตรงนี้เอาอย่างนี้ ให้การบ้านก่อนซักถามคราวหน้าจะกล่าวถึง ๑๖ ขั้นตอนเต็ม เป็นการทบทวนและได้เข้าใจทั้งหมดจะมีการอธิบายทุกขั้นตอนไปจนตลอด คราวนี้ตรงนี้ก็จ่ายการบ้านให้ศึกษาเสียก่อนมีอานาปานสติเฉพาะสมบูรณ์ ของท่านอาจารย์พุทธทาส มีการอธิบายไว้ดีมาก ๑๖ ขั้นตอน อีกเล่มหนึ่งจะไปหาได้ขออดีตพระอาจารย์อาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ได้เรียนจากท่านอาจารย์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เขียนไว้ดีมากเป็น ๓ เล่ม อานาปานสติเป็นเล่มเล็ก ๆ เล่ม ๑ เล่ม ๒ เล่ม ๓ เป็นการอธิบายทั้งหมด มีการอธิบายไว้ดีมากอ่านแล้วเข้าใจง่าย พิมพ์โดยมูลนิธิมายาโคตมี อีกอันหนึ่งหลายท่านอาจจะจำไม่ได้ ให้ทำโน้ตย่อไว้เองเอาไว้ดู ภายในหน้าเดียวสองหน้า ขั้นที่ ๑ เรียกอะไร ขั้นที่ ๒ เรียกอะไรแล้วจะมาตรงนั้นจะได้ตาม กระดาษโน้ตไว้อันหนึ่งขั้นตอนต่าง ๆ มีอะไร เรียกอะไรบ้าง เข้าใจหรือไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร เวลาพูดไล่ ๆ จะได้เข้าใจ พอเข้าใจทั้งหมด ๖ ขั้นตอน แล้วเราก็ทวนปฏิบัติของเราเรื่อย ๆ ไป ก็จะเป็นระบบ ๆ ขึ้น ประมาณสักครั้งที่ ๙ หรืออะไรประมาณนั้น ผมจะพุทธธรรมปริทัศน์ ให้เห็นทั้งหมดเลยว่าฐานความคิด ระบบเป็นอย่างไร และเครื่องมือการเจริญอานาปานสติ จะได้เห็นภาพทั้งหมดประมาณครั้งที่ ๙ หรือว่าอะไรประมาณนั้น ครั้งหน้าครั้งที่ ๗ เป็น ๑๖ ขั้นตอน ครั้งที่ ๘ ธรรมโอสถ เป็นการพูดคิริมานนทสูตร โพชฌงค์ ๗ เป็นการทวนทำความเข้าใจ ตัวสติก็จะเข้าไปทุกเรื่อง และจะมีครั้งหนึ่งเป็นปริทัศน์ให้เข้าใจทั้งหมด ไม่พูดตรงนั้นก่อนจะยากเกินค่อย ๆ พูดส่วนต่าง ๆ แล้วมา assemble ให้เห็นระบบพุทธธรรมทั้งหมด และเครื่องมือ คือ อานาปานสติ แล้วเข้าไปถึงธรรมทั้งหมด ถึงอริยสัจ โพชฌงค์ ๗ โพธิยธรรม ๓๗ เชื่อมไปถึงกันทั้งหมด เห็นทั้งหมดและมีภาคปฏิบัติด้วย ตอนหลังเชื่อมไปสู่สังคมด้วย ถ้าสังคมดีเรียบร้อยอยู่ด้วยกันเรียบร้อยคนบรรลุจะมาก แต่ถ้าสังคมปั่นป่วนวุ่นวายโกลาหลคนที่จะบรรลุธรรมก็จะน้อย เชื่อมโยงกันผมเรียกทวินนิพพาน twin แปลว่า คู่แฝด ต้องไปคู่กันระหว่างบุคคลนิพพาน นิพพาน แปลว่า สงบ เย็น กับสังคมนิพพานต้องไปคู่กันไปทางเดียวได้ผลน้อย เพราะฉะนั้นอันนี้เชื่อมโยงไปสู่สังคมด้วย
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ถ้าหากว่าผมจะลองสรุปนิดเดียวแล้วผมจะเกริ่นนำเพื่อท่านจะได้ตั้งคำถาม ครั้งนี้อาจารย์ประเวศ วะสี ย้ำเรื่องสติกล่าวว่าเป็นเครื่องมือให้เรามีชีวิตไปท่ามกลางกระแสรอดได้ ถ้าลงไปในน้ำถ้าไม่มีเครื่องมือก็จมน้ำสติเป็นตัวช่วยแล้วท่านก็นำเรื่องสมาธิเหวี่ยง ผมพยายามจับว่ามีกี่จังหวะที่ท่านอาจารย์ได้เสนอ ดูเหมือนว่าผมจับได้มีอยู่ ๕ จังหวะ แต่ของการเหวี่ยง แต่จริง ๆ เป็นความรู้สึกเหวี่ยง หรือจะเป็นอะไรก็ตามสูงต่ำแรงซ้าย-ขวา ตอน ๆ แรกฟังนึกว่าเหมือนอาจารย์โพธิ์ อาจารย์โพธิ์ท่านเหวี่ยงมือ เป็นการเหวี่ยงที่จิตหรือเหวี่ยงที่ลม
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ใช้การเคลื่อนไหวกายสติอยู่กับการเคลื่อนไหว
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เหวี่ยงจนรอบทิศรอบทาง เหวี่ยงทุกทิศทุกทาง และอาจารย์ใช้คำว่า Kenio cycle อาจารย์บอกว่าหลวงพ่อมิตซูโอะ ชิบาฮาชิ ไปถึงฝาเท้าเลย แต่อาจารย์กล่าวว่าเป็นเพียงความรู้สึกลมไปไม่ถึงแต่เป็นความรู้สึกเป็นชุดที่ ๑ จากนั้นอาจารย์กล่าวว่ามีจังหวะที่จะนิ่งอาจารย์ใช้คำว่า “กระสวยจิต” จิตนิ่งเกิดความนิ่งแล้วนำสิ่งนี้ไปเยี่ยมทุกเซลล์ของร่างกายเป็นการ scan body จากตรงนี้มีเรื่องของนิมิตอาจะมาตั้งแต่ตอนโน่นแล้วก็ได้ แต่ตรงนี้อาจจะเหมือนมีความสุขเกิดขึ้น แต่ก็ให้ระวังเพราะอาจจะไปวิปัสสนูปกิเลส ระวังติดอยู่กับสุข ฟังประมาณ ๔ – ๕ จังหวะ ไม่รู้ผิดถูกอะไรหรือเปล่าให้อาจารย์ช่วยเพิ่มเติม มีคำถามหรือว่าข้อหารือ
คำถาม : ขอให้อาจารย์ช่วยขยายความว่าการเจริญสติอย่างต่อเนื่องมีส่วนส่งผลต่อการทำงานต่อสมองส่วนหน้าอย่างไร สมองส่วนหน้าที่ทำงานได้ดีจะส่งผลต่อบุคลิกภาพต่อจิตใจของผู้ปฏิบัติอย่างไร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : สมอง มนุษย์มาจากสัตว์ เพราะฉะนั้นจะมี DNA หรือว่าอะไรมาจากสัตว์ มีวิวัฒนาการมา อย่าง DNA ของมนุษย์กับลิงชิมแปนซีต่างกันนิดเดียวเหมือนกันกว่าร้อยละ ๙๘ เพราะมนุษย์มาจากสัตว์ สมองก็เช่นเดียวกันมีวิวัฒนาการมาจากสมองสัตว์ มีสมองส่วนแรกสุดอยู่ด้านหลังเขาเรียกสมองสัตว์เลื้อยคลาน Reptilian brain เกี่ยวกับ survival เช่น การกิน การนอน การสืบพันธุ์ การแย่งชิง การหนี หลี้ภัย การหลอกลวง สัตว์เลื้อยคลานหลอกลวงได้นะ เช่น กิ้งก่าเปลี่ยนสีได้เพื่อให้พ้นภัยต่าง ๆ เป็นการใช้สมองสัตว์เลื้อยคลาน แต่ไม่มีอารมณ์ไม่มีสมองส่วนกลางที่เกี่ยวอารมณ์ จระเข้ไม่มีน้ำตา ไม่มีอารมณ์ถ้าเกิดอาการหิวลูกมันมันก็กินได้ มันไม่มีอารมณ์ พอมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น สุนัข แมว มีสมองส่วนกลางเพิ่มขึ้นมา เป็นสมองเลี้ยงสัตว์ลูกด้วยน้ำนม Mammalian brain พอมาเป็นคนขึ้นมาข้างหน้า แต่ที่สำคัญ คือ ข้างหน้าสุด prefrontal cortex มนุษย์มีชีวิตอยู่อย่างที่ อย่างเช่น มนุษย์ในปัจจุบันประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ปี ที่เป็นลิงตัวแรกเริ่มจากมาทางมนุษย์ ๗,๐๐๐,๐๐๐ ปี ค่อย ๆ ขยับมาเรื่อย ๆ จนมีมนุษย์ ลิงคล้ายมนุษย์ มีมนุษย์คล้ายลิง เกิดขึ้นมานาน จนกระทั่งเป็น Homo Sapiens มนุษย์เหมือนปัจจุบันประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ปี แต่ ๒๐๐,๐๐๐ ปี ประมาณ ๑๙๐,๐๐๐ ปี เป็นชีวิตที่อยู่ในป่า เป็นยุคดึกดำบรรพ์ ล่าสัตว์เก็บของป่ากิน เคลื่อนที่ตามสัตว์ไปเรื่อย ๆ ชีวิตตอนนั้นมีการโปรแกรมสมองก็ต้องมีการใช้สมองส่วนหลัง เพราะต้องเผชิญภัยอันตรายต่าง ๆ จากสัตว์ จากมนุษย์ คนละเผ่าไม่รู้จักกันก็ต้องมีการต่อสู้ ก็มีการโปรแกรมมาอย่างนั้นจนกระทั่งบัดนี้ ส่วนหลังก็ยั
กัมมันตะ ถึงแม้มีการค้นพบวิธีการ ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ชาวยุโรประมาณ ๕๐๐ ปี พอค้นพบความรู้ก็นำไปเป็นอำนาจ สร้างเรือรบ สร้างปืนใหญ่ ปืนกล แล้วก็ใช้ไปแย่งชิงทั่วโลก ไปฆ่าชาวอินเดียนแดง ฆ่าชาวพื้นเมือง ที่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ก็ฆ่าชาวพื้นเมืองเหมือนยิงจิงโจ้เลย ที่อินเดีย ที่เมืองจีน แล้วก็มีการสร้างเป็นวิธีชีวิตปัจจุบัน แต่เสร็จแล้วก็ไปไม่รอด ถึงจะเก่งไปถึงดวงจันทร์ ทำระเบิดปรมาณู แต่ก็สร้างความขัดแย้งทำลายธรรมชาติ ไปเกือบหมดเลย จนธรรมชาติเกิดการเสียสมดุล โลกร้อน ทำให้เกิดการเสียสมดุลไปหมดทุกมิติเลย อะไรที่สมดุลจะมีความสงบนิ่ง แต่ถ้าไม่ได้สมดุลเกิดความรุนแรง เหมือนฟ้าผ่าลงมามันรุนแรงมาก เพราะประจุไฟฟ้าข้างบนกับข้างล่างเกิดความไม่สมดุลกัน หรือแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดเพราะความดันในดินกับข้างนอกไม่เสมอกัน เพราะฉะนั้นถ้าขาดความสมดุลเกิดความปั่นป่วน รุนแรง โกลาหล ไม่ยั่งยืน เดี๋ยวนี้โลกก็เป็นอย่างนั้นมันเหมือนสัตว์เลื้อยคลานติดอาวุธ เหมือนสมัย ๕๐๐ ปีที่ผ่านมา อารยธรรมมีคนสรุปจำนวนมากว่าไปไม่ได้ คนแรกใครรู้ไหม ท่านอาจารย์พระพุทธทาส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ตั้งแต่ท่านไปตั้งสวนโมกข์ ท่านก็บอกว่าถ้าศีลธรรมไม่กลับคืนมาโลกาวินาศ ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ ศีลธรรม ก็คือ ความถูกต้อ
แล้วก็มีคนอื่นอีกท่านดาไลลามะบอกว่าโลกเป็นโลก spiritual deficiency เป็นการขาดมิติทางจิตวิญญาณ การแก้ก็ต้องแก้ด้วย spiritual revolution การปฏิวัติทางจิตวิญญาณ เดี๋ยวมาดูว่า spiritual แปลว่าอะไร ไอสไตน์บอกว่า we shall need a radical revenue manner of thinking if mankind is to survival ไอสไตน์รู้แล้วถ้าไปอย่างนี้มนุษยชาติไปไม่รอด ต้องเปลี่ยนวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิงnew radical manner of thinking if mankind ไม่ได้บอกว่า New manner คืออะไร ท่านไม่ได้พูดไม่รู้ว่าท่านรู้หรือไม่รู้ก็ไม่รู้แล้วแต่ว่าต้องเปลี่ยนถ้าไปอย่างเก่าไม่รอดแล้ว นักปราชญ์ฝรั่ง ๓ ชื่อลาซาโร โกลฟ รัสเซลล์ คุยกันที่ชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย ๓ วัน ๓ คืน ถึงวิกฤตอารยธรรมตะวันตกใช้คำว่า western Civilization crisis มันไปไม่ได้แล้ว เป็นอารยธรรมวัตถุนิยม แล้วถามว่ามีวิธีใดที่จะพ้นวิกฤตนี้ เขาตอบและเขียนเป็นหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Consciousness revolution การปฏิวัติจิตสำนึก ถ้าทั้งหมดจะมีการสรุป หากว่าเรารู้เรื่องของของสมองแล้วก็ต้องเปลี่ยนมาใช้สมองส่วนหน้า เปลี่ยนจากการใช้สมองสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งแย่งชิงต่อสู้ ทำร้ายกัน มาใช้สมองส่วนหน้า ซึ่งมันรอให้มนุษย์ใช้ ธรรมชาติเก่งมากรออยู่ว่าต่อไปมนุษย์ต้องเจออะไรให้เครื่องมือมารอไว้เลย
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เหมือนไม่ได้ใช้กลับไปใช้ส่วนกลางและส่วนหลังกันหมด
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : สมองส่วนหน้าเป็นที่อยู่ของสติปัญญา วิจารณญาณ ศีลธรรม และการบรรลุธรรมที่เป็น enlightenment ตรงนี้ก่อนที่จะมีการรู้เรื่องสมองหรือว่าอะไร พวกฮินดูที่ปฏิบัติสมาธิก็มีการค้นพบว่าตรงนี้สำคัญ ที่เป็นที่ติดต่อกับพระเจ้าเอาแต้มแดง ๆ มาแต้มไว้ตรงนี้ เขาจะรู้ถ้าไปอ่านดูโยคะศาสตร์ บางที่เรียกว่าจุดพระคริสต์ บางคนที่ทำสมาธิจะบอกว่าตรงมันร้อน คราวหลังมีเครื่องมือ Brain imagining สามารถเห็นสมอง ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ที่สามารถบุกเบิกเรื่องนี้น่าจะเป็นยิวทั้งสามคน บางที่เราเรียกกลุ่มยิวพุทธ คนหนึ่งชื่อศาสตราจารย์ริชาร์ด เดวิดสัน (Richard Davidson Ph.D) ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันมีการตั้งหน่วยวิจัยเรื่องนี้ ได้ทำการศึกษาในพระทิเบตที่เจริญสติมาเข้าเครื่องเห็นตรงนี้ลุกเป็นไฟเลย ตรงสมองส่วนหน้าที่ตรงกับทางฮินดู ทำไปแล้วจะมีความรู้สึกที่ร้อนตรงจุดสมองส่วนหน้า ทำสมาธิแล้วเอาสมาธิมาไว้ตรงสมองส่วนหน้าจุดกึ่งกลางระหว่างคิว ทางโยคีจะกล่าวถึงตรงนี้เลย ทำสมาธิเพื่อเอาจิตไปร่วมกับกับพระผู้เป็นเจ้า ทุกศาสนาจะเจอตรงนี้ คือ ธรรมชาติความจริงที่เหนือตัวตน เป็นธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระเจ้า คือ ธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ธรรมชาติที่อยู่เหนือตัวตน เพราะฉะนั้นการเจริญสติเรารู้แล้ว ฐานของสติอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นการเจริญสติทำให้เกิดที่เรียกว่าจิตสำนึกใหม่เรียก New Consciousness กลายเป็น consciousness คือ ความจริง มนุษย์ติดอยู่ในความคับแคบในตัวเอง คือ ติดอยู่ในอัตตาเป็นที่คับแคบบีบคั้นอยู่ตรงนี้ แต่ว่าความจริงเหนือตัวตนกว้างใหญ่ไพศาลไม่มีที่สิ้นสุดเรียกว่าอนันตภาวะ ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุดเป็นนิรันดรสภาวะ เป็นความจริงเหนือตัวตน เวลาการเข้าถึงตรงนี้ เวลามีสติหรือมีสมาธิเวลาจิตสงบทำให้เข้าไปถึงความจริงที่กำลังกล่าวถึงมาเป็นลำดับ คือ สติ สมาธิ ปัญญา ปัญญา คือ การเข้าถึงความจริงเหนือตัวตนตรงนี้ ฐานอยู่ที่ตรงนี้เลย เพราะฉะนั้นเวลาเจริญสมาธิของฮินดูบอกเลยให้เอาจุดสมาธิมาไว้ตรงนี้ ที่ว่าจุดเคลื่อนไปเรื่อยไปที่สมองด้วยลองดูระหว่างที่เคลื่อนด้วย จะรู้สึกสบายและมีแสงสว่างออกมาอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นเครื่องมือเปลี่ยนยุค เพราะฉะนั้นยุคข้างหน้ามนุษย์จะเจริญสติหมดทั้งโลกอันนี้พยากรณ์ได้ เพราะมีแรงจูงใจสูงมากเพราะเจริญสติแล้วพบความสุขที่ไม่เคยเจอมาก่อนทุกคนจะบอกว่าอย่างนั้นเลย เป็นความสุขที่มหัศจรรย์ดีเหลือเกิน โชคดีแล้วที่เกิดมาแล้วมารู้จักตรงนี้
พอมีการเจริญสติแล้ว อย่างที่เคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งมีความสุข สุขภาพก็ดี สติปัญญาแจ่มใส คิดอะไรก็ออก ความจำก็ดี ภูมิคุ้มกันก็เพิ่ม ศาสตราจารย์ริชาร์ด เดวิดสัน (Richard Davidson Ph.D) ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน มีการทดลองอย่างจริงจัง นำคนที่เจริญสติ กับคนที่ไม่เจริญสติแล้วฉีดวัคซีนเข้าไป คนที่เจริญสติมีภูมิคุ้มกันขึ้นสูงกว่า เพราะฉะนั้นจึงไม่ค่อยเจ็บป่วย ไม่ค่อยเป็นอะไร เป็นมะเร็งก็ไม่ค่อยเป็น เพราะว่าขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกัน มันเกี่ยวกับทุกเรื่อง ตอนหลังมีคนบอกว่าพบภูมิคุ้มกันเป็นอีกอายตนะหนึ่งเกิดการรับรู้และเชื่อมโยงไปหมดทุกเรื่องเลย ภูมิคุ้มกันก็จะสูงขึ้น ไม่ค่อยเจ็บป่วย อายุยืน ความสัมพันธภาพก็ดี สัมพันธภาพเป็นสิ่งสำคัญ เป็นบ่อเกิดของความสุขและเป็นปัญหาที่สุดเลย คนอเมริกันมีปัญหาเยอะความสัมพันธภาพในครอบครัว เกินครึ่งหนึ่งแต่งงานไปก็หย่าร้าง การมีสัมพันธภาพที่ดีเป็นบ่อเกิดของความสุข เพราะฉะนั้นตรงนี้พยากรณ์ได้มนุษย์จะเจริญสติ และโลกจะเปลี่ยนเป็นโลกสมองส่วนหน้า องค์กรเจริญสติจะเกิดขึ้นง่ายเพราะว่ามีแรงจูงใจสูง ถ้าบริษัทไหนเป็นองค์กรเจริญสติปีรุ่งขึ้นกำลังมากขึ้นเลย คนมีความสุข การเจ็บป่วยน้อยลง การลาป่วยน้อย สามัคคีกันดีจะกำไรมากขึ้น อันหนึ่งที่จะขับเคลื่อน คือ องค์กรเจริญสติ เพราะมนุษย์สมัยนี้อยู่ในองค์กรชนิดใดชนิดหนึ่ง โรงเรียนเจริญสติ โรงพยาบาลเจริญสติ มหาวิทยาลัยเจริญสติมันจะต้องเกิดขึ้น ซึ่งจริง ๆ เป็นยุทธศาสตร์เลย ที่เอาเป็นคน ๆ ก็เอา แต่ว่าเอาเป็นองค์กรด้วย คือ องค์กรเจริญสติ ยุคมหาวิทยาลัยมหิดลให้ประกาศว่ามหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการ ยังไม่กล้าประกาศกลัวที่จริงถ้าเข้าใจจะไม่ยาก ที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีศูนย์จิตปัญญาศึกษาที่ผมไปร่วมก่อตั้งไว้ ๑๕ ปีแล้ว เป็นที่ร่วมเครื่องมือและเป็นที่ร่วมเทคนิคทุกชนิด การลุจิตปัญญานอกจากภาวนาแล้วมีเส้นทางอื่นเยอะแยะไปหมดที่จะไปสู่ตรงนี้ คำว่า “จิตปัญญาศึกษา” มันรวบรวมเทคนิคทุกชนิดเข้ามาด้วยกัน ที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีศูนย์ตรงนี้อยู่ เป็นเครื่องมือที่จะขับเคลื่อนตรงนี้
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : อาจารย์ตอบแล้วนะครับตอบยาวและตอบลึกด้วยนะครับในเรื่องสมองส่วนหน้า ผมฟังอาจารย์แล้วมีประเด็นหนึ่งที่ผมเข้าใจว่าผมถามอาจารย์แล้วไม่ตอบ มีนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ มาเติมข้อสังเกต ผมฟังอาจารย์แล้วมี ๒ สมองที่อาจารย์ยังไม่กล่าวถึงสมองที่เรียกว่าก้านสมองที่คุมสัญชาตญาณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : สัญชาติญาณก็สัตว์เลื้อยคลาน
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เร็ว ๆ นี้มีข้อมูลข้อมูลหนึ่งที่เขาพูดกันว่าทำไมคนยิวถึงฉลาดกันมาก เขาบอกว่าเด็กยิวจะถูกฝึกให้ใช้ทั้งซ้ายและขวาไปด้วยกัน ทำให้ระบบสมองทั้งหน้ากลางหลังเกิดความสมดุลตรงกลาง มีความสมดุลและมีความอัจฉริยะภาพเกิดขึ้น แต่ล่าสุดมนุษย์หรือสรรพชีวิตหลังจากมีสมองส่วนก้าน ส่วนหลัง ส่วนกลางจนมามีส่วนหน้า ทำหน้าที่เป็นแบบจรรยา จริยธรรม สมองกลที่กำลังออกฤทธิ์แรงมากอยยู่ทุกวันนี้ AI ถ้าใครมีการติดตามจริงเท็จผมไม่แน่ใจ คือ กรณีนักพัฒนา AI คนหนึ่งของ google ขอลาออกเพราะเห็นว่าถ้าพัฒนาต่อไปเห็นปัญหามากกว่า ตอนนั้นที่พัฒนาเพราะเชื่อว่ามนุษย์จะช่วยกันควบคุมได้ แต่ตอนนี้มีความรู้สึกว่าเหมือนส่วนจะควบคุมมันไม่ทำงาน จนแก่วิตกแล้วน่าจะเกิดวิกฤตแน่ขอวางมือ ผมก็ไม่รู้นะว่าธรรมชาติของเรามันสร้างพัฒนาตัวที่จะกำกับหรือสร้างสิ่งที่ดีกว่า แต่พอมนุษย์ก้าวไปสู่เรื่องมองกล อาจารย์กล่าวถึงนิพพานเฉพาะบุคคลกับสังคมนิพพาน สมเด็จสมเด็จประยุทธ์ ปยุตโต ทรงตรัสในเรื่องจของสังคมรมณีย์ก็ต้องมีบุคคลรมณีย์ซึ่งไปด้วยกัน ผมไม่รู้ว่าระบบสมองกลข้างหน้ามีกลไกอะไรมาคุมหรือเปล่า
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : อย่างนี้ครับ พอดีประเด็นนี้หนังสือ Time เล่มปัจจุบันขึ้นหน้าปกว่า the end of humanity และคงคำว่า humanity มี่ตัว A กับตัว I ทำตัว A กับตัว I ให้เด่นเลย HUMANITY แล้วให้ตัว A กับตัว I ให้เด่น หมายถึง AI ทำให้มนุษยชาติสิ้นสุดลง THE END of HUMANITY มีคนเริ่มรู้ตรงนี้แล้ว ที่จริงก็ควรถ้าหากว่าใครสนใจเรื่อง consciousness หรือวิญญาณ คิดว่าสัตว์เซลล์เดียว เช่น ตัวอะมีบาไม่มีสมอง ไม่มีเส้นประสาท มีแต่เซลล์เดียวแต่ว่าข้างในมันรู้ได้เวลาเซลล์สัมผัสกับความเป็นกรดเป็นด่าง อะไรที่เป็นอันตรายมันหนี แสดงว่ามันรู้ แล้วทำอย่างไรสมองก็ไม่มี เส้นประสาทก็ไม่มี แต่ตรงผนังเซลล์สามารถรับรู้ว่ามีอาหารไม่มีอาหารเคลื่อนไปสู่อาหาร ถ้าเกิดเป็นกรดด่างมากไปมันเคลื่อนหนีมันมีความอันตรายต่อมัน แปลว่ารู้และมีวิญญาณแต่วิญญาณไม่เหมือนวิญญาณคน มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนโดยนักศึกษาปริญญาโทตอนนั้นอายุ ๒๗ ปี ชื่อว่า Spectrum of consciousness ซึ่ง Spectrum ของจิตตั้งแต่เซลล์เดียวไปจนถึงสมองมนุษย์ สมองทากเป็นอย่างไร สมองกิ้งกื้อเป็นอย่างไร สมองอะไร ๆ เป็นอะไร ตรงนี้ก็น่าสนใจถ้าหากว่ามีการพยายามศึกษาตรงนี้ให้ดี ผมกำลังพยายามชวนลูกนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นแพทย์ทางด้านสมองมาสนใจตรงนี้ คนเมื่อสักครู่ชื่อเคน วิลเบอร์ (Ken Wilber) อยู่ที่เดนเวอร์ เป็นนักคิดด้านจิตวิญญาณ เพราะฉะนั้นวิญญาณ หมายถึง consciousness ฐานรู้เป็นธาตุวิญญาณ ตอนหลังต้องมีการกล่าวตรงนี้สักหน่อยถือโอกาสที่เรียกว่าจิตที่เรามีการเรียก ๆ กัน ส่วนที่เป็นจิตแท้ คือ วิญญาณ ส่วนอีกอันหนึ่งเป็นส่วนประกอบหรือฟังก์ชั่นของจิต คือ เวทนา สัญญา สังขาร เขาเลยเรียกว่าเป็นเจตสิก คือ ตัวจิต เป็นวิญญาณ ธาตุรู้ วันหน้าอาจจะมีการกล่าวตรงนี้สักนิดหนึ่ง อย่างไวรัสก็มีความเชื่อว่าเป็นวิญญาณ โควิด-๑๙ มันรู้ว่าเวลาภูมิคุ้มกันดีมันซ้อนตัวอยู่มันไม่ออก ถ้าภูมิคุ้มกันอ่อนมันออกแปลว่ามันรู้ มันรับรู้ได้ มันมีวิญญาณ วิญญาณของสัตว์ทั้งหมด ขนาดเท่าไรมันก็เท่าเดิม จิตสำนึกหรือการรู้มันขยายใหญ่ได้จากโจรผู้ร้ายไปจนถึงจิตของพระพุทธเจ้า เป็นข้อวิเศษของจิตมนุษย์ ซึ่งเป็นความเป็นศักยภาพของมนุษย์ ของสัตว์ไม่มีตัวนี้ เทวดาก็ไม่มี แต่ว่ามนุษย์มีตรงนี้ เพราะฉะนั้นตรงนี้มนุษย์บรรลุธรรมได้
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : สุดท้าย AI จะมีไหมครับ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ต้องรู้ทันมันไม่อย่างนั้นมันจะทำร้ายลองอ่านดูหนังสือ Time ฉบับปัจจุบัน มันก็ยังมีอื่น ๆ อีก สมองมี ๒ ซีก ซีกซ้าย ซีขวา และมีการทำหน้าที่ต่างกัน ซีกซ้ายทำหน้าที่คิด นี้ทำหน้าที่สังเคราะห์ ภาพรวม ความงาม ศิลปะ ความงาม อยู่ทางซีกขวา แต่การเจริญสติดทำให้ ๒ ซีกเชื่อมกัน เห็นคอร์ปัส คาโลซัม (Corpus callosum) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมสมองซีกซ้ายกับซีกขวาเข้าด้วยกันโตขึ้นเลยเพราะการเจริญสติให้เกิดการบาลานส์ในตรงนี้ ส่วนยิวเป็นอย่างไรเป็นเพราะยีนส์หรือว่าเป็นเพราะ น่าจะ selection คือ การเผชิญความยากลำบากต้องมีการต่อสู้อยู่สนทะเลทรายต่าง ๆ ก็เพื่อ survival ของเขา ก็ต้องมีการ develop ตัวนี้ขึ้นมาไม่อย่างนั้นก็ไม่รอด นั้นก็เป็น national selection
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ขอเรียนเชิญนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ มีข้อสังเกตอะไรได้มีการพาดพิงไปถึงลูก
นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ : ผมเชื่อมที่ท่านอาจารย์ได้ตั้งเป็นประเด็นใหญ่ ประเด็นเรื่องสมาธิเหวี่ยง หรือประเด็นที่นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช อยากแตะประเด็นของนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช เรื่องสมองคน และเชื่อมไปถึงลูกที่เป็น neurologist สั้น ๆ เพราะผมก็สนใจเรื่อง AI เหมือนกัน ผมเข้าใจมี ๓ ประเด็นที่ขอพูดสั้น ๆ นิดเดียวก่อน หนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ที่ทำเรื่อง AI เขารู้ว่ามีปัญหาพื้นฐานอันหนึ่ง เขาตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า The Alinement problem ปัญหาของความไม่ลงรอยกันระหว่างสิ่งที่เรียกว่า human value กับ Goal และ Target ถ้าพูดสั้น ๆ คือ คิด AI สามารถทำให้เกิด AI ที่ทำงานไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งได้ แต่เป้าหมายที่ว่านั่นอาจจะไม่ใช่เป้าหมายที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราอยากได้ก็ได้ ให้ระมัดระวังให้ดี ๆ คนที่ทำงาน AI ก็จะรู้ทัน AI อย่างที่นายแพทย์บัญชาฯกล่าว เขาก็จะมีความกังวลกับเรื่องนี้มากว่าเครื่อง AI ที่ออกมา ก็ตอบโจทย์ได้ระดับหนึ่งสักพักมีคำถามว่ามันใช่สิ่งที่เราอยากได้หรือเปล่า อันนี้เป็นประเด็นที่หนึ่ง
ประเด็นที่สอง คือ ข้อเท็จจริงที่ว่าไม่ว่าจะกลัวอย่างไรก็จะมี AI ให้ใช้แน่ ๆ จะใช้อย่างไร คำตอบที่นักวิทยาศาสตร์มีก็คือ ใช้ AI ต้องใช้คู่กับสมองมนุษย์ แปลว่าอะไรผมก็ตีความเองนะ ว่าอย่าทำให้ AI ถูกใช้ไปเป็นคนตัดสินใจให้ใช้ AI เป็นตัวให้ข้อมูล
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ประกอบการตัดสินใจ
นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ : ถ้ามีการใช้ AI สมองมนุษย์มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ามีความตระหนักที่ว่าข้อมูลที่ได้มาจากพื้นฐานอย่างหนึ่ง อันนี้ตรงที่เราอยากได้ก็ได้ถามตัวเองบ่อย ๆ ว่าเราอยากได้อะไร ที่เขาบอกมันตรงกับอะไรที่เราอยากได้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องดี และผมมองว่าถ้าเราใช้ AI เป็นก็ถูกนำมาใช้ประเด็นที่สาม คือ การพัฒนาให้เรารู้ทันตัวเองด้วย รู้ทันชีวิตด้วย แต่สุดท้ายข้อที่น่ากลัวที่สุด คือ เขาเชื่อว่ามี AI ที่ตัดสินใจได้เอง แล้วถ้ามีการตัดสินใจได้เองมีที่ทำงานของมันอยู่ในไซเบอร์ space ไปยุ่งกับคนไปทั่ว ผมชอบดูหนังล่าสุดเพิ่งดูหนังเรื่องหนึ่ง ขอแนะนำถ้าหากว่าไปหามาดูชื่อ The Artifice Girl พูดถึงเรื่อง AI ที่มีความฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นมีความรู้สึกนึกคิด และเหมือนจะมีจริยธรรมดีกว่ามนุษย์ เป็นวิทยาศาสตร์นะครับ ขอกล่าวเรื่อง AI ไว้แค่นี้ก่อน
แต่สิ่งที่จะเชื่อมกับสิ่งที่อาจารย์ประเวศ วะสี กล่าว คือ ผมเข้าใจเอางนะว่ามนุษย์ถูก จะเรียกว่า “ถูก” ไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า หรือเรียกว่ามีโอกาสแล้วกันหรือเรียกว่า “ท้าทาย” แล้วกันที่ต้องให้ใช้สมองส่วนหน้ามากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ผมมีความเชื่อว่าอย่างนั้นนะ ถ้ามาถึงยุค AI ยิ่งมีความชัดมีคนที่ใช้สมองส่วนหน้าไม่เป็น แล้วตกเป็นทาส AI มนุษย์ใช้สมองส่วนหน้าเป็น แล้วก็ไม่ตกเป็นทาส AI และผมเชื่อคล้าย ๆ อย่างที่ท่านอาจารย์ประเวศกล่าว วิธีพัฒนาสมองส่วนหน้า คือ เรื่องการเจริญสติ ฝึกสมาธิ พัฒนาทางเรื่องจิตวิญญาณผมเชื่อเรื่องการเจริญสติและฝึกสมาธิ เชื่อเรื่องสมาธิเหวี่ยงนิดเดียว ผมมีโอกาสใกล้ชิดอาจารย์ประเวศฯ และเรียนจากท่านอาจารย์ประเวศฯเยอะ สิ่งที่ผมทำประจำและทำมาปกติมานานสักพักหนึ่งแล้วละ คือ พยายามมีสติโดยไม่ต้องอาศัยการนั่งสมาธิหรือการภาวนา คือ ทันทีที่รู้ว่าโกรธ ทันทีที่รู้ว่ากำลังคิดฟุ้งซ่าน กรณีที่ว่าเข้าใจคนอื่นเขาผิดหรือเปล่าก็มีสติรู้ตัวว่าเราไม่ควรจะไม่ไปพอใจเขานะ เราไม่เข้าใจวิธีคิดของเขาต่างหากพยายามฟังเขาให้มากขึ้นก็เป็นความพยายามที่ผมบอกว่าใช้คำว่าพยายามบ่อย ๆ ที่แม่ชีเคยมาทักผมว่าถ้าไปนั่งสมาธิไม่ต้องใช้คำว่าพยายาม อัตโนมัติมากขึ้น เร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็พยายามที่จะนั่งสมาธิ และอาจารย์บรรยายอาปานาสติ ๑๖ ขั้นตอน ผมก็ไปอ่าน ครั้งหน้าอาจารย์ประเวศฯคงมาเฉลย ผมเล่าเป็นน้ำจิ้มก่อนผมยิ่งอ่านยิ่งงง แล้วผมคุยกับน้องผม ๒ คน อีกคนเคยบวชพระ อีกคนเคยเข้าปฏิบัติธรรมสำนักโคเอ็นก้า ทั้งสองคนฟังคำถามผมแล้วบอกว่าเลิกคุยได้แล้วไปนั่งสมาธิดีกว่า แล้วแนะนำผมสั้น ๆ คล้าย ๆ ที่เคยถูกแนะนำมาก่อน การนั่งสมาธิให้ทำ ๒ อย่าง คือ หนึ่ง เรื่องลมหายใจให้รู้ทัน สอง ถ้ามีเวทนาให้พิจารณาเวทนาด้วยการรับรู้แต่ว่าอย่าไปคิด
มาถึงเรื่องประเด็นสมาธิเหวี่ยงตรงนี้ครับ ผมเองเวลานั่งสมาธิแล้วเวลาที่กำลังเจริญสติแล้วเจอสิ่งที่เวทนาคนทั่วไปเรื่องปวดเมื่อย ผมก็จัดการกับมันไม่ค่อยได้ พูดง่าย ๆ คือ เวลาปวดเมื่อยก็ต้องไปจัดการเรื่องความปวดเมื่อยมันก็ไปแล้ว คราวนี้ผมมาพบอันหนึ่งที่สำคัญที่ท่านอาจารย์ประเวศฯเคยกล่าวถึงท่านที่เดินไปไหนที่มองโกเลีย ที่บอกว่าเดินจนปวดขาพอตั้งใจนำสติมาไว้ที่ขาที่ความเจ็บปวดก็หายไป ผมพบว่าเวลาที่ผมออกกำลังกายวิ่งมีผมรู้สึกว่าปวดโน่นปวดนี่ ปวดโน่น พอมันมาอยู่กับความปวดตรงนั้นก็ดีขึ้นก็เลยรู้สึกว่าเอะ ก็เลยถามอาจารย์ประเวศฯ หรือว่าเอะการฝึกสติผมไม่รู้ว่าเรียกว่าอะไรก็ไม่รู้นะ เจริญสติหรือว่าสมาธิก็ไม่รู้นะการรับรู้เวทนาขณะเคลื่อนที่มันน่าจะดีเหมาะกับบางคนหรือเปล่าเป็นคำถามผม อาจารย์ประเวศฯก็เลยพูดถึงว่าหรือว่าจะเป็นสมาธิเหวี่ยงหรือเปล่า จริง ๆ อย่างที่คุณหมอบัญชาว่าท่านโพธิ์ก็เหวี่ยงมือ แต่วันนี้อาจารย์มาบรรยายอีก version หนึ่งว่าด้วยเรื่องท่านมิตซูโอะ ชิบาฮาชิ เหวี่ยงด้วยจินตนาการ ผมจะแวะเรื่องนี้ถ้ามีโอกาสซึ่งผมจะไม่พูดยาว
ผมกลับมาที่ร่างกายก่อน ผมมีการยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำทุกวันเพราะว่าอายุมากขึ้นถ้าไม่ยืดก็จะลำบาก เคยเล่นโยคะนิดหน่อยซึ่งก็เป็นการยืดกล้ามเนื้อ แรก ๆ ไม่ได้คิดอะไรมากทำไปสักพักหนึ่งก็เริ่มรู้สึกว่าถ้าเราเอาจิตไปอยู่กับกล้ามเนื้อที่กำลังถูกยืดถ้ายืดกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ถ้ายืดได้มากขึ้นกลัวเจ็บน้อยลง กลัวบาดเจ็บน้อยลง ตอนหลังคุณหมอยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์ ก็มาแนะนำเรื่องนี้ให้ใช้วิธีโยคะด้วยการเอาจิตไปอยู่ที่กล้ามเนื้อกำลังยืดว่ามันตรงกัน ผมเข้าใจว่าเป็น concept เดียวกับสมาธิเหวี่ยง ซึ่งผมตีความว่าทำสมาธิขั้นขณะร่างกายกำลังเคลื่อนไหว แล้วรับรู้เวทนาที่เกิดขึ้นจากความเคลื่อนไหวเหล่านั้นซึ่งผมรู้สึกว่ามันเหมาะกับตัวเอง เพราะมีความรู้สึกว่าตัวเองอยู่นิ่งไม่ค่อยเป็นเลยอยากลองแชร์ประเด็นเหล่านี้ดูว่าใช่หรือไม่ไม่ใช่
ขอพูดประเด็นสุดท้ายประเด็นเดียวที่มีความติดใจผมมากเลยที่ท่านอาจารย์พูดเรื่องท่านมิตซูโอะ ชิบาฮาชิ ว่าหายใจเข้าแล้วก็ แล้วก็กล่าวถึงหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล กับน้ำเย็น แล้ววันนี้อาจารย์มาใช้คำว่านิมิต ผมพยายามถามตัวเองตลอดเวลาเวลาผมนั่งสมาธิบางครั้งที่ พยายามตามลมหายใจอย่างที่ปฏิบัติกัน อย่างที่มีบางคนพูดไม่ใช่การตามเฉย ๆ ตามไปที่อวัยวะต่าง ๆ ไปที่ปลายเท้า ปลายมือ ผมก็ลองดู ผมปวดหลังผมก็ลองตามไปที่หลังผม เพื่อหายปวดหลัง แล้วผมก็พบว่าผมทำอยากจังเลย เพราะว่าผมไม่รู้ว่าลมหายใจ หรืออาจเป็นอย่างที่ท่านอาจารย์กล่าวว่าเป็นนักวิชาการ ลมหายใจไปถึงหลังได้อย่างไร ผมเข้าใจว่ามันอยู่แต่ในปอด สิ่งที่ไปหลังเป็นเลือด แต่สิ่งที่อาจารย์ประเวศฯกล่าวผมมีความรู้สึกว่า “อ้อ” เขาไม่ได้ให้เราคิดอย่างนั้น เขาให้เราไปตามแบบจินตนาการว่าไปถึงหลังแล้ว ก็มีคำถามตลอดเวลาว่าการนั่งสมาธิต้องมีการจินตนาการด้วยเหรองงมากเลยนะครับ เป็นคำถามปิดท้ายเล็กน้อย
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เป็นหน้าที่อาจารย์ต้องตอบ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ที่กล่าวมาเยอะเชียวของที่น่าตอบเยอะ
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ประเด็นนี้ก่อน ประเด็นท้ายสุด คือ ที่อาจารย์ใช้อานาปานสติหรือสมาธิเหวี่ยงที่อาจารย์บอกว่าลมก็อยู่แต่ในปอด แต่อาจารย์ใช้คำว่าเป็นความรู้สึก คุณหมอสมศักดิ์ฯใช้คำว่าเป็นจินตนาการ “ความรู้สึก” กับ “จินตนาการ” คนละความหมาย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : เป็นความรู้สึกว่านิมิตก็ได้เป็นนิมิตที่ไม่ใช่ของจริง แต่มันเกิดขึ้นแล้วเราก็ตามนิมิตรไป ตรงนี้โยคีของอินเดียมีประสบการณ์มากจำนวนก็มากและมีการทำกันมานานตั้งแต่ก่อนพุทธกาลแล้ว เพราะฉะนั้นเขาก็จะมีประสบการณ์ต่าง ๆ เขาเรียกว่าลมปราณหรือลมชีวิต จะมีการเดินลมปราณตั้งแต่ก้นกบมาตามไขสันหลัง เขารู้ด้วยนะว่ามาตามไขสันหลังแล้วก็ขึ้นไปที่สมองเขารู้ว่ามีจักระต่าง ๆ ตามไขสันหลังและมีการเดินลมปราณ ไม่ใช่ลมจริง ๆ แต่มีความรู้สึกว่ามีลมชีวิต จากไขสันหลังมีเส้นปราสาทมีเส้นปราสาทไปทั่วตัวก็กระจายความรู้สึกไปทั่วตัวก็มีเหตุผลเขาไม่รู้กายวิภาคศาสตร์ (ANATOMY) มีแต่เขารู้ว่าจากที่เขาทำสมาธิมันมีประสบการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้
อย่างที่ว่าวิ่งเมื่อก่อนผมก็เคยวิ่งทุกเช้ามาเจออันหนึ่ง พอวิ่งไปเหนื่อย ๆ ก็จะหยุดเดินแล้วก็วิ่งใหม่ แล้วก็หยุดเดิน คราวนี้ต่อมาทดลองถ้าเกิดว่าเหนื่อยแล้วไม่หยุดจะเป็นอย่างไร ไม่หยุดก็วิ่งต่อไปถึงเหนื่อยก็ไม่หยุด แทนที่จะเหนื่อยมากขึ้นกลับกลายเป็นว่าเหนื่อยน้อยลง แล้ววิ่งไปได้เรื่อย ๆ เหมือนไม่มีที่สิ้นสุด ผมใช้คำว่ามันทะลุความเหนื่อย พอทะลุความเหนื่อยไปแล้วไปเจอของดีขึ้น มีความสุข ทั้งเนื้อทั้งตัวแล้วสามารถวิ่งไปได้ผมใช้คำว่าวิ่งสู่นิรันดร์เหมือนกับเหมือนกับ timeless เพราะฉะนั้นตรงนี้การออกกำลังไปก็ทำให้เจอตรงนี้อธิบาย คือ เอ็นโดฟิน (Endophins) มันออกถึงขั้นหนึ่ง เอ็นโดฟิน (Endophins) มีความสุขทั้งเนื้อทั้งตัวแล้วก็เหนื่อยน้อยลงจิตเกิดเป็นสมาธินิ่งไปเลยเป็นสมาธิ เป็นจิตนิ่งเลยอันนี้เป็นที่รู้กัน ถ้าใครทำอะไรแล้วทำตรงนั้นจิตจะนิ่งไม่ว่าจะเป็นอะไรการต่อสู้ทุกชนิด เพราะฉะนั้นการต่อสู้ที่ว่าต่อสู้กันไปแล้วไม่กลัว ไม่มีความกลัวอะไรแล้วยจิตเกิดเข้าสู่สภาวะนี้ อย่างนักกีฬาถ้ามีการฝึกตรงนี้มันก็จะเจอตรงนี้ อันนี้ก็เป็นหลักถ้าหากว่าเราทำอะไรแล้วเหนื่อยเราหยุดเราก็จะไม่ได้เจอสภาวะที่วิเศษ ถ้าหากว่าเราทำทะลุความเหนื่อยไป ทำอะไรมันยากก็พยายามทำอยู่เรื่อย ๆ วิริยะให้ทะลุไป แล้วไปเจอของดี
เมื่อสักครู่พูดว่าถ้าเกิดเป็นเซลล์ขึ้นมา แล้วมีวิญญาณเกิดขึ้นมันรู้ได้มันก็มาถึงคำถามว่าอะไรที่มัน organization กัน มันก็มีวิญญาณ โลกมีการ organization กันเป็นระบบโลก โลกมีวิญญาณหรือเปล่าตรงนี้นักวิทยาศาสตร์มาถึงข้อสรุปตรงนี้แล้วนักวิทยาศาสตร์ Quantum ว่าโลกมีจิต แม้แต่จักรวาลก็มีจิตจักรวาลเกิดขึ้นแล้วเข้ามาสัมพันธ์กับจิตมนุษย์ ฮินดูทำสมาธิแล้วบอกว่าจะไปสู่จิตจักรวาล เวลาการทำงานเจริญสติ เจริญสมาธิ พอจิตเชื่อมกับธรรมชาติก็จะถึงความใหญ่ทำให้เป็นอิสระ มีความสุข ตอนนี้ผมก็เริ่มเขียนไปนิดหน่อยว่าอะไรต่ออะไรกำลังมาเชื่อมกันไปหมดจนเป็น Quantum วิทยาศาสตร์ Quantum ปรีดากำลังทำการบ้านค้นตรงนี้อยู่ Quantum ศาสนาก็จะมีความเชื่อมโยง เป็น Quantum สังคม กำลังดำเนินการ develop ตรงนี้อยู่ ช่วยกันถ้าหากว่าใครสนใจ โลกจะเปลี่ยนตรงนี้
หลักการอันหนึ่งที่กล่าวถึงเรื่อง AI มีหลักการใหญ่อันหนึ่งถ้าทำอะไรเอาธรรมชาติเป็นตัวตั้ง ธรรมชาติคือสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ สิ่งที่มีเหตุผลที่สุด สิ่งที่ฉลาดที่สุด คือ ธรรมชาติที่สร้างมนุษย์ขึ้นมาได้ ใครสร้างได้บ้าง เป็นธรรมชาติที่สร้างมาเป็นสิ่งที่วิจิตรที่สุดในจักรวาลระบบมนุษย์ เพราะฉะนั้นมนุษย์เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ถ้าทำอะไรต้องเอาชีวิตมนุษย์เป็นตัวตั้งถ้าทำจากนี้ไปจะพลาดเสมอ เพราะฉะนั้นเวลานักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เขาพูดว่า market ตลาดเสรี เป็นตัวตั้งอะไรผมก็ไม่เชื่อ ผิดหลักและเขาก็จะพลาดเสมอ ถ้าไม่เอาชีวิตมนุษย์เป็นตัวตั้ง การศึกาพลาดไปเลยไปเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง การศึกษาพลาดไปเลยแล้วก่อความเสียหายเหลือกำลังระบบการศึกษาที่มีอยู่มันต้องเอาชีวิต ถ้าทางพุทธจะบอกว่าชีวิต คือ การเรียนรู้ การเรียนรู้คือชีวิต ชีวิตอยู่ที่เดียวกัน การศึกษาไปดูสิเรียนวิชาอะไร สอบวิชาอะไร ได้ปริญญาวิชาอะไร แยกส่วนไปจากชีวิตเลย ตรงนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ก็ตรัสไว้นานแล้วแต่ไม่มีคนสนใจว่าการศึกษาเป็นการแยกส่วน ไม่บูรณาการกับชีวิต เพราะฉะนั้นไปดูเทคโนโลยีหรือว่าไปดูอะไรก็แล้วแต่ ถ้าไม่เอาชีวิตเป็นตัวตั้งก็จะไปพลาดได้เสมอรวมทั้ง AI อะไรด้วย น่าจะเป็นหลักคิดว่าต้องเอาชีวิตมนุษย์เป็นตัวตั้ง
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : พอสมควรกับเวลามีท่านใดที่ฝากคำถามไว้ ถ้าหากว่าไม่ได้แลกเปลี่ยนแล้วรู้สึกว่าค้าง ๆ ผมเองมีคำถามค้างอยู่คำถามหนึ่งคราวหน้าต้องรบกวนคุณหมอปรีดาฯด้วยนะครับที่รับโจทย์และถูกพาดพิงเยอะ คราวหน้าช่วยมาเติมไม่เอาคราวนี้แล้ว ผมมีค้างอยู่ข้อหนึ่งถ้าหากว่าทำไมสมองส่วนหน้าที่ธรรมชาติมีการพัฒนามาจนมนุษย์เรามีและเป็นตัวขยายความสุข ตัวขยายสารพัดอย่าง ทำไมมันยากและทำไมไม่ยั่วให้มนุษย์อยากเล่นกับมัน มันดันแต่ให้ไปใช้ส่วนหลังส่วนกลางและก็รู้สึก enjoy แล้วก็เพลิน แต่ตรงนี้ยาก ๆ อาจารย์เสนอเรื่องสมาธิเหวี่ยง พระพุทธเจ้าออกแบบอานาปานสติมาแล้วครูบาอาจารย์หากันหลายเทคนิคมันก็ยังยากเหลือเกิน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : จะมีสักตอนหนึ่งจะพูดเรื่องสุขภาวะทางปัญญาแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง สุขภาวะทางวัตถุกับสุขภาวะทางปัญญา และก็พยายามบอกว่ามาจากทางไหนได้บ้างหนทางนะวันหลังจะพูดสัก
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : อาจารย์พูดเชื้อเชิญแล้ว enjoy
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ต้องสนุกกับมัน
คำถาม : เมื่อสักครู่ที่กล่าวถึงเรื่องสมองส่วนหน้า ทำไมอยากจังแล้วเราก็ไม่ได้ใช้ ก็มีการ challenge ขึ้นมา เมื่อมีการกล่าวถึง AI ถ้าเกิดว่าปัจจุบันเรารู้ว่ามี AI เข้ามาถ้าเกิดไปเพิ่งตัว AI จนมากเกินไป ยิ่งทำให้สมองส่วนหน้าทำงานน้อยลง แต่ถ้าเกิดว่าเราแข่งกับเขาเราใช้จิตหรือว่าการเจริญสติให้ดำรงอยู่กับเราไว้ นั่นหมายความว่าสมองส่วนหน้าก็คงยังทำงานอยู่แล้วก็ต่อให้มีเรื่องของที่มีตัวใหม่เข้ามาในเรื่องของแชท CBT เป็นตัวใหม่เข้ามาในเรื่องของแค่เราป้อนข้อมูลอย่างเช่น เราจะเขียน contents อะไรในหน้า web เราแค่ป้อนแล้วจะปรากฏสิ่งที่ต้องการออกมา โดยที่เราแทบไม่ต้องใช้ความคิดอะไรเลย ตรงนี้เหมือนกับการมาแข่งกับเราและการทำงานกับสมองของเรา ถ้าเกิดเราไม่ใช่ของเราเลยแล้วเกิดไปพึ่งตัวแชทนี้มาจนเกินไป นั่นหมายความว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวถ้าเราไม่ใช่การเจริญสติ ไม่ใช่ปัญญา อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ challenge ที่เรา AI เป็นเรื่องที่ดีแต่เราอยากให้ AI เป็นเรื่องของอุตสาหกรรมไปเป็นเรื่องใหญ่ ๆ ไป แต่เรื่องของเราเป็นเรื่องของ spiritual ก็อยากให้เป็นเรื่องที่ดำรงอยู่ของการใช้ของสมองส่วนหน้าไว้ในความคิดเห็นนะคะ
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ยังไม่ต้องตอบเอาไว้คราวหน้านะครับอาจารย์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ช่วยจำตรงนี้ไว้หน่อยก็ดี
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เมื่อสักพักใหญ่ ๆ ผมไปเจอกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเชิงนโยบายของประเทศ ต้องไปเจรจาความระหว่างประเทศ ข้อมูลที่ได้มาไม่พอสุดท้ายถามไปใน AI ว่าถ้าเจรจากับประเทศนี้ มีข้อแนะนำอะไรบ้าง ข้อมูลมาจำนวนมาก แล้วเราก็เลือกเอาตรงนั้น อีกวันหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่งข้อมูลมาในประเทศอเมริกากลางข้อมูลบอกเลยไม่มี ข้อมูลไม่มีมากพอ แล้วก็ถามว่าแต่ถ้าอยากจะได้ ก็ตอบมาโดยไปอ้างอิงอีกประเทศว่าประเทศ You อาจเกี่ยวกับประเทศนี้ ซึ่งอ่านแล้วคนละเรื่องเลย เราจะไปอิงขนาดไหนหรือใช้ขนาดไหนหรือจะนำเขาอย่างไร
มีคำถามมาอีกคำถามหนึ่งคราวที่แล้วเคยพูดไปครั้งหนึ่งเรื่องสติกับสัมปชัญญะผมว่าเอาไว้คราวหน้า วันนี้คงจะเพียงแต่เท่านี้ มีคนนำบทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรมาฝากทุกท่านในวันนี้ ขอบพระคุณมากครับ แล้วคราวหน้าอาจารย์หมอประเวศได้ให้การบ้านไป คือ อ่านอานาปานสติซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ๑๖ ขั้นตอน มีหนังสือแนะนำ ๒ เล่ม คือ อานาปานสติฉบับสมบูรณ์ ของท่านอาจารย์พุทธทาส และอีกฉบับที่ทางสวนโมกข์กรุงเทพพยายาม เป็นคู่มือที่ทางท่านอาจารย์พุทธทาสเคยแสดงไว้ในบางตอนที่มาจากหนังสือถอดมาจาการสอน มีอีกเล่มหนึ่งที่ห้องสโมสร คือ บทสวดอานาปานสติ ถ้าบางคนต้องการทบทวนบาลีเลยก็มีบทสวด มี ๓ เล่ม ถ้าหากว่าอยากไปถึง original source เป็นเล่มสีฟ้าเล็ก ๆ ที่นี่ทุกนัดที่มีอานาปานสติเราจะชวนทบทวนบทนี้กัน และมีพระมาขยายความ ขออนุญาตนำเรียนเท่านี้ครับ วันนี้ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ขอบคุณมูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ ที่ส่งเรื่องนี้ไปสู่สาธารณะวงกว้างสำหรับท่านที่ไม่ได้มา ขอบคุณมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และมูลนิธิหมอชาวบ้าน นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ