แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : กิจกรรมพุทธวิธีสร้างสุข ครั้งที่ ๒ วันศูกร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ท่านอาจารย์ประเวศ วะสี ได้มีความตั้งใจมาให้ได้ทุกคครั้งในวันศุกร์สัปดาห์ที่ ๒ ของทุกเดือน เมื่อเช้าท่านได้แจ้งว่ากระดูกสันหลังมีความเสื่อม เกิดความปวดร้าวตามแขน ขา และได้มีการภาวนามากทำให้เกิดเท้าบวม นั่งไม่สะดวก ไม่ได้ป่วยหนักมาก รอบนี้ให้ผม และพระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และให้ผม คุณจิรา บุญประสพ ดำเนินรายการ ตรวจการบ้านทบทวนประเด็น และเพิ่มประเด็นใหม่ พร้อมกับฝากการบ้าน
ก่อนการเข้าสู่การทบทวนวิชา ผมขออนุญาตกราบเรียนว่ากิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธานก่อตั้ง หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) พ.ศ. ๒๕๕๐ ตั้งเป็นมูลนิธิเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ หลังจากนั้นมีการก่อการจนสร้างเสร็จเป็นหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) เปิดดำเนินการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อย่างไม่เป็นทางการ และเปิดอย่างเป็นทางการโดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวน ๑๒ ปีที่ผ่านมา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นประธาน ประมาณ ๖ - ๗ ปี ท่านก็บอกก็แจ้งว่าไม่ไหวแล้วหาคนมาทำแทน ผมก็ต่อรองได้สักระยะหนึ่ง ท่านก็เลยไปเจรจากับประธานกรรมการบริหารคนแรกศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย ให้ขึ้นมาเป็นประธานมูลนิธิแทน ในช่วงตอนโควิด-๑๙ ท่านแจ้งว่ามีเรื่องเรื่องหนึ่งที่ได้สะสมประสบการณ์มาตลอดชีวิต ผมได้ถามอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้มาเจอเรื่องอย่างนี้ตั้งแต่เมื่อไร อาจารย์หมอประเวศ วะสี ท่านบอกว่าท่านเป็น “angry young man” อะไรก็ไม่ได้ดั่งใจ วิพากษ์คณะแพทย์ วิพากษ์ที่ทำงาน และก็เที่ยว และท่านอาจารย์ประเวศ วะสี ท่านก็บอกว่าท่านไปปฏิบัติธรรมด้วย เอาเรื่องปลีกย่อยก่อน ยังไม่เอาสาระ เป็นการเกริ่น ท่านบอกว่าท่านไปกับหลายสำนักไปปฏิบัติธรรมกับพระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ไปเจอกับพระรูปหนึ่งชื่อว่าพระมหาอัมพร ปัจจุบันคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) ความเป็นของอาจารย์หมอประเวศ วะสี อายุ ๙๐ ปี ที่แต่ก่อนเคยมีความคับข้องใจ “angry young man” หรือมีความไม่สบายใจ อาจารย์หมอประเวศ วะสี ท่านเคยกล่าวว่าหลังจากนั้นมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ในตอนที่ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ไปที่สวนดอก โดยที่เราไม่รู้จักอะไรเราก็ตามไปฟังเพราะเป็นศาตราจารย์ ทุนอานันทมหิดล และเป็นแพทย์ถวายการรักษาพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยุคประมาณ ๓๐ - ๔๐ ปีที่แล้ว ส่วนใหญ่วงการพระพุทธศาสนาได้รู้จักอาจารย์หมอประเวศ วะสี ในช่วงที่ท่านออกหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “วิธีแก้เซ็งสร้างสุข” ตามแนวพระพุทธศาสนา คนที่พยักหน้าอายุต้องถึง ตอนนั้นอาจารย์หมอประเวศ วะสี มีชื่อเสียงโด่งดังมาก และได้เชิญท่านไปที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปช่วยบรรยายที่ร้านหนังสือ จนเมื่อก่อนโควิด-๑๙ ท่านได้กล่าวว่า “บัญชาพอที่จะจัดได้ไหม อยากนำประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา” ท่านมีอายุ ๙๐ ปีเมื่อปีที่แล้ว มาถ่ายทอดพุทธธรรมที่ได้นำไปใช้ในชีวิต เป็นที่มาของโปรแกรมพุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) ตามแผนเดิมมีจำนวน ๑๒ เรื่อง ๑๒ เดือน เขียนเป็นบทความและทยอยลงในหนังสือหมอชาวบ้าน โดยตอนนั้นบอกว่าจะมาบรรยายที่นี่แล้วค่อยนำไปตีพิมพ์ ประจวบกับการเกิดสถานการณ์โควิด-๑๙ ได้เขียนไว้แล้ว มีการตีพิมพ์จำนวน ๘ ตอน แต่ยังไม่ได้มีการนำมาบรรยาย อย่างเช่น ตอนที่ ๑ อิทัปปัจจยตา ตอนที่ ๒ ชีวิตคือขันธ์ ๕ พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้ทบทวนขันธ์ ๕ มาหมด ตอนที่แล้วอิทัปปัจจยตา ผมก็เตรียมมา ตอนบรรยายท่านกล่าวว่าอย่าไปติดตำรา เอาที่ของจริงดีกว่า อาจารย์หมอประเวศ วะสี ก็ให้ผม คุณจริรา บุญประสพ และพระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ไขกันเอง แต่จะไขอย่างไรได้แบ่งออกเป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ การทบทวนเรื่องเดิม ช่วงที่ ๒ เติมเรื่องใหม่ ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้ให้การบ้านมาแล้ว
วันนี้มีการปรับรูปแบบอีกอย่างหนึ่ง คราวที่แล้วผมกับคุณจิรา บุญประสพ ซึ่งเป็นพิธีกร นักเขียนสารคดีทางโลก เคยทำงานที่คนค้นฅน ทีวีบูรพา ช่วงหลังเปิดเป็นของตนเอง บริษัท พอดี ครีเอทีฟ จำกัด ก่อนมีบริษัท พอดี ครีเอทีฟ จำกัด มีการตั้งกลุ่มชื่อว่า “บุญมีฤทธิ์” คราวที่แล้วผมเป็นคนซักถามอาจารย์หมอประเวศ วะสี และมีอุ้ย บูดาเบลส ผู้ร่วมเสวนา และครั้งนี้ได้นิมนต์พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ท่านเป็นหนึ่งในคณะพระอาสาที่คิลานธรรม การทำงานผู้ที่ต้องการเติมด้านจิตใจ อาจารย์ขยายนิดหนึ่งท่านคือใคร และกำลังทำอะไรอยู่ ช่วยขยายความนิดหนึ่งครับ
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : เป็นหนึ่งในสมาชิกพระอาสากลุ่มคิลานธรรม กลุ่มคิลานธรรมไม่ได้มีเฉพาะพระ มีฆราวาสแต่ด้วยบทบาทหน้าที่ส่วนใหญ่ที่ทางกลุ่มอาสาคิลานธรรมดำเนินการ เป็นการดูแลผู้ป่วยและญาติข้างเตียงที่ป่วยในโรงพยาบาล และขยายมาสู่งานการดูแลคนที่มีความเจ็บป่วยทางด้านใจ คือ ความทุกข์ ไม่ได้เป็นหมอรักษาคนไข้ทางกาย แต่เป็นส่วนขยายในการรักษาคนไข้ทางใจ อย่างสวนโมกข์ กรุงเทพ มีกิจกรรมเปิดคลินิกรักษ์ใจ ช่วงหลังอาจารย์ให้น้ำหนักการดูแลใจของคน เกิดจากเวลาที่เราทุกข์ไม่สบายใจการเรียนรู้ธรรมะเข้ามามีบทบาทในการปรับใช้กับเรา แต่การที่บอกว่ามานั่งเป็นทุกข์ต้องเอาอริยสัจ ๔ ต้องพิจารณาไปตามองค์ธรรม ต้องอิทัปปัจจยตาไหม ปฏิจจสมุปบาทไหม พบว่าทุกครั้งหรือว่าเกือบทุกครั้งที่เรามานั่งคิดถึงข้อหลักธรรมต่าง ๆ ใจยังไม่คลายทุกข์เพราะได้แต่ความคิด เพราะว่าเรียนรู้ผ่านความทรงจำ ไม่ได้ผ่านประสบการภายใน เวลาใคร่ครวญปัญญาไม่ได้ไปด้วย ได้แต่เวทนา สัญญา แต่ปัญญาไม่ได้เกิดองค์ธรรมในขณะนั้น อาตมาจึงมาสนใจการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยา ศาสาตร์ทางตะวันตกก็มีการดูแลจิตใจผู้คน พยายามมีการอธิบายหลายสำนัก ระดับเคมีในสมอง ฮอร์โมนต่าง ๆ สมัยนี้พบว่าคนเป็นโรคซึมเศร้า การเรียนรู้ช้า ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ตะวันตกเป็นนักคิดด้านหนึ่งที่พยายามทำทุกอย่างให้เป็นขั้น เป็นตอน เป็นระบบ สามารถถ่ายทอดพาคนเรียนรู้ได้ ต้องยอมรับระบบการเรียนรู้ในภูมิภาค ยังขาดกระบวนการสร้างการเรียนรู้ ให้เข้าถึงคน เป็นกระบวนการถ่ายทอดความรู้ให้คนจำ เด็กเราจำแบบนกแก้วนกขุนทองอย่างที่เคยกล่าวกันมา
พอมีการนำกระบวนการทางจิตวิทยามาถ่ายทอดผ่านตัวของกระบวนทัศน์ผ่านพระพุทธศาสนา มีครูบาที่ท่านสนใจและศึกษาด้านนี้และมีประสบการณ์ จนเกิดกลายเป็นพุทธจิตวิทยา หรือเรียกว่าจิตวิทยาแนวพุทธ แต่ในท้ายที่สุดไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ตาม ให้เข้าใจตรงกันว่าซึ่งจริง ๆ ก็คือ พุทธธรรม เพียงแต่พุทธธรรมเป็นเรื่องคำสอน องค์ความรู้ แต่ทำอย่างไรให้กลับมาประมวลให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต อาตมาไม่แน่ใจว่าเวทีของเราวันนี้ พาทุกคนกลับมาสังเกตเรียนรู้ พาองค์ธรรมเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผ่านผู้นำบนเวทีนี้ คือ ท่านอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิชอย่างไร เดี๋ยวคงได้ติดตามกัน
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ผมฟังพระครูสิทธิสรกิจแล้ว อาจารย์หมอประเวศ วะสี รู้แน่เลยว่ามีพี่ใหญ่ มีนาบุญมาแล้วได้ยกไม้ให้ ผมเติมนิดเดียวคณะนี้ เป็นคณะพระอาสาคิลานธรรม ใครเคยได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรกบ้างครับ พระอาสาคิลานธรรม เพิ่งรู้เมื่อประมาณ ๖ – ๗ ปีที่แล้ว โดยรองศาสตราจารย์ ดร.โสรีช์ โพธิแก้ว บอกว่า “หมอมีพระคณะหนึ่ง หมอต้องไปทำความรู้จักไว้ เพราะว่าท่านทำสิ่งที่ทำได้ดี และเป็นสิ่งที่เหมาะที่สุด” ท่านอาจารย์โสรีช์ โพธิ์แก้ว ก็เลยปวารณาไว้ว่า “หากพระคณะนี้ใช้อะไรท่านท่านรับใช้ถวายงานสุด” กล่าวโดยรองศาสตราจารย์ ดร.โสรีช์ โพธิแก้ว ผมสอบว่าท่านอาจารย์โสรีช์ โพธิ์แก้ว ถึงเรื่องราวความเป็นมามีความเป็นมาอย่างไร ทางมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหลักสูตรจิตปัญญาศึกษา
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : สาขาวิชาความคิดและความตาย
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : มีพระกลุ่มหนึ่งไปเรียน และบอกว่าเป็นการใช้หลักพุทธศาสนาที่สามารถช่วยได้หมด และอาจารย์โสรีช์ โพธิ์แก้ว กล่าวว่าพระดำเนินการเรื่องนี้เพื่อร่วมกลุ่มกันช่วยกันดูแลความคิดของผู้ที่อยู่ในภาวะทุกข์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะมีการสูญเสีย ตอนคุณแม่ผมจะเสียมีพระคณะนี้ได้ช่วยไป comfort ทั้งคุณแม่ ญาติ พี่น้อง เพื่อให้มีการตั้งจิตที่ดี หากมีความเชื่อเรื่องจิตวาระท้ายเป็นอย่างไร ทำให้ไม่กวนจิตของแม่ พระช่วยทำให้บรรยากาศและเป็นอีกคนหนึ่งที่มาเสริมหนุนให้การดับไปเป็นไปด้วยดี
ภายหลังจากนั้นเป็นต้นมา ใครที่พ่อแม่จะตายจะโทร.มาหาผมเป็นจำนวนมาก ขอพระด่วนโรงพยาบาลโน่น โรงพยาบาลนี้ ท่านมีระบบออนไลน์แล้ว สามารถทำให้การบริหารจัดการมีรถแท็กซี่ มีรถไปรับส่งถึงโรงพยาบาล และอาจารย์ที่คอยถวายข้อมูลเรื่อง surveillance เรื่องการแนะแนวชีวิตในวาระท้ายมี ๒ ที่เป็นครูของคณะสงฆ์นี้ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.โสรีช์ โพธิแก้ว และอาจารย์วิศิษฐ์ วังวิญญู พระอาสาคิลานธรรม ประธานคิลานธรรม คือ พระมหาสุเทพ สุทฺธิญาโณ เป็นรองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยู่ที่วัดสังเวชวิศยารามวรวิหาร เรียนเชิญคุณจิรา บุญประสพ
คุณจิรา บุญประสพ : รอบที่แล้วมีใครมาบ้าง ช่วยยกมือขึ้นนิดหนึ่งค่ะ อาจารย์หมอประเวศ วะสี ให้การบ้านไว้ ๔ ข้อ (๑) สวดมนต์ (๒) บริกรรม (๓) เดินจงกรม และ (๔) เจริญอานาปานสติ
คราวที่แล้วอาจารย์หมอประเวศ วะสี กล่าวถึงเรื่องอิทัปปัจจยตา และเรื่องสุญญตา เป็นการกล่าวไว้เบื้องต้น แต่สิ่งที่จำได้เลย คือ พูดถึงเรื่องความคิด เพราะว่าความคิดทำให้คนเกิดทุกข์ ความคิดมีวิธีการที่ทำให้เราสามารถที่จะทำให้ความคิดหยุดได้ มีการให้เทคนิคที่ง่ายไว้ ๔ ข้อ คือ อาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้ว่ายังไม่ต้องไปหาความคิดหรือว่านิยามกับมันก่อนว่าความคิด คือ อะไร คิดแบบไหนถูกหรือไม่ถูก อะไรที่เกิดจากความทุกข์ แต่ว่าเทคนิคง่าย ๆ ที่ทำให้ก่อนเลยที่ความรคิดกำลังฟุ้งซ่านอยู่ คือ ระงับความคิดด้วยเทคนิควิธีการสร้างสุขง่าย ๆ คือ
(๑) การสวดมนต์ เพื่อทำให้จิตสงบก่อน เข้าใจความไปตามที่สวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวดให้ออกเสียงดัง ๆ ทำให้เราได้ยินเสียงไปถึงจิต
(๒) การบริกรรม จะเป็นพุท โธ หรือว่าอะไรก็ได้ ทำให้จิตมาอยู่กับการบริกรรม
(๓) การเจริญอานาปานสติ การเจริญอานาปานสติทำให้อยู่กับตัวเอง
(๔) การเดินจงกรม เป็นการย้ายจิตทำให้จิตอยู่กับความรู้สึกตัว ที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งที่แล้ว
ความประทับใจส่วนตัว คือ สิ่งที่นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้น อย่างที่นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ได้กล่าวไว้ว่าอาจารย์หมอประเวศ วะสี เป็นอันดับหนึ่งเป็นบุคคลชั้นยอดมาก ๆ ทำไมถึงยังมีความทุกข์อีกก็อย่างที่ท่านได้บอกว่าท่านเป็น “angry young man” โกรธไปกับทุกสิ่งทุกอย่างที่เห็น อะไรก็ไม่ถูกไปหมดระบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล มีความรู้สึกว่าอยากทำให้ดีกว่านี้ ทำไมมันไม่ได้ดั่งใจ ทำให้ตัวเองมีความทุกข์ไม่มีความสุขเลย ทุกข์จังเลย และวิธีที่หลุดพ้นจากความทุกข์ง่าย ๆ ไม่รู้วิธีไหน เริ่มไปหาครูบาอาจารย์ของท่านเป็นอาจารย์แพทย์ในโรงพยาบาล และท่านก็แนะนำพระพุทธศาสนาให้ ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี เริ่มเดินทางไปศึกษาในสำนักต่าง ๆ ในช่วงแรก ๆ จนกระทั่งไปเจออาจารย์พุทธทาสภิกขุ ในช่วงต้น เรียนเชิญคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช ขยายความเพิ่มเติม
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เข้าใจว่าผู้ที่อยู่ในที่นี่มีความจำได้ดี อย่างไรก็ตามเมื่อสักครู่ผมโทร.ไปสอบถามอาจารย์หมอประเวศ วะสี ตรวจการบ้านอย่างไรที่ให้การบ้านไว้ อาจารย์หมอประเวศ วะสี แจ้งว่าไม่มีตรวจไม่มีอะไร ขออนุญาตทบทวน ดังนี้ อันหนึ่ง ออกแบบเดิมเขียนบทความให้อ่านเป็นเรื่องทฤษฎี พุทธศาสนาไม่ใช่พุทธวิธี ไม่ใช่ทฤษฎี อยู่ที่การปฏิบัติ จึงเปลี่ยนโพยใหม่หมด ฝากย้ำพุทธวิธีต้องเป็น “ลัดสั้น และตัดตรง” ท่านหมอประเวศ วะสี ได้ฝากให้ย้ำ ตำรา ปริยัติธรรมต่าง ๆ อาจจะไม่มีความจำเป็นก็ได้ เป็นข้อที่หนึ่ง แต่หัวใจของการลัดและตัดตรง พุทธองค์ท่านก็สอนเรื่องความทุกข์ และวิธีดับทุกข์ จริง ๆ ทั้งหมดว่าด้วยเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ แต่ว่าเรามาอยู่ในโหมดที่คุยเรื่องการสร้างสุข คำว่า สร้างสุขก็เหมือนการดับทุกข์ อยู่ที่การจะมอง การดับทุกข์ คือ การสร้างสุข เป็นการเติมส่วนตัวเองเวลาเราพูดเรื่องดับทุกข์เกี่ยวกับพุทธศาสนา ทุกข์ apposed เวลารุ่นปัจจุบัน จะมีความรู้สึกว่าไม่ชอบ ตอนเด็ก ๆ ผมก็ไม่ค่อยชอบทุกข์อะไรกันหนักหนา อยากมีความสุขมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นคำคู่กัน เพียงแต่ว่าเราจะใช้ apposed ไหน คนรุ่นสมัยนี้อาจแสวงหาความสุขมากกว่า สร้างสุขมากกว่า พยายามหลบหลีกไม่ใช้คำว่า “ทุกข์” ทั้งที่ก็กลมกันอยู่นี้ เรื่องที่ ๒ ทำความเข้าใจเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ และอยู่ที่การปฏิบัติ ท้ายสุดท่านก็บอกว่าใน ๔ การบ้าน ที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี กลว่าวว่าไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องคิดอะไร แค่สวดมนต์ หาคำบริกรรมเพื่อให้หยุดคิด ปัญหาของคนส่วนใหญ่ คือ ชอบคิด ชอบทำความเข้าใจ ชอบหาเหตุผล แต่ถ้าเป็นแบบ apposed ทำไปก่อน สวดมนต์ไป น่าจะเป็นอย่างอาจารย์หมออาจารย์ประเวศ วะสี เหมือนแต่ก่อน ผมคิดว่าตอนที่ท่านเป็น “angry young man” ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ท่านก็พยายามหาเหตุผลอธิบาย หาทฤษฎี หาเหตุผลอธิบาย สุดท้ายกลับมาใหม่ หลุดพ้น บริกรรม เดินจงกรม สุดท้ายถึงค่อย ท่านบอกด้วยนะว่าแม้กระทั่งอานาปานสติหรือสติปัฏฐาน ที่มี ๑๖ ขั้น ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ท่านบอกว่าใช้วิธีลัดสั้นบางก็ได้ โดยท่านบอกว่าถ้าใครยังไม่ได้ทำการบ้านทั้ง ๔ ข้อ ก็ให้ไปทำ แล้วก็เริ่มอ่านอานาปานสติ ท่านให้อ่านอานาปานสติโดยเฉพาะเล่มที่ เล่มที่คลาสสิกของท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี คือ อานาปานสติสมบูรณ์แบบของพุทธทาสภิกขุ แต่อ่านของท่านอื่นก็ได้ ท่านบอกว่าหลวงพ่อลี วัดอโศการาม มีเคล็ด มีสะเก็ด มีเทคนิค พิเศษในฉบับของหลวงพ่อลี หรือของท่านอาจารย์มิตซูโอะ ชิบาฮาชิ ที่ท่านได้เขียนไว้สมัยเป็นพระ มีเคล็ดลับที่น่าสนใจ และคราวหน้าท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี มาเผยเคล็ดลับส่วนตัวในคราวหน้าในวันศุกร์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๖ ท่านพระครูสิทธิสรกิจ ลองคลี่หรือลองไขทั้งหมดทั้งสิ้นนี้
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : อาจจะต้องรบกวนอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช และคุณจิรา บุญประสพ ช่วยในการสอดประเด็นให้อาตมา ระหว่างที่อาตมานึกออกเวลากล่าวถึงอานาปานสติ กล่าวถึงการกำหนดลมหายใจ หรือการกล่าวถึงการบริกรรม ความต้องการของการกำหนดลมหายใจ อานาปานสติ คืออะไร ถ้าเกิดบอกว่าหายใจอย่างไร หายใจเข้า หายใจออก รับรู้อย่างไร ปริยัติใช้ตอนตรวจสอบตอนปฏิบัติ ปริยัติอย่างเดียวแต่ขาดการปฏิบัติ ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าไม่เห็นผลแน่นอน แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติโดยที่ไม่มีการตรวจสอบ อันนี้ก็ไม่รู้ว่าหลงเมื่อไร บางครั้งคิดว่าสิ่งที่เราทำดีอยู่แล้ว ก็ต้องมีการตรวจสอบประเมินอยู่เรื่อย ๆ เป็นไปตามกระบวนพุทธวิจัย ที่ว่าอิทธิบาท ๔ ประกอบด้วย (๑.) ฉันทะ (๒.) วิริยะ (๓.) จิตตะ และ (๔.) วิมังสา คือ การตรวจสอบ ดังนั้นเวลาการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นอาปานาสติก็เหมือนกัน ต้องกลับมาตรวจสอบก่อนว่าการทำของเรา ทำด้วยความเข้าใจว่าอะไร และทำด้วยความมุ่งหมายอะไร การกล่าวถึงอานาปานสติ อาตมาคิดว่าไม่ต้องการบ้านไหมครับ ระหว่างการนั่งฟังก็อยู่กับลมหายใจของเราไปด้วย เราอาจจะสังเกตว่าขณะที่เราอยู่กับลมหายใจไปด้วย ฟังไปด้วยมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรภายในลมหายใจของเรา เป็นสิ่งที่สังเกตได้จากอานาปานสติ บางตนอาจมีความกังวล ถ้าฉันต้องคอยมากังวลลมหายใจ แล้วฉันจะฟังรู้เรื่องไหม การฟังต้องจดจ่ออยู่กับการฟังหรือเปล่า ถ้าบอกแล้วแล้วจะเชื่อหรือเปล่า อาจต้องลองฟังดูก่อนว่าฟังไปด้วย กำหนดลมหายใจไปด้วย กำหนดอย่างง่าย ๆ
ตอนนี้ทุกคนอาจกำหนดอย่างง่าย ๆ หายใจเข้าเป็นอย่างไร ก็ให้รู้ลมหายใจว่าเป็นอย่างไร หายใจออกเป็นอย่างไร ก็ให้รู้ว่ามันเป็นอย่างไร ยังไม่จำเป็นต้องบริกรรมพุทโธ หรือว่าอะไรทั้งนั้น แค่รู้ว่าลมหายใจเรามีอาการอย่างไร ขณะที่ทุกท่านมีการกำหนดรู้อย่างนี้ ลมหายใจเรามีอาการอย่างไร ลมหายใจเข้ามีอาการอย่างไร ลมหายใจออกมีอาการอย่างไร โดยที่ให้เป็นการรับรู้เฉย ๆ ยังไม่ต้องไปปรุงแต่ง ยังไม่ต้องใส่ความคิดให้มันว่ามันจะต้องเป็นอย่างไร เอาให้เป็นอย่างไรก่อน เป็นการว่าขณะที่เราสังเกต ประเด็นสำคัญอยู่ที่การสังเกต ขณะที่เราสังเกต คือ ใจ ใจรับรู้ สติปรากฏ สติเกิดขึ้นจากการสังเกต สติเกิดขึ้นจากการที่รับรู้ เมื่อสติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราได้สังเกตรับรู้ต่อเนื่อง หายใจเข้ารับรู้หายใจเข้า หายใจออกยังรับรู้การหายใจเข้าต่อเนื่องไปอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องก็กลายเป็นความมั่นคง พอมั่นคงก็เรียกสิ่งนี้ว่า “สมาธิ” พอมีสมาธิเกิดขึ้นใจที่ตั้งมั่นก็เกิดความสงบนิ่งมากขึ้น ความมั่นคง คือ ความไม่หวั่นไหว พอไม่หวั่นไหวสิ่งที่เข้ามากระทบในขณะนั้น มันก็ทำให้เกิดการสั่นได้อยาก หรือการสั่นไหวได้น้อย ก็เรียกว่าเป็นสมาธิแล้ว สงบแล้ว เมื่อความสงบและความเป็นสมาธิ มันคงอยู่ ทุก ๆ ขณะที่คงอยู่ การรับรู้ของเราเกิดการแจ่มใส เพราะปราศจากการนำความคิด อารมณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ความจริง ที่เป็นการปรุงแต่งเอา คิดเอา ชอบ ไม่ชอบเข้ามา ขณะนั้นเรียกว่ามีปัญญาไงครับ เรายังไม่พูดปัญญาของการพ้นทุกข์ แต่เราพูดถึงปัญญามันเกิดแล้วละ ปัญญาที่ปราศจากอคติ พอไม่มีอคติปรากฏการตัดสิน ชอบหรือไม่ชอบก็จะไม่เกิด คือ การรับรู้ตามความเป็นจริง คือ การรับรู้ความเป็นจริงเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าพุทธศาสนาต้องการจะสอน ชวนทุกท่านกลับมารับรู้กับความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นอยู่อานาปานสติรวมไปถึงอยู่ในกระบวนทัศน์ของศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่นอนเลย โดยไม่ต้องสงสัย เพียงแต่คิดศีลแล้วว่าฉันไม่ได้ทำอะไรผิด สมาธิฉันจะต้องมี นั่งสมาธิหรือไปเดินจงกรมสักครึ่งชั่วโมง เรียกว่าฉันทำแต่โดยแท้จริงไม่ได้ถูกแยกออกไปขณะใดขณะหนึ่งของชีวิต ปรากฎขณะนั้น คือ ขณะนั้น ขณะไหนที่ไม่ปรากฏก็คือไม่มี เวลาอาตมาได้ยินอาจารย์หมอประเวศ วะสี กล่าวว่าเป็น “angry young man” หลาย ๆ ท่าน เป็น “angry young man” มาก่อน หรืออาจเป็นผู้ประสบกับความไม่พอใจอะไรหลาย ๆ อย่าง อาตมาอยากชวนอย่างนี้ ซึ่งจะสอดคล้องกับอานาปานสติ และต้องมีสติด้วย อาตมาถามว่าถ้ามีคนโดยคบไฟ คว้างเข้ามาในบ้านพวกเราก็ไหม้ ซึ่งที่จะทำในขณะนั้น หรือทำต่อจากนั้นคืออะไร จะไปตามหาคนที่โยนไฟเข้ามาแล้วจับมาลงโทษก่อนหรือว่าจะดับไฟในบ้านเราก่อน ตั้งคำถามแบบนี้ทุกคนตอบว่าดับไฟก่อน แต่ในชีวิตจริงทุกคนไปตามหาคนโยนไฟก่อน ในชีวิตจริงไม่ใช่หมายความว่าคนโยนเพลิง แต่ในชีวิตจริงหมายถึงสิ่งที่ไม่พอใจ จะหาก่อนว่าที่โกรธใครเป็นคนทำ อย่างไม้กวาดวางอยู่ตรงนี้ นาฬิกาวางอยู่ตรงนี้ ถ้าเกิดมีคนเดินไปเตะจะเป็นอย่างไร ก็ต้องถามหาแล้วใครเป็นทำ แต่ไฟในบ้านติดไปแล้ว แต่เราก็จะไปมุ่งหา หรือแม้ว่าเห็นตัวก็ตาม คนนั้นพูดไม่ดีกับเรา คนนี้เบียดเบียนเรา ก็อยากไปจับตัวมาลงโทษ ด้วยการแช่งชักหักกระดูกบ้าง ให้ล่มจม อยากให้โดนด่าแบบฉันบ้าง ฉันอยากให้บ้านแตกสาแหรกขาด ไปทั่วเลยครับ เพราะฉะนั้นโดยพฤติกรรมในชีวิตไม่มีสติที่ต้องมาดู ฉันต้องไปดับไฟก่อน แต่ว่าการที่มานั่งคิดโจทย์ ดับไฟเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : อาจารย์ครับพอดีอาจารย์ใหญ่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ไม่อยู่ เมื่อสักครู่อาจารย์นำ จิต มีสติ มีสมาธินิ่ง จนเป็นสุปัญญาอาจารย์ชวนนั่งสติสักครู่หนึ่ง พระครูสิทธิสรกิจลองโน้มน้าวชวนนั่งสมาธิ induce ไม่ต้องไปทำเอง ชวนนั่งสมาธิ เมื่อสักครู่อาจารย์ได้กล่าวสมาธิสู่ปัญญา บางแง่มุมอาจารย์เอาขั้นแรกก่อนสมาธิสู่ปัญญา เวลาตามสมควร
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : practitioner ไปพร้อมกัน ระหว่างที่มีการฟังไปด้วยบางท่านอาจจะฉันไปนั่งมา ฉันเคยนะ ฉันก็รู้จักนะอานาปานสติ แต่มักจะเกิดความสงสัยว่าถูกหรือยัง อันนี้ใช้หรือยัง อันนี้เป็นสมาธิหรือยัง อาตมาชวนอย่างนี้ มาลองและผู้ชมทางบ้านก็ลองไปด้วยกันได้ หรือผู้มาฟังย้อนหลังอาจ 1 – 2 นาที ลองสัมผัสไปด้วยกันว่าจะลองหลับตาหรือไม่หลับตาไม่เป็นไร ท่วงท่าไม่เป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่สิ่งสำคัญที่สุดให้ทุกท่านลองหันกลับมาดูลมหายใจ
ขณะที่มีลมหายใจเข้า ลองสังเกตลมหายใจเข้า ขณะหายใจออกสังเกตลมหายใจออก การสังเกตสังเกตอะไรบ้าง หมายถึง การเข้าไปรับรู้ รับรู้อาการที่ปรากฏ คราวนี้ถ้าเราไม่มีเครื่องยึด เครื่องจับ เครื่องเกาะ เราก็ไม่รู้ว่าจะสังเกตอย่างไร ในเบื้องต้นไม่ว่าจะเป็นสำนักไหนก็ตาม ก็มักหาเครื่องมือหรือจุดให้เราสังเกต ในที่นี่ชวนให้ทุกคนหายใจเข้า ลองสังเกตลมหายใจเข้าโพร่งจมูกหรือไม่ ไม่ได้ถามว่ามีอาการอย่างไร สัมผัสตอนลมหายใจเข้ามันแตะจมูกเราไหม ขณะที่หายใจออก ลมหายใจได้แตะกับโพร่งจมูกของเราหรือไม่ หายใจเข้าลมหายใจแตะกับโพร่งจมูกตรงไหนที่รูจมูก หรือข้างในจมูก ขณะที่หายใจออกลมหายใจของเราแตะข้างในหลังโพร่งจมูกหรือแตะที่รูจมูกขณะที่ลมหายใจไหลออกมา หายใจเข้าลมหายใจเสียดสีไปกับผนังโพร่งจมูกของเราหรือไม่ ขณะหายใจออกลมหายใจของเราเสียดสีผนังโพร่งจมูกหรือเปล่า หายใจเข้าลมหายใจมีอาการร้อนหรือเย็นเมื่อเทียบกับลมหายใจออก ลมหายใจออกมีอาการร้อนหรือเย็นเมื่อเทียบกับลมหายใจเข้า ลมหายใจเข้าใจเข้ามีการเสียดสีเข้าไปกับโพร่งจมูกอย่างไร ลมหายใจออกมีการเสียดสีกับโพร่งจมูกของเราอย่างไร แล้วก็รับรู้กับลมหายใจลักษณะนี้ด้วยตัวของเราเอง รู้แค่ว่าลมหายใจเข้าแต่สัมผัสเข้าไปอย่างไร รู้แค่ว่าลมหายใจออกแตะสัมผัสโพร่งจมูกออกมาอย่างไร ในขณะนี้ หากลองสังเกตใจของเราไปด้วยเราจะสังเกตได้ว่าใจมีอาการหวั่นไหว หรือถูกกระทบไปกับสิ่งต่าง ๆ น้อยลง เราไม่ได้หวั่นไหวไปกับลมที่พัด เสียงน้ำที่กระทบ เสียงมือถือที่ดัง หรือถ้าเกิดรู้สึกระทบ รู้สึกหวั่นไหว สังเกตดูว่าตอนที่เรารู้สึกวินาทีนั้น วินาทีที่เราไม่ได้สังเกตลมหายใจหรือเปล่า เพราะที่สังเกตลมหายใจอาการผลกระทบจะลดลง อาการหวั่นไหวจะน้อยไป หรืออาจจะไม่เกิดขึ้น
คราวนี้หลาย ๆ ท่าน อาจเกิดความสงสัยได้ว่าฉันทำถูกหรือยัง เป็นสมาชิกหรือเปล่า อาตมาให้ลองอย่างง่าย ๆ เมื่อเราได้อยู่กับลมหายใจมาช่วงขณะหนึ่ง สืบเนื่องมาขณะหนึ่งโดยธรรมชาติของใจจะเริ่มมีอาการนิ่ง สงบ การนิ่งสงบไม่ใช่เพราะไม่มีอะไรทำ ไม่ใช่สงบเพราะวันว่างจากการที่จะมาคิดอะไร แต่เป็นการสงบอย่างคนที่มีกำลังพอของคำว่า “สงบ” อาตมาลองชวนทุกท่านนึกถึงสถานการณ์ของสิ่งที่เราไม่พอใจเล็ก ๆ ที่เคยผ่านมาในอดีต และลองสังเกตว่าเราลองนึกถึงคนที่เขาเคยเบียดเบียนหรือเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจ เอาเรื่องเล็ก ๆ ก่อน ใจของเราที่ปรากฏขณะนี้ต่อเรื่องนั้นมันมีความเดือดร้อน มีความหวั่นไหว เหมือนกับวันโน่นไหม หรือว่านึกถึงขณะที่อยู่กับลมหายใจเข้าขณะนี้ แต่นึกถึงแต่ก็ไม่ได้หวั่นไหวเท่าไร คนที่เราเกลียด คนที่เราไม่ชอบใจ เมื่อเราได้นึกถึงในขณะนี้ เรามีอาการหวั่นไหว มีความไม่พอใจเกิดขึ้นเท่ากับวันนั้นไหม หรือขณะที่เราอยู่กับลมหายใจ แล้วเราก็นึกถึงมันก็ไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไร ถ้าเรานึกถึงเรื่องน่ายินดี ที่เราดีใจที่เคยเกิดขึ้นในหลายวันก่อนหน้านี้ พอนึกแล้วใจของเราที่อยู่กับลมหายใจพลอยลิงโลด ตื่นเต้น อาการเท่ากับวันนั้นไหม หรือมีอาการสิ่งที่ตื่นเต้นน่ายินดีน้อยลงหรือมีอาการสงบ ระงับไปจากความไม่พอใจ ไปจากสิ่งที่พอใจ สิ่งที่ยินดี สิ่งที่อยากได้ ปรารถนา เป็นประสบการณ์เล็ก ๆ ที่ชวนทุกท่านว่าได้สัมผัสกันว่าเมื่อเรารับรู้หรือที่เรียกว่าการกำหนดสติได้ติดต่อ ต่อเนื่อง ในขณะหนึ่ง ใจก็เป็นกลาง กลางจากการรัก การชอบ การเกลียด การหลง ขณะนั้นความสงบก็เป็นพลัง พลังที่มีมากพอ ที่สิ่งต่าง ๆ เจ้ามากระทบแล้วไม่สั่นไหว เหมือนกับภูเขาหินถึงแม้มีลมเข้ามาพัดก็ไม่สะเทือน มีหมามาเหยี่ยวรดก็ไม่สั่นไหวการที่เราอยู่กับลมหายใจนี่เอง ลมหายใจเป็นภาวะธรรมชาติอย่างหนึ่ง ลมหายใจไม่ได้เลือกว่าฉันเป็นคนดี ฉันจึงเข้ามาในจมูกของเธอ ลมหายใจไม่ได้ปฏิเสธว่าเธอไม่เคยมาที่สวนโมกข์กรุงเทพ มาครั้งนี้ครั้งแรกอย่างนั้นฉันไม่เข้าจมูกของเธอ ไม่ได้เลือกว่าคนนี้เป็นคนเก่ง มีความรู้ทั้งหมดเลยเข้าไปรวมกันกับคนคนนั้น แต่เพราะลมหายใจเป็นของกลางเป็นธรรมชาติที่ไม่ได้มีใครเป็นเจ้าของ จะยึดถือเอาเป็นคนเดียวคนเดียวก็ไม่ได้ เพราะไม่มีใครเป็นเจ้าของในโลกนี้ บังคับไม่ได้ บังคับอากาศให้เข้ามาลมหายใจให้ออกไปจากลมหายใจไม่ได้ จะเอาเฉพาะบริเวณไหนไม่ได้ คนที่เกียจหายใจออกมาหายใจมันเหม็นฉันจะไม่สูดลมหายใจเดียวกับเขาก็เลือกไม่ได้ ลมหายใจมีสภาพเป็นสภาวะของกลางของโลกนี้ เมื่อใจเรายึดโยงอยู่กับลมหายใจจึงเป็นน้อมใจของเราไปอยู่กับคลื่นกระแสเดียวกันกับความเป็นกลางของธรรมชาติ ในลมหายใจไม่มีรัก ไม่มีโกรธ ไม่มีเกลียด แล้วเมื่ออยู่กับลมหายใจด้วยวิธีของอานาปานสติ ใจของเราก็ไม่ปรากฏซึ่งรัก โกรธ และเกลียด และถ้าเอื้ออำนวยต่อไปว่าลมหายใจที่เข้ามาในโพร่งจมูกของเราออกไปแล้วไปที่ไหน ระลึกไปที่ลมหายใจที่ไหลออกมากระจายไปบรรยากาศข้าง ๆ รอบ ๆ ตัว หายใจเข้าก็ไม่ใช่ลมหายใจเดิม หายใจออกลมหายใจนั้นก็ฟุ้งออกไปอีก หายใจเข้าทุกครั้งก็เป็นลมหายใจใหม่ หายใจออกทุกที่อากาศนั้นก็กระจายออกไกลออกไป ๆ ไม่ไปไหนไกล แต่อยู่บนโลกนี่แหละ ไหลเข้าไปในลมหายใจเข้าของคนข้าง ๆ ไหลเข้าไปในลมหายใจเข้าของคนที่อยู่ห่างออกไป ไหลเข้าไปในลมหายใจเข้าของคนที่บ้าน ไหลเข้าไปในลมหายใจเข้าของคนที่รัก ไหลเข้าไปในลมหายใจที่เราเกลียด คนที่เราโกรธ ในบรรดาทุกคน ทุกสรรพสิ่ง หายใจออกลมหายใจนั้นทั้งหมดก็เป็นกระแสหนึ่งคนละเล็กคนละน้อย ๑๐ คนที่อยู่รอบข้าง คนนั่นคนนี้หน่อยไหลหายใจออกมา ก็มาร่วมเป็นหายใจใหม่ ที่เข้ามาอยู่ในร่างกาย ลมหายใจจากคนที่บ้านค่อย ๆ ลอยฟุ้งกระจายไปในชั้นบรรยากาศจนมาถึงสถานที่แห่งนี้ แล้วก็เข้ามาในโพร่งจมูกของเรา ลมหายใจของคนที่โกรธ ที่เกลียดก็เช่นกัน ดังนั้นถ้าโกรธ เกลียด ใครสักคน ลมหายใจของใครสักคน เราคงต้องเกลียดตัวเองไปด้วย ขณะเดียวกันถ้าเราต้องการรับลมหายใจของใครสักคนก็เท่ากับรักตัวเองไปด้วย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าขณะนี้ทุก ๆ ท่านมีลมหายใจที่เมตตาต่อตัวเอง ลมหายใจที่เมตตาของทุกท่านนั้นเมื่อฟุ้งกระจายออกไปต่อให้ท่านคิดอะไรก็ตาม แต่ลมหายใจของความเมตตา ปรารถนาดีก็ได้เข้าไปสู่ทุกสรรพชีวิตที่อยู่ในโลกใบนี้แล้วไปด้วยกัน เราทุกคนจึงมีความเสมอภาค เราทุกคนจึงมีความเท่าเทียมในการเป็นธรรมดาของลมหายใจ ถ้าระลึกได้อย่างนี้ เราเห็นว่าจากการสังเกตลมหายใจในขณะต้นที่จมูก พอมีความมั่นคง การไม่เบียดเบียนก็ปรากฏ การมานั่งท่องศีลอาจจะไม่จำเป็น แต่รู้ชัดว่าการไม่เบียดเบียนทำร้ายใคร ไม่ขโมยของใคร คือ การไม่มีจิตคิดร้ายกับใครในขณะนี้ ศีลก็ปรากฏโดยสมบูรณ์ ไม่ใช่ศีลแค่เฉพาะศีล ๕ แต่เป็นกุศลกรรมบถ ๑๐ แต่เป็นการดำรงกับผู้คนอย่างไม่เป็นปฏิปักษ์ และเป็นสันติวิธีที่สมบูรณ์แบบที่สุดในโลกนี้พึ่งจะเกิดขึ้นได้ ไม่มีวิชาความรู้ ไม่มีความเข้าใจไหน ไม่มีอาชีพใด ไม่มีการกระทำอื่น ๆ ที่ขาดจากศีลแล้วเป็นความสงบขสุขได้ หมอที่ไม่มีศีล นักวิชาการที่ไม่มีศีล ทหารที่ไม่มีศีล พระที่ไม่มีศีล ไม่มีใครสงบสุข แต่การที่สงบสุขในขณะนี้ได้ ศีลก็สมบูรณ์ สมาธิก็ปรากฏ แล้วเมื่อน้อมไปสู่กระบวนทัศน์ของลมหายใจอย่างที่ได้อธิบายไว้ ว่าลมหายใจนี้ ธรรมชาติเป็นของกลาง และอาศัยอยู่ร่วมกันกับทุกผู้คน ทุกสรรพชีวิตทั้งต้นไม้ ทั้งสิงสาราสัตว์จึงผูกเชื่อมโยงกันไว้ด้วยกระแสของลมหายใจ เราเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน ความเป็นกัลยาณมิตรจึงปรากฎผ่านสายใยของลมหายใจนี้ ถ้าสังเกตรับรู้พิจารณาไปปัญญาที่ประกอบด้วยสันติสุข สันติวิธี เรียกว่า เมตตา ก็ได้ กรุณา ก็ได้ มุทิตา ก็ได้ อุเบกขา ก็ได้ ย่อมมีปรากฏอยู่ในใจของพวกเราทุกคน
แต่ถ้าท่านใดยังรู้สึกว่ามั่นคงไม่พอ อันแรก คือ ใจกระวนกระวาย ถึงมีความว่าไม่พอ ไม่พอ คือ ไม่พอใจ ให้รับรู้เฉพาะในส่วนที่มีก่อน อย่าพึ่งไปตามหาว่าใครโยนไฟมาในบ้านของเรา แต่ดับไฟในบ้านด้วยการเป่าลมหายใจเข้า เป่าลมหายใจออก ดับไฟของความว่าไม่พอดีของความไม่พอใจของเรา และรักษาบ้านของเราให้ร่มเย็นด้วยการเป่าลมหายใจเข้า เป่าลมหายใจออกอยู่อย่างนี้ นึกได้เมื่อไรก็ทำ แล้วเราก็อยู่ร่วมกันด้วยลมหายใจที่เติมเต็มซี่งกันและกันกับคนรอบข้าง เชิญชวนทุก ๆ ท่านสังเกตไปด้วยและลืมตาขึ้นมาช้า ๆ ขณะลืมตาให้สังเกตภาวะใจของเราไปด้วยว่ามีความเปลี่ยนแปลงจากขณะที่เริ่มต้นเวทีนี้อย่างไร มีความเปลี่ยนแปลงจากขณะที่เดินทางมาที่นี่อย่างไร อาจจะไม่ต้องสงสัยแล้วว่าเวลาสงบต้องทำอย่างไร เวลามีสติต้องทำอย่างไร ไม่ต้องมีใครมาวิพากษ์วิจารณ์นะว่าเมื่อสักครู่ที่ทำไม่มีสติ ฟุ้งซ่านตลอดเวลา ถ้าหากโยมคิดว่าโยมฟุ้งซ่าน อาตมาอยากจะบอกว่า ๑๕ นาทีที่ผ่านมา โยมฟุ้งซ่านไม่ได้ตลอดหรอก ต้องมีช่วงเวลาของความสงบเกิดขึ้นแน่นอน โยมคงไม่ฟุ้งซ่านตลอด ๑๕ นาที
คุณจิรา บุญประสพ : เป็นการทำในสิ่งที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวไว้เมื่อครั้งที่แล้ว ท่านได้กล่าวว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ การปฏิบัติแล้วได้ผล ไม่ต้องนิยามทรัพย์เทคนิค และท่านได้กล่าวไว้ว่า “ประสบการณ์ คือ ของจริง วิชาการไม่แน่ว่าจะจริง เพราะอาจจะเป็นแค่ความรู้”
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ลองชวนท่านทั้งหลายแลกเปลี่ยนกันสักนิด
คุณจิรา บุญประสพ : ขอแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วม ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : มีท่านใดต้องการแลกเปลี่ยน บอกเล่า
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : บอกเล่าประสบการณ์หรือมีสิ่งที่อยากจะแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน
คุณจิรา บุญประสพ : ๑๕ นาทีเมื่อสักครู่ก็ได้นะคะว่ามีความรู้สึกอย่างไรบ้าง
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : หรือแม้กระทั่งนิ่งแค่ไหน และไหวเท่าไร
ผู้เข้าร่วม : ขอสอบถามเมื่อสักครู่นั่งทำสมาธิ ตั้งสติให้จิตอยู่กับกาย ระหว่างนั้นท่านอาจารย์ก็บรรยายเรื่องราวต่าง ๆ สิ่งที่ควรจะเป็น ก็คือ ต้องให้จิตอยู่กับลมหายใจในกายเรา หรือให้จิตเราฟังท่านอาจารย์ไปด้วย มันควนรจะแบ่งอย่างไร
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : อายตนะมีการทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันอยู่แล้ว ขณะที่หายใจใช้บริเวณจมูก ขณะที่ฟังใช้บริเวณหู ขณะที่มองใช้บริเวณตา อาจจะไม่มาถามกันแล้วว่า เวลาที่อาจารย์มองอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช อาตมามองอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช อย่างเดียว หรือว่าต้องฟังอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช พูดด้วย ขณะเวลารับประทานอาหาร ทานข้าวอย่างเดียวเคี้ยว ๆ ไป รู้การเคี้ยว (อาจจไม่จำเป็นต้องรู้ละเอียด) ต้องรับรู้รสชาติไหด้วยไหม เพราะเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้ เจ้าใจว่าในสิ่งที่คุณโยมสอบถาม อาจเป็นข้อไม่มั่นใจหรือสงสัย จริง ๆ ควรให้น้ำหนักกับอะไร เพราะว่าตั้งใจที่จะฟังบางที่ก็ลืมลมหายใจ พอตั้งใจดูลมหายใจก็ไม่ได้ยินสิ่งที่พูดไปแล้ว ไม่ได้กลับมาใคร่ครวญหรือว่าระลึกตาม เป็นความยากในเบื้องต้นของวิธีชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนเลยว่าพอกล่าวถึงเรื่องการกำหนดรู้ลมหายใจหรืออานาปานสติ หรือการกำหนดอาริยาบถต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเวลาทำงาน เวลาพิมพ์งาน เวลาล้างจาน เวลาเดินทาง เวลาสนทนา มันทำไม่ได้ แล้วฉันจะเอาเวลาไหนไปทำในเมื่อวันนี้ฉันต้องใช้เวลาดูซีรี่ส์ ๕ ชั่วโมง ฉันต้องไปคุยกับเพื่อน ๒ ชั่วโมง ฉันต้องไปอ่านหนังสืออานาปานสติ ในระหว่างนั้นฉันต้องไม่ได้ปฏิบัติแน่นอนเลย วันละ ๑ ชั่วโมง โดยแท้จริงลมหายใจไม่เคยหมดออกไปจากเรา ลมหายใจเป็นยาเสพติดชนิดหนึ่ง ถ้าเราไม่เสพมันจะลงแดงถึงขั้นเสียชีวิต
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : สำหรับผมเอง วิธีอย่างที่อาจารย์พระครูสิทธิสรกิจ ทำเมื่อสักครู่ ครูบาอาจารย์บางท่าน เรียกว่า Guided meditations ช่วยโน้ม สิ่งที่ท่านพระครูสิทธิสรกิจบรรยายสำหรับผมพอนิ่งแล้วก็คือ อาจจะไม่จับความแล้ว เพราะบางครั้งเมื่อไม่มีเสียงทำให้ไปทางอื่นได้ เสียงช่วยทำให้นิ่ง แต่เราก็ไม่ได้ไปจดจ่อกับสาระ แต่ก็จะทำให้นิ่ง บางครั้งเมื่อไม่มีเสียงทำให้ไปทางอื่นได้ง่าย เป็นเครื่องในการช่วยประคองจิตไม่ให้ไปที่อื่น มีเสียงฟังอยู่แต่ไม่ได้พุ่งที่สาระแล้ว
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : ขอบคุณอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช สิ่งที่อาตมาไม่ได้กล่าวเมื่อสักครู่ ต้องขออนุญาตคุณโยมด้วย คือ ขณะที่อาตมาพูดรับรู้ อย่างที่อาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช ได้กล่าว คือ การ Guided meditations ให้มีเครื่องสังเกต แล้วก็ให้มีความมั่นใจ ถ้าอาตมาบอกว่าให้ทุกท่านหลับตา ดูลมหายใจ ผ่านไปไม่กี่วินาทีจะมีคนเริ่มสงสัยแล้วว่า อันนี้ใช้หรือยัง อันนี้ถูกหรือยัง แต่พอการมีเสียงนำอย่างนี้ เรารู้สึกไม่ต้องมานั่งสงสัยเอง แต่นึกตาม และระหว่างที่ทำสุดท้ายเป็นภาวะอย่างที่อาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช ได้กล่าวเลยว่า พอมีความชัดเจน หรือการรับรู้ได้ในส่วนของตนเองแล้ว ไม่ต้องการ Guided จากใครแล้ว จึงไม่สามารถให้ใครมาขีดเขียนกำหนดลมหายใจของเราได้ว่า “เมื่อสักครู่ไป ๑ นาทีแล้วนะ จะเปลี่ยนเป็นรู้ลมหายใจยาว ขยับไปอีกหน่อนเราจะรู้ลมหายใจเข้าเป็นอย่างไร รู้ลมหายใจเข้า-ออกสั้นก่อนะ เดี๋ยวเราจะเริ่มรู้ลมหายใจยาว” คือ ไม่สามารถกำหนดเป็นแบบแผนได้ บางท่านด้วยความที่มีความชำนาญ หรือมีความคุ้นเคย พอบอกให้อยู่กับลมหายใจ อาจมีความสงบตั้งแต่วินาทีที่รู้ลมหายใจแรกสัมผัสเลยก็ได้ ขณะที่บางท่านมีเรื่องคุกรุ่น อาจต้องใช้เวลาเป็น ๓ - ๕ นาที กว่าจะเริ่มรู้สึกสงบ เพราะฉะนั้นแพทเทิร์นต่าง ๆ มันไม่สามารถใช้เป็นเกณฑ์สำหรับตัวเองได้เลย วันนี้บอกว่าทำจิตสงบดีพอนั่งอีกวันบอกว่าไม่เห็นสงบเหมือนเมื่อวันก่อน อันนี้เป็นการโยนไฟเข้าบ้านตัวเองแล้ว
คุณจิรา บุญประสพ : ขอแลกเปลี่ยนนิดหนึ่งตัวเองใช้วิธีแบบอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช แต่ว่าถ้าช่วงไหนที่รู้สึกว่าตัวเองมีความฟุ้งซ่านเยอะ ๆ ฟุ้งซ่านมาก ๆ แล้วคิดเยอะ ช่วงนั่งสมาธิเปิดธรรมะนำเหมือนกันค่ะ เสียงครูบาอาจารย์ เสียงหลวงปู่ชา หรือเสียงอะไรก็ตามที่มีความรู้สึกว่าจะโน้มนำจิตให้อยู่กับเสียง สักพักเริ่มหายไป ได้เยินแค่เสียงเฉย ๆ แต่ไม่รู้ความเหมือนกัน หรือบางครั้งเมื่อมีความฟุ้งซ่านหลุดออกก็จะกลับมาอยู่กับเสียงที่ได้ยิน ทำให้เริ่มจับความได้อีกรอบหนึ่ง เป็นในลักษณะแบบนี้ ช่วงที่มีความฟุ้งซ่านเยอะ ๆ ต้องลองดู
ผู้เข้าร่วม (ผู้ชายคนเดิมที่ถามครั้งแรก) : ผมเคยฟังคุณอุ้ย บูดาเบลส เคยกล่าวว่าลักษณะ Guided เหมือนกับการบริกรรม คำต่าง ๆ ก็เป็น Guided แบบหนึ่ง ไม่ควรบริกรรมเราควรจะใช้สมาธิจิตของเราอยู่กับลมหายใจที่เข้าและออก ลมหายใจเราเป็นระบบออโตเข้าออกเอง ส่วนจิตเป็น manual ไปเองได้เหมือนกันไปที่โน่นไปที่นี่จะ merge ระหว่างออโตกับ manual ให้อยู่ด้วยกันนิ่ง ๆ มันต้องทำอย่างไรดี
ระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : อาตมามีเครื่องสังเกตให้อย่างนี้ ความสำคัญที่ว่าไม่ได้จะไปอยู่ในโหมดแบบไหนว่ากำลังฟังปล่อยใจไปกับสิ่งที่ฟังเพลิน ๆ โดยที่ไม่ได้สนใจลมหายใจ หรือจะอยู่กับลมหายใจไม่ได้ยินเสียงเลยหรือเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน หรือทำไปแล้วคิดไปอย่างอื่น สำคัญที่ผลของมัน ดังนั้นการตรวจสอบก็ต้องกลับมาตรวจสอบว่าแล้วในขณะนั้น วินาทีนั้น ที่กำลังรับรู้อยู่กับอะไรก็ตามใจของเราเป็นอย่างไร ถ้าเป็นใจที่สั่นไหวแต่ว่าขณะนั้นที่รับรู้อยู่เนี้ย จังหวะไม่ใช่ ไม่ใช่จังหวะที่นำไปสู่ความสงบ ไม่ใช่จังหวะที่พาเราเกิดสติ แต่ความคิดมันไหลไปอย่างอื่น ดังนั้นทุกอย่าง คือ อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่จะพาให้กลับมาตั้งสติ และ keep คือ การทำสติให้ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง แต่ละในขณะนั้น จนกลายเป็นความมั่นคงปรากฏ เพราะฉะนั้นจะใช้อะไรก็ตาม อานาปานสติมีหลากหลายกระบวนทัศน์ของสำนักหลายสำนัก บางที่เอาภาพนิมิตมาประกอบบ้าง เอาคำบริกรรมเข้ามาใส่บ้าง ที่บอกบริกรรมพุทโธก็มี ถ้าหากไปดูในพระไตรปิฎก ไปดูตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่อง อานาปานสติ ก็ไม่มีคำว่าพุทโธอยู่ในนั้น พุทโธมาที่หลัง เป็นกระบวนการออกแบบ เป็นเครื่องมือการยึดโยงใจ เพราะฉะนั้นเป้าหมายของการยึดโยงใจ ก็ต้องกลับมาที่ให้ใจของเรามีที่ยึด แล้วมีความมั่นคงหนักแน่นสงบขึ้นได้ อะไรก็ตามที่ทำแล้วใช่ มันคือ ใช่ทั้งนั้น แต่ว่าที่ทำทั้งหมดนี้ แต่ยังไม่สงบเลย แปลว่าขณะนั้นทำไม่ใช่
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ซึ่งสุดท้ายของใครก็ของคนคนนั้น ให้คนนี้อธิบายก็เพียงแต่ได้แต่เล่าประสบการณ์ของคนนั้นเป็นอย่างนั้น แต่ประสบการณ์ของคนคนนั้นก็ไปหาเองจนเจอ ด้วยการทดลองฝึกไป
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ตอนแรกอาจเป็นการหาแนวก่อน พอต่อไปก็เป็นกระบวนการของตัวเองที่เหมาะกับจริต เหมาะกับอาการ เหมาะกับเวลาของตนเอง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพัฒนาต่อไป
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : สู่ชั่วโมงที่ ๒ ที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ฝาก ถ้าท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี มาเองท่านจะว่าด้วยเรื่องอะไร เพราะอาจารย์หมอประเวศ วะสี ไม่ได้ follow ตามทฤษฎีที่เตรียมไว้แล้ว ไม่ตามหลักสูตรที่คิดไว้เดิม หลักสูตรครั้งที่ ๒ ชีวิตคือขันธ์ห้า สุดท้ายอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้ฝากมาดังนี้ การเจริญสติ เหมือนที่มีคำถาม และท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ท่านก็กล่าวว่า สุดท้ายตรงไปอยู่ทุกขณะ การฝึกนั่งก็เป็นการฝึกเอง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านเคยกล่าวกับผมบอกกับพวกเราเมื่อปีที่แล้ว มีคำแนะนำอย่างไรบ้าง ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านกล่าว่าที่บอกว่าไปปฏิบัติธรรม มีทวงทำนองมีพิธีการ หรือมีบริบท เช่น ต้องนุ่งขาวห่มขาว ต้องออกาจากบ้านแล้วต้องไปอยู่ตามสำนักปฏิบัติธรรม เป็นเพียงแต่การฝึกเจริญจิตภาวนาเท่านั่นเอง ไม่ใช่การปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมจริง ๆ ต้องทุกขณะ เอามาใช้ในทุกขณะ ครูบาอาจารย์บอกว่าถ้าฝึกลมหายใจทุกขณะอย่างที่เราว่า จนเป็นอัตโนมัติแล้ว หายใจเฮือกเดียวจิตก็ถูกดึงกลับมาแล้ว ให้จิตวางอยู่กับลมหายใจไม่ให้อยู่กับที่พระครูกล่าว หรือไปอยู่กับคำบริกรรม
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : กำลังจะกล่าวว่าแม้ขณะที่อาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช กล่าวเมื่อสักครู่นี้ จากการที่อาตมาได้ให้ทุกท่านได้สัมผัสกับลมหายใจ เวลาพูดอาตมาก็ไม่ได้สังเกต แต่เวลาที่อาตมาไม่ได้พูดอาตมาเป็นผู้ฟัง อาตมาก็ยังอยู่กับลมหายใจ แต่ไม่ได้เป็นการอยู่กับลมหายใจที่ต้องมานั่งเค็นแต่เป็นการรับรู้ขณะที่เราอยู่กับอาการอื่น ๆ ไปด้วย เป็นสิ่งที่ปรากฎจากการที่ ถ้าหากว่าได้ฝึกเป็นสิ่งที่สามารถสัมผัสกันได้จริง ๆ รับรู้กันได้จริง ๆ
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ผมขอเติมประเด็นที่พระครูสิทธิสรกิจได้ช่วยเสริม อาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้บอกว่าจากการบ้านคราวที่แล้ว ๓ - ๔ ข้อ และลองไปสู่ฐานของเรื่องการฝึกจิต ที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ใช้ว่าอานาปานสติที่ท่านพระพุทธเจ้าใช้ และอยู่บนฐานเรื่องสติปัฏฐาน และจนถึงทุกวันนี้ออกมาหลายแอพพลิเคชั่น ผมใช้คำว่าแอพพลิเคชั่น เพราะออกมาใช้หลายแอพพลิเคชั่น สุดท้ายอาจารย์หมอประเวศ วะสี ท่านก็ฝากว่าฝากไปฝึกให้อยู่กับทุกอิริยาบถ และทุกขณะของการดำรงชีวิต ทำหน้าที่การเงิน ปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ เพราะฉะนั้นโจทย์ครั้งนี้ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี น่าจะถชวนให้มาคบคิดกันเรื่องนี้ เรื่องของการฝึกจิตในทุกขณะแห่งชีวิตของการทำงาน ขณะเดียวกันท่านเติมมาอีก ๒ เรื่อง ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ย้ำอีกครั้งว่า “อย่าสนใจทฤษฎี บัญชาอย่าสนใจธรรมะ ๙ ตา” ท่านกลัวว่าจะไปติดเรื่องทฤษฎี ให้เฝ้าดูและดูว่าขณะที่ตามฝึกจิตแล้วก็ทำอะไรไป พบว่าทุกอย่างไม่นิ่ง เปลี่ยนไปตลอดเวลาเลย รู้สึกเองว่าทุกอย่างเปลี่ยน และอย่าพูดว่า “อนิจจัง” แต่นี่คือไม่มีอะไรอยู่นิ่ง เปลี่ยนเสมอ และเปลี่ยนเพราะอะไร เปลี่ยนเพราะโน่น เปลี่ยนเพราะนี่ เปลี่ยนเพราะสิ่งนั้น เข้ามากระทบ ทุกคนควรรู้เองว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีทำให้เกิดขึ้น ทำให้เปลี่ยน สิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกว่าอิทิปปัจจัยตา คือ ให้ทฤษฎีมาที่หลัง ให้สัมผัสเองก่อนว่าสุดท้ายเป็นการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติ แล้วก็รู้เองได้ โดยที่ไม่ต้องบอกว่าเป็นไปตามคำสอน เป็นสิ่งที่ผมขยายความ ทุกอย่างเปลี่ยนมีเหตุและผลของการเปลี่ยนทั้งนั้นเลยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีเหตุ ไม่มีผล เป็นสิ่งที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้แจ้งมา ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ตั้งใจมาถ่ายทอด คงมีเรื่องเล่าประกอบเยอะ สุดท้ายท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี กล่าว่าถ้าเฝ้าตามดูไปเรื่อย ๆ จะเห็นว่าทุกอย่างมีกระแสของการเปลี่ยนเป็นไปตามระบบ เป็นไปตามกระแส อันนี้ท่านไม่ได้พูด ผมคิดว่าถ้าเป็นเรื่องของจิตอาจารย์หมอประเวศ วะสี น่าจะโน้มไปถึงสติจาตุกากบาท แต่ท่านอาจารย์ไม่พูด ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวว่าแค่นี้ก็จะเริ่มยอมรับความจริงว่าทุกอย่างมันเปลี่ยน แค่นี้ก็ได้ ๒ เรื่องแล้ว มีอนิจจตา อิทัปปัจจยตา เมื่อสักครู่พระครูสิทธิสรกิจให้ทุกท่านได้ลองนั่งเจริญสติจนได้สมาธิจิต แล้วจะได้ปัญญา ผมยังคล่องใจวิธีการอธิบายของหลายฝ่ายก็ยังแตกต่างกันมาก ปัญญามาเองจะมาอย่างไร
ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ฝากมาบอกว่าสิ่งที่เกิดเป็นปัญญาความรู้ ทำจิตให้นิ่งไปทำความเข้าใจความจริง ซึ่งประกอบด้วย ๒ ระดับ ระดับที่หนึ่ง คือ ความจริงแท้ตามธรรมชาติ ระดับที่สอง คือ ความจริงที่เราเห็น และสัมผัส ตามที่เราสึกและสมมุติ ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวว่าให้นึกตัวอย่างอื่นก็ได้ แต่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ขอนึกตัวอย่างหนึ่งแบบเด็กคนหนึ่งทำของตกแตก พอทำของตกแตกเด็กก็ไม่เข้าใจอะไรมากมายหนัก มีแต่ว่าของมันแตก ของฉันเสีย ก็จะร้องไห้ เสียดาย ทำให้แตก ๒ ชั้น อันที่หนึ่ง คือ ของแตก อันที่สอง คือ ใจแตก อาจารย์หมอประเวศ วะสี บอกว่าจุดนี้เป็นจุดของการทำความเข้าใจของความจริงใน ๒ ระดับ แล้วจัดการใจของเราอย่างไรต่อความจริงทั้ง ๒ ระดับนั้น ถ้าใครทำความเข้าใจได้ก็จะชั่งมัน มันเป็นเช่นนั้นเอง เห็นไหมตามที่สามโผล่แล้ว คือ ตถตา ท่านพระครูสิทธิสรกิจขยายอะไรต่อไหมครับ
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : ที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวถึงความจริง ๒ ระดับ เป็นเรื่องของปัญญาแบบนั้นจริง ๆ พูดถึงเรื่องใจสงบแล้วเกิดปัญญาก่อน เป็นภาวะรับรู้ตามจริง เป็นปัญญาอย่างหนึ่ง คือ รับรู้ตามจริง และปัญญาอีกอย่างหนึ่ง คือ ปัญญาเกิดจากการบนพื้นฐานของความสงบ การนึก คิด วิเคราะห์ อยู่บนพื้นฐานของความจริงที่ปรากฏ เลยทำความเข้าใจของความจริงที่เป็นเหตุปัจจัยซี่งกันและกันได้ เป็นความจริงทั้ง ๒ ระดับ ไม่ใช่การนั่งหลับตาแล้วปัญญาจะเกิดได้เลยไหม นั่งหลับตาแล้วมัน คือมีทั้ง ๒ ระดับนั้น อันหนึ่งต้องมาใคร่ครวญ ปัญญาที่เกิดจากการใคร่ครวญ พิจารณา อีกระดับหนึ่ง คือ ปัญญาที่รู้ตามจริง อย่างนั้นที่เราบอกว่าจะกำหนดหรือไม่กำหนดก็ตาม แต่พอใจเริ่มสงบ การรับรู้อย่างที่บอกว่าพอใจ ไม่พอใจ คือ เวทนาในส่วนของการปรุงแต่ง ชอบ ไม่ชอบ โกรธ เกลียด จะหายไป คือ ไม่ปรากฏ เพราะใจเป็นกลาง เพราะฉะนั้นเวลาที่รับรู้เหมือนกับว่าอากาศตอนนี้เป็นอย่างไร มีความรู้สึกว่าลมแรงจังเลย แดดจ้าจังเลย อาการเหล่านี้จะไม่มี ก็เป็นเพียงแค่การรับรู้ อันนี้เรียกว่าเป็นตามจริง ปัญญาที่อยู่กับตามจริง คือ จะไม่เป็นการเข้าไปจัดการหรือเข้าไปมีปัญหากับธรรมชาติที่ปรากฏ เกิดขึ้น ตาย แก้ว ตก แตก จบที่แก้ว ตก แตก จะไม่ทำไมถึงตก ทำไมถึงแตก ฉันจะเอาอันนี้กลับมาอย่างไร แต่ความจริงตามเข้าไปคิดวิเคราะห์ ก็ต้องอาศัยพื้นฐานจากตความสงบนี้เหมือนกัน เพราะไม่อย่างนั้นถ้ามีใจที่ไม่สงบจะมีคำว่าชอบ ไม่ชอบ ถูกใจไม่ถูกใจอยู่ นึกถึงคนที่เขาทำร้ายเรา ถ้าตามพุทธศาสนาต้องให้อภัยได้ เราจะต้องเมตตาได้ พอใจสงบเมตตายังไม่มา เลยมีกระบวนการการทำความเข้าใจของเหตุ ปัจจัย ที่ต่อเนื่องกันจนปรากฏ พอไปเห็นเหตุปัจจัยต้องนึก คิด ถามว่านึกคิดไม่ใช่การปรุงแต่งเหรอ ก็ปรุงแต่ไม่ใช่ปรุงแต่งรสชาติให้มันอร่อย แต่นึกคิดไปตามที่ปรากฏจริง ๆ ที่เขาเบียดเบียนเรา ถ้าจะเบียดเบียนใคร คือ เราต้องไม่ชอบใจ ไม่พอใจอะไรสักอย่าง ดังนั้นเขาเบียดเบียนเราเขาต้องมีความไม่ชอบใจอะไรสักอย่าง การไม่ชอบใจนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง อาตมายกตัวอย่าง อาจจะไม่ต้องกับชีวิตของทุก ๆ ท่าน เราเห็นเหตุปัจจัย สมมุติคุณแม่ คุณพ่อ หรือคุณลูก ลูกหลานที่อยู่ในบ้าน ระเบิดอารมณ์ออกมาแล้วก็กระทบเรา เราก็รู้สึกไม่พอใจ ที่เขามีการระเบิดอารมณ์ออกมามีเหตุปัจจัย ไม่ใช่อยู่ดี ๆ มีแมลงสาบเดินผ่านแล้วมาโกรธเรา ก็ต้องมีเหตุอื่น ๆ และเหตุอื่น ๆ ไม่ใช่สิ่งที่เขาสร้างขึ้นเอง แต่มาจากหลาย ๆ เหตุรวมกัน ไม่ใช่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง และบางครั้งก็เป็นผลอยู่ในขณะนั้นของเรา ที่กลายเป็นเหตุปัจจัยหรือว่าก่อนหน้านั้นของเราที่ส่งผลให้เกิดการเคลื่อน กระทบ ฝรั่งเขาเรียก butterfly effect แค่ผีเสื้อกระพือปีกที่นี่จะไปก่อเกิดพายุอีกที่หนึ่ง เป็นวาระของเหตุปัจจัย พูดอย่างนี้ฟังแล้วหายโกรธไหม ถ้าใจยังไม่สงบ แล้วก็ไม่สามารถรับรู้ตามความเป็นจริงของกฎเกณฑ์ธรรมชาติ อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจ ๔ ไตรลักษณ์ เพราะนั้นเป็นธรรมชาติที่ต้องรับรู้ตามจริง นี่พิจารณาไปตามเหตุและปัจจัย
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เรียนเชิญทุกท่านแลกเปลี่ยน เติมเต็ม และระหว่างนี้ผมขอเติมอีกประเด็นหนึ่งในสมถะ วิปัสสนา สมัยปรมณูที่ท่านอาจารย์พุทธทาสมาทำอีกแอพหนึ่ง คือ แอพจริง ๆ อานาปานสติมี ๑๖ ขั้น คือ ๔ ๔ ๔ ๔ ซึ่งมเรื่องของเฝ้าดูกาย เฝ้าดูความรู้สึก เฝ้าดูจิต และฝึกจิต จนถึงขั้นสุดท้ายว่าด้วยเรื่องของปัญญา ทำความเข้าใจเรืองปัญญา ท่านอาจารย์พุทธทาสมาออกแบบเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง สำหรับท่านที่อาจจะอ่านแบบกระชับสั้น พอฝึกจิตให้นิ่งสักระดับหนึ่งแล้ว ก็มาถึงเรื่อง ๔ ขั้นสุดท้าย ด้วยการกระโดดข้ามมาทำความเข้าใจเรื่องความจริง โดยไม่ต้องถึงขั้นที่ต้องฝึกจิตจนมีกำลัง จนมีฌานสมาบัติในระดับที่แก่กล้าถึงไปทำความเข้าใจเรื่องปัญญา ความเข้าใจของผมส่วนตัว บางท่านก็เลยไปติดฌาน เลยสนุกกับฌานไปเลย ที่เขาบอกว่าปฏิบัติแล้วหลุด แต่ถ้ามีจิตใจที่กล้ากระโดดมาทำความเข้าใจเรื่องความจริง ความเป็นไป และกำหนดท่าที่ที่ถูกต้องความจริง สุดท้าย คือ มันเป็นเช่นนั้นเอง ไม่มีอะไรหรอก แม้กระทั่งจิตก็ไม่มีอะไรหรอก ลองไปอ่านเล่มนั้นด้วย บางครั้งไปตามตำราอยากไป ซึ่งตรงไปตรงมาเราอาจจะไม่มีความแก่กล้าพอ อย่างผมไม่แก่กล้าพอ ผมรู้ตัวว่าผมแก้กล้าไม่พอที่ไปถึงขั้นฌานสมาบัติมาก แต่ผมเพียงต้องการความเข้าใจเพียงเพื่อเข้าใจนำมาใช้ในชีวิต แล้วก็มันเป็นอย่างนี้เอง ก็ตถตาเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปเลือกเล่มนั้นดูมันอาจจะช่วยได้ สุดท้ายไปหมดกำลังใจอยู่ขั้นจิตจะหมดกำลังใจ มันไม่ไปถึงไหนเสียที อยากหยิบยกเรื่องนี้มานิดหนึ่ง ผมเห็นคุณคุณวิภาเลิศฤทธิ์ภูวดล กรรมการบริหารหอจดหมายเหตุ อยากฟังคุณวิภา เลิศฤทธิ์ภูวดล สักนิดหนึ่ง คุณวิภาฯเป็นผู้หนึ่งที่มาตามตั้งแต่สร้างหอจดหมายเหตุ ไม่ได้รู้จักมาก่อน สุดท้ายได้เข้ามาช่วยในยกิจกรรมชื่อว่า “เพลินธรรมนำชม” สุดท้ายไปมากกว่านั้นคุณวิภาพ เลิศฤทธิ์ภูวดล ขอตั้งกลุ่มใหม่ชื่อว่า “เพลินธรรมนำปัญญา” อยากฟังแง่มุมของในเรื่องนี้ จิต ภาวนา ปัญญา ขอเรียนเชิญคุณคุณวิภา เลิศฤทธิ์ภูวดล การเรียนรู้เรื่องจิต ปัญญาอย่างไร และคุณวิภาฯได้เข้ามาช่ายหลายโปรแกรมธรรมะกับความเจ็บป่วยได้จริงหรือ เพลินธรรมนำปัญญาในหมู่ยุวชน
คุณวิภา เลิศฤทธิ์ภูวดล กรรมการบริหารหอจดหมายเหตุ : กราบนมัสการพระอาจารย์ อาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช และผู้เข้าร่วมทุกท่าน ขอบคุณคุณหมอมากที่ให้เกียรติ ถ้าถามในมุมที่เข้ามาในสวนโมกข์ กรุงเทพ อย่างที่คุณหมอเกริ่น เข้ามาด้วยความที่คิดว่า “เกิดมาทำไม” อย่างที่เคยเกริ่นไปครั้งที่แล้วว่าเกิดมาเพื่อ พอได้อ่านหนังสือของท่านอาจารย์พระพุทธทาส เราเกิดมาเพื่อเรียนรู้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นอย่างสงบเย็น ได้ขบคิดประเด็นนี้มา วันหนึ่งได้มาที่สวนโมกข์ กรุงเทพ ด้วยเหตุที่ไม่ทราบว่าตอนนั้นมีการสร้าง แต่พาคุณพ่อมาออกกำลังกายที่นี่วันอาทิตย์ ช่วงวัดหยุดก็เห็นกำลังก่อสร้างที่นี่ จนวันหนึ่งก่อสร้างเสร็จ เดินเข้ามาเห็นคุณหมอบัญชา พงษ์พานิช เป็นครูคนแรกที่นี่ ที่พาชมภาพปริศนาธรรม พร้อมกับคุณเต่า เราก็มีความรู้สึกว่าน่าจะทำแบบนี้ได้นะ ถ้าหากเผยแพร่ธรรมในแนวที่ท่านอาจารย์พุทธทาส พูดถึงว่าการที่ให้ธรรมะถ้าใช้วิธีง่าย ๆ เหมือนเมื่อสักครู่ในวงเสวนาก็ได้มีการพูดถึงว่า สั้น กระชับ เหมือนที่ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี กล่าวทำอย่างไร ๔ คำเท่านั้น ไปปฏิบัติ คิดว่าการถ่ายทอดธรรมผ่านภาพ คนจำภาพได้ง่ายกว่า การใช้คำพูดเป็น lecture อย่างเดียว ถ้าเห็นภาพไปด้วยก็จดจำและนำไปปฏิบัติได้ง่ายกว่า เป็นจุดสนใจเป็นจุดเริ่มต้น และอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช ได้จุดประกายทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะมาช่วยที่สวนโมกข์ กรุงเทพ
หลังจากนั้นทำหน้าที่นำชมในขณะที่ทำหน้าที่นำชมภาพไปด้วย ปริศนาธรรมสิ่งที่ได้นอกเหนือจากการเรียนรู้เรื่องปริยัติอย่างที่คุณหมอถ่ายทอด แต่ในความเป็นจริงแต่ละข้อธรรมที่ได้จากภาพปริศนาธรรมทำให้เรากลับมาทบทวนว่า ถึงเวลาที่จะปฏิบัติมากกว่ามาเรียนรู้แค่ปริยัติ ก็เลยเริ่มปฏิบัติแต่ในความเป็นจริงก่อนหน้านั้นก็มีการปฏิบัติแต่อาจจะสะเปะสะปะ และด้วยวิธีที่ยังต้องทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน การที่ได้มาทำงานจิตอาสาก็ต้องมาจัดสรรเวลาในการที่จะมาลงมือกับการปฏิบัติมากขึ้น คำว่าปฏิบัติในวงเสวนาก็ได้กล่าวถึงว่าไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาว หรือว่าจะต้องเป็นรูปแบบอย่างเดียว แต่การปฏิบัติสามารถออกมาได้ในรูปที่เราประยุกต์ การใช้ธรรมะ กับการประยุกต์ในชีวิตประจำวันของเราได้ ทำให้เกิดภาพตอนที่นำชมมาถึงเวลาหนึ่งแล้ว น่าจะแตกงานออกมาให้เป็นรูปธรรมในเชิงที่ใช้คำว่าตามภาษาการตลาดเรียกว่าโฟกัสกลุ่มเป้าหมาย ใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เราควรจะถ่ายทอดธรรม เพื่อให้เน้นเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ตัดเฉพาะกลุ่มเพลินธรรมนำปัญญา ชวนสมาชิกที่เป็นธรรมะภาคีเครือข่ายของ “เพลินธรรมนำชม” ว่าเจาะกลุ่มเฉพาะเด็กและเยาวชนไหม อาจจะด้วยตัวเองเข้าไปอยู่ในกรรมการบริหาร และแนวทางที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย หรือศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงเด็กและเยาวชน การให้การศึกษา มาเจาะกลุ่มเด็กและเยาวชนในการเผยแพร่ธรรม ถ้ามีการเรียนรู้ตั้งแต่เด็กก็เติบโตไปอย่างที่เข้าใจธรรมะที่ง่าย ๆ การออกแบบ เป็นการออกแบบเป็นการออกแบบการประยุกต์ เพราะโดยธรรมชาติของเด็ก เขาเองมาก็ไม่ได้มาตั้งใจฟัง lecture แต่ให้เขาลงมือปฏิบัติกับการเคลื่อนไหวหรือการลงมือปฏิบัติฝึกสติ ฝึกสมาธิ ที่ใช้การเคลื่อนไหว เรียนรู้ทำให้เกิดปัญญา ในการใช่ชีวิตประจำวัน มีคุณธรรม และศีลธรรมเอาไปใช้กับครอบครัวได้ เกิดภาพกลุ่มเพลินธรรมนำปัญญามาทำงานในกลุ่มเด็กขึ้นมา และเยาวชนร่วมถึงในระยะหลังต่อยอดกลุ่มครอบครัวด้วย
อีกกลุ่มงานหนึ่ง “เพลินธรรมนำชีวิต” จากการทำงานไประยะหนึ่งคิดว่ากลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ คือ กลุ่มที่เจ็บป่วย ผู้สูงอายุ ก็เลยเกิดกลุ่มที่โฟกัสกลุ่มที่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ได้รับความเมตตาจากพระกลุ่มอาสาคิลานธรรม และกลุ่มทั้งพระและพยาบาล และธรรมะอาสาอีหลาย ๆ ท่านที่เข้ามาร่วมกันทำสิ่งเหล่านี้ เน้นกลุ่มที่นอกเหนือจากการที่เรียนรู้ปริยัติ ต่อยอดปฏิบัติ มีคอร์สสำหรับการปฏิบัติ ๓ วัน ๒ คืน โดยใช้สถานที่ด้านนอกเพราะว่าพื้นที่สวนโมกข์แห่งนี้อาจจะค้างคืนไม่ได้สะดวกนักสำหรับผู้ป่วย ไปใช้พื้นที่สวนธรรมศรีปทุม บ้านพุฒมณฑา หรือบ้านกานนิสา เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแล ไปทำ workshop ร่วมกัน รวมทั้งกลุ่มอาสา พระอาจารย์ที่เป็นกลุ่มอาสาคิลานธรรมร่วมกัน แล้วก็ปฏิบัติร่วมกันในการฝึก ทั้งสติ สมาธิเพื่อให้เกิดปัญญา ในมุมที่คุณหมอพูดถึงนะคะว่า นำปริยัติ และปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาในการใช้ชีวิตประจำวันให้ได้
คุณจิรา บุญประสพ : พาคนเดินชมอยู่ดี ๆ แล้วอะไรพาให้ก้าวไปถึงปัญญาไม่ใช่แค่การพาชมและรับรู้เฉย ๆ
คุณวิภา เลิศฤทธิ์ภูวดล กรรมการบริหารหอจดหมายเหตุ : กลุ่มเด็กกลุ่มที่มาเขาจะมีพ่อแม่พาลูกมา เด็กก็ไปอีกทางหนึ่ง พ่อแม่ก็อยากฟัง ไม่รู้เด็กไม่ได้สนใจ ในทีมก็เลยบอกว่าอย่างนั้นน่าจะจัดกลุ่มเด็กไหม ประกอบกับคุณหมอบัญชาก็เคย เหมือนที่จัดเหมือนกับโรงเรียนต่าง ๆ อย่างวชิราวุธวิทยาลัย น่าจะมาจัดกับกลุ่มเด็กมากขึ้น ก็คือ มีช่องว่างระหว่างตรงนี้ด้วย จึงได้มาจัดกับกลุ่มเด็ก
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : กิจกรรมพุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) เป็นความร่วมมือของมูลนิธิหมอชาวบ้าน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ และมูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์มาช่วยนการถ่ายทอด วันนี้ก่อนเลิกมีหนังสือมาจากที่พักสงฆ์ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พำนักอยู่ก่อนกลับไปขอรับได้ หนังสือสูตรของชีวิตที่ดี เป็นน้องสาวของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ส่งมาให้ เป็นหนังสืออยู่ในพุทธรรม พจนานุกรมแต่วันนี้พิเศษสำหรับท่านที่มาเวทีเสวนา มีความพิเศษ คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) คัดเฉพาะบางคำ บางหมวด ที่คิดว่าเหมาะต่อยุคสมัยนี้ และพิมพ์เพื่ออภินันทนาการในปีใหม่สำหรับยุคสมัยนี้ ถือว่าเป็นของขวัญจากสวนโมกข์ ส่วนอีกเล่มหนึ่งอาจารย์เสนาะ อูนากูล เป็นรองประธานก่อตั้งหอจดหมายเหตุ ผมไม่รู้ตอนนั้นอาจารย์เสนาะ อูนากูล สนใจธรรมะ ท่านเป็นประธานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน วันหนึ่งได้เจอท่านและเรียนท่านว่ากำลังทำหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ท่านบอกว่าเป็นอาจารย์ท่าน และได้เรียนเชิญอาจารย์เสนาะ อูนากูล มาเป็นรองประธานมูลนิธิ ตอนนี้คณะศิษย์ท่านได้ตั้งมูลนิธิ และจัดพิมพ์หนังสือชื่อ “พุทธธรรม” หลายท่านคงอ่านแล้ว ผมใช้คำว่าเป็นอีกแอพหนึ่ง นอกจากแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ที่เป็นออริจินัล เป็นอีกแอพที่ท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นเล่มธรรมนูญชีวิต เป็นอีกเล่มหนึ่งที่พิมพ์ใหม่ล่าสุดรับที่ห้องสโมสรธรรมทาน เพื่อได้ไปดูนิทรรศการของท่านอาจารย์พระพุทธทาสในแง่มุมของท่านอาจารย์พุทธทาสที่ไม่เคยรู้ ท่านอาจารย์พุทธทาสอ่านหนังสืออะไร เขียนบันทึกส่วนตัวว่าอะไร เช่น ไอ้เงื้อมขี้ชิด ท่านพุทธทาสเขียนว่าตอนเด็ก ๆ เพื่อนเรียกว่า “ไอ้เงื้อมขี้ชิด” คือ เป็นเด็กขี้เหนียว
คุณจิรา บุญประสพ : ขอถามท่านพระครูสิทธิวรกิจทิ้งท้าย
ผู้เข้าร่วม : จากการที่กล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติ การทำสมาธิ การทำให้จิตอยู่ในกายต่าง ๆ นา ๆ ให้เกิดปัญญา อย่างกิจการรมคุณวิภา เลิศฤทธิ์ภูวดล ก็น่าสนใจในกิจกรรมที่ให้กลุ่ม target group กลุ่มต่าง ๆ มา Implement เรื่องราวปริยัติมาใช้ในชีวิตจริง ส่วนตัวผมเองก็มีการศึกษามาประมาณหนึ่ง พบว่าจาการฝึกสมาธิ เจริญสติปัญญาเข้าคอร์สตต่าง ๆ นา ๆ ดูเหมือนนำพาให้เราสามารถให้เหมือนจิตเราสงบและนิ่ง ควบคุมจิตไม่ให้ไหลไปโน่นนี้ ให้จิตอยู่กับกลายได้ แต่ผมมีรำถามกับตัวเอง คือ ทำเสร็จแล้วได้อะไร ทำไปเพื่ออะไร ขอแค่นี้ครับ
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : กราบเรียนพระครูสิทธิสรกิจ และถ้าหากว่าไม่ได้คำถามต้องไปทำเอง
ผู้เข้าร่วม : หนังสือ ๔ ขั้นตอนสุดท้ายคืออะไรครับ เพื่อได้กลับไปอ่าน
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : สมถวิปัสสนาแห่งยุคปรมณู
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : ขอบคุณสำหรับคำถาม ทำเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร ทำเพื่ออะไรถ้าในส่วนของทำเพื่ออะไรคำตอบมาจากคนถาม คำถามไม่ใช่หมายถึงโยมคนเดียวแต่หมายถึงพวกเราทุกคน การที่เลือกที่จะทำ นั่นหมายความว่าคงมีความตั้งใจอะไรสักอย่างหนึ่งที่ต้องการจะหา จะเรียกว่าเป็นคำตอบของในสิ่งนั่นแหละ ก็เลยมาลองหรือว่ามาสัมผัสมาเรียนรู้กับกระบวนการวิธีนี้ โดยหวังว่าจะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่าทำเพื่ออะไร ภายใต้ทำเพื่ออะไร บางคนบอกว่าชีวิตฉันไม่มีความสุขเลย ฉันอยากหาวิธีอย่างไรให้ชีวิตฉันมีความสุข ฉันกำลังทุกข์มาก ๆ เลยกับสิ่งนี้ ฉันเลยหาวิธีอะไรที่เป็นคำตอบทางออกของสิ่งนี้ ฉันอยากเพิ่มความสุขในชีวิต ฉันก็เลยมาหาวิธี ดังนั้นทำเพื่ออะไรทุกท่านมีคำตอบที่แตกต่างกัน แต่เป็นคำตอบที่อยู่ที่มาจากของการที่ไปทำของทุกท่าน ไม่ได้บอกผลจะได้เหมือนกันหรือเปล่า บางท่านไปทำแล้วอาจจะไม่ได้ผล แล้วก็ไปเลือกกินอย่างอื่นใหม่ ไปเลือกชิมอย่างอื่นใหม่ อาจจะเลือกไปลองศึกษาดูทางของศาสนาคริสต์มีอย่างไรบ้าง ศาสนาอิสลามมีอะไรบ้าง ดังนั้นรูปแบบคำสอนถ้าฉันไม่อย่างศาสนาเลยจะมีอะไรได้อีก คือ การตามหาคำตอบให้กับชีวิตที่ทุกท่านตั้งคำถามไว้ ถ้าถามว่าเพื่อะไร ทุกท่านมีคำตอบอยู่ในตนเอง
ทำแล้วได้อะไร? เราก็หวังว่าจะได้เป็นคำตอบในข้อนั้น ส่วนว่าไปทำแล้วได้เป็นคำตอบข้อนั้นหรือเปล่าอันนี้ไม่แน่ใจแล้ว เพราะขึ้นกับประสบการณ์ของแต่ละท่าน บางท่านอาจจะถูกใจแล้วเป็นคำตอบ อาตมาไม่ปฏิเสธนะว่า บางท่านได้มาอ่านหนังสือศึกษาตามแนวของหลวงพ่ออาจารย์พุทธทาสแล้ว เนี้ยคำตอบชีวิตที่ฉันค้นหา คำตอบของอะไรบางอย่างที่ missing หายไปจากชีวิตของฉัน แต่บางท่านมาอ่านแล้วรู้สึกว่าอันนี้ก็รู้อยู่แล้ว อันนี้ฉันก็คิดได้ ฉันต้องการอะไรที่ฉันขาดหายที่ฉันไม่มี แต่ไม่ใช่อันนี้ เพราะฉะนั้นคำตอบไม่มีไปทำอะไรแล้วจะได้คำตอบนั้นอย่างตายตัว แต่เราทุกคนกำลังตามหาคำตอบ และเราก็กำลังมาเรียนรู้ว่าวิธีนี้ สิ่งนี้ไปสู่คำตอบที่เราต้องการได้หรือเปล่า
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ผมขออนุญาตตอบต่อ ผมในฐานะที่ไม่ได้เป็น “angry young man” แต่เป็น “crazy young man” ตอนที่เป็นนักศึกษา ผมเคยเล่าตอนที่ตัวเองไปเรียนแพทย์ มีความรู้สึกว่าไม่ธรรมดา ยุคนั้นเรียนมหาวิทยาลัยในปี 2518 ยุคนั้นเป็นยุคมาร์กซิสม์ (ลัทธิมากซ์ : Marxism) มองทุกอย่างมีเหตุมีผล ต้องพิสูจน์ได้ มีความรู้สึกว่าในพุทธศาสนาที่สัมผัสพิสูจน์ยาก มีมุมมืดอธิบายไม่ได้ต้องไปสัมผัสเอง ต้องลองทำเอง มีคำตอบที่ชัด ๆ ไหม สุดท้ายทฤษฎีมาร์กซิสม์ชัด มีวิทยาศาสตร์ และ methodology และ proviant เห็นชัด แล้วบอกว่าวิทยาศาสตร์สังคมาร์คซิสม์คือคำตอบ ไปสมาทานและเลิกถือพุทธศาสนา เข้าชมนรมพุทธบรรยากาศซึมกระทือ นั่งสมาธิตลอดมีอะไรอย่างอื่นที่มันกว่านี้ไหม พระที่ธิเบตเวลาปุจฉาวิสัชนาสนุกมากตบมือกันสนุกสนานมาก แต่ฝ่ายไทยต้องสำรวมอย่างเถรวาท จนจบมาทำงานด้วยความรู้สึกที่เรียนมาทางการแพทย์ รู้หมดเพราะมีเรียนจิตวิทยาร่วมด้วย จิตวิเคราะห์ จิตบำบัด ตอนทำงานอะไรไม่ได้ดังใจเยอะมาก ตอนแรกเป็น “angry young man” ผู้ป่วยน่าเบื่อมาก พูดไม่รู้เรื่อง สั่งให้ทานยาก็ไม่ยอมทาน พอสั่งยาให้ทานไม่เชื่อไปหาหมอที่ ๒ หมอที่ ๓ เพื่อหา second opinion หา third opinion สุดท้ายมาหาผมแล้วบอกว่าทำไมยาหมอถูก “ยาหมอต้องกระจอกมากเพราะถูก ยาหมอนี้ต้องหลายพัน ยาของหมอไม่กี่สิบบาทจะหายเหรอ” ผมนำยามาวิเคราะห์เป็นยาตัวเดียวกัน แต่แพทย์อีกท่านมีศิลปะในการ value added ทำให้มีความรู้สึกว่าแพง ศักดิ์สิทธิ์ หายแน่ ทำให้หงุดหงิดไปหมดถึงจังหวะหงุดหงิดนั้นก็ไปเขาโบสถ์คริสต์ ไปวัดก็ไม่รู้เรื่อง ไปสวนโมกข์ก็ไม่รู้เรื่อง เอาหนังสืออาจารย์พุทธทาสมาอ่านก็ไม่รู้เรื่อง ไปโบสถ์คริสต์ก็ไม่รู้เรื่อง ไปสุเหร่าก็ไม่รู้เรื่อง สุดท้ายเพื่อนคนหนึ่งบอกว่า “หมอก่อนจะบ้าลองไปบวช” ผมลองบวชและก็แค่หาอะไรมาใช้ในชีวิต ไม่ต้องการที่จะบรรลุอะไรทั้งนั้น พอไปบวชทำให้ค้นพบว่าชีวิตไม่ใช่มีแค่เรื่องร่างกายหรือจิตใจเท่านั้น มีอีกมิติหนึ่งถ้าอ่านที่ท่านพุทธเจ้าให้ไว้ คือ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ต้องดูแลผมใช้คำว่า Physical mental และ intellectuals คือ spiritual ให้ครบทั้ง ๓ อย่าง ชีวิตประกอบด้วยทั้ง ๓ ส่วน วันหนึ่งได้ถามดาไลลามะ เป็นคนไร้แผ่นดินแล้วทำไมคนทั้งโลกคลั่งไคล้พระองค์นัก พระองค์ทรงตอบว่า “ศาสตร์ทางด้านพระพุทธศาสนาไปบอกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง mind management” โลกตะวันตกเรื่องวิทยาศาสตร์ด้านจิตมีความล้าหลังมาก แต่วิทยาศาสตร์ด้านจิตที่อยู่ในพุทธศาสนาลึกซึ้งมาก ไม่ใช่ความสัมพันธ์แค่กายแล้ว แพทย์เรียนทางด้านกายและจิตแค่จิตวิทยาแบบพื้น ๆ ยังไม่ได้ไปถึงจิตปัญญาอันลึกซึ้ง ปรากฏว่าคำสอนในพุทธศาสนามีอันนี้ อาจารย์พุทธทาสได้ขยาย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ในพุทธธรรมถ้าอ่านให้ดี ท่าน Re arrange ใหม่ไม่ได้เริ่มด้วย text เริ่มต้นด้วยคำถามว่ามีชีวิตดีได้อย่างไร ก็จะมา apposed ตอบว่ามีไปทำไม tools ในพุทธศาสนาเอาไปใช้อะไรได้บ้าง ผมตอบกลับว่าฝึกไปทำไม? ฝึกเพื่อลองสัมผัสบางอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ เสร็จแล้วไปอ่านเพื่อเอาทฤษฎีที่ลึกซึ้งขึ้น แล้วก็ไปต่อว่าเป็นอย่างนี้เอง สวนโมกข์ตั้งไปทำไม สวนโมกข์ตั้งทำไม มีคำคำหนึ่งว่าเราจะเป็น “spiritual fitness and edutainment center” ตอนที่มีการเปิดสวนโมกข์ตอนเมื่อ ๑๒ ปีที่แล้ว ช่วงนั้นกรุงเทพมหานครเกิด fitness จำนวนมาก เปิด fitness ในห้างเต็มไปหมดคน fitness กันมากออกกำลังกายแต่ละเลยเรื่องใจ ก็เลยคิดว่าที่นี่เป็นตัวเพิ่มเติมความเข้มแข็งทางด้านเอาแค่จิตใจก่อนนะ แค่สมาธิให้ได้ก่อน แล้วค่อยไปทำความเข้าใจในเรื่องของความหมายของชีวิต และความเป็นจริงของสรรพสิ่ง ตอนนั้นค่อย ๆ ให้จัดวางชีวิต ผมมีความมั่นมใจว่าจะดีขึ้น
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : เมื่อสักครู่ได้ฟังจากอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช และจากคำถาม อาตมาได้นึกมาได้ที่หลังว่า อาตมาขอตอบผ่านประสบการณ์ชีวิตของตัวเองว่า ทำไปทำไม ทำเพื่ออะไร อาตมาบวชก็จะมีคนถามบวชไปทำไม บวชแล้วได้อะไร เป็นคำถามเดียวกับที่โยมถาม ที่มาของการบวชตอนนั้นกำลังจะเรียนจบปริญญาตรี และด้วยเด็กด้วยสังคมไทยและก็ ford ไปกับว่าเด็กก็ต้องเรียน เป็นวัยเรียนจะมีคำว่า “วัยเรียน” ต้องเรียนหนังสือ เพราะฉะนั้นเด็กจะมีภาวะว่าอนาคตเขาไม่ได้คิด เนื่องจากเห็นเส้นทางชีวิตแค่ว่าเรียนจนจบ จบอยู่ที่ว่าวางกันไว้อย่างไรในครัวเรือน ม. 6 ต่อเรียนจบปริญญาตรี อันนั้นคือการเรียนจบ พอวันหนึ่งเรียนจบ ก็เริ่มสงสัยชีวิตจะเอาอย่างไรต่อ ชีวิตต้องไปอย่างไรต่อ ที่ผ่านมาคิดแต่เพียงว่าแค่เรียนให้จบ แต่พอจะจบจริง ๆ แล้วอนาคตข้างหน้าต้องวางแผนชีวิต ต้องคิดแล้ว ตอนนั้นก็คิดว่าเรียนจบแล้วก็ต้องทำงาน ก็เกิดความสงสัยว่าทำไมต้องทำงานด้วย ไม่ทำงานได้ไหม ถ้าทำงานเขาทำเพื่ออะไร เขาทำเพื่อมีรายได้ก็เกิดความสงสัยอีกว่าต้องใช้เงินด้วยเหรอ ถ้าไม่ใช่ได้ไหม ต้องมีเงินไม่อย่างนั้นจะเลี้ยงชีพได้อย่างไร พอทำงานมีเงิน มีเงิน มีเงินก็ใช้ชีวิตได้ พอถึงช่วงอายุหนึ่งเราก็จะหยุดเพราะมีเงิน มีเงินจำนวนหนึ่งแล้วใช้ชีวิตแบบสบาย ๆ ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร พอตอนใช้ชีวิตอยู่ต้องมีคู่หรือเปล่า ต้องแต่งงาน แต่งงานแล้ว คิดว่าต้องทำงานเพิ่มขึ้นหรือว่าน้อยลง ไม่อยากให้คู่ของเราลำบากก็ต้องทำงานเพิ่มขึ้น ถ้ามีลูกก็ต้องทำงานเพิ่มขึ้น ไม่ได้ทำเพื่อเก็บให้ตัวเองใช้แล้ว แต่ต้องทำเพื่อลูกด้วย แล้วจะทำงานถึงเมื่อไร แล้วได้คำตอบว่าทำถึงเมื่อไร คงได้คำตอบว่าทำไม่หยุดให้มีมากที่สุด เพราะไม่ได้ทำเพื่อตัวเองใช้คนเดียวแล้ว แต่ทำเพื่อคนอื่นด้วย ก็มีแนวคิดว่าเราเกิดมาเพื่อทำงานจนตายเหรอ คงไม่ใช่สาระของชีวิตแล้วละ ถ้าเกิดมาเพื่อทำงานจนตายชีวิตไม่มีความหมายอะไรเลย อย่างนั้นคนเราต้องการอะไรก็โยงมาสู่คำถามที่โยมถามแล้ว ทุกคนตั้งคำถามกับชีวิตนี้ ชีวิตนี้ต้องการอะไร เพียงแต่ว่าระหว่างทางที่เดินด้วยภาระ สิ่งแวดล้อม จะมีตัวชี้วัดหลายอย่าง แต่ตัวชี้วัดทั้งหมดมุ่งไปหาคำตอบเดียว คือ ความสุข มนุษย์ทุกคน สัตว์ทุกตน ต้องการความสุข ถ้าเกิดถามว่าทำเพื่ออะไร ส่งที่ทุกคนทำอยู่แม้แต่วันนี้มานั่งทำไมที่นี่ มีคำว่า “ความสุข” อยู่เบื้องหลังของความคิดนี้ มาแล้วน่าจะเข้าไปถึงความสุข
เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดถามว่าทำแล้วได้อะไรก็ทำแล้วคิดว่าจะเป็นทางออกของคำตอบของคำว่า “ความสุข” ที่ต้องการหา อาตมาเป็นคนหนึ่งที่คิดว่าถ้าต้องการความสุข มนุษย์ต้องการความสุข แล้วความสุข คือ อะไร ความสุขเป็นอย่างไร ในตอนนั้นด้วยความคิดแบบง่าย ๆ ไม่ได้ใช้ “ความรู้” คิดนะ ใช้ความศรัทธาคิดพระพุทธศาสนามีคำตอบ แต่ถ้าถามว่าอาตมารู้จริง ๆ ไหม พุทธศาสนามีคิดแบบนี้นะ ถ้าคนไม่ศรัทธาและไม่เชื่อก็ไม่มีคำตอบ พระพุทธเจ้ารู้ว่าเป็นอย่างไร แต่เราไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรบ้าง พระพุทธเจ้าให้ทำอะไรบ้าง แล้วผลจะเป็นอย่างไร ดังนั้นต้องเอาตัวเข้าไปศึกษาจึงเป็นที่มาว่า “ศึกษา เรียนรู้” เป็นที่มาของการมาบวช อยากเข้าถึงความสุข อันนั้นก็เพื่ออะไร ทำแล้วจะได้ไหม ยังทำอยู่นะ แต่ระหว่างที่ทำเรามีความรู้สึกว่ามีแง่มุมของความทุกข์ที่มันลดลงจากประสบการณ์มีแง่มุมที่ความสุขเพิ่มมากขึ้น เราก็เลยยังเชื่อว่าผลของทางนี้ ในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนยังเป็นทางที่พาเราไปหาคำตอบได้ เพราะฉะนั้นในบางคนที่เข้ามาศึกษารู้สึกไม่ใช่คำตอบ อาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช ได้เข้ามาศึกษาศาสนาพุทธแล้วไม่ใช่ ไม่ใช่ทางแห่งความสุข ไม่ใช่จุดของความสุขอาจารย์หมอบัญชาฯก็อาจจะไปศึกษาในแนวอื่น เพราะฉะนั้นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของคำว่า “เพื่ออะไร” ของมนุษยชาติของคำว่าความสุข อย่าว่าแต่การนับถือพุทธศาสนาหรือการปฏิบัติ ความรู้ทุกอย่างในโลกนี้ เกิดขึ้นมาเพื่อ ๒ ข้อเท่านั้น ความรู้ทุกอย่างในโลกนี้ที่มนุษย์แสวงหาเรียนรู้ (๑) ลดความทุกข์ และ (๒) เพิ่มความสุข ถามว่าหมอเรียนอะไรบ้าง ทำอะไรบ้าง เราไม่พูดกัน แต่เหตุของคนที่เริ่มต้นวิชาหมอ คือ อยากลดความทุกข์ของผู้คน คนที่เจ็บปวด เจ็บป่วย อยากให้คนมีความสุขมากขึ้น จนแสวงหายาอายุวัฒนะ ทำอย่างไรคนไม่ตาย ตามหาคำตอบเดียวกัน เพราะคิดว่าไม่ตายจะมีอายุยืนยาวมากพอที่จะมีทุกอย่าง แล้วก็มีความสุข สถาปัตยกรรมที่อยู่นี้ จะออกแบบสร้างอย่างไรแล้วให้คนมีความสุข ไม่มีความมทุกข์ บัญชีทำอย่างไรให้ชีวิตทุกคนง่ายขึ้น ออกแบบรถ ออกแบบสวน นักการเมืองปกครองอย่างไรให้คนมีความสุขทำให้คนไม่ลำบาก บริหารจัดการ ทุกวิชาทุกศาสตร์ในโลกนี้ เกิดขึ้นมาเพื่อพาคนไปหาความสุข ถ้าเกิดเรามองในแง่นี้อาตมามองว่าพุทธศาสนาเป็นความรู้ที่จบกับคำว่า “ความสุข” ขณะที่ทุก ๆ ศาสตร์ ศาสตร์อื่น ๆ ในโลกนี้ยังได้คำตอบคำว่า “ความสุข” ไม่ชัดเจน และยังไม่มีกระบวนการที่หยุดกับความสุขจริง ๆ แม้มีเทคโนโลยี มีความเจริญทางวัตถุต่าง ๆ ขึ้นมากมาย แต่เขายังหาคำตอบคำว่า “ความสุข” ยังไม่พบ ที่เป็นสุขแท้ ๆ ก็เลยมีการเพิ่มเทคโนโลยี และวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมาเรื่อย ๆ วิทยาศาสตร์เลยไม่จบ เพราะวิทยาศาสตร์ยังไม่เจอจุดจบของความสุขว่าอยู่ตรงไหน สิ่งที่เป็นตัวต่างอันหนึ่งเลย คือ วิทยาศาสตร์ไม่มีคำว่า “จิต” ตะวันตกไม่มีคำว่าจิต คำว่าจิตเป็นคำที่เราพูดแล้วเราก็ไปเทียบเคียงภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้นวิทยาศาสตร์เลยยังไม่เคยมีการศึกษาคำว่าจิต แบบที่พระพุทธศาสนาศึกษา ไม่ว่าเขาจะทดลองอะไรก็ตามก็ไม่เคยมีพื้นที่ของจิตขึ้นมา
คุณจิรา บุญประสพ : เป็นคำถามที่อยากถามต่อจากพระครูสิทธิสรกิจ และจากผู้เข้าร่วมเวทีเสวนา ชื่อโครงการพุทธวิธี (ลัดตรง) สร้างสุข (ที่นี่และเดี๋ยวนี้) อยากให้อาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช และพระครูสิทธิสรกิจ ได้เล่าสั้น ๆ เรื่องของ ท่านพระพุทธทาสได้บอกว่า อาจารย์หมอประเวศ วะสี ได้กล่าวเมื่อครั้งที่แล้วว่า “ความสุข” ไม่ต้องรอชาติหน้าสามารถเกิดขึ้นได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ทางสวนโมกข์ก็พูดถึงเรื่องนิพพานชิมลอง พระอาจารย์ได้บวชและพระอาจารย์ได้เจอสิ่งนี้ สิ่งที่เป็นความสุขและทำให้ได้ไปต่อ ความสุขชั่วคราวจะเรียกว่านิพพานชิมลอง หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ แต่ทำให้แสวงหาเพื่อทที่จะเดินหน้าต่อไป
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : คำว่า “ความสุข” ทุกท่านเคยประสบต้องบอกว่าอย่างนี้ มีไหมครับว่าชีวิตนี้ไม่มีความสุขเลย มีไหมที่มีแต่ความคิดที่เป็นลบ ความทุกข์ แล้วไม่เคยเกิดความยินดี ไม่เกิดความชื่นชม รู้สึกภาคภูมิใจ รู้สึกศรัทธาต่อสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้น กับตนเองหรือความดีที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ทุกคนผ่านประสบการณ์คำว่าความสุข ผ่านประสบการณ์ของคำว่าความดี (อาตมาไม่อยากใช้คำว่าดีชั่วคู่กัน) ความดี หมายถึง กุศล ทุกคนประสพกับประสบการณ์ที่มีกุศลที่เกิดขึ้นในใจ ทุกคนประสบกับส่งต่อกุศลต่อผู้อื่น เพียงแค่กับไปสังเกตและรับรู้กับประสบการณ์เหล่านั้นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ใจของเราตอนนั้น ท่าที่ของเราตอนนั้น เป็นอย่างไรจะสามารถทำสิ่งนั้นให้เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในบริบทที่แตกต่างกัน เพราะสุดท้ายแล้วใจของเราที่เป็นอย่างนั้น ที่เป็นกุศลอย่างนั้น ไม่ได้เกิดจากการที่ไปพยายามไปสร้าง ไม่ต้องพยายามสร้าง เป็นแล้วก็คือเป็น แต่เราพยายามจะไปสร้างมันมันก็เลยไม่เป็นสักที่หนึ่ง ฉันอยากจะเป็นคนดีฉันต้องทำอย่างไร ฉันอยากจะเป็นคนเก่งฉันจะต้องทำอย่างไร ฉันอยากจะให้คนชื่นชม ชื่นชอบ เป็นที่ยอมรับฉันต้องทำอย่างไร เลยเป็นการพยายามไปสร้างสิ่งที่มันไม่แท้ ดังนั้นจึงชวนทุกท่านกลับมาสังเกตว่าเมื่อไรที่ปรากฎแล้วก็นึกถึงใจแบบนั้นบ่อย ๆ
คุณจิรา บุญประสพ : เป็นแล้วรู้สึกได้ด้วยตน ของอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช เป็นอย่างไร อยากถามเรื่องรูปธรรมที่คุณหมอมีความรู้สึกว่าจึ๋กขึ้นมา เป็นเรื่องทางธรรมหรืออะไรที่ให้มีความรู้สึกว่าฉันต้องไปแสวงหาความสุขที่มันยั่งยืน ที่เจอแล้วใหญ่ชิมลองแล้ว อยากไปกินของจริง
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ผมประเภทไม่มีอะไรเลย ถามว่า “ความสุข” สำหรับผมเมื่อมาเป็นหมอก็มีแค่ physical happy กับ plain กับ mental คือ กาย กับ ใจ นี้เป็นหมอ แต่พอมาบวชมาเจออีกชุดความรู้ของพระพุทธเจ้า มีปัญญา ไม่ได้มีแค่ กาย กับ ใจ แต่องค์ประกอบของชีวิตมันมีที่มัน intangibility ที่ Super intangibility มากกว่าใจ คือ มีปัญญา คือ ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกถ้วน ซึ่งในพระพุทธศาสนาจะย้ำว่าเรื่องนี้ คือ ปลายทางที่ต้องไปกันให้ถึง ไม่ใช่อยู่แค่กายกับใจ เพราะฉะนั้นเวลากล่าวถึงเรื่องความสุขเราก็สุขกาย สุขใจ หรืออาจจะติดกับเรื่องเดิม คือ สุขกับทุกข์ ในพุทธศาสนามีสูตรว่า ทุกข์ สุข อทุกขมสุข แบบไม่รู้เรื่องอาจยังอยู่ในโมหะด้วยซ้ำ คือ ไม่รู้ไม่เป็นอะไร แต่พอในพุทธศาสนา พอไปเรื่องปัญญา คือ มิติปัญญา คือ เหนือทุกข์ เหนือสุข สักแต่ว่าสุข สักแต่ว่าทุกข์ อาจารย์พุทธทาสใช้คำว่า “สุข คือ ทุกข์ที่พอดีสำหรับทน” คือ จริง ๆ ก็คือทุกข์ แต่ไปให้เหนือกว่านั้น ในความรู้สึกของผม ในความสัมผัสของผม ที่มีความสัมผัสความสุขเพราะว่า พอเจออะไรที่มากระแทกเราไม่ว่าจะทำให้อารมณ์ ทำให้มันฮึกเหิมหรืออารมณ์ที่มีความหดหู่ มันรู้สึกมันทันจะทำให้มีความรู้สึกว่า “มันก็แค่นั้นหรือว่ะ” มันแค่นั้นเองอย่านะอย่าไปกว่านั้น เลยไม่ค่อยมีจังหวะอารมณ์ที่ปิติสุข ผมอาจเป็นคนที่เจ้าปัญญามากเกินไปจึงไม่ค่อยได้สัมผัสอันนั้น
แต่ผมอยากเรียนว่าตอนที่ทำสวนโมกข์ มีเด็กกลุ่มหนึ่งเป็นครีเอเทฟ ผมบอกว่ามีห้องห้องหนึ่งอยากทำนิทรรศการให้คนมาแล้วได้สัมผัสบางอย่างที่มาสัมผัสแล้วมีความรู้สึกว่าดี ผมให้คุณเป็นเอก รัตนเรือง เตรียมทำหนัง เตรียมเขียนบท เพื่อให้คนมาดูหนังมีความรู้สึกแบบนั้น สุดท้ายเป็นเอกฯออกแบบแค่โรงหนังให้แล้วก็เป็นเอกฯก็ไปทำหนังของเขาต่อ ไม่ได้มาทำให้ต่อ แต่สุดท้ายครีเอทีฟคนหนึ่งบอกว่าห้องนี้ต้องทำเป็นห้องนิพพานชิมลอง หลายคนบอกว่าสัมผัสนิพพานเป็นความสุขเล็ก ๆ ทำให้มีปิติและไปต่อ และทำให้จิตเกิดความตั้งมั่น เพราะเราไม่กล้าทำ สุดท้ายไปถามท่าน ว.วชิรเมธี
น่าทำนะโยมหมอ แต่อาตมาไม่กล้าทำก็ให้หมอทำ ไปหาท่านพระไพศาล วิสาโล มันควรจะทำเพราะว่านิพพานก็มีการตีความกันหลายอย่าง แต่ถ้าคนจะทำ คือ ถ้าเรามาทำเรื่องนี้เหมือนกับว่าเราถึง มีความสุขแล้วถ้าเราทำพอไปถามท่านไพศาล วิสาโล บอกมันควรจะทำสำนักสวนโมกข์ต้องทำเพราะสำนักสวนโมกข์พูดไว้เยอะ สุดท้ายพวกเราก็ไม่แน่ใจก่อนกลับขึ้นไปชิมนิพพาน ไปกราบสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ว่าอาจารย์ครับเด็ก ๆ ครีเอทีฟแนะนำให้ทำห้องนิพพานชิมลอง ที่ห้องสวนโมกข์ กรุงเทพ ควรทำไหมอาจารย์ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตอนนี้เป็นพระพรหมคุณาภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต) สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านตอบว่า “ถ้าอยู่ในพระพุทธศาสนาไม่มุ่งมั่นศึกษาทำความเข้าใจแล้วไปให้ถึงนิพพานแล้วจะถือพุทธไปทำไม ท่านบอกทำเลย เพราะว่าอยู่ในพุทธ และนี่เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์สอน แล้วชี้แนะแล้วมีหลายลักษณะ ผมถามกลับว่าความสุขจริง ๆ มีหลายรายละเอียด และลำดับขั้น มีคำสอนสุดท้ายก่อนจะจบ นึกถึงคำของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ชุดหนึ่ง พระครูสิทธิวรกิจอาจช่วยเติม คือ ในวงการแพทย์เวลาออกกำลังกายที่เรียกว่า physical fitness ดู ๓ อย่าง ประกอบด้วย (๑) แข็งแรง (๒) ทนทาน และ (๓) ยืดหยุ่น ที่มีการทำแอโรบิคทั้งหลาย ต้องมี Muscular Strength Muscular Endurance และ Flexibility ไม่อย่างนั้นร่างกายก็จะทือแข็ง และเปราะ ในพระพุทธศาสนาสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านไปนำไปมาจากหมวดไหนไม่รู้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) กว่าวว่าเรื่องใจ พระพุทธองค์ก็บอกไว้ มีในภาวนา ๔ เรื่องของ กาย จิต สังคม ปัญญา มีเรื่องสมรรถนะของจิตอยู่ในเรื่องจิต เรื่องปริสุทโธ
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : สมรรถนะของจิต เป็นเรื่อง ๓ หมวดเหมือนกัน คือ จิตต้องมีสมรรถภาพของจิต มีคุณลักษณของจิตที่ดี มีจิตเมตตา
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : ลักษณะจิตที่เป็นสมาธิมี ๓ ประการ เหมาะกับการงานที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) คือ หนึ่ง จิตปริสุทโธ คือ มีจิตที่สะอาด สอง คือ จิตที่ตั้งมั่น คือ สมาหิโต และสาม คือ กัมมนีโย เป็นจิตที่พร้อมต่อการใช้งาน กัมมนีโยเหมาะต่อการงาน ถ้ามีการฝึกจิตดีเข้มแข็ง ตั้งมั่น (อันนี้ดีเอา อันไม่ดีไม่เอา) เป็นการเลือกรับ สามารถควบคุมจิตตนเองได้ และใช้จิตได้ เพื่อประโยชน์ทางโลกก็ทำได้ ประโยชน์ทางธรรมก็ได้ อาจอยู่รวม ๆ แล้วท่านอาจารย์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ท่านขมวดตรงกับ physical fitness นี่คือ spiritual fitness หรือ intellectual fitness ในความรู้สึกของผม
พระครูสิทธิสรกิจ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร : คุณลักษณะของจิต characters ของจิตที่มีคุณภาพ ที่ตอนนั้นออกมาดูเรื่อง well-being ที่ฝรั่งพูดถึง เรื่อง holistic apposed คนที่มีการพัฒนาตนอย่างเป็นองค์รวมสมบูรณ์ด้านไหนบ้าง มีกาย ศีล จิต ปัญญา เรื่องของจิตท่านก็อธิบายไว้เป็น ๓ characters อย่างที่ท่านอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช ได้กล่าวไว้ข้างต้น จิตปริสุทโธ เป็นจิตระเริงยินดี สดใส เบิกบาน เป็นคุณลักษณะของความบริสุทธิ์ สมาหิโต เป็นเรื่องของการอดทน ตั้งมั่น สงบ เป็นเรื่องของคุณลักษณะ และกัมมนีโย คือ เมตตา อ่อนโยน ซึ่งเป็นคุณลักษณะของจิตที่ต้องปรากฏ เมื่อมีทั้ง ๓ characters นี้ เรียกว่าเป็นจิตที่มีความสมบูรณ์ โดยภาวะของจิตเอง เหมือนกับร่างกายที่ต้องมีความทนทาน ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น
นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช : เมื่อสักครู่อาจารย์ได้เรียนว่าวิทยาศาสตร์ยังเข้าไม่ถึง แต่ผมอยากเรียนว่ามี innovation เกิดขึ้น โดยองค์ดาไลลามะ คือ มีนักวิยาศาสตร์จำนวนหนึ่งที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านสรีรวิทยา วิทยาศาสตร์ว่าด้วยจิต ได้ขอโอกาสไปพบองค์ดาไลลามะ เพื่อตั้งคำถามว่าความรู้ทางจิตลึก ๆ จริง ๆ มีความเป็นอย่างไรแน่ เพื่อนำวิทยาศาสตร์ปัจจุบันมาพิสูจน์ เขาไม่เชื่อว่าตายแล้วเกิด เขาไม่เชื่อว่ามีจิตเหนือจิต ท่านคงทราบว่าตอนหลัง วันหนึ่งผมไปนั่งอยู่ท่านก็บอกว่าเขาจะมาขอมาเครื่องมาครอบสมองมาตรวจขององค์ดาไลลามะ ในที่ประชุมสงฆ์มีมติว่าไม่อนุญาต เพราะองค์ดาไลลามะมีสถานะหลายสถานะ แต่สุดท้ายมีมติให้ใช้สมองพุทธเบรน ให้ใช้สมองลามะอีกองค์หนี่งที่บำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำลึก นั้นจะพิสูจน์ชัด เป็นผู้บำเพ็ญ เพราะระดับ คือ คลื่นสมองไปแบบนักปฏิบัติจริง เพราะองค์ดาไลลามะท่านยังยุ่งอยู่กับโลก ประเด็น คือ หลังจากนั้นท่านใช้วิธีนี้ จริง ๆ ถ้ามูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) มีความสนใจอาจารย์สุปรีดา อดุลยานนท์ ยอดฝีมือทางด้านการแพทย์ สุดท้ายท่านรับให้มานั่งคุยกัน นักวิทยาศาสตร์ทั้งหมด ยังไม่ได้เป็นโนเบลแต่ก็เป็น Nobel Dominate มาสนทนากันและก็ตั้งคำถามทางจิต ท่านก็บอกว่าอย่างนั้นก็วิเคราะห์ แล้วท่านก็ตอบตอบเสร็จ แล้วก็พิสูจน์กับลามะ แล้วนักวิทยาศาสตร์ก็ได้คำตอบ บางอย่างไม่ได้คำตอบก็บอกว่าไปเอาเครื่องทางวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์ นำเคมีมาวิเคราะห์ ประมาณ ๒ - ๓ ปีวิเคราะห์แล้ววิเคราะห์อีก ใครสนใจลองไปอ่านใน mind science center นักวิทยาศาสตร์ทำงานด้านประสาทวิทยากับคณะสงฆ์ขององค์ดาไลลามะ ตอนนี้ปรากฏว่าที่บอกว่าวิทยาศาสตร์เข้าไม่ถึง ตอนนี้เหมือนกับว่าเริ่มมีเครื่องมือ วิธีวิเคราะห์ที่มากขึ้น ๆ แล้วก็เริ่มตอบว่าศาสตร์ของโลกตะวันออกที่อยู่ในพุทธศาสนาด้วย พอนำเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์ มันใช่องค์ดาไลลามะตอบว่าศาสตร์ของเราก้าวหน้ามาก ของตะวันตกเรื่องของ mind science พระองค์ใช้คำว่า very kindergarten แล้วทรงพระสรวล ท่านได้กล่าวว่าของเราก้าวหน้าทำไมไม่สนใจ พวกเราชาวพุทธชาวตะวันออกทำไมไม่สนใจ
คุณจิรา บุญประสพ : ขอสรุปสั้น ๆ ว่า ใช้คำท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี กล่าวไว้ว่าสำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นวิธีไหนก็ตาม ก็คือ การปฏิบัติที่ได้ผล ไม่ต้องไปยึดว่าเป็นรูปแบบไหน ที่สำคัญประสบการณ์ คือ ของจริง วิชาการไม่แน่ว่าจะจริง หนังสือที่อ่านก็ยังไม่รู้ว่าจะจริงหรือเปล่าอาจจะเป็นแค่ความรู้ แต่ก็ควรกลับไปอ่าน เพราะเป็นปริยัติก่อนในการปฏิบัติเพื่อความเข้าใจ วันนี้ขอกราบขอบพระคุณพระครูสิทธิสรกิจ จากกลุ่มคิลานธรรม วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และขอขอบคุณอาจารย์หมอบัญชา พงษ์พานิช ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) และขอบคุณอาจารย์หมอประเวศ วะสี และทุกท่านได้อยู่ร่วมกันในวันนี้ ขอกราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ พบกันวันศุกร์ที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖