แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ในนามของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) ร่วมกับมูลนิธิหมอชาวบ้าน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ และมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ดำริในการจัดกิจกรรมพุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) ผ่านประสบการณ์อาจารย์หมอประเวศ วะสี และได้มีการเปิดประเด็น “พุทธวิธีแก้เซ็ง” เมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา ตอนนี้ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ซึ่งท่านได้ปรารภว่าอยากนำประสบการณ์ สิ่งที่ได้เรียนรู้ และสิ่งที่ได้ปฏิบัติมาจนถึงทุกวันนี้ และอาจารย์มหาวิจิตรฯที่ร่วมกับท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุที่ได้ร่วมกันทำธรรมโฆษณ์ การออกแบบรายการพุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) ล้อมวงสนทนากับนายแพทย์ประเวศ วะสี ๑๒ เรื่อง ๑๒ เดือน ทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ ๒ ตลอดปี ๒๕๖๖ อาจารย์หมอประเวศ วะสี เล่ารายละเอียดประมาณ ๔๕ นาที และท่านใดมีคำถาม เบื้องต้นสอบถามประเด็นในประเด็นที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้เล่าไป การออกแบบแบบเดิมเป็นการเล่าไปทีละเรื่อง โปรแกรมนี้มีการเตรียมไว้ก่อนโควิด-๑๙ และได้มีการเขียนลงไว้ในหนังสือหมอชาวบ้านไว้เรียบร้อยแล้ว จากครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓ มีการเล่าถึงเนื้อหาและแนวปฏิบัติ มีการบ้านให้ทุกท่านได้กลับไปทำ แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ทำ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้เตรียมไว้ ๔ ประเด็น ประกอบด้วย ๑) ว่าด้วยทริกเทคนิคอุบายต่าง ๆ ของการเจริญสติ ในการจัดใจไม่ให้หลุดไปคิด โดยเฉพาะของพ่อแม่ครูอาจารย์ต่าง ๆ ที่สร้างเสริมเติมเครื่องมือไว้ให้พวกเราได้เลือกใช้ ๒) ทำความเข้าใจในเรื่องสังขารการปรุงแต่ง ๓) " ... ให้รู้เท่าทันเบญจขันธ์ ไม่ตกเป็นเหยื่อจนเป็นทุกข์ ... " และ ๔) สุดท้ายจะชี้ชวนให้ " ... กลับไปทดลองความจริงกับตัวเอง ... "
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ท่านสาธุชนที่สนใจในพุทธรรมทุกท่านครับ ในครั้งที่ ๔ มีการกล่าวใน ๔ ประเด็น ประกอบด้วย ๑) ว่าด้วยทริกเทคนิคอุบายต่าง ๆ ของการเจริญสติ ในการจัดใจไม่ให้หลุดไปคิด โดยเฉพาะของพ่อแม่ครูอาจารย์ต่าง ๆ ที่สร้างเสริมเติมเครื่องมือไว้ให้พวกเราได้เลือกใช้ ๒) ทำความเข้าใจในเรื่องสังขารการปรุงแต่ง ๓) " ... ให้รู้เท่าทันเบญจขันธ์ ไม่ตกเป็นเหยื่อจนเป็นทุกข์ ... " และ ๔) สุดท้ายจะชี้ชวนให้ " ... กลับไปทดลองความจริงกับตัวเอง ... "
ประเด็นแรก ว่าด้วยทริกเทคนิคอุบายต่าง ๆ ของการเจริญสติ ในการจัดใจไม่ให้หลุดไปคิด โดยเฉพาะของพ่อแม่ครูอาจารย์ต่าง ๆ ที่สร้างเสริมเติมเครื่องมือไว้ให้พวกเราได้เลือกใช้ เพื่อเป็นการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเจริญสติ เพราะการเจริญสติที่พุทธเจ้าเรียกว่ามรรคอันเอก “เอกายนมรรค” เป็นหนทางอันเอกที่นำไปสู่สมาธิ ปัญญา ไปสู่ทั้งหลายมีสติอยู่ในทุกคนทุกที่ทุกแห่ง เพราะการเจริญสติสำหรับบางคนเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ และผมเองเป็นคนหนึ่งที่เจริญสติได้ยากเพราะเป็นคนชอบคิดมาตั้งแต่เด็ก ๆ คิดโน่น คิดนี้ทุกวันทั้งกลางวันและกลางคน คิดว่าทำอย่างไรให้มนุษย์ดีขึ้น มีวิธีการอะไรอย่างไร เรียกว่า อยู่ในความคิดตลอดเวลา เพราะฉะนั้นการดึงออกจากความคิดมาสู่การรู้จากคิด จากคิดมาสู่รู้ เพราะถือว่าถ้าจะไม่คิดจะไม่รู้ ไม่รู้อยู่กับปัจจุบัน หายใจเข้าหายใจออกก็ไม่รู้หรือว่าอย่างที่มีการเล่าคนที่คิดมา ๆ เดินไปตามถนนมั่วแต่คิดรถยนต์จะชนก็ยังไม่รู้ตัว คือการไม่รู้ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นตรงนี้อยากย้ำเพิ่มเติมทุกครั้ง เพราะว่าสำนักต่าง ๆ ครูบาอาจารย์ต่าง ๆ มีอุบายหรือว่ามีเคล็ดต่าง ๆ กัน ที่จะทำให้เจริญสติได้ ผมเองเมื่อเริ่มใหม่ ๆ ก็รู้สึกว่ายากที่จะจับสติไว้กับปัจจุบันก็พยายามดูว่ามีเทคนิคอะไรบ้าง ที่ใช้อยู่มี ๒ เทคนิคใหญ่ ๆ ที่จริงมีหลายเทคนิคที่ครูบาอาจารย์ได้กล่าวไว้ คือ หนึ่ง การหายใจยาวเพราะการหายใจธรรมดาจะสั้น ทำให้จับยาก แต่ครูบาอาจารย์บางท่านก็ให้หายใจปกติก็มีการสอน แต่ถ้ามีการหายใจให้ยาว คือ ลมจริง ๆ หายใจเข้าไปถึงแค่ปอด แต่ความรู้สึกลมไปไกลได้ ไปไกลอย่างบางพวกไปถึงสะดือจนขึ้นมาจรดศีรษะ ลมไม่ได้ขึ้นไปที่ศีรษะแต่ความรู้สึกให้มันไปได้ อย่างโยคีจะมีการเคลื่อนระหว่างก้นกบกับศีรษะ อย่างโยคีเคลื่อนตามไขสันหลังทำให้เกิดสมาธิเร็ว เนื่องจากไขสันหลังเป็นแหล่งที่ร่วมของระบบประสาท มีการส่งเส้นประสาทไปทั่วตัว เพราะฉะนั้นการเดินลมไปตามไขสันหลังทำให้เกิดการกระจายไปทั่วลำตัวทำให้เกิดความสุข หากสนใจลองหาอ่านของเหล่าโยคีมีจำนวนมาก จะมีการกล่าวถึงจำนวนมาก เพราะโยคี ฤาษี มีการปฏิบัติมานานเจอเทคนิคในการปฏิบัติ และรู้ว่าการทำตามไขสันหลังมีจักระ ประกอบด้วยจุดจักระ ๗ จุด มีการเดินลมไปถึงสมอง เรียกว่าการเดินลมปราณ วิธีการเดินลมตามไขสันหลังทำให้เกิดสมาธิเร็ว ลองดูหลาย ๆ วิธี และลองดูว่าวิธีไหนถูกกับจริตของตนเอง เพราะฉะนั้นในแต่ละคนไม่เหมือนกัน ครูบาอาจารย์บางท่านเดินลมถึงปลายเท้า สามารถทให้จับลมได้ดีขึ้น พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ตรงนี้จำนวนมาก ท่านสอนเรื่องการเจริญสติอย่างมาก อย่างในพระไตรปิฎกบอกให้ทำเหมือนสูบลมเข้า-ออก อย่างช่างตีเหล็กสมมัยก่อนจะมีการสูบลมเข้า-ออกหรือบางครั้งท่านก็กล่าวเหมือนช่างชักลูกกลึง ชักยาวก็รู้ว่ายาว ชักสั้นก็รู้ว่าสั้น มีบางคนยกตัวอย่างการเดินทูนน้ำหรือน้ำมันอยู่บนศีรษะแล้วเดินผ่านอะไรที่อันตรายมากถ้าจิตว่อกแว่กน้ำหรือน้ำมันที่ทูนบนศีรษะจะตกลงมาทันที การรักษาน้ำเหมือนการรักษาสติไว้
ตกลงที่ผมใช้คือให้มันยาวทำให้การจับลมได้ดีขึ้น อีกวิธีหนึ่งคือการใช้วิธีการนับ บางครูบาอาจารย์บางท่านก็ห้ามไม่ให้นับ ห้ามไม่ให้บริกรรม บางครูบาอาจารย์ก็ให้บริกรรมไปด้วย เข้า “พุท” ออก “โธ” เป็นการช่วยกำกับสติไว้ได้ดีขึ้น ส่วนผมเองจะนับเข้า หนึ่ง ออก หนึ่ง เข้า สอง ออก สอง ช่วงตอนหัดใหม่ ๆ ตั้งเป้าหมายไว้เพียงแค่ ๕ เท่านั้น ให้ได้ ๕ คือ เข้า หนึ่ง ออก หนึ่ง เข้า สอง ออก สอง ถ้าห้าจะไม่ถึงเพราะจิตเกิดการแว็บไปแล้ว ไปคิดแล้วกว่าจะรู้ตัวอีกตั้งนาน คิดอะไรไปเรื่อยเลย ถ้ารู้ตัวก็จับกลับมาอย่าไปโกรธมัน มันจับยากจิตเปรียบได้เหมือนกับลูกลิง เพราะลูกลิงหลุกหลิกได้เที่ยวไปจับอารมณ์ต่าง ๆ ก็ใช้วิธีการนับให้ได้ ๕ แล้วก็ขยายเพิ่มเป็น ๖ ได้อีกก็เพิ่มขึ้นไปเป็น ๗ หรือเพิ่มไปเรื่อย ๆ จนถึง ๑๐๐ แต่บางครูบาอาจารย์ไม่ให้นับไปไกลนับแค่ ๑๐ ก็พอ หรือย่างโรเบิร์ต เดวิด ลาร์สัน (Robert David Larson) หรือ อดีต “สันติกโรภิกขุ” ศิษย์ท่านพุทธทาสแห่งสวนโมกข์ ท่านเคยกล่าวว่า “Not more than ten” แต่สำหรับผมนับไปถึง ๑๐๐ ทำให้จิตสงบแล้ว แล้วนับทวนกลับมา ๑๐๐ ๙๙ ๙๘ กลับไปจนถึง ๐ แล้วก็นับใหม่จาก ๑ ๒ ๓ ไปจนถึง ๑๐๐ แล้วนับถอยหลังกลับไป ๑๐๐ ๙๙ ๙๘ จนถึง ๐ หากนับวนกลับไปกลับมาหลาย ๆ เที่ยวทำให้จิตสงบ
หากพบหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการเจริญสติลองหาอ่านดูหลายครูบาอาจารย์มีทริคต่าง ๆ หากเป็นสายทางพม่าจะไม่จับที่ลมหายใจเพราะจับยาก จะมีการจับที่ท้องนั่งสมาธิภาวนา ยุบหนอ พองหนอ หายใจเข้า “พองหนอ” หายใจออก “ยุบหนอ” บอกว่าจับง่ายกว่าเป็นการ modify ไปจากที่พระพุทธองค์ตรัสสอน เป็นธรรมดาที่ผู้ปฏิบัติมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป อาจจะลองดูหลาย ๆ อย่าง
คราวนี้หนังสือที่ชื่อว่า “ใครๆ ก็บรรลุธรรมได้ ถ้ารู้วิธี” โดย หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ที่คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ประธานบริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) มีความสนใจเรื่องการภาวนา มีการรวบรวมไว้ ๒๐ - ๓๐ สำนัก และส่งหนังสือ “ใครๆ ก็บรรลุธรรมได้ ถ้ารู้วิธี” สั้นตรง ได้ผลเร็ว โดย หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายธรรมยุทธ์บวชตอนอายุ ๒๐ ปี ท่านไม่รู้หนังสือ ไม่รู้ปริยัติธรรมอะไรเลย อาจารย์ของท่านหลวงปู่ดุลย์ อาริยอุตโล จังหวัดสุรินทร์ เป็นศิษย์อาวุโสรุ่นแรกสุดของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต แล้วหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ถือว่ามีการภาวนาที่เร็วมากเป็นอาจารย์ บวชเลยก็ทำเลยตั้งแต่วันนั้นเลยใช้เวลา ๒ วันบรรลุธรรมเลย ไม่รู้หนังสือ ไม่รู้ปริยัติธรรมเลย บวชเลยภาวนาเลยแล้วนำมาเล่าไว้ในหนังสือ “ใครๆ ก็บรรลุธรรมได้ ถ้ารู้วิธี” สั้นตรง ได้ผลเร็ว เป็นบท ๆ ทั้งหมดมี ๑๙ ตอน หรือ ๑๙ บทแบบสั้น ๆ แต่ละบทจะกล่าวเฉพาะวิธีทำทั้งนั้นเลย ลองอ่านไปบทหนึ่งลงมือทำเลย แต่เทคนิคของท่านแทนที่จะตามลมหายใจเข้า-ออก เข้า-ออก เข้า-ออก เทคนิคของท่านพอลมหายใจเข้าไปให้กดลงไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงท้อง สะดือ บริเวณนั้น จนสุดไม่สามารถไปต่อได้อีกต่อไปแล้วก็จับจุดนั้น เจริญสติตรงนั้นแล้วบริกรรมพุทโธกำกับเข้าไปตรงจุดนั้น หรือไม่อีกวิธีหนึ่งท่านเรียกว่ากรรมฐานน้ำเย็นดื่มน้ำเย็นลงไปแล้วตามลงไปพอน้ำเย็นลงสู่ท้อง สู่กระเพาะ แล้วหยุดที่ตรงไหนก็พุทโธ พุทโธ พุทโธ ตรงจุดที่น้ำเย็นอยู่ตรงนั้นลงไปสุด ประมาณ ๒ - ๓ นาที จิตเริ่มสงบเริ่มเป็นสมาธิแล้ว พอรู้ไปสักพักจะเกิดความว่าง รู้สึกมีความว่างขึ้น สว่างขึ้น ไร้ตัวตนเป็นสุญญาตา เป็นความว่างจากตัวตน ใหญ่แบบไม่มีที่สิ้นสุด จิตอยู่ในความว่างที่ตรงนี้ บางท่านที่ไปอ่านเจออาจจะไม่รู้เรียกว่าจิตเดิมแท้ จิตจิตประภัสสร และจิตต้น จิตตรงนี้ไม่ใช่วิญญาณ เวลาเกิดมามีกายกับจิต แต่ตรงนี้ไม่ใช่วิญญาณ เป็นจิตเริ่มแรกเป็นจิตต้นไม่มีกิเลสหรืออะไรมาพัวพันที่เรียกว่า “จิตเดิมแท้” จิตประภัสสร ซึ่งท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุเคยแปลหนังสือคำสอนท่านครูบาฮวงโป แห่งนิกายเซน แปลโดย ท่านพุทธทาสภิกขุ และมีคำนี้ “จิตเดิมแท้” ไม่มีกิเลสหรืออะไรมาพัวพัน สะอาด สว่าง เพราะฉะนั้นเรียกว่า “จิตประภัสสร” พอจิตไปอยู่ตรงนี้อย่างที่หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ได้กล่าวไว้ในหนังสือจิตอยู่กับความว่าง อยู่กับสุญญตา ไม่มีตัวตนก็ทำให้ไม่เกิดทุกข์ ไม่มีอะไรเลยมีความสุขอยู่ตรงนั้น พยายามให้อยู่ต่อเนื่อง ถ้าอยู่ต่อเนื่องได้นาน ๆ ถึงเวลาไม่ภาวนา ไม่อะไรก็อยู่อย่างของหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล อยู่ประจำตั้งแต่อายุ ๒๐ ปี จนกระทั่งมาถึงเดียวนี้อยู่ต่อไปเลย
เหมือนท่านหนึ่งที่เคยเล่าชื่อว่า เอ็กฮาร์ด โทเลอร์ เป็นคนหนุ่มที่มีความทุกข์มาก มีความทุกข์มากทุกวันคิดฆ่าตัวตายหลายครั้งแล้ว มีวันหนึ่งมีความรู้สึกว่าวันนี้ทนไม่ไหวแล้วจะต้องฆ่าตัวตายแล้ว แล้วก็กล่าวว่า “I can not life with my self any longer” ฉันไม่สามารถอยู่กับตัวเองได้อีกต่อไป แต่พอพูดประโยคนี้ทำให้เอ็กฮาร์ด โทเลอร์ เกิดการกระตุก สังเกตไหมว่า “I can not life with my self any longer” ฉันไม่สามารถอยู่กับตัวเองได้อีกต่อไป เกิดการกระตุกว่าอย่างไรกัน “ตัวฉันมีสองคนหรือ” คือ “I” กับ “My self” เป็นคนละคนหรือว่าอย่างไร พอเกิดประเด็นตรงนี้มันเกิดปริศนาธรรมขึ้นมา เอ็กฮาร์ด โทเลอร์ ได้คิดจนสลบไปและพอฟื้นขึ้นมากลายเป็นอีกคนหนึ่งเลย ไม่มีความทุกข์เลย ซึ่งเอ็กฮาร์ด โทเลอร์ก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะไม่รู้ปริยัติธรรม ไม่รู้อะไรเลย รู้แต่ว่าไปทางไหนก็มีแต่ความสุขทั้งเนื้อทั้งตัวไม่มีความทุกข์อีกเลยอยู่เป็นวัน ๆ เดือน ๆ ก็เป็นแบบนั้น แต่ก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ภายหลังจึงได้ไปศึกษาเรื่องโยคะ โยคี และคงมีการศึกษาเรื่องทางพุทธด้วย ก็จะอธิบายเกิดขึ้นได้อย่างไร ตัวของเอ็กฮาร์ด โทเลอร์กลายเป็นคนที่ไม่มีความทุกข์อีกเลย และมีคนมาบอกเอ็กฮาร์ด โทเลอร์ให้ช่วยสอน เริ่มเป็นครูเป็น spirosure teacher เป็นครูทางจิตวิญญาณ สอนและมีการเขียนหนังสือชื่อว่า The power of now แปลว่าพลังแห่งปัจจุบันขณะ ให้เน้นรู้อยู่กับปัจจุบันขณะ รู้อยู่กับปัจจุบัน หนังสือ The power of now by Eckhart Tolle คล้ายกัน คือ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ทฤษฎี แต่ตีประเด็นตรงนี้แตก มีการกล่าวถึงความคิดเป็นตัวร้าย ตัวความคิดทำให้เกิดความทุกข์ สำหรับร่างกายเอ็กฮาร์ด โทเลอร์ เรียกว่า body plant ก็เป็นตัวทุกข์ แต่พอรู้อยู่กับปัจจุบันจิตกับกายจะแยกออกจากกัน จิตเป็นธาตุของกายอยู่ในอำนาจของกาย ภาษาอังกฤษเรียกว่า M body mind ที่ผูกติดอยู่กับร่างกาย ในคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า ๙ พระสูตร ปฐมโพธิกาล มีอยู่ตอนหนึ่งต้องหลุดจากอำนาจของกาย การหลุดจากอำนาจของกายทำให้จิตเป็นอิสระ จิตเดิมแท้หรือจิตประภัสสรไม่อยู่ในอำนาจของกาย เพราะกิเลสตัณหามาทางกาย พอจิตเป็นอิสระก็อยู่กับความจริงที่อยู่เหนือตัวตน พูดตรงนี้อาจจะเร็วไป ในหัวข้อต่อไปจะเห็นในประเด็นตรงนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นหัวข้อที่หนึ่งว่าด้วยทริกเทคนิคอุบายต่าง ๆ ของการเจริญสติ ในการจัดใจไม่ให้หลุดไปคิด โดยเฉพาะของพ่อแม่ครูอาจารย์ต่าง ๆ ที่สร้างเสริมเติมเครื่องมือไว้ให้พวกเราได้เลือกใช้ ที่อยากให้ศึกษาการเจริญสติเทคนิคต่าง ๆ เจอหนังสือเรื่องการเจริญสติเมื่อไรก็หยิบขึ้นมาศึกษาเพราะมีเยอะแยะมากมาย สำนักต่าง ๆ และมีการสอนอุบายวิธีต่าง ๆ ก็ให้ทุกคนได้ลองดูว่าวิธีไหนถูกกับตน ของอาจารย์โกเอ็นก้าก็มีคนฝึกตามเป็นล้าน ๆ คน พอเกิดจิตสงบก็จับและเคลื่อนไปบริเวณที่ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย พอมีเจริญสติ สมาธิ จะเกิดที่จุด ๆ หนึ่งแล้ว เราสามารถย้ายมันไปได้ ย้ายไปที่ไหนก็ได้ ผมเรียกว่า “กระส่วย” ที่สามารถพุ่งไปตรงไหนก็ได้ทั่วร่างกาย ไปที่สมอง ไปที่เท้าก็ได้ ไปตรงไหนก็ได้ทั่วร่างกาย เหมือนการไปเยี่ยมทุกส่วนของร่างกายบางคนเรียกว่าการคุยกับเซลล์ เขาบอกว่าร่างกายจะชอบเจ้าของไปเยี่ยมทำให้เกิดความรู้สึกมีความสุขก็จะกระจายไปทั่วร่างกายทุกรูขุมขน พอไปทั่วตัวก็เหมือนทั้งตัวเต็มไปด้วยความสุขเพราะจิตไปเยี่ยมมาหมดแล้ว ก็ลองดูของท่านโกเอ็นก้า เป็นวิธีที่ Popular
เคยไปที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาว่าเรื่องนี้ทั้งมหาวิทยาลัย อยู่ที่เมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกาว่าด้วยเทคนิคของโกเอ็นก้าด้วย เป็นการกล่าวถึงเทคนิคหัวข้อที่หนึ่งที่ว่าด้วยทริกเทคนิคอุบายต่าง ๆ ของการเจริญสติ ในการจัดใจไม่ให้หลุดไปคิด โดยเฉพาะของพ่อแม่ครูอาจารย์ต่าง ๆ ที่สร้างเสริมเติมเครื่องมือไว้ให้พวกเราได้เลือกใช้
หัวข้อที่สอง ทำความเข้าใจในเรื่องสังขารการปรุงแต่ง คือ การคิดหรือว่าสังขารเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ สังขาร ที่แปลกันว่า “ปรุงแต่ง” หรือว่าการติดปรุงแต่งที่กล่าวไปก็อาจจะไม่เข้าใจว่าปรุงแต่งอย่างไร ยกเป็นตัวอย่างให้ดูตรงนี้จะได้เข้าใจเพราะเป็นเรื่องสำคัญและอยากให้เข้าใจตรงนี้ให้ชัดเจน
คำว่า “ปรุงแต่ง” ภาษาอังกฤษเรียกว่า construct เป็นการสร้างขึ้นมีส่วนประกอบหลายประกอบเข้ามาปรุงกัน หรือบางท่านแปลว่า concoction ภาษาอังกฤษแปลว่าปรุงยา การปรุงยาต้องมี Ingredient หลายอย่างแล้วมาผสมกัน concoction เพื่อให้เกิดเป็นยาขึ้น เพราะฉะนั้นสังขาร คือ construct คือ การสร้างขึ้นหรือปรุงขึ้น concoct บางครั้ง พระพุทธเจ้าท่านจะใช้คำว่า “สร้างเรือน” ถ้าอ่านเหมือนจะไม่เข้าใจตรงนี้ คือ ตรงนี้แหละสร้างเรือน มีบาลีบทหนึ่ง คหการํ คเวสนฺโต คำว่าคเวสนฺโต แปลว่า ตามหา “คหการํ คเวสนฺโต” ตามหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน “คหการํ คเวสนฺโต” เมื่อยังไม่รู้เรื่องอะไรก็ตามหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน คือ สังขารตรงนี้ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ แต่ตอนนี้เราเห็นเจ้าแล้ว เจ้าจะสร้างเรือนให้เราอีกต่อไปไม่ได้แล้ว โครงเรือนเราก็หักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็หักลงมาเสียแล้ว และมีบาลีบอกวิสังขาระคะตัง จิตตัง “จิตของเราได้ถึงแล้ว วิสังขาระคะตัง แปลว่า เมื่อจิตมันเข้าถึงวิสังขาร มันจะไม่กลับเข้าไปรวมกับสังขารอีก ส่วนสังขารก็แก่ไป เจ็บไป ตายไป” วิสังขาระคะตัง จิตตัง “จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป” แปลว่า บรรลุธรรมแล้ว และมีประโยคท้ายต่อไปอีก ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา “ได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา” โดยรวม วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา “จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา” ท่านพุทธเจ้าได้กล่าว คือ ท่านได้รื้อโครงเรือนหมดแล้ว ไปถึงซึ่งการไม่มีการปรุงแต่งอีกแล้ว เพราะฉะนั้นควรมีการทำความเข้าใจในตรงนี้ให้ชัดเจน ที่เรียกว่าการปรุงแต่งสังขารคืออย่างไร การฟังจากการบรรยายเป็นการเห็นคุณค่าแต่ไม่รู้จริง ๆ
ตอนนี้จะอธิบายโดยการยกตัวอย่างมีคน ๓ คนยืนอยู่ใกล้ ๆ กัน เป็นฝรั่ง ๑ คน คนไทย ๒ คน คนไทยคนหนึ่งชื่อนายดำ อีกคนชื่อนายสมศักดิ์ คราวนี้มีเสียงตะโกนมา “ไอ้ดำเหมือนหมา ๆๆๆ” ฝรั่งที่ยืนอยู่ก็รับรู้ว่าเหมือนมีเสียงมากระทบแต่ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร หมายถึงอะไร มันก็ไม่เดือดร้อนอะไร เพราะว่าไม่มีความจำได้หมายรู้ว่าที่พูดว่าหมายถึงอะไร “ไอ้ดำเหมือนหมา” ฝรั่งไม่รู้ ตัวสัญญาเป็นตัวแสบ คำว่า สัญญา แปลว่า จำได้หมายรู้หรือเรียกง่าย ๆ ว่าความจำ ฝรั่งก็ไม่เกิดการกระทบกระเทือนอะไร รู้แต่ว่ามีเคลื่อนเสียงมากระทบ แต่ไม่รู้ความหมาย แต่คราวนี้ “นายดำมีความรู้สึกโกรธขึ้นมาทันที” มาวิเคราะห์ให้ดูว่าทำไมถึงโกรธ เสียงที่มากระทบว่า “ไอ้ดำเหมือนหมา” เป็นภาษาไทยฝรั่งไม่เข้าใจภาษาไทยก็ไม่รู้ความหมาย นายดำเป็นคนไทยรู้คำว่า “ไอ้ดำเหมือนหมา” ตรงนี้คือสัญญา สัญญา แปลว่า จำได้หมายรู้ สัญญาเข้ามามีบทบาทและสัญญานี้เป็นตัวแสบมากแล้วค่อยดูกันต่อไป มันคอยฟีสความพอใจ ความจำจะมาแล้ว คราวนี้ฝรั่งรู้ก็ไม่เดือดร้อนเพราะในวัฒนธรรมฝรั่งคำว่าหมาไม่ใช่คำด่า ฝรั่งก็ไม่รู้ ไปว่า “เขาเป็นหมา” เขาก็ไม่โกรธตัวเขาเองก็ยังพูด “I work hard life a dog” คำว่า Dog ไม่ได้เป็นคำด่าหรืออะไรเพราะเขามีความรู้สึกรักหมา แต่สำหรับคนไทยคำว่า “หมา” เป็นคำด่า เพราะฉะนั้นนายดำต้องรู้ความหมายในวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมเข้ามามีส่วนในความจำของนายดำ นายดำมีสัญญา คือ จำได้หมายรู้ จำความหมายได้ จำความหมายในวัฒนธรรมไทยได้คำว่า “หมา” เป็นคำด่า และมีคำว่า “ไอ้ดำ” นายดำก็ไป identify คำว่า “ไอ้ดำ” คือ ตัวแก่ “นี่เขาด่าเรานี่หว่า ไอ้ดำเหมือนหมา” ก็มีความโกรธแว๊บขึ้นมาเลย เมื่อก่อนจะเร็วมากพอได้ยินเสียงไอ้ดำเหมือนหมา เขามาชงเกิดการปรุงแต่งเร็วมาแต่ในขณะเดียวกันนายสมศักดิ์ก็ยืนอยู่ตรงนี้เข้าใจทุกอย่าง เข้าใจภาษาไทย เข้าใจวัฒนธรรม เข้าใจว่าเป็นการด่า “แต่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ใช่นายดำ เราเป็นสมศักดิ์” นายสมศักดิ์ก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไรแต่นายดำเดือดร้อน เพราะมีเรื่องตัวกูเข้ามาอีก มีการ identify เข้ามาอีก เพราะฉะนั้นการคิดปรุงแต่ง เป็นการรับสิ่งที่รับรู้เข้ามา ความจำเข้ามาอีก แล้วยังมีตัวกูเข้ามาอีก ทำให้เกิดเป็นความโกรธขึ้นมา ก็แล้วแต่จะทำอะไร จะด่าเขาคืนไปหรือวิ่งไปเตะเขาหรือชักปืนยิงซึ่งในขณะนั้นความคิดนำไปสู่พฤติกรรม ตรงนี้ได้เข้าใจที่เรียกว่าสังขารเป็นการนำสิ่งที่เข้ามาที่รับเข้ามา และรู้ความหมายด้วยเข้ามา และยังมี่ตัวกูเข้าไปผสมอีก เกิดเป็นความพอใจ ไม่พอใจแล้วแต่เรื่องได้เข้าใจว่าสังขารเกิดจากการปรุงแต่ง โดยการนำหลาย ๆ อย่างเข้ามาจะต่อไปในหัวข้อที่สาม
หัวข้อที่สาม " ... ให้รู้เท่าทันเบญจขันธ์ ไม่ตกเป็นเหยื่อจนเป็นทุกข์ ... " เรื่องเบญจขันธ์เป็นปฏิสัมพันธ์ของเรื่องเบญจขันธ์ ขอย้ำอีกที่ว่าชีวิต คือ เบญจขันธ์ คือกอง ส่วน แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่มาร่วมประชุมเข้ากัน เป็นขันธ์ ๕ ประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ต้องให้คล่องและให้เห็นภาพในตรงนี้เลย แต่ถ้ายังใหม่จะไม่รู้ความหมายของคำนี้ ได้ยินคำว่าเบญจขันธ์กันมานานแล้ว ชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยกายกับจิต คือ กาย มี ๑ คือ รูปขันธ์ และจิต มี ๔ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รวมเป็น ๕ คือ เบญจขันธ์ สำหรับจิต มี ๔ ประกอบด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ และต้องรู้ความหมายของคำบาลีเหล่านี้อีก ซึ่งจะไม่ตรงกับที่เข้าใจ เวทนาขันธ์ หมายถึง ความรู้สึก สุข ทุกข์ เมื่อรับรู้เกิดความพอใจ มนุษย์เรียกว่า สุข เมื่อรับรู้เกิดความไม่พอใจมนุษย์เรียกว่า ทุกข์ เมื่อรับรู้แล้ว ไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่า อุเบกขา จะแสดงให้เห็นเป็นตัวที่มีผลกระทบไปสู่ตัวอื่น ๆ เวทนานี้เป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ ชอบ ไม่ชอบ เป็นลักษณะของจิต สัญญาขันธ์ หมายถึง กองสัญญา ส่วนที่เป็นการจำสิ่งที่ได้รับรู้ผ่านระบบสมอง ส่งต่อข้อมูลเป็นความได้หมายรู้ สังขารขันธ์ หมายถึง กองสังขาร ส่วนที่เป็นการคิดปรุงแต่ง โดยสามารถแยกแยะสิ่งที่ รู้สึกหรือจดจำได้ เป็นสุข เป็นทุกข์ จะเจอคำว่า “อนิจฺจา วต สงฺขารา” แปลว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ และลงท้าย “วูปสโม สุโข” แปลว่า สุข สงบ ระงับ ไม่ใช่ตายเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่แปลว่าระงับการปรุงแต่งเป็นสุขอย่างยิ่ง คำว่า “วูปสโม สุโข” เป็นคำที่ใช้บ่อยมาก คือ สงบ ระงับการปรุงแต่ง สังขารนี้ไม่ใช่รูปแต่แปลว่าความคิด และวิญญาณขันธ์ หมายถึง กองวิญญาณ หรือ ความรู้สึกกระทบกับสิ่งต่าง ๆ ผ่านทางตา หูจมูก ลิ้น กาย และ ใจ (วิญญาณธาตุธาตุรู้) เคยบรรยายไว่มีพระรูปหนึ่งไปกล่าวว่ามีวิญญาณไปจุติและมีคนมาฟ้องมาพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าก็ให้ตามมา และถามว่า “เธอไปพูดไว้อย่างนั้นเหรอ” พระก็บอกว่า “ใช่” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า “เธอเป็นโมฆะบุรุษ ตถาคตไม่เคยสอนอย่างนั้น” ทุกอย่างล้วนเป็นอิทัปปัจจยตา (ให้อ่านเรื่องอิทัปปัจจยตาหลาย ๆ รอบ อ่านจนเข้าใจและเห็นอะไรเป็นอิทัปปัจจยตาไปหมด) ที่เป็นหลักทางพุทธ มองว่าทุกอย่างเป็นกระแสของเหตุปัจจัยทั้งสิ้น ไม่ใช่ดวงอะไรที่ตายตัวแยกส่วน เพราะฉะนั้นอยู่เฉย ๆ ยังไม่มีวิญญาณ ต้องมีอะไรมากระทบถึงเกิดวิญญาณ ตรงนี้ก็ทำให้เกิดความเข้าใจกระบวนการนี้ เรียกว่า อายตนะ ๖ อันได้แก่ ๑. จักษุ (ตา) ๒. โสต (หู) ๓. ฆานะ (จมูก) ๔. ชิวหา (ลิ้น) ๕. กาย ๖. มนะ (ใจ) เป็นเครื่องรับรู้ ร่วมเรียก สฬายตนะ คือ อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แบ่งออกเป็น อายตนะภายในกับอายตนะภายนอก
อายตนะภายใน หมายถึง สื่อเชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน บ้างเรียกว่า อินทรีย์ ๖ มี ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอายตนะภายนอก หมายถึง สื่อเชื่อมต่อที่อยู่นอกตัวคน บ้างเรียกว่า อารมณ์ ๖ มี ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหมดนี้เป็นคู่กับอายตนะภายใน เช่น รูปคู่กับตา หูคู่กับเสียง เป็นต้น ซึ่งอารมณ์ คือ สิ่งที่รับรู้ คนละตัวกับ emotion อารมณ์ แปลว่าสิ่งที่ถูกรับรู้ เสียง แปลว่า โสตารมณ์ (เสียงมากระทบหู) เป็นหลักของการอธิบายปรากฏการณ์ ใช้คำว่า “เมื่อมีการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในกับอาบตนะภายนอก เรียกว่า ผัสสะหรือสัมผัส เกิดจาก ๓ ปัจจัย คือ อายตนะภายใน คือ ตา อายนตะภายนอก คือ สิ่งที่ถูกมองเห็นมาถูกเห็น สิ่งที่ถูกมองเห็นมาถูกเห็น เกิดการรู้ว่าเห็น คือ วิญญาณ เป็นจักษุวิญญาณหรือจักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตามันเกิดขึ้นเร็วมาก การรับในสิ่งที่ตาเห็นหรือ "การเห็น" นั้นแหละ คือ วิญญาณ และโสตวิญญาณ (วิญญาณทางหู) ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะเสียงกระทบหู หรือ "การได้ยิน" เกิด ๓ อย่างกระทบกัน คือ ผัสสะ ดังนั้นผัสสะเป็นสิ่งสำคัญ มีการใช้บ่อยมากให้เป็นปฏิสัมพันธ์ผ่านของเบญจขันธ์ที่เป็นการทำงานที่มีความเชื่อมโยงกัน ต้องเข้าใจคำที่พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “สิ่งทั้งปวง” สัพพะ หมายถึง ตากระทบรูป หูกระทบเสียง เกิดวิญญาณขึ้น ทั้งหมดนี้เรียกว่า “สิ่งทั้งปวง” หรือโลกคือสิ่งที่เบญจขันธ์ และมีคำว่าเหนือโลก คือ โลกุตระหรืออุตรภาพ แปลว่า อยู่เหนือวิสัยของโลก (หมายถึงตัวเราก็คือโลก) เป็นเบญจขันธ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน สังขารมีอัตตาเข้าไป เพราะตามปกติ คือ ความไม่รู้ พระพุทธเจ้าสอนว่า “อวิชชา” คือ ความไม่รู้ เป็นต้นเหตุของความทุกข์ อวิชชา ความไม่รู้ทำให้เกิด อวิชชา ความไม่รู้ทำให้เกิดสังขารการปรุงแต่ง ถ้ารู้ก็ไม่เกิดการปรุงแต่งเพราะรู้ทัน เพราะฉะนั้นจะเห็นคำว่า ปฏิจจสมุปบาท เริ่มแรกกล่าวว่า อวิชชาปัจจยาสังขารา ความไม่รู้เป็นปัจจัยทำให้เกิดความคิดปรุงแต่ง เป็นการเริ่มต้นกระบวนการการเกิดทุกข์ อีกสิ่งหนึ่งที่ดึงความเข้าใจตรงนี้มาเมื่อสักครู่บอกว่าสังขารของนายดำเมื่อสักครู่นี้ ที่นายดำโกรธขึ้นมาทันทีทันใดมีตัวตนอยู่ในนั้น เพราะนายดำยึดมั่นในตัวตนของตัว อันนี้เป็นตัวตนของตนจึงโกรธ นายสมศักดิ์ไม่โกรธเพราะไม่ใช่ตัวตนของนายสมศักดิ์ ในปรากฏการณ์ตรงนี้มีตัวตนเข้าไป ตัวตน คือ อุปาทาน แปลว่า ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนในความเป็นจริงไม่มีตัวตน แต่เป็นปรากฎการณ์ของมัน ตามอิทัปปัจจยตาเป็นปรากฏการณ์ของเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตนที่แยกส่วนออกมาเป็นตัวตนโดยเอกเทศอันนี้เป็นหลัก การไปยึดมั่นตัวตน เรียกว่า อุปทาน ยึดมั่นว่ารูปเป็นของเรา เวทนาเป็นของเรา สัญญาเป็นของเรา สังขารเป็นของเรา วิญญาณเป็นของเรา เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ แปลว่า มีความยึดมั่นว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตนของเรา รูป เวทนา สัญญา ของเรา เห็นบทบาทเรื่องของความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้นหลักสำคัญทางพุทธ คือ อนัตตา ความไม่มีตัวตน ปัญจวัคคีย์ได้ยินที่เรียกว่า อนัตตลักขณสูตร ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนเป็นสูตรที่ ๒ ที่สอนปัญจวัคคีย์ สูตรที่หนึ่ง คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร พระโกณฑัญญะบรรลุโสดาบัน พอสูตรที่สองบรรลุเป็นอรหันต์ทันทีทั้ง ๕ องค์ โดย อนัตตลักขณสูตร คือ ธรรมชาติที่ไม่มีตัวตน อนัตตลักขณสูตรเป็นพระสูตรที่สำคัญมีในหนังสือ ๙ พระสูตร โดยสรุป รูปัง อนัตตา “รูปไม่ใช่ตัวตน” เวทนาอนัตตา “เวทนาไม่ใช่ตัวตน” สัญญาอนัตตา “สัญญาไม่ใช่ตัวตน” สังขาราอนัตตา “การคิดไม่ใช่ตัวตน” วิญญาณํอนัตตา “วิญญาณไม่ใช่ตัวตน” และกำชับให้มีความรู้สึกไม่มีตัวตนอยูตลอดเวลา อนัตตานุปัสสี วิหรติ คำว่า วิหรติ หรือ วิหาร แปลว่า สถิตอยู่ในวิหารให้รู้เห็น อนัตตานุปัสสี วิหรติ ให้อยู่ในวิหารแห่งการเห็นความเป็นอนัตตา
มีตอนหนึ่งพระพุทธเจ้าบอกว่าทั้งวันและคืนตถาคตอยู่ในสุญญตาวิหารเป็นส่วนใหญ่ คือ การอยู่ในความว่างจากความมีตัวตน คือ สุญญตา ตอนที่ท่านพระพุทธทาสนำเรื่องสุญญตาหรือจิตว่างมาสอนเกิดการถกเถียงทะเลาะกันใหญ่โต เกิดวิวาทะระหว่างศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับพระพุทธทาส พระพุทธทาสนำเรื่องสุญญตากลับมา เป็นเรื่องสำคัญ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนตถาคตทรงอยู่ในสุญญตาวิหารเป็นส่วนใหญ่ คือ อยู่ในความว่าง คล้ายกับหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ที่ท่านได้กล่าวจิตของท่านอยู่ตรงจิตว่าง เป็นจิตเดิมแท้เป็นจติประภัสสรที่ตรงนั้น ถ้าเข้าใจในกระบวนการเบญจขันธ์ และรู้เท่าทันมันอย่างน้อยรู้ในทฤษฎีก่อนก็ได้ว่าเป็นอย่างนี้ จะได้รู้จัดสกัดว่าสกัดที่ตรงไหนแล้วมันหยุด มีจุดสกัดหลายจุดด้วยกันถ้าได้ไปดูตั้งแต่ อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จุดสกัดตั้งแต่ตอนรับเข้ามารู้เท่าทัน “ตาเห็นรูป” เริ่มรู้เท่าทันแล้วไม่ยอมให้มาทำให้เกิดอะไร ถ้าหากเข้าใจผัสสะเป็นการกระทบของภายในและภายนอก และวิญญาณเคยรู้ ตาเห็นรูปอะไรที่เร็วมากเกิดขึ้นทันที คือ เกิดความชอบ ไม่ชอบ เกลียด หรือหูก็เช่นเดียวกัน พอได้เหมือนนายดำที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเกิดอารมณ์ขึ้นทันทีเป็นการเกิดเวทนา เกิดความชอบ ไม่ชอบ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น อกุศลธรรม ความชอบหรือไม่ชอบ ถ้าชอบมันอยากได้อีก ไม่อยากให้หมดไป อยากให้อยู่นาน ๆ แต่ก็ไม่อยู่เพราะว่าเป็นอนิจจัง เสื่อมไป หายไปเป็นธรรมไม่อยู่ก็จะเกิดความผิดหวัง ถ้าชอบก็ไปติดใจ ไม่ชอบเกลียดอยากให้พ้นไปเห็นการทำงานของเวทนา สามารถดักตรงนี้เวลาพรวดถึงเวทนาแต่ยังรู้ทันตรงเวทนา ถ้ารู้ตั้งแต่แรกเขาเรียกว่า อินทรียสังวร การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ระวังไม่ให้กิเลสครอบงำใจ ในเวลารับรู้อารมณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๖ รู้ตั้งแต่เข้ามาก็ไม่สามารถมาทำร้ายอะไรเราได้ เพราะรู้เท่าทันแต่ถ้าผลัดเข้ามาถึงเวทนาก็เป็นจุดสกัดว่าชอบหรือไม่ชอบ ต้องรู้ลำดับถัดไปจากเวทนานี้ คือ เกิดตัณหา เพราะฉะนั้นตรงปฏิจจสมุปบาท ห่วงโซ่แห่งความทุกข์จะเดินไปว่า เวทนาปัจจยาตัณหา คือ เวทนา ทำให้กิดตัณหา คือ ชอบหรือไม่ชอบก็เป็นนำไปสู่ตัณหา คือ ตัณหา คือ ความอยาก “ถ้าชอบมันก็อยากได้อีก” อยากได้นาน ๆ ถ้าไม่ชอบมันอยากให้หมดไปหรือโกรธหรืออะไรก็แล้วแต่ เป็นการหลุดไปถึงตัณหาก็เกิดความทุกข์ เพราะจากตัณหาเกิดอุปาทาน เพราะฉะนั้นกล่าวต่อเนื่องกันไปตัณหาอุปาทาน พอเกิดตัณหาแล้วเกิดอุปาทาน อุปาทาน คือ การยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ และมีคำสรุป อุปาทานขันธ์ ๕ คือ ทุกข์ คำบาลี สังขิตเตนะ คำว่า “สังขิต” คือ สังเขป โดยสรุปสังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา การมีความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์ จะพอเข้าใจตรงนี้แล้ว คือ จากตัณหามาอุปาทาน ยึดมั่นในตัวตน เพราะฉะนั้นตัณหาทำให้เกิดทุกข์ ในอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ๑) ทุกข์ สรุปคือ สรุปสังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา อุปาทานขันธ์ ๕ ทำให้เกิดความเข้าในตรงนี้ ๒) สมุทัย คือ ตัณหา ความอยาก อยากให้ อยากได้อีก อยากให้มันพ้นไป เป็นความอยาก เป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ ขออธิบายตรงนี้เพราะเป็นสิ่งที่เกิดเร็วมาก ที่กล่าวมามีความซับซ้อนแต่ว่าเร็วมาก ตามธรรมดาจะไม่รู้ทันมันเพราะจิตมีความวอกแวก แต่พระพุทธเจ้าได้เจริญสติ เจริญสมาธิ จนเกิดจิตนิ่งเห็นความเป็นไปในจิตทำให้เกิดความเข้าพระทัยในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกว่า “จิตตปัญญาศึกษา” ศึกษาจิตให้เกิดปัญญา ที่มหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัด festival จิตตปัญญาศึกษา ในวันจันทร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม มหาวิทยาลัยมหิดลมีศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
สมุทัยของความทุกข์ คือ ตัณหา อยากให้ทดลองดูเองเรียกว่าทดลองความจริง ต้องทดลองเองจึงจะเข้าใจ เพราะบรรยายเป็นทฤษฎี ในข้อที่ ๔ เรียกว่าทดลองความจริง
๔) สุดท้ายจะชี้ชวนให้ "... กลับไปทดลองความจริงกับตัวเอง ... " การทดลองความจริงเป็นอย่างนี้แต่บางครั้งเราแยกไม่ออกเวลาเกิด มันเร็วมากสมมุติว่าเราเดินไปชนแง่ ชนโต๊ะหรือชนอะไรก็แล้วแต่ มีความรู้สึกเจ็บ สำหรับความเจ็บ คือ ความทุกข์ ที่จริงมี ๒ ดอก เรียกว่าโดนธนู ๒ ดอกซ้อน ความเจ็บที่เกิดจากการกระแทก มันเจ็บกาย แต่มีอีกเจ็บหนึ่ง คือ ความโกรธ เกิดขึ้นเร็วมากเวลาโดน ความโกรธทำให้เจ็บใจ การเจ็บใจมากกว่าเจ็บกาย แล้วรวมกันอยู่ แต่เราไม่รู้เวลาชนก็เกิดอารมณ์ทันทีเพราะมีความเจ็บ ถ้าไปดูจะเจ็บกายกับเจ็บใจเข้าไปซ้อนกันอยู่ ถ้าเจ็บกายเรียกว่า ทุกข์ เรียกติดกัน คือ ทุกข โทมนัส คำว่า โทมนัส แปลว่า เจ็บใจ บาลี อุปายาส เวลาบรรยายเรื่องทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส วันหลังจะกลับมาตรงนี้ แต่เอาตรง ทุกข โทมนัส คำบาลี ทุกขะ แปลว่า ทุกข์กาย คำบาลี โทมะนัส แปละว่าทุกข์ใจ เข้าไปซ้อนกันอยู่
ทุกข์ใจเกิดจากคามยาก เกิดทางกายก็เป็นส่วนหนึ่งไม่ค่อยทุกข์เท่าไรเป็นธรรมชาติของมัน แต่ตัวความอยากทำให้เกิดทุกข์ให้ทดลองดู สมมุติเมื่อมความหิว ความรู้สึกทุกข์จากความหิว บางคนเกิดความโมโหหิวถึงขั้นทำร้ายภรรยา ถึงขั้นทำร้ายแม่ก็ยังมี อาทิเรื่องกล่องข้าวน้อยฆ่าแม่ จังหวัดยโสธร เกิดจากอาการโมโหหิว ตัวหิวข้าวไม่ใช่ตัวทุกข์ หิว ก็คือ หิว แต่มันอยากให้ไม่หิว แล้วความอยากไม่สมอยาก คือ ตัวทุกข์ อาการนอนไม่หลับก็ทำให้เกิดทุกข์ ทุกคนอาจจะเคย นอนไม่หลับกระสับกระส่ายเพราะอยากให้หลับ ความอยากให้หลับทำให้เกิดทุกข์ถ้าไม่อยากก็ทำให้ไม่เกิดทุกข์ ถ้าไม่หลับก็เฉย ๆ เป็นสภาพหนึ่ง ให้ทดลอง “ไม่อยาก” ไม่เกิดทุกข์หรอก เป็นเพียงแต่การรับรู้ การที่จะไม่อยาก คือ สติ รู้ว่าอย่างนั้นแหละแต่เราไม่อยาก เราก็ไม่ทุกข์ เวลามีสติมันถึงไม่ทุกข์ มันรู้ ถ้าไม่รู้ก็แถวได้ปรุงแต่งไปเรื่อยต่าง ๆ นา ๆ ต้องมีการทดลองดูเอง พอเราไม่อยากมันหยุดทันทีเลย มีเหตุปัจจัยทำให้หิวก็หิว มีเหตุปัจจัยทำให้หายหิวก็หายหิว ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ตรงนี้ถ้าย้อนกลับไปถ้าเรารู้อิทัปปัจจยตา เห็นทุกอย่างว่าเป็นกระแสเหตุปัจจัยเราก็ไม่ทุกข์อะไร มันเป็นเช่นนั้นเอง เพราะเหตุปัจจัยให้เป็นเช่นนั้นมันก็เป็นเช่นนั้น เป็นอยู่ด้วยปัญญา อยากให้ไปอ่านเพราะปกติเราไม่รู้เท่าทันเวลาเกิดความอยากขึ้นทันทีเราจะไม่ทัน อยากให้ไปอ่านอิทัปปัจจยตานำมาไว้ที่โต๊ะที่หัวนอน อ่านแล้วอ่านอีกจนเข้าเนื้อเข้าหนังไปเห็นอะไรเป็นอิทัปปัจจยตาไปหมด เรียกว่าเป็นอยู่ด้วยปัญญา เพราะอิทัปปัจจยตา คือ ปัญญาแล้วก็ไม่เกิดความทุกข์ เพราะฉะนั้นที่กล่าวมาตลอดเปนการคลุกเคล้ากันไปเรื่องสติ สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งสำคัญในครั้งต่อไปจะค่อย ๆ ขยายความไปเรื่อย ๆ เป็นการปูพื้นฐานมาพอสมควรให้เข้าเรื่องเบญจขันธ์ โลกุตระเหนือวิสัยของโลกคือเหนือเบญจขันธ์ การเข้าถึงความจริงที่เหนือตัวตนเป็นอย่างนี้ทุกศาสนา ทุกศาสนาไปจับดูได้เลยไม่ว่าจะเป็น ฮินดู พุทธ คริส อิสลาม หัวใจ คือ การเข้าถึงความจริงที่เหนือตัวตน ทำให้เกิดความเข้าใจความสำคัญในตรงนี้ แต่มีกระพื้เข้ามาเยอะทำให้ไม่เห็นตัวหัวใจที่กล่าวถึงปณิธาน ๓ ประการ ของท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านอาจารย์พระพุทธทาสท่านทราบตรงนี้ก่อนพวกเราหมดทุกคน ข้อหนึ่ง ขอให้ศาสนิกของทุกศาสนาเข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน ของตน ท่านรู้หัวใจของทุกศาสนาคือความจริงเหนือตัวตน เพราะนี่คือ โลกุตระธรรม ธรรมเหนือตัวตน ข้อสอง ขอให้มีความร่วมมือทุกศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พุทธ ศาสนาคริสต์ อิสลาม ถ้ากล่าวถึงคนที่มีศรัทธาในศาสนาเหล่านี้แล้ว และมีแนวคิดว่าธรรมของทุกศาสนาก็ตรงกันเกิดการร่วมมือกันเป็นพลังเขยื้อนโลก พลังมหาศาล ต้องเคลื่อนไปสู่ยุคใหม่ ยุคนี้เต็มที่แล้ว ข้อสาม ขอให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม ก็คือ โลกุตระ วัตถุนิยม คือ โลก เพราะฉะนั้นปณิธานของท่านอาจารย์พุทธทาสมีความสำคัญมาก ถ้ามีการทำตามนี้จะเขยื้อนโลก ไปสู่ยุคใหม่ ไปสู่อารยธรรมใหม่ นำหนังสือของ“ใครๆ ก็บรรลุธรรมได้ ถ้ารู้วิธี” โดย หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล ซึ่งคุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ได้มีการเขียนคำนำไว้ว่าถ้าหากมนุษย์ได้มีการบรรลุธรรมกันหมดมีวิธีที่ง่ายทำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ ผมก็เลยบอกว่าเกิด “อารยธรรมใหม่” แล้วเป็นอารยธรรมจริง ๆ คือ ธรรมที่เป็นอารย เพราะตอนนี้มีการใช้คำว่าอารยธรรมที่ผิด คือ มีการแปลจากซิวิไลเซชัน (Civilization) ตอนนี้เรียกว่าอารยธรรมตะวันตก western civilization ที่จริงไม่ใช่อารยธรรม ปณิธานของท่านอาจารย์พุทธทาส ๓ ประการ เป็นการเขยื้อนโลกไปสู่อารยธรรใหม่ มีความจำเป็นต้องเคลื่อนเป็นสภาวะที่ไม่เสถียร ขาดความสมดุล โลกที่เกิดการวิกฤตทุกวันนี้ ขาดความสมดุลทุกมิติ ทางสิ่งแวดล้อมก็เห็นแล้วปีนี้เกิดความร้อนจัดมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะภูมิอากาศที่ถูกรบกวน ธรรมชาติเสียสมดุล เศรษฐกิจเสียสมดุล สังคมเสียสมดุล การเมืองเสียสมดุล เป็นการเสียสมดุลในตัวมนุษย์เอง พอเสียสมดุลเกิดความเครียด ความทุกข์ เกิดอะไรเต็มโลกไปหมด ภาวการณ์เสียสมดุล หากนำหลักฟิสิกส์เข้ามา เป็นภาวะไม่เสถียร ต้องมีการใช้พลังงานเยอะในการ maintain ความไม่สมดุล ภาษาเทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamics) เขาเรียก endopee เป็นพลังงานที่ใช้รักษาในการดำรงสภาพของตนเอง ถ้าสภาพไม่สมดุลต้องมีการใช้พลังงาน อย่างเช่น สามเหลี่ยมแล้วเป็นหัวกลับให้นึกภาพของการเกิดความไม่สมดุล ทำให้ต้องมีการใช้พลังงานจำนวนมากในการเลี้ยงตัว แต่ถ้าอีกอันหนึ่งเป็นรูปพีระมิดลงไป เกิดการตั้งอยู่อย่างมั่นคงไม่ต้องใช้พลังงานอะไรไป maintain ตัวมัน endopee จะน้อยทำให้มีพลังานไปสร้างสรรค์เยอะ ถ้าใช้ endopee มากก็เหลือพลังงานไปสร้างสรรค์น้อย เพราะฉะนั้นเกิดความไม่เสถียรมีความจำเป็นที่ต้องเคลื่อนไปสู่สภาวะสมดุลโดยธรรมชาติ เพราะฉะนั้นปณิธานของท่านอาจารย์พุทธทาสนำไปสู่อารยธรรมใหม่ที่สมดุล สันติและสมดุล ตอนหลังท้าย ๆ จะกลับมาเรื่องนี้ อาจจะเป็นครั้งที่ ๑๐ หรือครั้งที่ ๑๑ ไปตามเนื้อผ้าก่อน
เพราะฉะนั้นในวันนี้ได้บรรยายครบ ๔ หัวข้อแล้ว ประกอบด้วย ๑) ว่าด้วยทริกเทคนิคอุบายต่าง ๆ ของการเจริญสติ ในการจัดใจไม่ให้หลุดไปคิด โดยเฉพาะของพ่อแม่ครูอาจารย์ต่าง ๆ ที่สร้างเสริมเติมเครื่องมือไว้ให้พวกเราได้เลือกใช้๒) ทำความเข้าใจในเรื่องสังขารการปรุงแต่ง ๓) ให้รู้เท่าทันเบญจขันธ์ ไม่ตกเป็นเหยื่อจนเป็นทุกข์ และ ๔) กลับไปทดลองความจริงกับตัวเอง
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เมื่อสักครู่จะถามเรื่องหนึ่งแต่พอท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้ยกตัวอย่างเรื่องการเดินชนโต๊ะ นอนไม่หลับ หิว และมีคำถามหนึ่งที่อยากถามที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้บรรยายถึงเรื่อง ๒ ดอก แต่คราวนี้เวลาถูกด่านับเป็นกี่ดอกและรับมือแบบไหนเวลาถูกด่า คอมเม้นท์ ตำหนิ ติเตียน มากี่ดอกและจะมีการตั้งรับอย่างไร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : การสอบถามตรงนี้เป็นสำคัญที่ถาม มีคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนนาลกดาบสใน ๙ พระสูตรปฐมโพธิกาล ลองไปอ่านดูเป็นเรื่องดี ๆ ทั้งนั้น แต่อ่านก็อาจจะไม่เข้าใจ แต่เมื่ออธิบายก็อาจจะเข้าใจ มีตอนเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ พระเจ้าสุทโธทนะให้ตามโหราจารย์มาดูดวงพระกุมารจะเป็นอย่างไรในอนาคต ฤาษีก็มาดู บางองค์พยากรณ์ว่าได้เป็นเจ้าจักรพรรดิหรือศาสดา เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มีโหราจารย์องค์หนึ่งองค์เดียวบอกว่าจะบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า เสร็จแล้วโหราจารย์องค์นั้นก็ร้องไห้ว่าตนเองคงอยู่ไม่ถึงเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะบรรลุธรรมแล้ว ไปบอกหลานให้บวชรอ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะบรรลุธรรมแล้วให้มาหา คือ นาลกดาบส มาหาให้พระพุทธเจ้าสอน มีตอนหนึ่งที่สอนว่าการด่าหรือการไหว้พึ่งทำใจให้เสมอกัน เขาจะด่าหรือเขาจะไหว้เราจิตเราก็เหมือนกัน แปลว่าด่าก็ไม่โกรธ และมีคำที่ใกล้ ๆ คำนี้ คำบาลี มะโน ปะโทสัง รักเขยยะ แปลว่า พึ่งรักษาใจไว้ไม่ให้โกรธ มะโน ปะโทสัง รักเขยยะ เป็นคำสอนมุนีนาลก ท่านก็บอกตั้งแต่ต้นแล้วว่าเป็นเรื่องปฏิบัติยากไม่รู้กี่ดอก ก็ไม่พ้นอย่างที่ว่าเมื่อสักครู่ การปรุงแต่งและมีอัตตาเข้าไปตรงนั้นเหมือนกัน ต้องมีสติรู้เท่าทัน ถ้าหากไม่ทันทีเดียวสามารถตามหลังก็ยังได้ “แว๊บมาโกรธแล้ว เอ่ออย่าไปโกรธมันเลย” ทำให้หายโกรธเร็ว ครั้งแรกอาจไม่ทันตามหลังก็ยังดี ทีแรกโกรธนานพอทันก็โกรธสั้นลง ถ้าทันเลยก็ไม่โกรธเลย มะโน ปะโทสัง รักเขยยะ พึ่งรักษาใจไว้ไม่ให้โกรธ การไหว้หรือการด่าพึ่งทำให้ให้เสมอกัน
คำถามจากห้องปฏิบัติธรรมชั้น ๒ (คุณเกรียงไกร) : อดีตข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ วันนี้มาขอฟังคำปรารภจากท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ถึง ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ในฐานะที่ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง เป็นผู้ที่มีอุปาระคุณในวงการศึกษาและวัฒนธรรม และได้ถึงอนิจกรรรมไปเมื่อไม่นานมานี้ อยากฟังคำอาจารย์หมอประเวศ วะสี ถึง ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ประเทศไทยมีผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม ๓ ท่าน ได้แก่ ๑) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ๒) ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง และ ๓) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี ก่อนที่ท่านอาจารย์ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง จะสิ้นอนิจกรรมได้มานั่งอยู่ที่สวนโมกข์ กรุงเทพ บ่อยมาก ดร.เอกวิทย์เคยบวชที่สวนโมกขพลาราม และมีจดหมายจากคุณพ่อดร.เอกวิทย์ฯ ถึงท่านอาจารย์พระพุทธทาสว่า “ฝากลูกชายคนนี้ด้วย”
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ท่านอาจารย์ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ผมเขียนคำไว้อาลัยไว้ในหนังสือ งานพระราชทานเพลิงศพ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง สำหรับท่าน ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง กับผมอยู่กับคนละฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาท่านดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง เป็นการศึกษาในอุดมคติไม่น่าจะเจอกัน แต่ท่านกรุณาให้ผมเรียนรู้อย่างใกล้ชิดจากท่าน ท่านดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ได้ชวนผมไปกระทรวงศึกษาธิการ กับดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ ไปหารือที่กระทรวงศึกษาธิการ ดร.เอกวิทย์ ณ ถลา
กับ ดร.นิเชต สุนทรพทักษ์ เป็นเพื่อนกัน และตอนที่ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง เป็นเลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และผมไปเป็นกรรมการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้มีการเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ และเป็นสภาการศึกษา และสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่ละแห่งทำให้เรียนรู้ต่าง ๆ และได้เรียนรู้จากท่าน ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ทำให้เกิดความเข้าใจของวัฒนธรรมดี ต่อมามีการตั้งเวทีชื่อว่า “จิตวิวัฒน์” มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ จิตวิวัฒน์เพื่อการศึกษาเรื่องจิต การพัฒนาจิต ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ได้มาเข้าร่วมเป็นการประจำ เป็นสมาชิกร่วมกันก่อตั้งที่นั้น และเป็นญาติกับคุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ และคุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ก็เป็นญาติกัน คุณชูเกียรติให้ความเคารพดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง เป็นอย่างมาก อาจารย์ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ได้ก่อตั้งกลุ่มพูดคุย ท่านต้องการให้คนได้มีการพูดคุยกันที่มาจากสาขาต่าง ๆ เรียกว่ากลุ่มรากหญ้า ผมก็ได้เข้าร่วมด้วย สำหรับดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง เท่าที่ผมรู้จัก ท่านเป็นนักการศึกษาในอุดมคติ มองว่าการศึกษาเป็นการงอกงามย่างหลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด เป็นอุดมคติของการศึกษา เคยเป็นกรรมการสภาการศึกษาร่วมกัน พยายามที่จะทำอะไรแต่ทำได้ยากมากเรื่องการศึกษา ตอนหนึ่งมีเรื่องเสนอเข้าสภาการศึกษา ให้ตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทางด้าน ได้คัดค้านการตั้ง สมศ. ว่าไม่ควรมีถ้ามีจะเป็นการทำลายเรื่องการศึกษามากกว่าส่งเสริม เพราะจากอุดมคติเมื่อสักครู่ การศึกษาคือความงอกงามอย่างหลากหลายไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเกิดมีการกำหนดมาตรฐานและนำมาตรฐานมากำกับก็เท่ากับการไปการใช้อำนาจไปบังคับ คือ มาตรฐาน แทนที่เปิดกว้างให้งอกงามอย่างหลากหลายไม่มีที่จำกัด ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ทำการยื่นใบลาออกจากการเป็นกรรมการสภาการศึกษาทันทีที่กรรมการรับให้มี สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. เกิดขึ้น การศึกษาเราจะไม่เข้าใจตอนหลัง ๆ นำเรื่องการศึกษามาขึ้นมาอีกสักครั้งก็ได้ การศึกษา การเรียนรู้ เป็นเรื่องสำคัญ ผมจึงได้อุดมคติและอายจจะได้มาจากท่าน ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง ด้วยว่าการเรียนรู้ที่ดีเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ ถามว่าใครคัดค้านอันนี้บ้าง มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงสุด สามารถเรียนรู้ให้บรรลุอะไรก็ได้ เพราะมีศักยภาพอันนี้ คือ ความเป็นมนุษย์ซึ่งต่างจากสัตว์ คนธรรมดา ปุถุชน เรียนรู้จนเป็นพระพุทธเจ้ายังได้ จากจิตเล็กกลายเป็นจิตใหญ่ เพราะฉะนั้นเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะแสวงหาและช่วยให้เพื่อนมนุษย์ได้พบการเรียนรู้ที่ดีเป็นหลักที่ได้มาจากท่านดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง โดยไม่รู้ตัว การเรียนรู้ที่ดีเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดของมนุษย์ มนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงสุดสามารถเรียนรู้ให้บรรลุอะไรก็ได้ เป็นหน้าที่ของเราทุกที่จะแสวงหา และได้ให้เพื่อนมนุษย์ได้พบการเรียนรู้ที่ดี ที่มาคุยกันวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหา และช่วยกันให้พบการเรียนรู้ที่ดี เรียนรู้ที่ดีคือการหลุดพ้นสู่เสรีภาพ ประเทศสหรัฐอเมริกาตอนตั้งประเทศมีการแสวงหาอุดมคติใหม่ มาจากยุโรปเขาบอกว่ายุโรปไม่ดีถ้ามาในดินแดนใหม่อุดมคติของเราคืออะไร มีการแสวงหาอยู่นานแล้วก็สรุปว่าอุดมคติของประเทศใหม่ คือ เสรีภาพ freedom พอมาถึงตอนนี้ประเทศสหรัฐอเมริกามีปัญหาเยอะมาก มีความเหลื่อมล้ำสุด ๆ มีอาชญากรรม มีคนติดคุกมากที่สุด มีคนอเมริกันคนหนึ่งชื่อสเตฟเฟ่น บิล ถามว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดนี้มีความเหลื่อมล้ำสุด ๆ มีการเมืองที่แบ่งขั้วสุด ๆ มีรัฐบาลที่ disfunction รัฐบาลพิการ เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร แล้วเขาก็สรุปว่า the เบอร์จู คุณธรรม เบอร์จู ที่ make อเมริกา great ที่ is the same ที่ make อเมริกาเสื่อม เป็นเบอร์จู อันเดียวกัน คือ freedom
Freedom ครั้งแรกที่มีการบุกเบิกประเทศใหม่ ๆ ทุกคนมีเสรีภาพหมดในการทำหากิน ในการสร้างความร่ำรวย สร้างประเทศให้เข้มแข็งโดยรวดเร็ว แต่เสรีภาพไป ๆ เป็นการทำใจเพื่อตัวได้เป็นดี ฝรั่งมีเสรีภาพแม้แต่ไปดูหมิ่นดูแคลนศาสดาของศาสนาอื่น แล้วยกย่องว่านี้มีเสรีภาพ และมีหนังสือพิมพ์ที่ประเทศฝรั่งเศสชอบล้อเรียนศาสดามุฮัมมัดเขาถือเป็น freedom ซึ่งมันไม่ใช่แล้ว ต้องมาดู freedom ทางพุทธศาสนา ทางพุทธถือว่ามนุษย์ตกอเป็นทาสของกิเลสตัณหาไม่มีเสรีภาพหรอกเป็นทาสอยู่ freedom แท้จริง คือ การหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหาแล้วมีเสรีภาพเต็มที่ เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งสำคัญมนุษย์ต้องการเรียนรู้ใหม่แล้ว เสรีภาพผิด ๆ ไม่ใช่แล้ว แต่กินเวลาตั้ง ๒๐๐ กว่าปีเพื่อพิสูจน์ มนุษย์ก็ยึดไม่รู้คิดว่าเสรีภาพเป็นของดีในการสร้างประเทศ ตอนนี้ถือว่าเป็นพิษเป็นภัยไปแล้ว ต้องกลับมาดูเสรีภาพทางพุทธ เราไม่มีเสรีภาพหรอกตกเป็นทาสโดนกิเลสตัณหาบ่มครอบงำอยู่ตลอด แต่สามารถเรียนรู้ให้พ้นจากตรงนี้ แล้วบรรลุอิสรภาพที่แท้จริงได้
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : จากการฟังการบรรยายของท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ระบบทุนนิยมหรือประชาธิปไตยที่เกิดขึ้น และมีการใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ใช้เวลาผ่านมาไม่กี่ร้อยปี แต่ในขณะที่แนวคิดทางพุทธศาสนาหรือแนวคิดที่ผ่านการทดลองและมีการพิสูจน์มาแล่วกว่า ๒,๐๐๐ กว่าปี จะสมาทานอันไหนและเลือกอันไหน
คำถามจากห้องปฏิบัติธรรมชั้น ๒ (ผู้หญิง) : เป็นครั้งแรกและค้นพบกิจกรรนี้โดยบังเอิญ เป็นเรื่องที่สนใจและศึกษาอยู่เรื่องของการเจริญสติ การเจริญสติในชีวิตประจำวันที่ตอนนี้ในต่างประเทศเป็นที่นิยมมาก และอย่างที่อาจารย์หมอได้กล่าวในตอนต้นว่า หากถ้าเราต้องการฝึกต้องมีการบ้านในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าทำไมเราหรือว่าชาวพุทธรู้วิธีการอย่างลึกซึ้งแล้ว แต่มีการเรียนรู้เรื่องนี้อยู่ในวงจำกัด ควรมีเทคนิคอย่างไร การสอนหรือการสื่อสารของเราควรจะปรับเข้าศาสตร์หรือวิธีการเรียนรู้สมัยใหม่ให้คนเข้าถึงธรรมะได้อย่างง่าย ๆ และสามารถนำไปฝึกในชีวิตประจำวัน อยากขอความเมตตาอาจารย์หมอทั้ง ๒ ท่าน ให้แนวทางตรงนี้ด้วยค่ะ
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : การเจริญสติในชีวิตประจำวันให้มีความแพร่หลายและเป็นไปได้
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ที่จริงนับว่าประเทศไทยมีสัดส่วนของการเจริญสติมากที่สุด ตอนนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเยอะมาก มีคนหนึ่งสอนการเจริญสติแบบพุทธชื่อ จอน คาบัท-ซินน์ (Jon Kabat-Zinn) เรียกอย่างนี้ Buddhist mind fullness meditation ที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เห็นครั้งหนึ่งมีคนมาลงทะเบียนเรียน ๘๗,๐๐๐ คน เฉพาะจุดเดียว ซึ่งเขาจะมีหลายจุด
ในประเทศไทยมีจำนวนมากที่มีการไปเจริญสติสำนักต่าง ๆ สายวัดป่า แนวทางปฏิบัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สายหลวงพ่อชา สุภัทโท ทางสายโกเอ็นก้า ทางสายท่านพระอาจารย์หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร มีหลายแสนคน ประเทศไทยมีทุนตรงนี้ ถ้าอ่านวิกฤตอารยธรรมตะวันตกมีหนังสือเล่มหนึ่งโดยนักปราชญ์ฝรั่ง ๓ คน ลาซาโร โกรฟ รัสเซลล์ มีการหารือกันที่ชายฝั่งแคลิฟอร์เนียว่าวิกฤตอารยธรรตะวันตก western civilization ไม่สามารถไปได้แล้วเกิดวิกฤตเต็มที่ไม่สามารถไปต่อได้แล้ว แล้วมีเครื่องมืออะไรที่ทำให้หลุดจากวิกฤตอันนี้ สามคนก็บอกมีอย่างเดียวที่จะหลุดจากตรงนี้ได้ คือ ปฏิวัฒน์จิตสำนึก consciousness leverevolution หนังสือ consciousness leverevolution
consciousness leverevolution เกิดจิตสำนึกใหม่ เจริญสติ คือ เครื่องมือเกิดจิตสำนึกใหม่ New consciousness ตอนที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปอยู่ประเทศดูไบ ได้แนะนำตอนที่ไปอยู่ที่นั่นไม่มีอะไรทำน่าจะเป็นผู้นำเรื่องจิตสำนึกใหม่ New consciousness กับสันติภาพ เพราะฉะนั้นผมดูแล้วประเทศไทยมีทุนในการสร้างจิตสำนึกใหม่ มากที่สุดในโลก ถ้าเกิดมีความเข้าใจตรงนี้ ก็ช่วยกันส่งเสริมให้คน และคิดว่าว่าไม่ยากเรื่องการเจริญสติเพราะว่ามีแรงจูงใจสูงมาก เพราะมนุษย์แสวงหาความสุข แล้วเจริญสติแล้วเกิดความสุขที่ไม่เคยเจอมาก่อน ทุกอย่างดีขึ้นหมด สุขภาพดีขึ้น ไม่เจ็บป่วยเป็นอะไรก็หายเร็ว สติปัญญาดี ภูมิคุ้มยังเพิ่มอีก เกิดแรงจูงใจสูง ถ้ามีการจับเรื่ององค์กรเจริญสติ เช่น มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยในการเจริญสติ บริษัทแห่งการเจริญสติ แล้วเขาจะได้กำไรสูงมาก กำไรเป็นเงินทองก็จะสูงขึ้น ถ้าปีนี้ส่งเสริมให้คนในบริษัทมีการเจริญสติ คนเจ็บป่วยน้อยลง คนทะเลาะกันน้อยลง การขาดงาน การทำงานดีขึ้น ปีหน้าบริษัทกำไรเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนค่าเจ็บป่วย ค่าขาดงาน มีแรงจูงใจมากว่าบริษัทเป็นองค์กรแห่งการเจริญสติ ปัจจุบันคนเราจะอยู่ในองค์ไม่ชนิดใดก็ชนิดหนึ่ง เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย กรม กอง กระทรวง บริษัท ถ้าจับตรงนี้เป็นตัวเดินเป็นองค์กรแห่งการเจริญสติก็ได้ทั้งหมดทั้งองค์กร เริ่มต้นตั้งแต่ CEO ส่งเสริมให้บริษัทของเขาเป็นองค์กรแห่งการเจริญสติ เขาก็จะได้กำไร ตรงนี้ไม่ยากมองเห็นอนาคตมนุษย์ทั้งโลกจะเจริญสติพยากรณ์ได้ เพราะแรงจูงใจสูงมาก เปลี่ยนเป็นยุคใหม่ New consciousness ประเทศไทยท่านรู้ตรงนี้แล้วพยายามทำตรงนี้อย่างเป็นระบบขึ้น การเป็นนักยุทธศาสตร์ เครื่องมือของนักยุทธศาสตร์ คือ mapping มีสถานสอนปฏิบัติธรรมอยู่ที่ไหน ที่ไหนอยู่ในสภาพอะไร เดินทางอย่างไร ก่อให้เกิดการปรับปรุงให้เกิดสภาพที่เป็นสัปปายะ นักสถาปัตย์ภูมิสถาปัตย์ มีการวางแผน ออกแบบ ให้ดูสวยงาม สะอาด สงบ คนอยากไปมีการเดินทาง เกิด tourism เป็นธรรมะทัวร์ เกิดเศรษฐกิจธรรมะ ต่างประเทศเข้ามาเพราะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งการปฏิบัติธรรม แห่งการเจริญสติ ทำภาพยนตร์อย่างดีแบบผู้กำกับสตีเวน อัลลัน สปีลเบิร์ก Thailand in my full countries ฉายภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฉายในโรงขนาดเล็ก ดูในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฉายในตำบล อำเภอ จังหวัด Thailand in my full countries คนก็อยากมาปฏิบัติธรรมในประเทศไทย เกิดเศรษฐกิจธรรมะ คนเดินทางมาท่องเที่ยว ต้องมีการนัดหารือกันเรื่องนี้สักครั้งหนึ่งที่มีหลาย ๆ ฝ่ายให้เข้ามาให้เห็นว่าเรามีทุน ธรรมะเป็นทุนใหญ่ มีวัด ๓๐,๐๐๐ กว่าวัด ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขับเคลื่อนเรื่องธรรมะ เรื่องโรคแห่งการเจริญสติ ให้การบ้านที่นี่ไว้แล้ว ผมเป็นประธานมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ คนแรกร่วมกันกับนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช มาเขียนมอบไว้ว่าหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ หรือสวนโมกข์ กรุงเทพ เป็นตัวขับเคลื่อนสันติภาพของโลก
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ขอรายงานอาจารย์หมอประเวศ วะสี และทุกท่านประมาณ ๒ - ๓ ปีที่แล้ว ได้รายงานกับท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นเชิงของการขอพรท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้ชี้ประเด็น ๒ - ๓ ประเด็น ที่สอดคล้องกับที่ท่านถาม และเข้ากับประเด็นของวันนี้ ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้ชี้ ๒ - ๓ ประเด็น ได้แก่ จริง ๆ แล้วที่ได้ไปฝึกปฏิบัติธรรมหรือการเจริญสติ นั้นเป็นเพียงแต่การไปฝึกแต่การปฏิบัติธรรมจริง ๆ ไม่ใช่อันนั้น การปฏิบัติธรรมจริง ๆ ต้องมาอยู่ในชีวิต เพราะการไปเข้าคอร์สเป็นเพียงการทดลอง เพราะฉะนั้นอย่าให้อันนั้น คือ คำตอบ อันนั้นคือการไปฝึกไปฝนเหมือนอย่างที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้บรรยายไว้ตอนต้นวันนี้ คือ การเจริญสติมีทริค เทคนิค หาแนวเพื่อฝึกจิตให้หยุดคิด และคิดในสิ่งที่ควรแล้วทำในสิ่งที่น่าทำ ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้ยกคำสอนของพระพุทธองค์ที่สำคัญมาก เป็นสิ่งที่เติมท่านทั้งหลายในวันนี้ มีในคำสอนของพระพุทธองค์อย่างชัดเจนเรื่องการประเมินสมรรถนะจิต ท่านทั้งหลายที่อยู่แวดวงสุขภาพน่าจะรู้ การแอโรบิค คือ ต้องการความแข็งแรงและการยืดหยุ่น และความทนทาน ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์มีคำ ๓ คำ ปริสุทโธ กัมมนีโย และ สมาหิโต ปริสุทโธ คือ การมีจิตที่ใส ฝึกและทำให้จิตใส สมาหิโต คือ การตั้งมั่น โฟกัสได้ และ กัมมนีโย คือ สั่งให้ใช้งานได้ คือควรแก่การงาน การฝึกเจริญสติและมีสมรรถนะที่จริง ควรมีลักษณะจิตที่เป็นสมาธิ ๓ ประการ (สมาหิโต ปริสุทโธ และกัมมนีโย) เป็นเครื่องช่วย ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ตรัสว่าต้องกลับมาช่วยกันให้การมีธรรมะมาอยู่กับเนื้อกับตัว อยู่ในชีวิต หรืออยู่ในหน้าที่การงาน และท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ย้ำมาอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องของให้มาอยู่ในชีวิต อยู่ในครอบครัว อยู่ในองค์กร และ ดร.วิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เรียนเชิญเป็นประธานบริหารสวนโมกข์ กรุงเทพ และได้มาขับเคลื่อนร่วมกับสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย คือ PMAT และมีการเปิดองค์กรใหม่ชื่อว่า องค์กรรมณีย์ : Hallow Mindfulness ทุกบริษัททุกองค์กรนำไปใช้ในบริษัทได้ มีการจัดให้กับผู้บริหารของหลาย ๆ บริษัทในประเทศนี้ และทีม HR คาดหวังว่าระบบนี้เข้าไปติดตั้งในองค์กรและขยายต่อ เป็นการเคลื่อนเพื่อให้ความเป็นองค์กรรมณีย์ นอกเหนือจากแค่อาคารสถานที่ ภูมิสถาปัตย์หรือสถาปัตยกรรมอยู่ในระบบบริหารจัดการ อยู่ในระบบ HR ระบบนี้จัดการไม่ดีสร้างทุกข์แต่ถ้าจัดการดีทำให้เกิดการเติมพลัง
ในวันนี้ ไม่ว่าจะเรื่องของที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้บรรยายไป คือ การฝึกให้มากและหาทริคที่ถนัด หาเทคนิคที่ถนัด และอีก ๓ ข้อ ต้องเข้าใจร่างกาย สังขาร ทำงานอย่างไร ใจทำงานอย่างไร อาจารย์หมอประเวศ วะสี ใช้คำว่า contraction ตอนนี้เราไม่เข้าใจปล่อยให้ใจไหลไปเรื่อย ๆ ไม่เข้าใจระบบ ไม่เข้าใจโครงสร้าง เบญจขันธ์ถ้าเป็นกุศลจะดี ถ้าเรามีความเข้าใจ ขันธ์ ถ้าเข้าใจสามารถทำให้เป็นด้านบวกได้ แต่ที่สำคัญนำมาใช้เป็นอุปาทานขันธ์ต่างหาก ใช้แบบผิดแล้วปล่อยให้ไหลไป ช่วงที่สอง อาจารย์หมอประเวศ วะสี บรรยายให้เข้าใจกระบวนการก่อให้เกิดเป็นอุปาทานขันธ์ คือ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ช่วงที่สอง คือ ทำอย่างไรให้เกิดการรู้เท่าทัน และช่วงที่สาม คือ จะจัดการ หยุดการ contraction หรือสกัด เบญจขันธ์ที่ทำงานไปในทางอุปาทานขันธ์ ให้เป็นบวกได้อย่างไร หัวใจของวันนี้อยู่ตรงนี้ และท้ายที่สุดคือการไปฝึกปฏิบัติ ทดลอง มีอยู่ ๒ เรื่อง คือ ๑) ฝึกจิตให้มากขึ้น และ ๒) การฝึกใจในการทำความเข้าใจกรทำงานของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรียกว่าขันธ์ ๕
คำถามจากห้องปฏิบัติธรรมชั้น ๒ (ผู้หญิง) : มีความสนใจเรื่องเป้าหมายของชีวิต อย่างที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้คือเราต้องละความอยาก เช่น ถ้าเราอยากนอหลับ เราก็แค่ไม่อยาก ก็ไม่ได้เป็นทุกข์ แต่อยากจะถามว่าเป้าหมายกับความอยากเป็นสิ่งเดียวกันหรือเปล่า เพราะว่าเป้าหมายในแง่มุม คือ เราอยากจะเป็นอย่างนั้น ได้อย่างนั้น มีสิ่งนั้น อันนี้เป็นเป้าหมาย แต่ว่าเป้าหมายกับความอยากเป็นสิ่งเดียวกันหรือเปล่า เป็นสิ่งที่อยากจะถาม
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ประเด็นแรก เป้าหมายของชีวิตควรตั้งอย่างไร ขณะเดียวกันมีเรื่องของความอยากด้วย จัดการอย่างไร อาจารย์หมอประเวศ วะสี มีขอชี้แนะอย่างไร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ติดไว้ก่อน เพราะอธิบายตอนนี้จะยาวไปเรื่อย พยายามตอบในครั้งต่อ ๆ ไป ถือเป็นโจทย์
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : คำตอบเป็นนัดหน้าหรือนัดไหนติดตามต่อไป
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี :วันนี้ถือว่าพอสมควรแล้ว ขออวยพรให้ทุกท่านเจริญยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ มีสุขภาพดี มีความสุข มีสติปัญญาแจ่มใส อายุยืนยาว ทำประโยชน์ต่อตนเองและเพื่อนมนุษย์ ได้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ก่อนจบในวันนี้เดือนหน้ามีความสำคัญมาก ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้ยกปณิธาน ๓ ประการของท่านอาจารย์พระพุทธทาส พุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) อาจารย์หมอประเวศ วะสี เป็นวันศุกร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ ทางหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ - สวนโมกข์ กรุงเทพฯ จัดเป็นวาระครบ ๑๒ ปี ของหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ - สวนโมกข์ กรุงเทพฯ มีกิจกรรมตั้งแต่วันที่ ๒๐ - ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ หลายกิจกรรมขอให้ติดตาม แต่มี ๒ - ๓ กิจกรรมที่เรียนที่เรียนให้ทราบไว้ ณ ที่นี้ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ครบ ๓๐ ปี ที่อาจารย์ท่านพุทธทาสภิกขุ เส้นเลือกแตกและเข้าสู่กระบวนการละสังขาร แต่การละสังขารของท่านอาจารย์พุทธทาสมีหลายเหตุปัจจัยที่มายืด ทำให้ถ้าเกิดปล่อยไปตามธรรมชาติก็คงประมาณ ๒ - ๓ วันนั้น ผมและอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้ไปดูท่านอาจารย์พุทธทาส ณ วันที่เส้นเลือดแตก แล้วสรุปกันแล้ว แต่ปรากฎว่ามีหลายเหตุหลายปัจจัย ท่านอาจารย์พุทธทาสต้องชะลอการจากไป ๔๒ วัน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ท่านอาจารย์พุทธทาส เกิดวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ แล้วเส้นเลือดในสมองแตก ในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ถ้ามรณภาพก็คงมรณภาพในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม แต่แพทย์ก็เอาไปใส่อะไรยืดเยื้อ ท่านเคยกล่าวว่า “ไม่ขอหอบสังขารหนีความตาย ไม่อยากให้ดิ้นรนพาไปที่ไหน ๆ” แต่หมอก็มีอำนาจในการนำเครื่องบินไปรับท่านมา
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เพราะฉะนั้นในวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ในวาระครบรอบ ๓๐ ปี เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและร่วมเหตุการณ์เมื่อ ๓๐ ปี มาแลกเปลี่ยนกันเพราะว่าการครั้งนั้นนำมาสู่การคบคิดครั้งใหญ่ว่าด้วยเรื่องการจัดการชีวิตในวาระสุดท้ายตลอดระยะเวลา ๓๐ ปีที่ผ่านมา และมีกิจกรรมอีกหลายอย่างในช่วงนี้ตามมา
ในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เรื่อง digital transformation เพราะว่าคืนวันที่ ๒๓ พฤษภาคม โดยที่คืนวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ท่านอาจารย์พุทธาสฉีกปฏิทินของวันที่ ๒๓ พฤษภาคม มาเขียนข้างหลังทิ้งไว้ว่า “เมื่อไรคอมพิวเตอร์กับโพธิปัญญาจะแสวงหาสหายภาพ” ณ วันนั้นท่านบอกว่าคอมพิวเตอร์เป็นตัวพาคนไปหลงทิศหลงทาง เป็น last note ของท่านอาจารย์พุทธทาส “เมื่อไรคอมพิวเตอร์กับโพธิปัญญาจะแสวงหาสหายภาพ” คือ คอมพิวเตอร์มีโอกาสมาเสริมงานการตื่นรู้ให้กับมนุษชาติได้ ท่านเขียนทิ้งไว้แล้วเราก็พยายามทำมา ๑๒ ปี ที่เกิดสวนโมกข์ กรุงเทพพยายามมีการติดตามเรื่องนี้ ตอนนี้มีนักโปรแกรมเมอร์ ทีมทำงานกำลังจะนำ digital transformation ขบวนการทำงานและจะมี workshop ใหญ่ที่นี้
ระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ สวนโมกข์ กรุงเทพฯ มีครูบาอาจารย์ นักคิด นักกิจกรรม มาดำเนินกิจกรรมที่นี้ รายละเอียดติดตามที่ได้ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) หรือสโมสรธรรมทาน หรือกิจกรรมสวนโมกข์ กรุงเทพ หรือจดหมายเหตุพุทธทาส หรือ www.pagoda.or.th สวัสดีครับ ขอบพระคุณทุกท่านมากครับ