แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
จริงๆ พูดอย่างนี้ก็แล้วกันนะครับ เพราะว่าจริงๆ ญาณวิทยานี่เป็นวิชาที่มันเกิดขึ้นในโลกตะวันตก เพราะเราคงเข้าใจ วิชาปรัชญา ก่อนนะครับว่า วิชาปรัชญาที่เราพูดถึงๆ เนี่ยนะครับ มันเป็นวิชาที่มีพัฒนาการมาตลอด จนทำให้เกิดสายหรือสาขาของปรัชญาในปัจจุบันเนี่ย ปรัชญาตะวันตกเนี่ยมันเริ่มต้นจากการที่มีความครุ่นคิดสงสัยเรื่องความเป็นจริง พอคิดสงสัยเรื่องความเป็นจริงเนี่ยครับ มันเลยทำให้เกิดสิ่งที่เรียกกันว่า โต้เถียงกันว่า ความเป็นจริงคืออะไร ใช่มั้ยครับ จึงมีการ ความเป็นจริงคือวัตถุจึงเป็นสสารนิยม ความเป็นจริงคือจิต มันจึงเป็นจิตนิยมอะไรก็ว่าไปนะครับ
ประเด็นเนี้ยถกเถียงกันนานมากนะครับ ปรัชญายุคโบราณ ยุคกรีก ยุคอะไรเนี่ย เถียงกันนานมากจนกระทั่งหลังจากนั้นมาเนี่ย มันมีข้อซึ่งเหมือนกับว่าปัญหาเรื่องความเป็นจริงคืออะไร มันเถียงกันไม่จบ ถ้าเป็นอย่างนี้ มันเลยมีคำถามใหม่ คำถามใหม่ว่า รู้ความจริงได้ยังไง ประเด็นที่สอง มันรู้ความจริงได้อย่างไร มันนำมาสู่การเกิดขึ้นของสิ่งที่เรียกว่า ญาณวิทยา
ในโลกปรัชญาตะวันตกในช่วงยุคสมัยใหม่ เขาเรียกว่า Modern Philosophy นึกถึงภาพนะครับว่ากระบวนการที่ตั้งคำถามเนี่ยนะครับ มันจึงทำให้เกิดการค้นคว้าเรื่องระเบียบวิธี หรือสิ่งที่เรียกกันว่า หนทางที่จะเรียกกันว่า ถ้าคุณจะยืนยันว่าอะไรเป็นความรู้ คุณจะต้องมีระเบียบวิธี ในความหมายว่าเราเกิดความรู้นี้ขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งประเด็นนี้อ่ะนะครับ ในสมัยใหม่ตอนนั้นนะครับ มันมีการโต้เถียงกันมาก ในโลกตะวันตกอ่ะนะ ทฤษฎีกระแสหลักของญาณวิทยามีอยู่สองกลุ่มเท่านั้นเองนะครับ
หลักๆ แล้ว คือ กลุ่มที่ยืนยันว่า เรารู้ความเป็นจริงได้ด้วยการคิดเชิงเหตุผล เพราะว่าพวกที่มันเป็นจิตนิยมเนี่ย ความเป็นจริงเป็นนามธรรม เราไม่สามารถเห็นความจริงด้วยตาได้ เราไม่สามารถลูบคลำสัมผัสความจริงด้วยมือได้ เพราะมันเป็นนามธรรม เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าถึงด้วยการคิดเชิงเหตุผล ซึ่งนี่เป็นผลผลิตมาตั้งแต่ยุคกรีกแล้ว ความคิดญาณวิทยาส่วนนี้ เราจะเรียกพวกเหตุผลนิยม ก็คือ ใช้ความคิดเชิงเหตุผลอธิบาย เพราะฉะนั้นสิ่งใดที่จะบอกว่าจริง สิ่งนั้นจะต้องอธิบายในเชิงเหตุผลได้ แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งนะครับ กลุ่มที่เราพูดถึงเนี่ยนะครับ เขาบอกว่าพวกสสารนิยม
พวกสสารนิยมนี่เขาบอกว่า เราจะรู้ความจริงได้ก็ด้วยการสัมผัส ประสาทสัมผัส ถ้าเราไม่มีประสาทสัมผัสไปสัมผัสแล้วจะรู้ได้ยังไง เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราพูดแบบนี้ทฤษฎี ทฤษฎีพวกประสบการณ์นิยม เพราะฉะนั้นไอ้พวกประสบการณ์นิยมกับพวกเหตุผลนิยมโต้แย้งกันมาตลอดนะครับ โต้แย้งกันในเชิงญาณวิทยา เถียงกันไปเถียงกันมาจนกระทั่ง พอมาถึงยุคใหม่เนี่ยครับ บังเอิญว่าพวกยุคใหม่เนี่ย พวกประสบการณ์นิยมประสบความสำเร็จมากกว่าพวกเหตุผลนิยมอยู่ในพวกศาสนจักร
เพราะในยุคกลางเนี่ยครับ พวกศาสนจักรยืนยันเรื่องทฤษฎีเหตุผลนิยมมาก เค้าจึงพยายามใช้ความคิดในการอธิบายความเป็นจริง เพราะเค้าไปยืนยันถึงเรื่องความเป็นจริง คือพระผู้เป็นเจ้า คือสภาวะที่เป็นนามธรรมคือจิต เพราะฉะนั้นกระบวนการที่จะเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า รู้ความจริง ต้องเป็นความคิดเชิงเหตุผล ไอ้ความคิดเชิงเหตุผลที่ว่านี้นะครับก็มีบทบาทมากในโลกยุคสมัยใหม่นะครับ ต่อมาสิ่งที่เราพูดถึงประสบการณ์นิยมก็ถูกนำมาประยุกต์กับพวกเหตุผลนิยม สมัย เรอเน เดการ์ต (René Descartes) ซึ่งเป็นบิดาของปรัชญายุคใหม่ เค้าจึงใช้คำว่า “ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่” เนี่ยใช้ความคิดเป็นตัวตั้งเนี่ยครับ
แต่ประเด็นที่ผมพูดถึงนี้เพียงแค่ให้ภาพรวมนะครับ เพราะเราต้องการจะพูดถึง พุทธญาณวิทยา ใช่มั้ยครับ เพราะสิ่งที่มันเป็นพุทธญาณวิทยาเนี่ย จริงๆ แล้วอินเดียก็มีการเถียงกันมิใช่น้อยนะครับ แต่บังเอิญว่าอินเดียเวลาเถียงกันเนี่ยบางทีมันเป็นรหัสนัย คำว่ารหัสนัยคือบางทีมันเป็นเรื่องที่บางทีเราตีความ คืออินเดียเนี่ยมีความเจริญรุ่งเรืองมากนะครับ ในอดีตในสมัยพระพุทธเจ้า ในสมัยหลังพระพุทธเจ้ามาเนี่ย แต่ก็มาเสื่อม มาเสื่อมเมื่อ เนี่ยนะครับ เมื่อทางตะวันออกกลางมีราชวงศ์ที่เป็นมุสลิมแล้วมายึดอินเดียไว้ได้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมกุลเข้ามาสู่อินเดีย และราชวงศ์นี้เขาก็ทำให้สิ่งที่มันเป็นหมวดความรู้สมัยก่อนๆ นั้นเสื่อมไป แต่ไม่ได้พูดว่า ต้องการจะบอกว่าใครผิดใครถูก แต่กำลังพูดถึงว่าถ้าเราต้องการจะรื้อฟื้น สิ่งที่มันเป็นพุทธญาณวิทยาขึ้นมาอีกเนี่ยครับ
เราก็ต้องกลับไปสู่ประเด็นว่า ในแวดวงชาวพุทธเนี่ยเราทำกันยังไง ผมเข้าใจว่าในพระพุทธศาสนาไม่ได้มีประเด็นที่จะบอกว่าทฤษฎีใดผิดหรือถูกโดยสมบูรณ์ แต่มีความหมายว่าแต่ละกลุ่มความคิดมีมิติอย่างไร เช่น เวลาเราพูดถึงสุตมยปัญญา จริงๆ ก็คือประสบการณ์นิยมนั่นเอง คำว่าสุตมยปัญญาก็คือการเห็น การได้สัมผัส การได้อะไร สุตะก็คือผู้ซึ่งประสาทสัมผัส การที่เราจะเกิดความรู้ได้นะครับ ต้องมีประสาทสัมผัสที่จะไปรับรู้ เราจึงพูดสิ่งที่มันเป็นความหมายนี้ว่า สุตมยปัญญา แปลว่าปัญญาอันเกิดหรือว่าสำเร็จแล้วจากประสบการณ์ คือการได้ฟัง เป็นต้น มีการได้ฟัง ได้เห็น ได้อะไรก็แล้วแต่เนี่ย เราเรียกว่าสุตมยปัญญา แต่ทีนี้ในพระพุทธศาสนาบอกว่าตัวสุตมยปัญญานั้นก็มันเป็นส่วนหนึ่งนะ แต่สิ่งที่มันมีนัยที่ละเอียดขึ้นไปยิ่งกว่านั้นก็คือ การใช้ความคิด เพราะฉะนั้นในกระบวนการใช้ความคิดเนี่ยจึงถูกนำมาใช้มากในทางพระพุทธศาสนา
นึกถึงภาพเมื่อตะกี๊ที่เราพูดถึงว่าจะ เราจะดำเนินไปองค์แห่งอริยมรรคได้ สัมมาทิฏฐิจะเกิดไม่ได้หรอก ถ้าเราไม่มีโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการคือการคิดใคร่ครวญอย่างละเอียด คิดในความหมายที่ทำให้เราเนี่ยเข้าถึงสิ่งที่มันมากไปกว่าแค่ได้เห็น แค่ได้ฟังอ่ะนะครับ เพราะฉะนั้นส่วนนี้จะเป็นส่วนที่สองที่เรียกว่าจินตามยปัญญา แต่ในขณะเดียวกัน พระพุทธศาสนาก็ยังบอกว่านะครับ ส่วนที่เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นจากการคิดเนี่ยนะครับ ก็ยังไม่ใช่เป็นทั้งหมดของความรู้ที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์หรือการสลายสิ่งที่เรียกว่าเป็นอาสวะมลทินได้ จึงมีความรู้อีกชุดหนึ่ง ซึ่งตรงนี้ครับเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับปรัชญาตะวันตกเลยนะครับ
ความรู้ประเภทที่สามและถูกจัดอันดับไว้ให้สูงด้วยนะครับ ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาเนี่ยนะครับเป็นความหมายที่สำคัญมากๆ นะครับ เพราะเหตุว่าภาวนามยปัญญาถูกให้เครดิตไว้สูงมากสำหรับชาวพุทธ เพราะถือว่าสิ่งที่มันเป็นความรู้ที่เรียกว่าภาวนามยปัญญา มันนำไปสู่อาสวักขยญาณได้ ทีนี้อาสวักขยญาณนี่ถือว่าเป็นความรู้ชั้นสูง ที่นี้ไอ้ตรงนี้ครับก็เป็นประเด็นสำคัญ
ผมเอง โดยส่วนตัวนะ ผมใช้ว่าโดยส่วนตัวเลย สนใจสิ่งที่เรียกว่าภาวนามยปัญญา เนื่องจากเริ่มต้นก็สนใจในเชิงการปฏิบัติธรรม และก็บอกว่านี่เป็นการภาวนา แต่ผมเข้าใจว่าสิ่งที่มันเป็นโจทย์สำหรับผมเลยเนี่ย เอ้ เรา มันคืออะไร ขอโทษนะนี่ด้วยความสัตย์จริง ผมปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ตอนบวชและมาเป็นอาจารยสอน เอ๊ะ ทำไมมันยัง ไปไม่ถึงไหน มันเป็นยังไง ทำให้ผมใคร่ครวญ แล้วนอนใคร่ครวญอย่างเดียวไม่พอ นี้จึงเป็นที่มานะ ทำให้ผมคิดว่าใคร่ครวญอย่างเดียวไม่พอแล้ว ไม่พอแล้ว มันต้องทำอะไรมากไปกว่านั้น
ที่สำคัญเวลาเราอ่านจากตัวบทหรือตัวพระคัมภีร์นะ คำว่าภาวนาเรารู้อยู่แล้วเนี่ยครับว่าพระพุทธเจ้าตรัสคำนี้อยู่เสมอเลยใช่ไหมครับ เช่น เราพูดถึงโพชฌงคปริตรที่เราสวดสาธยายกันอยู่เสมอ พระคุณเจ้า พระอาจารย์สวดเสมอเลยเนี่ยนะ ซึ่งนำมาจากโพชฌงคสูตรที่มาจากมหากัสสปสูตร มาจากอะไรเนี่ยครับ ก็เป็นการพูดที่เวลาพระภิกษุเหล่านั้นป่วย เช่น พระมหากัสสปะอาพาธ ป่วยเนี่ยนะครับ พระพุทธเจ้าไปเยี่ยม พอไปเยี่ยมแล้วก็เห็นว่าท่านถูกเบียดเบียนด้วยโรคาพยาธิมาก จนกระทั่งร่างกายสังขารเนี่ยมันเกิดทุกข์ทรมาน พระพุทธเจ้าจึงถามถึงว่าได้เจริญสิ่งที่เรียกว่าสติสัมโพชฌงค์ให้ ภาวิตา เนอะ ใช้คำว่าภาวิตา ให้มีอยู่ หรือพหุลีกตา ทำให้มากพอแล้วหรือ ประมาณเนี่ยนะ เพราะสิ่งเหล่านี้มันจะเป็นไป ใช้คำว่า อภิญฺญาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ ความหมายก็คือทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วรึยัง สิ่งนี้ คำว่าทำให้เกิดแล้วหรือยังก็คือการภาวนาเนี่ยครับ เพราะฉะนั้นการภาวนาก็คือการบ่มเพาะให้เกิดสภาวะที่มันเป็นเนี่ยนะครับ สติมี แม้กระทั่งสิ่งที่เราพูดถึงทั้งหลายทั้งปวงเรื่องอินทรีย์ เรื่องพละ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องของการภาวนาหมดเลย
ทีนี้มันมีหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งนะครับซึ่งผมก็เห็นว่าตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าใส่ใจมาก ที่ๆ พวกเราจะได้ศึกษาพุทธญาณวิทยาในส่วนนี้กัน และถ้าใครคิดจะทำวิทยานิพนธ์เนี่ย ผมว่าโจทย์เหล่านี้น่าสนใจมิใช่น้อยเหมือนกันนะ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้นะครับ แน่นอนในเชิงภาคปฏิบัติ มันมีการปฏิบัติการ แต่เราจะถอดรหัสออกมาให้มันเป็นเชิงกรอบคิดทฤษฎีเพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจ เข้าถึง เพื่อเป็นฐานนะครับ ไม่คิดก็ไม่รู้ หยุดคิดแล้วจะรู้ ประมาณเนี่ยนะ ผมเข้าใจว่าส่วนที่เป็นพุทธญาณวิทยา ส่วนที่สามเนี่ยครับมีนัยที่สำคัญมาก และโดยเฉพาะนะครับ ในภาคสนามที่เราพูดเมื่อตะกี๊ว่าถ้าในภาคทฤษฎีมันพอมีความรู้ แต่ในภาคสนาม เช่น กรณีครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นพระที่ได้รับการยกย่องเคารพกันเนี่ยครับ ท่านทำยังไง จึงเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมาได้ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นหัวใจสำคัญอีกตัวอย่างหนึ่ง จะสร้างด้วยกรอบคิดทฤษฎี ผมเข้าใจว่าโจทย์ของภาวนามยปัญญาเนี่ย มีนัยที่น่าศึกษามาก จะหาข้อสรุปกันอย่างไร กลับไปค้นคว้าพระไตรปิฎก หรือกลับไปศึกษาอรรถกถาอะไรก็แล้วแต่นะครับ
แต่ที่สำคัญผมเข้าใจว่าหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาที่น่ามหัศจรรย์นะครับ ว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้ไปปฏิเสธสิ่งที่เป็นชุดทฤษฎีความรู้หรือญาณวิทยาแบบตะวันตกเลย ต่างแต่เพียงแค่พุทธศาสนาไม่ได้สรุปยอมรับว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่มีความหมายว่าแต่ละส่วนต่างก็เป็นองค์คุณ องค์ประกอบที่จะต้องทำให้เกิดขึ้น เราจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดความรู้แบบ เค้าเรียกว่าอะไร จินตามยปัญญา ถ้าเราไม่มีสุตมยปัญญาเป็นฐานที่มั่นคง หรือเราจะไม่สามารถทำให้สิ่งที่เป็นจินตามยปัญญามีความหมายที่นุ่มลึกได้ถ้าเราไม่มีประสบการณ์คือสุตมยปัญญา ทั้งสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญายังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ถ้าไม่ทำให้เกิดภาวนามัยปัญญา ซึ่งประเด็นเหล่าเนี้ยครับ ผมคิดว่าเป็นข้อที่ผมอยากจะสรุปเพื่อเปิดพื้นที่ให้ทุกท่านได้ช่วยกันใช้เวลา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ที่นี่ ทำงานทางวิชาการส่วนนี้ แล้วผมเข้าใจว่าท่านทำงานส่วนนี้ได้ดีนะ จะช่วยทำให้สิ่งที่เรียกกันว่า ความหมายเป็นเชิงความรู้ในสังคมเราเนี่ย
น่าเสียดายนะที่ ที่เราพูดกันในแง่ไม่ได้น้อยอกน้อยใจว่าผู้รู้หรือนักวิชาการในสังคมเนี่ยไม่ได้ใส่ใจ และเมื่อตะกี๊ที่เราบอกว่าชูมัคเกอร์ ที่เป็นนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ถูกส่งตัวมาเป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลพม่า แต่ก็ทำไปทำมาก็อยู่ในพม่าไป อยู่ไปๆ ก็ไปปฏิบัติธรรมไปปฏิบัติธรรมมา เขากลับพบว่าไม่ต้องไปหาความรู้เศรษฐศาสตร์ใหม่แล้ว ความรู้เศรษฐศาสตร์แบบพุทธเนี่ยสมบูรณ์ คำว่าสมบูรณ์คือเป็นความรู้เศรษฐศาสตร์ที่จะรักษาความยั่งยืนมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ ชูมัคเกอร์ไม่เห็นด้วยเลยนะครับกับเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะชูมัคเกอร์มีความคิดว่าเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมันประเภทพวกเล่นแชร์ แบบแชร์ลูกโซ่ เอ๊ะ ยังไงๆ มันก็ต้องมืดเสีย มันก็ มันหมุนไปแล้วมันก็จบไม่ได้เนี่ยครับ
เพราะสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญเหล่านี้ ผมเข้าใจว่ามันกลับมาสู่สิ่งที่เป็นญาณวิทยาด้วย เพราะปัจจุบันคนพยายามจะพูดนะครับ ว่าแล้วจะทำยังไง เราพูดกันถึงสิ่งที่เรียกว่า Know-How อ่ะนะ หรือจะเรียกว่าระเบียบวิธี ทีนี้ถ้าเราเป็นซึ่งสถาบันการศึกษาในฝ่ายพระพุทธศาสนาสามารถเสนอสิ่งที่เรียกว่าระเบียบวิธี หรือ Know-How หรือญาณวิทยาส่วนนี้ได้ดี ก็จะมีผลต่อทางสังคมหลายเรื่องนะครับ ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่องทางการศึกษา ผมเพิ่งไปที่กรุงเทพแล้วไปเจอคุณคนหนึ่ง ไม่เอ่ยชื่อท่านเพราะท่านมีชื่อเสียง ผมไปคุยแล้วบังเอิญไปคุยที่สวนโมกข์กรุงเทพ พอไปคุยที่สวนโมกข์กรุงเทพ ท่านผู้นี้มาทำธุระอะไรไม่รู้ที่สวนโมกข์กรุงเทพ และพื้นที่คุยมันก็มีไมโครโฟนเสียงดัง แกก็เลยนั่งฟังไปด้วย พอนั่งฟังไปด้วยแล้วแกก็คงมีความรู้สึกอยากคุยกับผม พอผมพูดจบแล้วก็แกยังอุตส่าห์นั่งรอ พอนั่งรอจบ จนกระทั่ง ผมก็คิดว่าแกก็นั่งเฉยๆ เพราะเราไม่รู้ว่าใครมารอใครใช่มั้ย แกอยากรอผมคุยกับผม พอคุยแกบอกว่าแกเคยทำงานสำคัญมาแล้ว เคยอยู่กับรัฐบาลมาแล้ว แล้วแกบอกว่ามันประสบความล้มเหลว สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญในรัฐบาลเนี่ยมันไม่ได้ เขียนเปเปอร์หรือเขียนงานเสนอไปเยอะแยะ แต่สุดท้ายมันก็ ไม่ได้ทำหรือทำไม่ได้ คำว่าทำไม่ได้ไม่ใช่เพราะว่าความคิดไม่ดีนะครับ แต่หมายความว่าไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติจริงๆ แกจึงบอกว่าปัจจุบันแกเลยกลับมาสู่ฐานที่มั่นอย่างหนึ่งก็คือ ดูแลลูกและหลานตัวเองให้ดี ตอนนี้เป็นหน้าที่ที่ต้องดูแลหลาน แกบอกลูกโตแล้วจนกระทั่งมีลูก แต่มีหลานอยู่ 5 คนก็ดูแลเขาให้ดี คำว่าให้ดีก็คือให้การศึกษาที่ดีที่สุดกับเขา แกบอก เพื่อให้เขามีความเข้มแข็งที่จะอยู่ในสังคมนี้ได้ แกมีหลาน 5 คน แกจึงบอก แกจึงดูแลหลานให้ดี ผมคงทำได้แค่นี้แล้วอะไรยังนี้นะครับ แต่แกบอกแกอยากคุยกับผมเพราะเห็นอาจารย์คุยแล้วผมสนใจ ทีนี้ผมก็เลยนั่งคุยกับแก
ทีนี้ปัญหาที่เรากำลังพูดถึงเนี่ยครับ ผมเข้าใจว่าสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญ เมื่อตะกี๊เราเอ่ยถึงในหลวงเนาะ ในหลวงเป็นกรณีตัวอย่างขององค์พระประมุขที่นำสิ่งที่เรียกกันว่าความรู้ทางพระพุทธศาสนามาใช้ มาใช้ เช่น กรณีเศรษฐกิจที่เรียกกันว่าเศรษฐกิจพอเพียงใช่มั้ยครับ และเศรษฐกิจพอเพียงก็กระจายไปสู่เรื่องไอ้ธรรมชาติอะไรเยอะแยะมากมาย เรื่องดินน้ำของท่านเนี่ยนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นโอกาสและเป็นเวลาที่เหมาะแล้วครับ ที่สถาบันอุดมศึกษาของพุทธศาสนาจะทำหน้าที่นี้ในส่วนที่สร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้เรื่องญาณวิทยาแบบพุทธมอบให้กับสังคม