แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ร่วมกับ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ และมูลนิธิหมอชาวบ้าน ดำริการจัดกิจกรรมร่วมกับท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี หัวข้อตั้งเดิมพุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้)๑๒ เรื่อง ๑๒ เดือน ทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ ๒ ตลอดปี ๒๕๖๖ รายการที่ดำเนินการทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ ๒ ของเดือน เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงของท่านอาจารย์ และแง่มุมของพุทธศาสนาที่มีคุณค่า ซึ่งแต่ก่อนอาจารย์หมอประเวศ วะสี เป็น “angry young man”กลายเป็น “อาจารย์หมอประเวศ วะสี” และปีนี้ท่านสิริอายุ ๙๒ ปี
ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี เคยกล่าวไว้แล้วว่าไม่ต้องเน้นทฤษฎี แต่เน้นที่ของจริงที่ทุกคนมีชีวิตและผ่านการเรียนรู้ และได้ฝากให้ไปทดลอง และมาแลกเปลี่ยนกัน แต่อย่างไรก็ตามตอนที่ ๓ อาจารย์หมอประเวศ วะสีมีประเด็นสำหรับในวันนี้ประมาณ ๔ ประเด็น ในช่วงแรกประมาณ ๔๕ นาที รับฟังอาจารย์หมอประเวศ วะสี หลังจากนั้นเป็นช่วงของพระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และคุณจิรา บุญประสพ ดำเนินการซักถาม และท่านพระครูสิทธิสรกิจเติม สวนโมกข์กรุงเทพมีการทำงานร่วมกับพระรุ่นใหม่มากขึ้น การถ่ายทอดครั้งนี้โดยมูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ โดยมูลนิธิหมอชาวบ้านดำเนินการรวบรวมสรุปเชิงประเด็นที่สามารถนำไปใช้ต่อได้ การสนทนาล้อมวงสนทนากับหมอประเวศ วะสี ครั้งที่ ๓ มีประเด็น ๔ เรื่อง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : นมัสการพระคุณเจ้า ท่านสาธุชนสนใจในพุทธธรรม ทั้งที่อยู่ในที่นี้ และทางบ้าน สำหรับการบรรยายในชุดพุทธวิธีสร้างสุข อย่างที่เน้นในครั้งแรกเน้นพุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) เป็นคำของท่านอาจารย์พระพุทธทาส “พุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้)” ไม่ใช่รอไปนานจนชาติหน้าหรืออีกหลายชาติ อย่างคำว่า “ลัดตรง” ท่านอาจารย์พุทธทาสเป็นตัวอย่างสมัยท่านตอนหนุ่มได้เข้ามาเรีบนเปรียญธรรมในกรุงเทพมหานคร เปรียญ ๓ หรือ เปรียญ ๔ ท่านมีความสุขว่าไม่ใช่ ท่านอาจารย์พุทธทาสเดินทางกลับไปศึกษาค้นคว้าปฏิบัติด้วยตนเอง
เพราะคิดว่าการศึกษาของประเทศไทยที่ทำให้คนไทยไม่เก่งทั้งฆราวาส และพระ เพราะไปผิดทางไปเรียนทฤษฎีวิชาการมากมายแต่ไม่ได้ปฏิบัติ ก็เลยไม่เก่ง ถ้าเทียบกับประเทศทิเบต พระประเทศทิเบตจะปฏิบัติมากและแน่นมาก เพราะฉะนั้นเวลาทิเบตแตกและคนทิเบตกระจัดกระจาย คนตะวันตกได้ประโยชน์มาก ของเราคิดว่าไปผิดทาง ไปเรียนทฤษฎีมากมาย ยุ่งยาก ซับซ้อน เรียนมากด้วย และก็ไม่ปฏิบัติพระก็เช่นเดียวกัน ที่เรียนไปเรื่อยจนถึงประเปรียญ ๙ ก็ล้วนแต่เรีบนทฤษฎีทั้งนั้น แม้แต่เปรียญ ๙ ก็แปลวิสุทธิมรรคเท่านั้น แต่ไม่ได้ปฏิบัติก็เลยไม่เก่ง ถ้าท่านทั้งหลายมีความสนใจ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าปัญญามี ๓ ระดับ ระดับที่ ๑ สุตมยปัญญา คำว่า “มย” หรือใหม่ แปลว่าโดยทาง “สุต” แปลว่าฟัง สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟังหรือจากการเล่าเรียนอ่านมา ได้แก่ข้อมูลสมัยต่าง ๆ สมัยโบราณมีแต่การฟัง สมัยนี้การรับข้อมูลมาจากที่ต่าง ๆ เป็น “สุตมยปัญญา” เป็นขั้นต่ำที่สุด เดี๋ยวนี้จะ Confuse มาก เพราะข้อมูลมีเยอะมาก คนจะแยกแยะไม่ออก ระดับที่ ๒ จินตมยปัญญา แปลว่า ปัญญาเกิดจากการคิด “จินต” แปลว่า คิด คิดด้วยตรรกะ ได้แก่ นักวิชาการ และระดับที่ ๓ ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากภาวนา คือ การลงมือปฏิบัติ การศึกษาไปไม่ถึงที่เรียกว่า “ภาวนามยปัญญา” และไม่เข้าใจมีการตีความว่าการภาวนา คือ การบ่นพึมพรำ ซึ่งภาวนาแปลว่าการทำให้เกิด Development แปลว่าการพัฒนา ตรงนี้ก็ตรงกับอาจจะเรียกปฏิบัติสติปัญญา เป็นปัญญาขั้นสูงสุด เพราะเกิดการปฏบัติและเกิดปัญญาขึ้นในเนื้อในตัว ปัญญาระดับที่ ๑ และระดับที่ ๒ เป็นปัญญาภายนอกตัวกับวิชาการ ยังไม่ได้เป็นในเนื้อในตัวเรา และจริงหรือไม่จริงก็ไม่รู้ แล้วก็คิดเอาโดยตรรกะแม้จะมี mathematics support อะไรก็แล้วแต่
เพราะฉะนั้นมในกาลามสูตร พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่าอย่าปลงใจเชื่อเพราะว่าตรรกะดี ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็บอกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นการใช้กตรรกะ แต่ตรรกะก็ดีที่ใช้แต่ไม่ใช่ว่าดีทั้งหมด อาจไปหลงทางหรือผิดทาง แต่ปฏิบัติแล้วปรากฏว่าไม่จริง เพราะฉะนั้นต้องเน้นว่าการปฏิบัติ เพราะว่าหลักการก็เอาเล็ก ๆ น้อย ๆ ปฏิบัติไป แล้วค่อย ๆ นำทฤษฎีเติมเข้ามาเป็นหลักที่ใช้ที่นี่
เพราะฉะนั้นขั้นต้นยังไม่กล่างถึงทฤษฎีมาก เป็นการยากลำบากเกินไปจนจับต้องไม่ได้ ใช้ความรู้นิดหน่อยแล้วใช้การปฏิบัติ หัวข้อแรกเป็นการซ้อมและทบทวนสิ่งที่เคยกล่าวมา หัวข้อแรก คือ มหัศจรรย์แห่งการเจริญสติ ที่กล่าวมาครั้งแรก “ความทุกข์” เกิดจากการคิด ทางพระเรียกว่าสังขาร เราไปคิดว่าสังขาร คือ ร่างกาย แต่สังขารทีทใช้ในที่นี่ สังขาร คือ การใช้ในการคิด “การคิด” ทำให้เกิดความทุกข์ และการเปลี่ยน คือ การเจริญสติ คือ การเปลี่ยนจากจิตคิดเป็นจิตรู้ รู้อยู่กับปัจจุบัน รู้อยู่กับปัจจุบันทำให้เกิดการไม่คิด พอไม่คิดก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นมีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน ก็ไม่ทุกข์เลย และมีความสุขอย่างยิ่ง เป็นการเปลี่ยน และตอนนี้ต้องการ training เปลี่ยนจากจิตคิด คนอดคิดไม่ได้ มีความคิดตลอดเวลาเคยอยู่กับการคิด เพราะฉะนั้นเรื่องต่าง ๆ ที่เข้ามาทำร้ายเรา มาจากการคิด ถ้าหยุดคิดเข้าไม่ได้ เพราะฉะนั้นหลักการของการของการเจริญสติคือการเปลี่ยนจากจิตคิดเป็นจิตรู้ พอจิตรู้รู้อยู่กับปัจจุบันก็มีความสุข มีความสุขอย่างยิ่ง เป็นความสุขที่ไม่เคยเจอมาก่อนเลย คือ เกิดจากความสงบ คือ ความสงบไปแห่งการคิด ถ้าคิดจะยุ่งและฟุ้งซ่าน เกิดความวิตกกังวล ที่เคยกล่าวไว้ ๔ เรื่องเมื่อตอนที่ ๑ วิธีง่ายที่สุด คือ การสวดมนต์ และจิตอยู่กับคำสวด และง่ายที่สุดไม่ต้องเข้าใจอะไร ปฏิบัติเลยสวดมนต์ การสวดมนต์ทำให้จิตสงบเพราะอยู่กับคำสวดมนต์ เพราะฉะนั้นพระมีการทำวัดเช้า-ทำวัดเย็น ด้วยการสวดมนต์ จะพบว่าคนแก่สวดมนต์เพราะการสวดมนต์ทำให้มีความสุข ร่างกายจิตใจดีขึ้น และสอง การบริกรรมเป็นการสวดมนต์อย่างสั้นเหลือเป็น “พุทโธ พุทโธ พุทโธ” เป็นการบริกรรมอย่างเดียว ทางสายภาควะวันออกเฉียงเหนือให้พุทโธไว้ให้แน่ไม่ให้มีโอกาสคิดให้รู้อยู่กับคำพุทโธ ไปถึงฌานไปถึงปัญญาก็ได้โดยการบริกรรมเป็นสายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต “พุทโธ” สายธรรมกายบริกรรม "สัมมาอะระหัง" ทำให้จิตสงบเหมือนกัน สมัยก่อนมีมหาฤาษีไปสอนที่เรียกว่า TM ในประเทศสหรัฐอเมริกา คนอเมริกันติดอดติดใจกันมากไม่เคยเจอความสุขมาก่อน TM : Transcendental Meditation เป็นการตั้งชื่อเพื่อเอา Marketing แต่จุด คือ การบริกรรม ท่านจ่ายคำบริกรรมให้ คำบริกรรมแต่ละคนไม่เหมือนกันและท่านก็คิดเงินด้วย มหาฤาษีรวยมาก กลายเป็นมหาเศรษฐีไปเลย แต่ถ้าหากเป็นคนประเทศทิเบต มีการบริการบริกรรมตลอดเวลาไม่ว่าเป็นการทำไร่ ทำนา “โอม มณี ปัทเม หุม” แปลว่า “ขออัญเชิญพุทธธรรมคำสอนอันล้ำเลอค่าดั่งมณี มาสถิตในดวงใจอันบริสุทธิ์ดั่งดอกบัวของข้าเทอญ” ทางโยคีหรือโยคะ เพราะมีความเชื่อว่า “โอม” เป็นสิ่งสำคัญเสียงเกิดความกล้องไปทั้งตัว ทางโยคีมีความเชื่อว่าคำว่า “โอม” เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ และสาม เป็นการเดินจงกรม เป็นการเดินที่ให้รู้ตัว การเดินแบบนี้มีความรู้สึกว่าง่าย สี่ อานาปานสติ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ ตอนแรกไม่รู้แต่พอมีการกำหนดอยู่กับลมหายใจ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ พูดได้ง่ายแต่การปฏิบัติได้ยาก ถ้าคนไม่เคยเอาแค่ห้าเข้าหนึ่ง ออกหนึ่ง ไม่ถึงห้าจิตก็หลุดออกไปแล้ว จิตหลุดออกไปทางอื่นแล้ว ทางพระเรียกว่าจิตหรุกหลิกเหมือนลูกลิงเหมือนไม่อยู่นิ่ง ตั้งเป้าหมายไว้ต่ำ ๆ อย่าไปตั้งเป้าหมายไว้สูง เอาแค่ห้า พอได้แล้วจะดีใจเป็นกำลังใจ การตั้งเป้าหมายไว้สูงแล้งไม่ได้เราจะท้อถ้อย ถึงกับโกรธไปเลยว่าไม่ได้ อย่าไปโกรธมันให้นึกสนุก ไม่ได้ก็ธรรมดาเป็นอย่างนั้นเอง จับมาใหม่หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ถ้าได้ห้าก็ขยายเป็นหก ขยายเป้าหมายออกไปเรื่อย ๆ เข้าถึงร้อยอันนี้เป็นสิ่งที่ผมทำเอ
ถ้านับไปถึงร้อยอยู่กับมันตลอดเวลา ตอนนั้นเกิดเป็นจิตสงบสบายมาก แล้วก็ทวนกลับมาจากร้อยกลายเป็น ๙๙ จนถึง ๐ แล้วก็ไปใหม่ คราวนี้มีความสุขมากเข้า เข้าสบาย ออกสบาย จิตกลายเป็นสงบเรื่อย ๆ จากจิตสงบกลายเป็นสมาธิ สติเป็นการตามรู้ ส่วนสมาธิเป็นการอยู่กับที่มาด้วยกัน
เรื่องสติมีอีกเยอะพยายามทำงานทุกอย่างด้วยสติรู้ เช่น การล้างชามจำนวนมากก็มีความทุกข์ แต่ถ้าเป็นการล้างอย่างมีสติก็ทำให้เกิดความสุข มือที่ล้างน้ำก็รู้ว่าล้าง ล้างใบหนึ่งก็มีความสุข สองใบก็มีความสุข ทุกอย่างเป็นความสุขไปหมด เช่นการกวาดบ้านมือที่ยกมากวาดก็รู้ว่ากวาดบ้านเกิดการทำอย่างมีความสุข หรือการล้างห้องน้ำก็เช่นเดียวกันพยายามทำงานและมีความรู้สึกได้กำไรในชีวิต คือ ได้งานด้วย งานทุกชนิดกลายเป็นความสุข พยายามให้รู้อยู่กับปัจจุบันในทุกเรื่อง พูดแบบหยาบ ๆ ไปก่อน คราวหน้าจะเลี้ยวกลับมาพูดแบบพิศดาลมีลูกเล่นและไปเชื่อมโยงกับข้ออื่น เชื่อมโยงกับโพชฌงค์ ไปเชื่อมโยงกับอะไรต่างไว้ที่หลัง ตอนนี้ยังเอาเอาแค่นี้ก่อน
แต่ตอนนี้จะพูดถึงผลลัพธ์ของการเจริญทั้งทางที่สังเกตกันมาแต่โบราณ และที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่วิจัย อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกา นิยมการเจริญสติกันมาก มีการวิจัยใช้วิธีวิทยาศาสตร์ มีการมาวิจัยถึงผลของการเจริญสติ ที่มีการสังเกตมาแต่โบราณก็มีการรู้กันของผู้ปฏิบัติ คือ (๑) ทำให้พบความสุขที่ไม่เคยเจอมาก่อน เป็นความสุขจากความสงบ จากการรู้ตัวทำให้เกิดความสุข รู้อยู่กับปัจจุบันผ และการรู้ต่อเนื่องก็ทำให้มีความสุขต่อเนื่อง (๒) ที่รู้ทำให้สุขภาพดี ไม่ค่อยมีความเจ็บป่วย หรือถ้าเจ็บป่วยก็หายง่าย (๓) ทำให้สมองดี สมองมีความแจ่มใสเรียนรู้อะไรก็ดี และ (๔) ความสัมพันธ์ดี ความสัมพันธ์มีความสำคัญมาก และเป็นเรื่องยากความสัมพันธ์ในครอบครัว สามีภรรยามีการตีกันเสมอ เพราะความรักกับความโกรธเป็นของคู่กัน พลิกหน่อยเดียวก็ก่อเกิดเป็นความโกรธ เกลียดแล้ว เพราะฉะนั้นมีการทะเลาะกันทุกคู่ ทุกคน แต่ความสัมพันธภาพที่ดีมีการวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดว่าความสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวเป็นบ่อเกิดแห่งความสุขของมนุษย์ที่สำคัญที่สุด แต่เป็นของหายากถ้าไปดูในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่งานไม่นานก็เกิดการหย่าร้าง การฆาตกรรม ความสัมพันธ์ในที่ทำงานไปดูของเรามีปัญหาเยอะ มหาวิทยาลัยแทนที่จะเป็นดินแดนแห่งความสุข กลายเป็นดินแดนแห่งความทุกข์ ความขัดแย้งเต็มไปหมด แปลว่ามีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่ดีต้องมีความสุข คุณเรียนรู้อะไรเรียนรู้แล้วมีแต่ความทุกข์ มีแต่ความขัดแย้งเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นสติช่วยเรื่องสัมพันธภาพ
ตอนหลังมีการศึกษาสมองทำให้รู้มีส่วนที่เรียกว่า social brain การเจริญสติทำให้สัมพันธภาพเปลี่ยนมีสัมพันธภาพที่ดีขึ้น ทางวิทยาศาสตร์ที่มีการศึกษากันก็มีการทำหลายอย่าง มีการศึกษาเจอว่าความดันโลหิตลด การเต้นของหัวใจลดลง
เป็นการกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติมี 2 ระบบ ระบหนึ่งเรียกว่า Sympathetic สำหรับการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัว ตื่นเต้น อีกระบบเรียกว่า Parasympathetic ทำให้เกิดความสงบต้องทำให้เกิดการ balance ถ้าเกิดเสีย balance จะมีความรู้สึกไม่ค่อยสบาย ตื่นตัวมากเกินหรือซึมมากเกิน การเจริญสติปรากฏว่าไปกระตุ้น Parasympathetic ทำให้เกิดความตื่นเต้นน้อยลง ความกลัวน้อยลง ไปดูสารเคมีโดยการเจาะเลือดดูปรากฎว่าสารเคมีสารทุกข์ลดลง สารสุขเพิ่มขึ้น
มีการวิจัยที่เรียกว่า Emotional Molecular ในความทุกข์ ความสุขมี Molecular มีสารจริง ๆ ที่ตรวจได้ Molecular ของสารที่ทำให้ไม่มีความสุขมันลดลงแต่ Molecular ของสารที่ทำให้มีความสุขพวก Endorphin การตั้งชื่อแบบนี้เพราะว่าเหมือนมอร์ฟีน (Morphine) หรือฝิ่น แต่มันเกิดขึ้นภายในเกิดขึ้นในตัว Endorphin เกิดการหลั่งออกมาเพิ่มขึ้นทำให้เกิดความสุขทั้งเนื้อทั้งตัวเหมือนคนสูบฝิ่น เพาะสาร Endorphin ออกมีการศึกษาภูมิคุ้มกันที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน รัฐวิสคอนซิน ประเทศอังกฤษ ที่แมดิสัน ชื่อเดวิดสัน มีหน่วยสำหรับการศึกษาเรื่องเหล่านี้ นำคนที่เจริญสติกับคนที่ไม่เจริญสติ ได้แก่พวก biotechnology กับคนที่เจริญสติ มีการฉีดวัคซีนเข้าไปแล้วก็วัดภูมิคุ้มกันปรากฎว่าคนที่เจริญสติมีภูมิคุ้มกันขึ้นสูง เพราะฉะนั้นคนเหล่านี้จึงไม่ค่อยเจ็บป่วย เพราะภูมิคุ้มกันมีความสัมพันธ์กับทุกอวัยวะ การเจ็บป่วยทุกชนิดมาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน การมีสุขภาพดีไม่ดีจนนักวิทยาศาสตร์ที่ทราบตรงนี้ เพราะเป็นอายตนะอีกอันหนึ่ง เป็นเครื่องรับรู้จากทุกเรื่อง การเจริญสติทำให้ภูมิคุ้มกันมากขึ้น สุขภาพดี การเป็นโรคเป็นอะไรก็หายง่าย อีกอันหนึ่งที่มีการวิจัยตอนหลังมีเครื่องมือที่เห็นภาพสมองเรียก brain Imaging ดูแล้วเห็นว่าสมองส่วนไหนมีการ function เห็นภาพเลยอย่างมีการทดลองนำเงินมาโบกข้างหน้าที่ทำให้เกิดความโลภตรงไหน มีนิวเคลียสอะไร nucleus accumbens เกิดการ active ขึ้น ไปนำพระทิเบตที่มีการเจริญสตินอนอยู่ที่เทือกเขาหิมาลัยมาเข้าเครื่องดูสอมงพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงหมดทุกองค์ เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในระบบสมอง และที่สำคัญ คือ ตรงหน้าผากที่เรียก frontal cortex พบว่า active กัมมันตะทุกองค์เลย ตรงหน้าผากเป็นที่อยู่สมองส่วนหน้าเป็นที่อยู่ของปัญญาวิจารณญาณ ศีลธรรม การบรรลุธรรม เคยมีผู้หญิงที่ลอสแอนเจลิส (Los Angeles) ประสบอุบัติเหตุได้รับผลกระทบทำให้หน้าผากยุบ เคยมีศีลธรรมหน้าผากยุบกลายเป็นไม่มีศีลธรรม มีคนเคยบอกให้ลองจับนักการเมืองมาสแกนหน้าผากดู เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมอง ผมคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านานแล้วตั้งแต่ยังไม่มีเครื่องนี้ เพราะส่วนสมองได้จะเจอสมองพระอรหันต์เปลี่ยนไปและมีประสาทวิทยาที่ได้มาทำกรรมฐาน เขามีสมมุติฐานหรือเป็น fielding ผมมีเอกสารอยู่ เขาบอกว่ามีภาพ way ในสมองเป็นภาพ way ของอัตตา และภาพ way ของอนัตตาและถ้าทำจะไปปิดภาพ way ของอัตตา ไป shutdown และเปิดส่วนนี้ออกมาคุณบรรลุธรรมสมองเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยนะ ไปอ่านดูได้ผมพูดแบบสั้น ๆ เล็กน้อย มีหนังสือเล่มหนึ่งเรียกว่า my full brain สมองของการเจริญสติมีหนังสือชื่อนี้ไปค้นดูได้ตอนนี้เอาแค่นี้ก่อนพอเป็นเครื่องให้กำลังใจใก้การปฏิบัติว่าปฏิบัติแล้วมีการเปลี่ยนแปลง มีการแสดงอันหนึ่งแล้ววันหลังจะย้อนกลับมาพูด จิตมีอำนาจทำให้วัตถุเปลี่ยนได้ จิตมันมีคลื่นไป ทำให้วัตถุเปลี่ยนได้ ลองไปเจริญสติก่อน บางเรื่องอาจจะไม่ค่อยเข้าใจก็ไม่เป็นไร เจริญไว้ก่อนแล้วจะค่อยเข้าใจขึ้นที่หลังบางคนก็จะไปอ่านอะไรที่มีความล้ำหน้าไป และยังเจอประเด็นที่ยังไม่ค่อยเข้าใจก็ไม่เป็นไรอันนี้เป็นเรื่องธรรมดา แล้วก็ไปปฏิบัติแล้วมันก็เข้าเข้าใจแล้วผมก็จะกลับมาอีกทีหนึ่ง
คราวนี้ หัวข้อที่ ๑ มหัศจรรย์แห่งการเจริญสติ มีหนังสือที่ชื่อคล้ายกับอย่างนี้เยอะมาก Miracles of fullness The power of now คำว่า “now” คือ การรู้อยู่กับปัจจุบัน วันหลังจะกลับมาพูดโดยพิสดาร มีลูกเล่น มีเข็ดมาให้ที่หลั
แต่วันนี้เอาแค่นี้ก่อน อันนี้เป็นหัวข้อที่ ๑ มาที่หัวข้อที่ ๒ ความจริงเป็นสิ่งสำคัญ สัจจะความจริงตามธรรมชาติ หรือความจริงของธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทุกอย่างเกิดมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น ธรรมชาติเป็นแม่ของสรรพสิ่งถึงเรียกว่า my mother nature พระแม่ธรรมชาติ ทางพุทธศาสนาเดินมาตามความจริงตามธรรมชาติ แล้วเรียกว่า “ธรรม” หรือ “ธรรมะ” แปลว่าธรรมชาติ เราต้องมีความเข้าใจความจริงตรงนี้ ความจริงเป็นฐานของการคิด การทำ การตอบ ถ้าการคิดการทำไม่ได้อยู่ในฐานของความจริง ก็เกิดความผิดพลาดได้ แล้วก็จะเป็นอย่างนั้น วันหลังมาย้อนให้ดูที่มีการพัฒนาไม่สำเร็จ รวมทั้งการศึกษาทั้งหมดไม่มีฐานอยู่ในความจริง มีฐานอยู่ในวิชาการ “วิชา” กับ “ความจริง” เป็นคนละอันกัน ผมขอเรียนไว้แค่นี้ก่อนเป็นเรื่องใหญ่มาก ความจริงธรรมชาติมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ประเภทหนึ่งเรียกว่าธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง มีมาแต่ดั้งเดิมตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่รู้ เป็นอนันตกาลไม่มีขอบเขต เป็นอนันตสภาวะหรืออนันตภาวะ ไม่มีขอบเขต เป็นพื้นฐานอยู่อย่างนั้นกับธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่าธรรมชาติที่ปรุงแต่งอันแรกเรียกว่าอสังคตธรรม “ธรรม” ก็คือ ธรรมชาติ อันหลังเรียกว่าสังคตธรรมเรียกว่า “ปรุงแต่ง” สังขาร สังคต แปลว่า “ปรุงแต่ง” สิ่งที่เรารู้จักไม่ว่าดวงดาวก็ดี ดวงอาทิตย์ก็ดี โลก ต้นไม้ ใบหญ้า สัตว์ มนุษย์ อะไรทั้งหมด เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ลองนึกภาพอย่างนี้ว่ามีกระดาษขาวแผ่นใหญ่แล้วไม่มีอะไรเลยในกระดาษขาว อันนั้นเป็นธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่ง พอเกิดจักรวาลขึ้น เมื่อประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านปี เดียวนี้เขารู้ว่าทางวิทยาศาสตร์ ตอนหลังท้าย ๆ จากครั้งที่ ๑๑ หรือครั้งที่ ๑๒ ผมจะมาบรรยายเรื่องนี้ บรรยายให้เชื่อมโยงกันวิทยาศาสตร์กับศาสนา สังคม ทางฟิสิกข์มีการคำนวณได้แม่นยำมาก มีการคำนวณอะไรแล้วจะมาบรรยายให้ฟัง รู้ว่ามาจากการระเบิดตูมใหญ่ที่เรียกว่า “Big Bang” เมื่อประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านปีก่อน เกิดกลุ่มแก๊สกลุ่มพลังงานร่วมตัวกันเป็นดวงดาวเป็นอะไรต่าง ๆ แล้วก็มาเกิดกาแลคซี่ มีประมาณแสนล้านกาแลคซี่ แล้วแต่ละกาแลคซี่มีดาวอยู่แสนล้านดวง โลกดวงอาทิตย์ ดาวนพเคราะห์ เป็นส่วนนิดเดียวกาแลคซี่ทางช้างเผือก มีดาวอยู่แสนล้านดวง ทั้งหมดเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เป็นสังคตธรรม แต่ธรรมชาติอีกอันที่เป็นพื้นฐาน ไม่ปรุงแต่งมีมานาน ไม่มีจุดเริ่มต้น ไม่มีจุดสิ้นสุด เป็นสภาพที่สงบเงียบ ไม่มีปรุงแต่อะไร เป็นอสังคตธรรม มี ๒ ข้อ ตอนหลังจะกลับมาตรงนี้ เพราะที่เรียกว่าโลกุตรธรรม หรือปรมัตถสัจจะคือตรงนี้ เป็นสัจจะที่เหนือโลก คือ เหนือการปรุงแต่ง ธรรมชาติที่ปรุงแต่งมีลักษณะอย่างไร มีประมาณ ๓ ประเด็นพอเป็นเครื่องมือ สำหรับการเข้าใจเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
ธรรมชาติปรุงแต่งมีลักษณะ ประการที่ ๑ คือ มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง ไม่คงที่ เป็นอนิจตาหรืออนิจจังธรรมชาตินั้นเปลี่ยนแปลงเพราะว่าเราคิดอย่างนี้ คิดดูก็ได้คิดตามตรรกะก็ได้ ที่ดูว่าปรุงแต่งมีการเกิดขึ้น เดิมไม่มีเป็นการปรุงแต่ง มีการตั้งอยู่แล้วก็มี่การดับไป คือ สภาพของอนิจจัง ที่พุทธเจ้าท่านเห็นที่สังเกตธรามชาติล้วนเปลี่ยนแปลง สรรพสิ่งล้วนเป็นอนิจจจัง ไม่มีอะไรคงที่เลย อันนี้ คือ ความจริงของสังขตธรรม ข้อที่ ๑ ซึ่งมีความแตกต่างจากที่เรารู้กัน เราคิดว่ามันเห็นตายตัว เราคิดว่าเป็นอนิจจัง ถ้ามองแบบตายตัวก็แยกออกเป็นส่วน ๆ เป็นชิ้น ๆ โดยวิทยาศาสตร์เองโดยธรรมชาติของเขาทำให้เขาคิดอย่างนี้ด้วย เน้นที่ precision การวัดได้แม่นยำ และการวัดซ้ำต้องได้เหมือนเดิมที่เรียกว่า reproducing cyber rate เพราะฉะนั้นโดยนิยามของวิทยาศาสตร์เอง อะไรที่วัดได้แม่นยำและวัดซ้ำได้เหมือนเดิมต้องตายตัว ถ้าต้องเปลี่ยน เปลี่ยนได้เหมือนสายน้ำ เปลี่ยนตลอดเวลาและเห็นต่อเนื่อง ในความเป็นจริงมันเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ มันก็เกิดการไม่ตายตัว ไม่สามารถวัดซ้ำได้แม่นยำ เป็นข้อเสียของวิทยาศาสตร์แล้วนำมาซึ่งปัญหาของโลกในปัจจุบัน คราวหน้าพูดประเด็นนี้ให้เกิดความชัดเจน ปัญหาอยู่ที่การมองว่าความจริงเป็นอย่างไร ที่เรียกว่าโลกทัศน์ การคิด จิตสำนึก
ตกลงธรรมชาติประการที่ ๑ ล้วนเปลี่ยนแปลง คือ เป็นอนิจจัง ก็ถามไปตามลำดับเปลี่ยนอย่างไร ก็เปลี่ยนตามเหตุปัจจัยที่มาทำให้มันเปลี่ยน มาถึงหลักธรรมข้อที่ ๒ หลักสำคัญทางพุทธที่เรียกว่า “อิทัปปัจจยตา” อิทัป แปลว่า นี้ ส่วนปัจจยตา คือ ความเป็นปัจจัยให้เกิด แปลว่านี้ทำให้เกิดอย่างนี้ และอย่างนี้ก็ทำให้เกิดอย่างนี้ อย่างนี้ทำให้เกิดอย่างนี้เป็นกระแสของเหตุปัจจัย อันนี้เป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง ยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์ “อิทัปปัจจยตา” ทุกอย่างเป็นกระแสของเหตุปัจจัยลองนึกภาพตรงนี้ดูแล้วเขียนรูปดู เพราะฉะนั้นธรรมชาติเป็นกระแสของเหตุปัจจัย ตรงนี้อยากจ่ายการบ้านไปอ่านหนังสือของท่านอาจารย์พุทธทาส หนังสือชื่อ “อิทัปปัจจยตา” เพราะทุกสรรพสิ่งล้วนเป็นตามเหตุปัจจัย อะไรเกิดก็เพราะมีเหตุให้มันเกิด อะไรไม่เกิดก็เพราะไม่มีเหตุให้เกิด ให้เกิดก็ไม่เกิด ไม่ได้เป็นไปตามใจเรา เราอยากให้เป็นอย่างโน่น อย่างนี้ มันก็ไม่ใช่ เป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่งไปดูตรงนี้ให้เข้าใจ และหลักธรรมทางพุทธทั้งหลายอาศัยทางสายกลาง ทุกอย่างมีเหตุการณ์ผลักดันกันต่อ ๆ ถ้าโยงย้อนไปก็ว่าอันนี้ทำให้เกิดอย่างนี้ อันนี้ทำให้เกิดอย่างนี้ อันนี้ทำให้เกิดไม่มีที่สิ้นสุด ไปหาจุดเริ่มต้นไม่ได้ ไปเรื่อยไปหาจุดสิ้นสุดก็ไม่มี ไม่มีจุดสุดโต่ง เอ็กสตรีมสองข้างไม่มี ถึงได้เรียกว่าทางสายกลาง เพราะฉะนั้นถ้าใครได้อ่าน “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ประโยคแรก “เท๎วเม ภิกขะเว อันตา” เทว แปลว่า ทวิ อันตา แปละว่าที่สุด คือ สุดโต่ง เท๎วเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต แปลส่วนสุขทั้งสองภิกษุไม่ควรเสพ ที่มาของทางสายกลาง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ลองไปหาอ่านประโยคแรก “เท๎วเม ภิกขะเว อันตา” อันตา แปลว่า สิ้นสุด ส่วนสุด อะนัต แปลว่า ไม่มีที่สุด จึงไม่แยกข่างแยกขั้วเป็นแต่เหตุปัจจัย ฝรั่งคิดแบบตายตัว จึงแยกส่วน แยกข้าง แยกขั้ว นำมาซึ่งโลกเกิดการปั่นป่วนเสียสมดุลอยู่ทุกวันนี้ คนธรรมดาก็คิดอย่างนั้นแล้ว ชาวยุโรปมีความรุนแรงมาก ชาวยุโรป dominate โลกใหม่ ๕๐๐ ปี แล้วสิ้นสุดแล้ว อารยธรรมยุโรปสิ้นสุดแล้วไปต่อไม่ได้แล้ว เพราะเกิดเสียสมดุลอย่างรุนแรงมา ถึงได้บอกว่าพยายามทำความเข้าเรื่องทางสายกลางสำคัญ เพราะทางสายกลางเป็นสายปัญญา สายไมตรีจิตร และสายความร่วมมือกัน ถ้าสายยุโรปสายตะวันตก สนใจเรื่องความรู้ โดยนำความรู้มาเป็นอำนาจ แล้วใช้อำนาจในการแย่งชิง อันนี้ คือ รหัสการพัฒนา เรียนแบบมาจากรหัสพันธุกรรม ซึ่งมี ๓ ตัว เรียกว่ารหัสการพัฒนา รหัสการพัฒนาของยุโรปของตะวันตกที่มีการใช้กันทั่วโลกขณะนี้ คือ ความรู้ อำนาจ แย่งชิง ทำให้โลกเกิดความปั่นป่วน เสียสมดุลต่าง ๆ ร้อยแปดเกิดความเหลื่อมล้ำ เกิดความปั่นป่วนรุนแรง สงคราม แต่ว่าทางสายกลาง คือ ปัญญา ไม่ใช่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ระหว่างความดีกับความชั่ว ไม่ใช่อย่างนั้นนะ ทางสายกลาง คือ ทางอย่างที่อธิบาย “อิทัปปัจจยตา” ไม่มีส่วนสุด ไม่เอ็กสตรีม ไม่แยกข้างแยกพวก มีไมตรีจิตร์ มีความร่วมมือกัน ตอนท้าย ๆ จะย้อนกลับมา กล่าวถึงปณิธานของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ให้มีความร่วมมือกันระหว่างพุทธศาสนา ทุกศาสนาเหมือนกันหมด ไม่มีศาสนาไหนที่สอนให้ไปแย่งชิง สอนแต่การอยู่ร่วมกัน ตอนหลังจะกลับมาตรงนี้ คราวนี้พอเป็น “อิทัปปัจจยตา” เป็นกระแสของเหตุปัจจัย จึงไม่มีส่วนใดที่ดำรงอยู่โดยเอกเทศ ที่ไม่สัมพันธ์กับส่วนอื่น เพราะเป็นกระแสเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่อง จึงไม่แยกส่วน ตรงนี้เพราะฉะนั้นจึงไม่มีอัตตา เพราะอัตตาแยกส่วนแล้วเป็นเอกเทศ ธรรมชาติจึงเป้นอนัตตาเป็นการสืบต่อกันมาจากความจริงตามธรรมชาติเป็น “อิทัปปัจจยตา” ก็เป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน แต่มนุษย์ เพราะความไม่รู้ไปยึดถืออัตตามันก็ขัดแย้
กับธรรมชาติ ลองเขียนเป็นกระแสของเหตุปัจจัย ไม่มีตัวตน พอเป็นอัตตาเข้าไปขวางกระแสเลย ขัดแย้งกับความเป็นจริง การขัดแย้งเป็นทุกข์ “ทุกขตา” เกิดจากความขัดแย้ง ถ้าเรามีความเข้าใจตรงนี้ การบ้านไปอ่าน “อิทัปปัจจยตา” ของท่านอาจารย์พุทธทาส ให้เห็น “อิทัปปัจจยตา” ในทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วมันจะเป็นอยู่ด้วยปัญญา เห็นอะไรก็ไม่โกรธไม่เสียใจ รู้ว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง เพระมีเหตุปัจจัยให้เป็นเช่นนั้นมันจึงเป็นเช่นนั้น เป็นปัญญา เพราะฉะนั้นจะเห็นว่ามีคำว่า “ตถตา” ความเป็นเช่นนั้นเองต่อมาจาก “อิทัปปัจจยตา” เพราะว่าเป็นเหตุปัจจัยอย่างนี้ อะไรเกิด อะไรไม่เกิด มันก็เป็นเช่นนั้นเอง ถ้าเรามีความเข้าใจตรงนี้ เรามีการอุทานหรือเราพูดหรือแม้แต่การบริกรรม “ตถตา” ก็เกิดความเข้าใจแล้วว่านี่คือ “ปัญญา” เพราะฉะนั้นหัวใจของทางพุทธ คือ ปัญญาเข้าใจความจริง พอเข้าใจความจริงก็หมดทุกข์ เพราะฉะนั้นทางพุทธจึงมีหลักอย่างนี้ว่า “อวิชชา” ความไม่รู้เป็นต้นเหตุของทุกข์ “วิชชา” ช. ๒ ตัว แปลว่าปัญญา แปลว่า “รู้” วิชชาจึงเป็นเหตุให้ เป็นเหตุของความสุขก็ได้ คือ ปัญญาตรงนี้
เพราะฉะนั้นที่พูดโดยมาสรุปจะเห็นโครงตรงนี้ สติ สมาธิ ปัญญา เป็น Big tree ทางพุทธศาสนา สติ สมาธิ ปัญญา มีความสัมพันธ์กันอยู่ สติ สมาธิ ไปสู่ปัญญา ปัญญาช่วยมาเสริมสติ สมาธิอีกทีหนึ่ง มีความสัมพันธ์กันอยู่ คล้าย ๆ กับเป็นรูปสามเหลี่ยมเป็น Big tree แล้วนะ ปัญญาก็อย่างที่ผมพูด คือ การรู้ความจริงของธรามชาติ ต้องสังเกตคำมี่ท่านใช้นะ ลองสังเกตดูมีคำที่ใช้ “สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ สังขารา ทุกขา” ที่บอกว่าธรรมชาติมีอยู่ ๓ อย่าง ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะ ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นธรรมชาติของสรรพสิ่ง “สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ สังขารา ทุกขา” สังเกตประโยคที่ ๓ มีการเปลี่ยนคำเป็น “สัพเพ ธัมมา อะนัตตา” ถ้าไม่สังเกตจะคิดว่าใช้คำเหมือนกันที่เปลี่ยนตรงนี้เพราะว่าอย่างที่พูดว่า “ธรรม” หรือ “ธรรมชาติ” สังขตธรรม กับ อสังขตธรรม และความเป็นอนัตตาเป็นทั้งสังขตธรรม และอสังขตธรรม แต่ ๒ อันแรกไม่เป็นสำหรับอสังขตธรรม เพราะเป็นธรรมชาติที่เฉย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีความทุกข์อะไร เพราะฉะนั้นอนัตตา สังขตธรรมจึงไม่ได้อยู่ในอนิจจากับทุกขา แต่อยู่ในอนัตตา เพราะฉะนั้นอนัตตาเป็นทั้งสังขตธรรม และอสังขตธรรม ใช้คำว่า “สัพเพ ธัมมา อะนัตตา” ไม่ใช่ “สัพเพ สังขารา อะนิจจา” ถ้าสังเกตดูถ้าไม่สังเกตก็จะผ่านไปเฉย ๆ ไม่ได้คิด หมดไป ๓ หัวข้อแล้ว
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : หัวข้อที่ ๔ เก็บไว้ครั้งที่ ๑๑ กับ ครั้งที่ ๑๒ แสดงว่าห้ามขาด ประเด็นที่ ๔ ต่อหน่อย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ประเด็นที่ ๔ ตามที่ได้กล่าวหลักการมาทำให้เกิดความเข้าใจในข้อที่ ๔ คือ ธรรมชาติของชีวิต คือ อะไร ธรรมชาติของชีวิตมี ๒ อย่าง คือ กายกับใจ กายเรียกว่ารูป หมายถึงกายสิ่งที่เป็นวัตถุ “ใจ” เรียกว่าเป็นนาม ไม่เป็นวัตถุจับต้องไม่ได้ แปลว่ามีรูปกับนาม เป็นศัพท์ที่ใช้ เวลาได้ยินคำนี้ “รูป” หมายถึง กาย นามก็หมายถึง “ใจ” หรือ “จิต” ซึ่งมีลักษณะ ๔ ประการ “จิต” เลยรวมเป็น ๕ เรียกว่า “เบญจขันธ์” มี ๕ กอง ขันธ แปลว่า กอง หรือ กลุ่มมี ๕ กลุ่ม เป็นกายเสียหนึ่ง คือ รูป และอีก ๔ คือ “จิต” หรือ “นาม” และ ๔ มีการกล่าวอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมเป็น ๕ เรียกว่า “เบญจขันธ์” เพราะฉะนั้นชีวิต คือ “เบญจขันธ์” เพราะฉะนั้นมาดูตรง ๔ ต้องมีความเข้าใจอย่างนี้ที่เรียกว่า เวทนนา แปลว่าความรู้สึก สุข ทุกข์ พอใจ ไม่พอใจต เรียกว่า เวทนา แปลว่า ความรู้สึก สุข ทุกข์ บางที่ท่านบอกไม่สุข ไม่ทุกข์ ก็มี เรียกว่า อทุกขมสุข เป็นความรู้สึกเฉย ๆ อันนั้นเรียกว่าเวทนา สัญญา ไม่ใช่ promises “สัญญา” ในที่นี่แปลว่าความจำเป็นลักษณะหนึ่งของจิต รู้สึกสุข ทุกข์ ขอบ ไม่ชอบ พอใจ ไม่พอใจ “สัญญา” จำได้หมายรู้ จิตมีลักษณะจำ อย่างกระดานมีขันธ์เดียว ไม่มีรูปไม่มีความรู้สึกสุข ทุกข์ไม่มีความจำ เวทนา สัญญาแล้ว สังขาร ในที่นี่แปลว่าการคิด ไม่ใช่ร่างกายแล้ว ร่างกาย คือ รูป สังขารในที่นี่แปลว่า “การคิด” แล้ว
วิญญาณในทางพุทธ ไม่เหมือนวิญญาณอย่างแม่นาคพระโขนงที่ไปเที่ยวสิงอย่างนั้นไม่ใช่ “วิญญาณ” คือ รับรู้เมื่อมีอะไรมาสัมผัส ตาเห็นอะไรและรู้ในสิ่งที่เห็นนั้นเรียกว่า “จักขุวิญญาณ” คือ การรู้โดยทางตา “โสตวิญญาณ” ความรู้อารมณ์ทางหู แล้วก็ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เรียกว่า อายตนะ ๖ คือ อายตนะภายในหรือรูปภายในของสฬายตนะ อันได้แก่ ๑. จักษุ (ตา) ๒. โสต (หู) ๓. ฆานะ (จมูก) ๔. ชิวหา (ลิ้น) ๕. กาย ๖. มนะ (ใจ)
สำหรับลิ้นกับจมูกเข้าใจแล้ว ฆานะวิญญาณ (จมูก) ทางกลิ่น กาย คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง สัมผัสกับทางร่างกายก็รู้ เรียกว่า โผฏฐัพพะการมาสัมผัสกับกายแล้วก็รู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อีกอันหนึ่งอาจจะเข้าใจยากที่เรียกว่า อายตนะ ๖ คือ เครื่องรับทั้ง ๖ สำหรับ ๕ อย่างมีความเข้าใจ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ภาษาบาลีเรียกว่า สฬายตนะ คือ อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และใจคือย่างนี้ตอนนั้นไม่ได้เห็นไม่ได้ยินอะไรหรอก แต่ความจำมที่จำไว้มันคิดฟุ้งขึ้นมาคิด บางที่ตาเราไม่ได้เห็น แต่เรานึกถึงเพื่อนคนนี้พูดอะไรไม่ดีกับเรา ตอนนี้ไม่ได้พูดไม่ได้ยิน แต่ก็จำไว้และฟุ้งขึ้นมาไปสัมผัสกับจิตแล้วก็โกรธขึ้นมา ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยินอะไร เขาเรียกว่าสัมผัสทางใจ และสิ่งที่ใจสัมผัส เรียกว่า “ธรรมารมณ์” คำว่า “อารมณ์” ที่ใช้ไม่ใช่ Emotion ถ้าใช้หมายถึงสิ่งที่ถูกรู้ สิ่งที่ถูกรู้เรียกว่าอารมณ์ อย่างคราวหนึ่งนานแล้ว
คราวหนึ่งนานแล้วไปหาสมเด็จพระญาณสังวร รู้สึกยังเป็นศาสนโศภน บ้านเกิดท่านจังหวัดกาญจนบุรี ไปที่กุฏิพูดคุยกันเร่องการทำกรรมฐาน ท่านถามว่าใช้อะไรเป็นอารมณ์ ถ้าใช้ลมหายใจ เรียกว่า ลมหายใจเข้าออก เป็นอารมณ์ ถ้าใช้การเพ่งดู เพ่งดูอะไร ก็ถือว่านั้นเป็นอารมณ์ที่ถูกรับรู้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ใจรับรู้มันนามธรรมท่านก็เลยเรียกว่า “ธรรมารมณ์” ถ้าไปอ่านตรงนี้จะได้เกิดความเข้าใจ จะเห็นว่าเรื่องจิตคไม่ใช่ดวงอะไรที่ตายตัว แต่เป็น process ของเหตุปัจจัย ยกตัวอย่างสมมุติมีเด็กคนหนึ่งเกิดใหม่ ถ้าเราเอาเด็กคนนี้ไปใส่ไว้ในห้อง ไม่ได้เห็นอะไรเลย ไม่ได้ยินอะไรเลย เด็กคนนนี้จะไม่มีจิตเพราะว่าไม่รู้อะไรเลย ถ้าเป็นภาษาอังกฤษจะมีความชัดเจน คำว่า consciousness การรู้สึกตัวซึ่งตรงข้ามกับ unconsciousness ถ้าหลับหรือวางยาสลบหรือโคม่า ชีวิตยังอยู่แต่ไม่รู้สึกตัว เรียกว่า unconsciousness ตรงนั้นเรียกว่าจิตแล้วจะปะปนกัน แต่ทางภาษาอังกฤษมีการแยกออกเป็น ๒ คำ consciousness หมายถึง การรู้สึกตัว กับ mind คือ จิต แต่ว่าทางพระท่านก็มีตอนนี้ชักจะยุ่ง กีมีความลังเลในการที่จะอธิบายในช่วงนี้ เขาเรียกว่า ภวังค์จิต เป็นจิตที่เงียบยังไม่มีมีการฟังก์ชั่นอะไร ถ้าจิตมีการฟังก์ชั่นเขาเรียกว่าวิถีจิต ภวังค์จิต คือ การรู้ เอาเด็กที่เกิดใหม่มามีสมองแล้วก็รู้แต่ว่ายังไม่มีจิต นำไปขังไว้ในห้อง ไม่ให้สัมผัสอะไรเลย ไม่ได้ยินเสียง ไม่ได้มีอะไร เย็น ร้อน อ่อน แข็งก็ไม่รู้ เขาก็ไม่มีจิต เป็นแต่วุ้นอยู่อย่างนั้น เพราะฉะนั้นจิตเกิดจากสิ่งแวดล้อม กระตุ้นเข้ามา พอสมมุติเด็กเล็ก ๆ ยังไม่รู้อะไรเลย มันเห็นเทียนจุดอยู่ มันก็เห็น แต่มันก็รู้ มันไม่มีความจำได้หมายรู้มันคืออะไร มันก็เอื้อมมือไปหยิบเสร็จแล้วก็ร้อนก็เกิดการเวทนาขึ้น ก็เอาไปจำไว้เป็นสัญญา พออีกครั้งหนึ่งเห็นคราวนี้ทำให้รู้แล้วจากประสบการณ์คราวก่อนว่าไม่เอื้อมมือไป แล้วการที่คิดไม่เอื้อมมือไปเรียกว่าสังขาร คิดแล้วก็มีพฤติกรรม ไม่เอื้อมมือแล้ว เขาเรียกว่าจำได้หมายรู้จากคราวก่อนที่ไปแตะแล้วก็เกิดเวทนาไม่พอใจเป็นขบวนการของจิต เพราะฉะนั้นจิตไม่ใช่ดวงอะไรที่ตายตัวที่นักปรัชญาหรือนักอะไรที่คิดกัน หรือว่าดวงไปจุติไปเกิด “อิทัปปัจจยตา” เป็นกระบวนการของเหตุปัจจัยที่หนุนเนื่องกันมา ทำให้เกิดจิตเป็นคราว ๆ ไป เพราะฉะนั้นวันหนึ่งเกิดหลายครั้ง เกิดเป็นร้อยเป็นพันครั้ง เรียกว่าเป็นดวง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นกระบวนการเป็น process หรือเป็น phenomenal ไม่ใช่ดวงตายตัว ครี้งพุทธกาลเคยมีพระที่ไปพูดว่ามีวิญญาณไปจุติ แล้วมีคนไปฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็เรียกมาถามว่า “เธอพูดอย่างนั้นจริงหรือ” ท่ายก็บอกว่า “จริง” เป็นโมฆบุรุษ คือ คนโง่ คนไม่เข้าใจ “เราสอนอย่างนั้นหรือ” เราไม่ได้สอนอย่างนั้น วิญญาณไม่ได้ไปเป็นดวงไปจุติมันเป็นเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับตามเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นการบ้านไปที่เป็นเบญจขันธ์ รูป เวทนา วิญญาณ สังขาร คืออะไร ตรงนี้ขึ้นกับหลัก “อิทัปปัจจยตา” เข้าไปทุกเรื่องถ้าวิญญาณเป็นดวงก็ไม่ใช่ “อิทัปปัจจยตา” แล้ว จิตเป็นการเกิดดับ เกิดดับของมันวันหลังจะมาพูดตรงนี้ “จิต สมุทกบาท” ตอนนี้ยังไม่บรรยายเดียวจะยากเกินเป็นการบ้านปฏิบัติเจริญสติ ตรงไหนยังไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร ปฏิบัติเดียวจะเข้าใจดีขึ้น สอง ไปอ่านอิทัปปัจจยตาจนคล่อง จนเห็นอะไรเป็นอิทัปปัจจยตาไปหมด เรียกว่าเป็นอยู่ด้วยปัญญาไม่มีความทุกข์เพราะมีความเข้าใจ มีความเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้นเอง สาม ทบทวนเรื่องเบญจขันธ์เห็นให้ชัดเจนว่าร่างกายประกอบด้วยเบจขันธ์ และนำไปใช้ได้เป็นอย่างมากในการพูดจาต่าง ๆ ที่กล่าวมาพอเข้าใจโครง พอเจ้าใจหลักการ และมีการปฏิบัติได้บ้างความทุกข์ก็มีความน้อยลงไป ถ้าคนมีศรัทธาด้วย เข้าใจด้วย อะไรด้วย พอเริ่มสวดมนต์ก็เริ่มมีความสุขแล้ว เพราะฉะนั้นลองทำดูเดียวจะมีคำถามอะไรเดือนหน้ามาว่ากันต่ออีกครั้งหนึ่ง วันนี้เป็น ๔ หัวข้อตามที่ได้แจ้งคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ไว้
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : การฝึกแบบนี้เป็นสิ่งที่แม่นมาก เมื่อสักครู่ได้พบกับอาจารย์สมชายฯ ยังจำได้ว่าหลานเป็นนางสาวไทยอาจารย์หมอประเวศ วะสี สุดยอดมากเป็นสมรรถนะของจิตที่มีการฝึกดีแล้ว เมื่อฟังอาจารย์เมื่อสักครู่ผมก็เลยอาจารย์ขึ้นด้วยเรื่องมหัศจรรย์ของการเจริญสติ เรื่องธรรมชาติของจริงของสรรพสิ่งของทุกสิ่งทุกอย่าง เรื่องที่สามเป็นเรื่องเบญจขันธ์ จากการฟังวันนี้และย้อนไปที่ ๒ ครั้งที่แล้ว ครั้งที่แล้วอาจารย์ไม่ได้มาเป็นเรื่องของความจริงว่าด้วยเรื่องของความจริง อาจารย์กำลังชวนเราให้มาทำความเข้าใจชีวิต ชีวิตมีธรรมชาติอย่างไร ท้ายสุดอย่างที่อาจารย์เริ่มหัวใจอยู่ที่จิตที่ฝึกดีที่การเจริญสติ มีท่านใดที่มีการติดตามมาแล้ว ๓ ครั้ง ท่านใดสวดมนต์เป็นนิจ
คุณจิรา บุญประสพ : ขอยืนยันจากนายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช อีกครั้งมีความรู้สึกเหมือนกันอาจารย์หมอประเวศ วะสีอายุ ๙๒ ปี ด้วยความที่ท่านฝึกสติจะเห็นว่าเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ถ้ามีการฝึกสติมีความจำที่แม่นยำมาก มีปัญญา ฟังแล้วมีความรู้สึกว่าต้องไปฝึก มีท่านใดทำการบ้านทั้ง ๔ อย่างครบถ้วน
คำถามจากสถานที่ : การทำอาปานสติมีความรู้สึกปวดเมื่อยมากท้อ จะมีวิธีแก้ได้อย่างไรดีครับ
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : เป็นปกติของการปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเป็นการนั่งสมาธิการเดินจงกรหรือว่าในอริยบทต่าง ๆ ถ้าเรามาดูอย่างที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวเรื่องภาวะของขันธ์ ๕ ภาวะของความจริง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสภาพปกติอยู่แล้ว แต่ตอนที่ปรากฏใจเป็นอย่างไร และตอนที่บอกว่าปวดเมื่อยก็ดูก่อนว่าใจของเราเป็นอย่างไร ใจของเราคือสภาพความจริงที่ปรากฏ ถ้าโดยการปฏิบัติ นำสติเข้าไปจับ นำสติเข้าไปรับรู้ ว่าสภาวะที่เกิดขึ้นขณะนั้น แล้วก็รู้ ถ้าคนปวดมาก ๆ ร่างกายต้องมีการปวดมาอยู่แล้วละ แต่ตอนที่ปวดแล้วรู้สึกทรมาน ทรมานนี่คือการปลงแล้ว “ถามว่าปวดนี่ของจริงนะพระอาจารย์ ของจริงนะหลวงพี่” หลวงพี่ไม่เคยปวดหรือเหมือนคนเจ็บป่วยมีความปวด แต่ใจที่บีบคันเป็นใจที่ปลงแล้ว อาจจะต้องเลือกเพราะว่าการปฏิบัติได้หลายวิธี อย่างเช่น เราเลือกที่จะเป็นผู้รับรู้เป็นผู้สังเกตอาการของใจ ที่มันดิ้นร้น ร้อนร้น เป็นการพิจารณาสภาพหนึ่ง แต่ถ้ามีความรู้สึกว่า “ไม่” การปวดนี่จนกระทั่งเราสับสนแล้วว่าเราทำถูกหรือทำผิด เรามีความรู้สึกว่าใจไม่สงบแล้ว แล้วก็ไม่สามารถควบคุมหรืออดกลั้น อดทน ต่อความยากลำบากนั่นได้ในด้านของการปฏิบัติเราก็สามารถในการเปลี่ยนอริยบทได้นะ ทำได้เพื่อการสร้างความสงบต่อไป คือ การตั้งความสงบให้มีการตั้งมั่นขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าเมื่อเราเลือกวิธีการเปลี่ยนท่า ก็ต้องรู้ว่าเมื่อเราเปลี่ยนท่า เดี๋ยวท่าใหม่จะเป็นท่าที่เราปวด ถ้าสลับการนั่งจากพับเพียบ ขัดตะหมาด การนั่งขวาทับซ้าย ซ้ายทับขวา ขัดสมาธิเพชร ท่าเดินเดินจนเมื่อย มานั่ง เดี๋ยวจะต้องมีการปวดขึ้นมาใหม่ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะเลือกรูปแบบไหนสิ่งที่เราละเลยไม่ได้เลยในเรื่องของการปฏิบัติจริง ๆ คือ สติที่เข้าไปสังเกตเข้าไปรับรู้สภาวะของมัน แล้วความจริงที่ปรากฏเป็นสภาพของร่างกายนะ ใจที่ไม่ปฏิเสธความปวดกับใจของคนที่ดิ้นรนทรมานอยากจะออกจากความปวดต่างกัน ความปวดที่มีอยู่แต่ความสงบต่างกัน อันนี้คือสภาวะของธรรมะที่เกิดขึ้นได้จริง เป็นปัญญาจริงขณะที่ความมั่นคงของใจตามดู ตามรู้กับภาวะเหล่านั้น
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : เมื่อเริ่มทำมีการปวดเมื่อยหรืออะไรเป็นธรรมดา เป็นเวทนามีความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ เกิดขึ้นเราก็กำหนดไปที่เวทนาเลย กำหนดไปตรงที่มีความปวดเมื่อย พอกำหนดรู้จะมีความรู้สึกเบาลง รู้ว่าเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็จะดับไป ทุกอย่างเป็นอนิจจัง เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นการกำหนดรู้จะมีความรู้สึกเบาลง เหมือนคนที่ขี้อายถ้ารู้อะไรมันมันจะหมดสภาพตรงนั้น ตรงนี้ก็ลองดู ตอนหลังเวลามีการพูดเรื่องเจริญสติมีการขยายออกไป ที่เราพูดไปแล้วเป็นการรู้กาย ลมหายใจเป็นกาย แล้วต่อไปเป็นรู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม ที่เรียกสติปัฏฐาน ๔ มีฐานอยู่ใน ๔ ในกาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งเอาไว้ที่หลัง ทีถามมานั้น คือ เวทนาแล้ว ก็เป็นการรู้เวทนาเลยตรงนั้น คราวนี้ถ้ายังไม่ไม่หาย บางครั้งไปกำหนดแล้วจะรู้ว่าจะหายไปหมดก็เปลี่ยนอริยบทลุกขึ้นเดินจงกรมก็ได้ เดินจงกรมก็จะหายและเป็นการเจริญสติด้วย การเดินจงกรมง่ายกว่า บางคนบอกว่าก่อนนั่งให้เดินจงกรมก่อนเวลาจิตสงบการนั่งง่ายขึ้น พระป่าที่อีสานตรงที่ฝึกมีทางเดินจงกรมอยู่เสมอ
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ช่วงแรก ๆ ผมจะอย่างนี้ครับอาจารย์พอกำหนดรู้ไปเพิ่มจะทำอย่างไรดีครับอาจารย์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : เพราะสติกับสมาธิยังไม่มีความแก่กล้า ถ้ามีสมาธิตรงนั้นไม่เจ็บเลย ตรงนั้นจะมีจิตไปเพ่งอยู่กับอะไรอื่น
แพทย์หญิงจันทรา : รบกวนเรียนถามว่าอย่างกรณีที่เจ็บปวดมากอย่างคนที่เป็นมะเร็ง เป็นก้อน มีความเจ็บปวดอย่างนี้ละค่ะ ทำอย่างไรก็ไม่หายเจ็บถ้าเกิดขอยาแก้ปวดแรง ๆ อย่างมอร์ฟีนหรือฟินทานิวที่แรง ๆ ให้หลับหรือหมดสติไปธรรมะจะยอมรับไหมหรือจะ ขอเรียนถามองค์ปาฐกทุกท่านค่ะ
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : มีความคล้ายคลึงกันเหมือนกับตอนที่เรามีการปฏิบัติ
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหารเป็นกลุ่มพระอาสาคิลานธรรมมีการตามเยี่ยมผู้ป่วย และดูแลญาติผู้ป่วยในเขตกรุงเทพมหานครตอนนี้มีการรวกลุ่มประมาณ ๔๐ - ๕๐ รูป เป็น counseling และมีการดำเนินการเรื่องนี้อยู่จำนวนมาก
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : จริง ๆ มีความคล้ายคลึงกันเหมือนกับตอนที่เรามีการปฏิบัติ เราพูดถึงความเจ็บปวด ความเจ็บป่วย เราจะนึกว่าถ้าเจ็บปวดอย่างอาการของมะเร็งจะมีความทรมานการกำหนดเอาอยู่ไหม ขอสอบถามท่านอาจารย์ก่อน การกำหนดเวลาที่เราปวดจากอาการของโรคสามารถกำหนดแล้วไม่ปวด หรือในความเป็นจริงก็กำหนดแล้วไม่ปวดแต่ไม่ทุกข์
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ผมเพิ่งได้รับโครงการมาจากพระองค์หนึ่งที่ขอนแก่นท่านส่งมาให้ดู ท่านเขียนออกมาดี ๆ ทั้งวัตถุประสงค์ ทั้งการออกแบบระบบ โครงสร้าง การทำงาน ท่านเสนอว่าทุกวัดในประเทศไย ซึ่งมี ๓๕,๐๐๐ วัด ควรมีการตั้งศูนย์ชีวันตาภิบาล “อันตา” แปลว่าที่สุดของชีวิต ชีวันตาภิบาล เป็น terminal care รับพระหรือผู้ป่วย เริ่มจากพระก่อน พระที่ป่วยระยะสุดท้ายไม่ต้องไปโรงพยาบาล อยู่ที่วัดที่ศูนย์มีพระที่ฝึกขึ้นมาช่วยชาวบ้าน ที่ฝึกขึ้นตรงเป็นการขยายตัวไปทุกวัดเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มากและทำได้ เพราะต่อไปวัดทุกวัด ๓๕,๐๐๐ วัด ช่วยดูแลคนที่ป่วยระยะสุดท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีใช้ยาและวิธีการต่าง ๆ สารพัดอย่างรวมทั้งธรรมะด้วยต่าง ๆ มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวัน เขามีร้อยแปดที่มีการดูแลตรงนี้มีหมอพยาบาลมาเล่นดนตรีให้ฟัง ใครอยากสวดมนต์ ใครอยากทำอะไร อาจารรย์สุมน อมรวิวัฒน์ ที่ไปดูด้วยบอกอยากมาตายที่นี่เพราะว่ามีความพร้อมดีพร้อมทุกอย่าง เป็นมูลนิธิพุทธฉือจี้ถ้ามีการทำตรงนี้จะได้ประโยชน์หลายอย่างทั้งช่วยคนระยะสุดท้าย และมีการส่งเสริมธรรมะไปด้วยในตัว เพราะในการดูแลได้ยาที่มีความจำเป็น ทางพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม เพราะพุทธเจ้าก็มีหมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่เป็นแพทย์ประจำตัวพระพุทธเจ้า ยาอะไรที่มีความจำเป็นก็ต้องใช้แต่ว่ามีธรรมะประกอบด้วย มีธรรมะหลายอย่างที่ขึ้นชื่อว่ารักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยอย่างน้อยมี ๒ พระสูตร คือ หนึ่ง คิริมานนทสูตร สอง โพชฌงค์ ๗ วันหลังจะพูดถึงเพราะเชื่อมไปยังการเจริญสติเชื่อมไปที่โพชฌงค์ด้วย
ในโพชฌงค์ ๗ ที่คราวหนึ่งพระมหาโมคคัลลานะกับพระอะไรอีกองค์หนึ่งที่ป่วย พระพุทะเข้าสวดโพชฌงค์ให้ก็หายป่วย ซึ่งพระพุทธเจ้าเองประชวรซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก เพราะท่านก็เป็นคนสอนเรื่องโพชฌงค์เองท่านให้พระมหาจุนทะสวดโพชฌงค์ให้ก็สดับ ทรงหายจากอาการประชวร คิริมานนทสูตรก็พระคิริมานนทสูตรเกิดป่วยทรมานมากพระอานนท์ไปกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าให้เสด็จไปเยี่ยมพระคิริมานนทสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า “เอาอย่างนี้เถอะอานนท์ เธอไปกล่าวสัญญา ๑๐ ประการ ให้พระคิริมานนทสูตรฟัง ฟังแล้วจะหายป่วยทันทีเลยได้ พระพุทธเจ้าสวดสัญญา ๑๐ ประการให้กับพระอานนท์” แล้วพระอานนท์ก็ไปถ่ายทอด พอพระคิริมานนทนสูตรได้ฟังก็หายป่วยเลยวันหลังจะเล่าให้ฟังเรื่อ
พระคิริมานนทสูตรกับโพชฌงค์ประกอบกันทางพุทธไม่ได้ปฏิเสธอะไร อะไรดีอะไรเหมาะก็ทำประกอบกันหลายอย่าง
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ผมอยากเติมนิดหนึ่งไม่ทราบว่าท่านอาจารย์ประเวศ วะสี ท่านอาจารย์จำได้ไหมตอนที่ท่านอาจารย์พุทธทาสอาพาธหนัก ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นช่วงที่บวชที่สวนโมกข์พอดีตอนนั้นท่านเกิดอาการ pulmonary edema น้ำท่วมปอดหายไม่ได้แล้ว นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ ก็อยู่ในตอนนั้น สิ่งที่ผมพบท่านอาจารย์พุทธทาสอยู่บนม้านั่งหายใจช้ามาก pulmonary edema รู้กันอยู่ในวงการแพทย์คนไข้จะเอะอะโวยวายมากเพราะว่าหายเข้าใจก็ไม่ได้ไปเปลี่ยนออกซิเจนคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ท่านนั่งสงบมากจนสุดท้ายเมื่อมีการปรึกษากันเสร็จ ขบวนการนี้มีการเดินมาแล้ว ๓ วัน พอถึงขั้นนั้นก็ต้องขออาจารย์ฉีดยาแล้วเพื่อขับน้ำออกให้หมด เสร็จแล้วท่านก็ค่อย ๆ คลาย ผมก็กราบท่านอาจารย์พระพุทธทาสว่าทำไมถึงไม่ยอมให้เราทำอะไรพักใหญ่อย่างนี้ มันทรมานก็รู้อยากรู้ ผมรู้สึกว่าท่ายฝึกเพื่อยากรู้เวทนาเหมือนกันว่าเป็นอย่างไร จัดการอย่างไร ผมก็เลยบอกว่าถ้าสิ้นละอาจารย์ อาจารย์บอกว่าสิ้นก็จบ แต่สิ่งที่ท่านตอบอีกคำหนึ่งผว่าสุดยอดเลย “สอนคนมาเยอะโอกาสที่จะรู้จริงไม่ค่อยมี” ถ้าเรียนรู้แล้วเกิดไม่ตายก็จะได้มาสอนถูก ว่าจะทำอย่างไรต่อ ตอนนั้นผมยังไม่ศรัทธาเท่าไร เพื่อเติมประเด็นจริง ๆ ระงับได้แค่ไหนหรือจริง ๆ ก็ไม่ได้ระงับแต่ก็รับรู้ อยู่กับมันแล้วก็วางจิตไว้ที่อื่น คือ ไม่ได้หายด้วยเหตุนี้หรอก
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ท่านอาจารย์เทสก์ เทสรังสี หลวงศิษย์หลวงปู่มั่น เมื่อสมัยหนุ่ม ๆ ท่านไม่สบายมาตรวจที่โรงพยาบาลศิริราช พบว่าน้ำท่วมปอดแพทย์ก็ยังไม่ทำอะไร ท่านก็บริกรรม “พุทโธ พุทโธ พุทโธ” ทั้งคืนจนจิตสงบใช้คำว่าพุทโธอย่างเดียว ลุกขึ้นเช้าน้ำแห้งหายไปหมดเลย ตอนหลังจะพูดว่ากระแสจิตไปมีผลต่อวัตถุได้อย่างไร เพราะวัตถุกับพลังงานมีการเปลี่ยนกันไปมาได้ตามสมการของไอน์สไตน์ ในตัวเรามี molecular อยู่เป็นจำนวนมาก ทุกอะตอมมีแสงซ้อนอยู่ในนั้นจิตถ้าฝึกไปจะเปลี่ยนตรงนั้นได้ จิตมีผลต่อวัตถุได้ ทำได้ทุกอย่างเรื่องมหัศจรรย์ต่าง ๆ เรื่อง Miracle
คุณจิรา บุญประสพ : มีการอธิบายเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร มีการอธิบาเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรว่าทำไมถึงเปลี่ยน
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ตอนหลังอธิบายเอาฟิสิกส์เข้ามาอธิบาย quantum physics มาอธิบาย
คุณจิรา บุญประสพ : เรียนเชิญพระครูสิทธิสรกิจ
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : จากคำถามที่โยมถามมีข้อมูลต่อเสริมจากอาจารย์หมอประเวช วะสี และอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช เวลาที่คนหลับ ที่เป็นคนป่วยแล้วคนป่วยหรือเวลาที่เราป่วยเราหลับเราปวดไหม เวลาที่หลับเราจะไม่ปวด อาการป่วยยังอยู่ไหมอาการเมื่อย อาการเมื่อย เคยมีไหมเวลานอนตื่นขึ้นมาแล้วแขนชา ขาชา เคยเจอภาวะนี้ไหมครับ ถามว่ามันชาเพราะเราตื่นหรือว่าชาก่อนหน้านั้นเราตื่นมาก็รู้ว่ามันชา รู้ว่าใจไม่ทรมานหรือไม่ไปวุ่นวายกับอาการเจ็บป่วยได้จริง ว่าจะทำอย่างไรให้อยู่ในภาวะนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องมีการฝึกฝน การเข้าไปกำหนดอย่างไรที่จิตของเราว่างเว้นจากภาวะปวดหรือป่วยนั่นนะ มันกลับเข้ามาเบียดเบียนมันอาจจะยาก แต่เป็นช่วงของการฝึกของเราทุกคน เมื่อฝึกไป ฝึกไป เป็นเรื่องที่ต้องทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ก็อยู่ระหว่างการฝึก คงไม่ได้บอกว่าถ้าอย่างนั้นฉันทำได้ทันที หรือพวกเราทำได้ทุกคน การเตรียมความพร้อม การให้เวลาฝึกฝน การบ่มเพาะจึงเป็นเรื่องสำคัญ ว่าวันหนึ่งเมื่อเกิดภาวะเหล่านี้ขึ้นมาที่มีความบีบคันมาก ๆ ที่ป่วยมาก ๆ ที่ทุกข์มาก ๆ แต่เราสามารถดำรงคงอยู่ร่วมกันได้ ถ้าไม่เคยฝึกว่ายน้ำเลย แล้ววันนี้ก็ตกน้ำก็จม แต่ถ้าเราฝึกว่ายน้ำเราว่ายได้นะ แม้จะว่ายแล้วไม่ได้อยู่ในท่าที่สวยงาม แต่เรารอดเราพอพยุงตัวได้ กลืนน้ำเข้าไป ๒ อึกแต่รอด คือ เราไม่ได้ไปอยู่ใต้บาดาลเลย
ส่วนที่ถามว่าทางการแพทย์มีการให้มอร์ฟีนทำให้เรามีการสะลึมสะลือหรือหมดสติไป หลับไป ครึ่งหลับครึ่งตื่นแล้วไม่สามารถกำหนดสติได้ทางพระว่าอย่างไร ทางพุทธว่าอย่าไร ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งใดที่ทำให้เราขาดสติสิ่งนั้นก็ไม่ได้ให้ประโยชน์กับสติ นั่นคือเหตุว่าทำไมสุราเมรัย ศีลห้า ก็ไม่ได้เบียดเบียนทำนร้ายใคร แต่การที่ดำรงสติอยู่ไม่ได้ทำให้ความไม่แน่นอนในชีวิตสูง เวลาที่เราหลับหรือใกล้จะหลับภาวะจิตตอนนั้นของเราเป็นกุศลหรืออกุศลในเมื่อเราไม่เคยฝึกหรือไม่เคยทำให้มันอยู่นภาวะที่ตั้งมั่นในความเป็นกุศลก็จะไปตามเหตุปัจจัยนั้น ๆ เป็นเหตุว่าทำไมเราหลับเราก็ฝันในเรื่องที่แตกต่างกันบางวันฝันคิดดีอยู่ในฝัน บางวันฝันคิดไม่ดีอยู่ในฝัน ฝันแล้วโกรธในฝัน ใครเคยฝันแล้วมีความโกรธในขณะที่ฝันอยู่ไหม อาตมาเคยนะฝันเรื่องโน่นเรื่องนี้มันโกรธจริง ๆ ภาวะที่เราไม่ได้ควบคุมกำหนดจิตจิตไหลไปตามเหตุปัจจัยที่มันปรุงโดยธรรมชาติ แต่คุณภาพของใจเราที่คุ้นเคยเป็นภาวะนั้นมันถึงไหลไปสู่ที่ต่ำเวลาฝันอยู่ในคามคลืบเคลมเรื่องน่าหลงใหลใจก็หลงยินดีไปในรูปรส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ใช่ที่เป็นกุศล ดังนั้นเวลาที่มีการใช้มอร์ฟีนในแง่ของการรักษา ถ้าเป็นเรื่องจองการดูแลรักษาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เป็นวิธีทางการแพทย์ที่ทำให้คนลดบรรเทาจากความรู้สึกเจ็บปวดจะทำให้คนมีความสุขมากขึ้น อันนี้เป็นวิธีคิดทางการแพทย์ที่ทำให้คนมีความสุขมากขี้น แต่ความสุขมากขึ้นของแพทย์เป็นคนละเรื่องกับของจิตแล้วแต่เป็นเรื่องของกาย โลกทัศน กาย การเข้าใจชีวิตจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้ามองว่าทั้งหมดนี้คือชีวิต เหมือนตะวันตกหรือเหมือนในบางคติหรือบางศาสนา บางลัทธิ ไม่มีการเวียนว่ายตาย เกิด ตายแล้วหมด แล้วชีวิตนี้ก็ไม่ต้อทำอะไรอีกเดียวพระเจ้ามารับไปก็เลยไม่ต้องเผาเพราะเผาเดี๋ยวไม่ไม่อะไรไปอยู่กับพระเจ้า ท่าที่ต่อชีวิตทั้งหมดเป็นสิ่งสำคัญเพราะว่าเป็นการที่เราตั้งข้อสังเกตและปฏิบัติต่อมันอย่างไร คือ การมองโลกอย่างไร เราถ้าเรามองการที่จิตเป็นกุศลหรือว่าเป็นอกุศลเป็นสิ่งสำคัญ เราให้ความสำคัญและก็ฝึกกับมัน
แต่ถ้าเรามองว่าไม่เป็นไร ไอ้จิตอะไรเนี้ย ก็เป็นความเห็นของฝ่ายศาสนาพุทธหรือเปล่า คือ เป็นความเชื่อชนิดหนึ่งไม่ใช่ความจริงถ้ามองแบบคนไม่เข้าใจเรื่องของจิต อาตมาเคยคุยกับฝรั่งพออธิบายว่าเรามีการเวียนว่าย ตาย เกิด เขาไม่เข้าใจเพราะว่าเขาไม่อิน เพราะเขามองว่าร่างกายที่ตายไป คือ หมดก็คือจบ มาพูดเรื่องอะไรการเวียนว่าย ตาย เกิด เพราะฉะนั้นท่าที่ของเราที่จะจัดการ ทำไมเราต้องรู้ว่าทุกข์คืออะไร ทำไมเราต้องรู้ว่าเหตุแห่งทุกข์คืออะไร เพราะถ้าไม่มีท่าที่ต่อสิ่งเหล่านี้ ถ้าเกิดอาตมาว่าใครซักคนหนึ่ง “ไอ้แก่” คนนั้นก็โกรธความทุกข์เกิดขึ้นหรือยัง ปรากฏขึ้นแล้วนะ แต้รู้ไหมว่าจะต้องจัดการความทุกข์ที่ไหน ต้องต่อยปากอาตมาไหม นี่คือ วิธึการจัดการทุกข์ ต้องเตะไหมนี่คือวิธีการจัดการทุกข์ แล้วเหตุที่ใจเป็นทุกข์ อย่างนั้นเกิดมาได้อย่างไร อันนี้คือคำว่า “มีการมุมมองต่อการเข้าใจต่อชีวิต” ดังนั้นการที่เราจะมาสนใจเรื่องจิตก็ต้องมีความเข้าใจก่อนว่าจิตเป็นอย่างไร ก็จะไปคล้องกับที่โยมถามว่าจะต้องทำอย่างรไร ถ้าเกิดไม่มีสติดมีการคลืบเคลมไปถ้าในส่วนของการจะสร้างกุศล สร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ใจ แล้วก็สร้างปัญญาก็คงต้องคงไว้
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : พูดถึงเจ็บปวดไม่ค่อยสบายข้อเขียนของท่านอาจารย์พระพุทธทาสหนึ่งในหน้าสองของคิริมานนทสูตรที่สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงพิมพ์ในหน้าที่ ๒ เป็นรายมือของท่านอาจารย์พุทธทาสท่านบอกไว้ว่าอย่างนี้ว่า “ให้ร่างกายปวดเป็นโรคจนตายโห่ง ตายห่า ก็เป็นเรื่องของกาย อย่าให้ใจป่วยไปด้วย ให้ใจนั่งดูกาย การป่วยของกายให้แนบเนียนที่สุด” ตอนหลังผมจะมาอธิบาย ช่วงที่ ๒ ก็บอกว่า “ร่างกายเป็นรังของโรคจะให้มันไม่ป่วยนั้นเป๊นไปไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติของมันเช่นนั้นเอง แต่ใจเราสามารถให้ไม่ป่วยโดยสิ้นเชิงได้” ต้องแยกจากกันให้ดีต้องแยกกายกับใจนะผมจะสอนเพราะว่าเรามีบทเยอะเราอาจจะไม่ได้สังเกต เช่น หนังสือที่คุณหมอบัญชาพิมพ์แจก ๙ พระสูตรในครั้งพุทธกาล ปกติใจถูกกายจับไว้เป็นทาส เขาเรียกว่าใจอยู่ในอำนาจของกาย หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า M body mind ซึ่ง mind ไปผูกอยู่กับกาย กายเป็นโรคก็เลยทุกข์ไปด้วยแต่สามารถแยกให้ใจเป็นอิสระจากอำนาจของกายได้ ต้องลองเทคนิคดูว่าให้กลายเราเหมือนเป็นคนอื่น มีฝรั่งคนหนึ่งชื่อ เอคฮารท์ โทลเลอ (Eckhart Tolle) เขาเป็นคนมีความทุกข์มากเป็นคนหนุ่มจะฆ่าตัวตายหลายครั้งแล้ว มีอยู่วันหนึ่งตอนนั้นอายุ ๒๙ ปี เช้าวันนี้เอาแน่ต้องฆ่าตัวตายแล้วพูดอย่างนี้ “I can not live with my self any longer” ฉันไม่สามารถอยู่กับตัวเองคนนี้ได้อีกต่อไปแล้ว เสร็จแล้วคำนี้ททำให้เกิดการสะดุดกระตุกเอะอย่างนี้อย่างไร I กับ my self คนละคนหรือว่าอย่างไรกระตุกเข้าไปอยู่ในสภาพอีกอันหนึ่งแล้วพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงหลังจากนั้นไม่ทุกข์อีกเลยแก่เขียนเล่าไว้ และไม่ได้อ้างถึงศาสนาพุทธเลย แก่ไม่รู้ไม่เคยเรียนทฤษฎีอะไรเลย หลังจากนั้นพยายามไปศึกษาจะอธิบายได้อย่างไรว่าสิ่งนี้สิ่งที่เกิดกับแก่เป็นคนไม่มีมีทุกข์เลย ไปนั่งที่ไหนก็ไม่มีทุกข์เลยตลอดไปเลย กี่เดือน กี่ปี ก็ไม่มีทุกข์เลยแก่เข้าใจ
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : แก่ทิ้ง mind self
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : I คือ ร่างกาย mind คือใจ ไม่ทุกข์เลยรู้อยู่กับปัจจุบันชื่อ The power of now อยู่กับปัจจุบันขณะในนั้นมีอยู่ตอนหนึ่งบอกพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์คนแรกที่ค้นพบอนัตตา มีแปลเป็นไทยแล้ว
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ในที่นี่มีอาจารย์ท่านหนึ่งเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่เชียงใหม่และบอกว่าไม่เคยฟังธรรมเลย กลัวที่สุด คือ หมอฟัน ท่านทั้งหลายเวลาทำฟันมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง ตอนหลังไปทำฟันไม่ให้กหมอฟันฉีดยาชา เพราะยาชามีความรู้สึกว่าทำให้วุ่นวายมากกว่าการทำสด ๆ แล้วผมก็รับรู้ความปวดปรากฏว่าหมอไม่กล้าทำฟัน หมอไม่กล้าทำฟันเพราะหมอกลัว ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ผมจึงยอมให้ฉีดยาชา คิดว่าส่วนหนึ่งมาจากการจัดการจิต สอง การรับที่จะทนได้
ผู้เข้าร่วมรายการ : สมัยหนึ่งนานมาแล้วครับผ่าตัดด้วยการสะกดจิตไม่ต้องใช้ยาสลบหรือว่ายาอะไรเลยทางการแพทย์คืออย่างไรครับ คือ นักสะกดจิตสามารถสะกดได้แล้วก็ผ่าตัดได้
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : คำถามออกไปทางตรรกะความรู้ ไม่ได้มา อาจารย์ต้องเปิด section เดือนละ ๒ ครั้ง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : มีความเป็นได้ในการสะกดจิตไม่ให้เจ็บ
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : ยังไม่เคยอ่านวิธีการแพทย์โดยการสะกดจิตในการรักษาผ่าตัด ทำให้คนตกไปอยู่ในภวังค์อะไรสักอย่าง คือ ไปอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือจมอยู่กับอย่างใดอย่างหนึ่ง อาตมาไม่ใช่จดจ่อนะ อาตมาใช้คำว่าพาไปจม คือการจมอยู่กับสิ่งนั้นหรือการรับรู้หรือภาวะนั้นก็ไม่ได้รับรู้อย่างภาวะกายอย่างที่บอกเหมือนภาวะของคนหลับไม่ได้รู้สึกอาการ แต่การที่ได้รู้ตัวแล้วมมารับรู้ สัญญาณ สังขาร เวทนาผสมร่วมกันแล้วเจอรับรู้ได้เวทนาปรากฏ ก็ไม่รู้ว่าการเป็นการสะกดจิตด้วย ไม่รู้ใช้นาฬิกาหรือเหมือนหนังสมัยก่อนหรือเปล่านะ นอกจากการทำให้ใจเลือนลอยไปอย่างนั้น มีทั้งการใช้สมุนไพรและของที่เป็นพืช ทำให้เมาทำให้เคลมอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ กระบวนการเหล่านี้เคยมีอยู่แล้ว มันเคยมี เคยใช้ ปัจจุบันอาจมีที่ไหนที่เคยมี เคยใช้ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เกิด คือ การทำให้มีสติ เหมือนตอนที่เราหลับอย่างที่บอก มันไม่รู้สึกแต่สติไม่ได้คงอยู่ด้วย ก็อาจจะได้ในการระงับเวทนา ไม่ใช่ระงับมันเลี่ยงต่อการรรับรู้เวทนา แต่ไม่มีสติที่จะอยู่กับสภาวะของของความจริง แต่ใจที่จะเป็นกุศล
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เรียนเชิญ นายแพทย์สมศักดิ์ ขุณหัรัศมิ์ ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ การซักถามประเด็นหนึ่งหรือสองประเด็น
นายแพทย์สมศักดิ์ ขุณหัรัศมิ์ : อยากเรียนสอบถามประเด็นที่อาจารย์ได้สอนบ่อย ๆ ว่าปฏิบัติธรรมจาการทำงาน อย่างที่อาจารย์ว่าให้เจริญสติ ให้มีความรู้เท่าทันความรู้สึก โมโหหรือว่าอะไรเหล่านี้ ไม่พอใจ เป็นระยะ ๆ มีความรู้สึกว่าดีขึ้นแต่ก็ยังมีข้อจำกัดผมเล่าไปครั้งที่ ๑ ว่า ผมไปถามแม่ไนแม่ชีเรื่องนั่งสมาธิท่านก็บอกว่าไปนั่งซิจะได้ไม่ต้องพยายาม เพราะผมไปหลุดคำว่าพยายาม ผมนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ แต่ไม่อาจถึงอาจถึงขั้นเจริญอานาปานสติ ๑๖ ขั้นอย่างที่เราคุยกัน พบว่าตัวอย่างก็ยังไม่ก้าวหน้า พูดง่าย ๆ ก็คือว่าที่ไม่พอใจคนน้อยลง ไม่พอใจเรื่องต่าง ๆ น้อยลง ดูเหมือนไม่ได้จากอานาปานสติเท่าไร อาจนั่งผิดก็ได้นะ เมื่อสักครู่อาจารย์บอกว่าให้นั่งนับ ๑ – ๕ ให้ได้ ผมก็เคยเข้าออก – เข้าออก ต่อเนื่องกันเกือบ ๒๐ ครั้ง มั่นใจว่าไม่ได้หลุดเลยตอนช่วงนั้นรู้อยู่กับลมหายใจตลอดเวลา ไม่เห็นตัวเองได้ประโยชน์อะไรเลย ในหลายขณะก็ทำอะไรไม่ได้เลย แต่ล่าสุดเนี้ยคนแก่ก็เริ่มปวดเมื่อยตามตัวเวลานอนก็มีความมีรู้สึกว่าทำไมเราจัดการความปวดไม่ได้เหมือนตอนนอนที่พระอาจารย์ว่าเลยสงสัยว่าเราทำอะไรผิดหรือเปล่า หรือต้องนั่งปฏิบัติอย่างไร นั่งอาปานสติอย่างไรหรือเปล่า เพื่อให้เกิดอัตโนมัติมากขึ้นโดยไม่ต้องรับรู้หรือรู้ว่าปวด รู้อย่างเดียวว่าปวดจนกระทั่งนอนไม่หลับต้องลุกขึ้นมาเดินไปเดินมาเพื่อลดความปวดแล้วกลับไปนอนใหม่ แล้วตื่นใหม่อีกในเวลากลางคืน บางคืนก็หลายรอบแบบนี้เป็นต้น มีประสบการณ์หลายอย่างมากที่อยากถามว่าทำไมทำแล้วไม่ได้ผล ประเด็นปิดท้ายผมไม่ค่อยชอบกินยาแก้ปวดแก้ไข ทุกครั้งที่คิดว่าเป็นไวรัสแน่ ๆ ผมนอนห่มผ้ามให้เหงื่อออกเพื่อลดไข้และได้ผลทุกครั้ง อย่างทุกครั้งที่ห่มผ้าทุกทรมานมากจนทนไม่ได้ แต่ผมไม่เคยใช้เทคนิครับรู้นะ เพียงบอกตัวเองว่าทนไปอีกนิดเดียวแล้วจะดีขึ้น เพราะเคยเจอมาแล้ว เพราะบางมี่ก็ต้องรับรู้นะไม่รู้ว่าจะรับรู้ได้ดีหรือเปล่าเพื่อจัดการกับเรื่องไข้ด้วยเพราะล่าสุดเป็นไข้แบบหนักมากประมาณ ๔ - ๕ รอบจนผมเกือบจะเลิกห่มผ้าแล้ว แล้วหันไปกินยาแก้ไข้โชคดีที่มันหายไปก่อน ปฏิบัติมาพอสมควรไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ปฏิบัติผิดหรือเปล่าก็ไม่รู้
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : มีความเข้าใจดีที่คุณหมอสมศักดิ์ถาม ผมก็เคยเป็นเหมือนกันที่เคยเล่าไว้เมื่อครั้งที่ ๑ ตอนหนุ่มผมเป็น “angry young man” โกรธนั่น โกรธนี่ โกรธบ่อย โกรธนาน ที่คุณหมอสมศักดิ์ถามว่าเอ๊ะทำไมยังทำไม่ได้ ทำไม่ได้ก็ยังพึ่งท้อมีความเพียรอันบริสุทธิ์ยังไม่เห็นฝั่งก็ยังว่ายน้ำอยู่ มีความเพียรอันบริสุทธิ์แล้ววันหนึ่งความมหัศจรรย์มันเกิดขึ้นถึงจุดที่มีความพร้อมทุกอย่างแล้วถ้ายังไม่พร้อมมันก็ยังไม่เกิด เกิดแน่นอน และค่อย ๆ เกิดอย่างไม่รู้ตัว อย่างผมเองเปลี่ยนไปคนละคนเลย ที่เจ้าเรือนประจำทุกคน คือ ความหงุดหงิดรำคาญใจ เรียกว่าเป็นเจ้าเรือนมันหายไป นั่นเป็นความโกรธอ่อน ๆ พอหายไปสบายจริง ๆ นะไม่มีหงุดหงิดไม่มีรำคาญ ส่วนความโกรธจะค่อย ๆ แล้วที่เคยโกรธนาน ก็โกรธสั้นลงแต่ก็ยังโกรธอยู่ โกรธสั้นลงเรื่อย ๆ แล้วหนักเข้าก็น้อย ๆ จนไม่โกรธแปลว่าทำต่อไป เริ่มแล้วไปเอาผลทันทีก็ยังทำต่อไป
ที่ว่านอนแล้วไม่ค่อนสบายตัว เจ็บ ปวดเมื่อยตามตัวถ้ายิ่งแก่ยิ่งเป็นมากขึ้น มีคำพูดว่ารอให้เรือร่มแล้วค่อยหัดว่ายน้ำ มันไม่ทันต้องหัดว่ายน้ำเสียก่อน รอให้เรือร่มแล้วหัดว่ายน้ำไม่ทันทำให้จมด้วย เวลาผมไม่สบาย ไม่สบายอะไรก็แล้วแต่ พอมีการเจริญสติอย่างต่อเนื่องพักหนึ่งร่างกายเกิดความ Harmony การไม่สบายทุกชนิดเกิดจากการเสียสมดุลการเจริญสติทำให้เกิดความสมดุล Harmony กายใจ และกับสิ่งแวดล้อมด้วย หายไปหมดเลยไม่ว่าจะเกิดจากอะไรก็แล้วแต่เราก็เลยมีความรู้สึกว่าเรานี่บุญจริง ๆ ไม่อย่างนั้นเราก็แย่เหมือนกัน
ถ้านอนแล้วนอนไม่หลับพยายามนอนก็นอนไม่หลับที่นี่อย่างนี้ ตัวมันเองมันไม่ทุกข์หรอกที่ทุกข์ คือ อยากให้หลับ นั่นคือความอยาก ถ้าไม่อยากไม่หลับก็ไม่หลับถ้าไม่หลับก็สวดมนต์ไปเรื่อย ๆ อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สวดไปเรื่อย ๆ เดียวก็หลับไปไม่รู้ตัว ไม่อย่างนั้นก็ลุกขึ้นนั่ง จิตสงบสุขสบายเป็นสุขไปหมดเลย นอนก็จะมีความรู้สึกว่าสุขทั้งตัวเลย อาจบริกรรมหรือว่ากสวดมนต์ไปด้วยนิดหน่อยว่า “พุทโธ” การรับรู้ความสุขทั้งเนื้อทั้งตัวไปด้วย ลุกขึ้นมาอย่าไปอยาไปให้มันหลับมันก็ไม่ทรมานอะไร ความอยากเดียววันหลังมาพูดถึง ที่เรียกว่าตัณหา สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ตัวทุกข์หรอก ตัวอยากตัวจตัณหาทำให้เกิดทุกข์ ท่านถึงได้พุดว่าทุกข์ สมุทัย คือ ตัณหา ความอยากไปดูซิทุกชนิด สมมุติว่าเราหิว แล้วเราโมโหที่เขาเรียกว่าโมโหหิว เราอยากให้หายหิว ถ้าเราไม่อยากเราก็เฉย ๆ เสีย ควรฝึกดูความไม่อยาก แล้วหมดทุกข์ ก็จะเกิดความเข้าใจ ไม่อย่างนั้นเรียนแต่ทฤษฎีที่บอกว่าทุกข์ สมุทัย คือ ตัณหาก็ท่องได้ ต้องฝึกไม่อยากด้วย หิวก็ฝึกให้หายหิว ไม่หลับ ก็อยากให้หลับ ความยากเป็นความทุกข์ ปัญหาไม่ใช่ทุกข์
คุณจิรา บุญประสพ : ขอกราบพระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ช่วยกล่าวปิดท้าย
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : ชอบประโยคทิ้งท้ายของอาจารย์หมอประเวศ วะสี ที่พูดถึงเรื่องความอยากกับคำว่าทุกข์ ในส่วนของเวลาจะป่วยก็อยากหาย อยากไม่ป่วย อยากไม่เจ็บ อยากไม่ปวด อย่างที่โยมบอกว่าการปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า ต้องไปดูที่ใจที่ปฏิบัติมันอยากจะก้าวหน้าหรือเปล่า ใจที่มันอยาก คำว่าอยาก มันเป็นไฟ มันเป็นความร้อนมันเป็นความต้องการเร็ว ๆ ถ้าในแง่ของความสงบมันไม่มี ขณะที่จุดไฟเผาตัวเองอยู่ที่ไหนก็มีความทรมานทั้งนั้น คำว่าไฟ ก็คือ ความอยากนั่นเองภาษาพระ ก็คือ ตัณหา ไฟ คือ ราคะ ก็จะเป็นข้อสรุปท้ายของวันนี้ว่าในการมใช้ชีวิตแต่ละขณะเป็นการบ้านอีกหนึ่งเดือนที่เราจะมาเจอกัน ลองไปสักเกตความอยาก และหน้าตาของความอยากเราจะจัดการมันอย่างไรได้บ้าง ถามตัวเองจริง ๆ ในขณะที่ใจของเราร้อนรน หรือในขณะที่เราไม่เห็นหรอกว่าร้อนรน ถามก่อนกว่าตอนนี้เรามีความอยากอะไร ฉันต้องเป็นคนดีอยากดีหรือเปล่า ฉันต้องทำไม่ผิดพลาด อยากไม่ผิดพลาดหรือเปล่า ท่าที่ที่จะไปอยู่กับตัวเราเอง ฝากเป็นการบ้านระหว่างนี้ลองไปฝึกอยู่กับความไม่อยาก ลดความอยากอย่างที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี กล่าว เป็นเครื่องมือในการมาเรียนรู้ในครั้งต่อ ๆ ไป ฝากไปถึงโยมที่ฟังอยู่ทางบ้านด้วย
คุณจิรา บุญประสพ : วันนี้การบ้าน ๔ ข้อรวมทั้งของพระอาจารย์ด้วย (๑) ความเข้าใจเรื่องเบญจขันธ์ (๒) อ่านหนังสืออิทัปปัจจยตา (๓) อ่านหนังสือ Power of Now และ (๔) การพิจารณาความอยากของตนเอง
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เรื่องกรสวดมนต์ บริกรรม จงกรม เหมือนยังไม่ค่อยทำก็ได้แค่สุตมยปัญญา ยังไม่ถึงภาวนามยปัญญา ท้ายสุดให้อาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้ทิ้งท้ายอีกครั้ง ผมไปกราบสมเด็จประยุทธ์ ปยุตฺโต เมื่อประมาณปีที่แล้ว ท่านบอกว่ามันต้องยากนะหมอ การระงับอยากอยากแบบตัณหา แต่มีคำอยากอีกอย่างหนึ่งที่เป็นกุศล ฉันทะต้องมีการเจริญให้มากมันต้องยาก ต้องอยากอย่างโน่น อยากอย่างนี้ ถ้าสอนแบบสุดขั้วสุด ๆ แบบนั้นคนก็เลยไม่อยากกันไปหมด อย่าลืมนะหมอต้องให้คนเขาอยากอยากในทางที่ดี
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : การอยากในทางที่ดีตรงนี้ท่านพูดบ่อย เรียกว่า ฉันทะ ถ้าอยากในทางไม่ดีเรียกว่า ตัณหานนต้องแยกกันอย่างนี้ ต้องมีฉันทะ ถ้ามีฉันทะอะไรเราก็จะทำได้ดี ในเรื่องนั้น ๆ ในเรื่องอิทธิบาท ๔
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เดือนหน้าอาจารย์หมอประเวศ วะสี มีโครงอะไรบ้างคนได้ติดตาม
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ในขั้นนี้ขอเป็นเดือนละครั้งไปก่อนทอดเวลาให้ปฏิบัติการบ้าน เพราะว่าเดียวปริยัติขึ้นหน้าไปฏิบัติไปนาน ถ้าต่อไปแล้วปฏิบัติไล่ทันปริยัติ ก็อาจจะเพิ่มเป็นเดือนละ ๒ ครั้งก็ได้ ดูความก้าวหน้า
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : คราวหน้าต้องมีการปฏิบัติกันมากขึ้นไม่ใช่ก็ยังไม่ได้ปฏิบัติเท่าไร
คุณจิรา บุญประสพ : อันนี้เป็นเทคนิคที่เป็นความสุขที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้ให้ไว้ว่าไม่ต้องตั้งคำถามไปลองทำ ๔ อย่างนี้ก่อน แล้วมีวิธีลัดตรงที่ไปสู่ความสุขจริง ๆ
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ปัญหาที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ตั้งไว้ ถ้าหากว่าสนุกกับการฟัง สนุกกับความคิดไม่ได้อยู่กับเนื้อกับตัวแล้งคล่องอยู่กับคำถามแล้วอยากรู้ก็ไม่ได้สัมผัสเอง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี : ตะวันตกนักวิชาการเอาอย่างมานี้ไปเน้นเรื่องการถกเถียงกันอย่างรวันดามีการถกเถียงกัน โหดร้ายมากว่ากันต่าง ๆ นานา ตอนหลังมีคนคิดไม่ใช่อย่างนี้แล้วเรียกว่าสุนทรียสนทนาเน้นการฟังเน้นการฟังอย่างสงบ เดียวจะยาวไป
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เดือนหน้าศุกร์สัปดาห์ที่ ๒ ติดสงกรานต์เริ่มเป็นสัปดาห์ที่ ๓ ศุกร์สัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนเมษายนหลังสงกรานต์ศักราชใหม่พับกันกับล้อมวงสนทนากับหมอประเวศ ครั้งที่ ๔ พุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) สวัสดีครับ