PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
  • ซาโตริ
ซาโตริ รูปภาพ 1
  • Title
    ซาโตริ
  • เสียง
  • 9889 ซาโตริ /aj-pramuan/2021-08-14-15-34-17.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันเสาร์, 14 สิงหาคม 2564
ชุด
ฮู้ซื่อๆปรากฏการณ์แห่งการเรียนรู้ภายใน
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • Tags
    ซาโตริ | เซน
  • พูดถึงเรื่องซาโตริอาจารย์ในศาสนา ศาสนาเซน เซนครับเซน สิ่งที่อาจารย์ได้ประสบพบเจอที่อาจารย์ไปเดินเนี่ยถือว่าเป็นซาโตริไหมอาจารย์ ใช่ครับ ถ้าพูดในภาษา แปลซาโตรินี่ก็คือ ซาโตริ จริงๆ นะครับผมเล่าประวัติ ผมสอนปรัชญาเซนด้วยนะครับและปรัชญาเซนมีอิทธิพลต่อผมมาก เพราะเมื่อพุทธศาสนานิกายเซนเจริญรุ่งเรืองมากในจีน ในญี่ปุ่นเนี่ยนะครับ พุทธศาสนานิกายเซนใช้วิธีการที่เราพูดถึงการหยุดคิดเนี่ยครับโดยใช้การปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเซนเวลาสอนเทคนิคการปฏิบัติต่าง ๆ อะไรที่ว่าเป็นความคิดปรุงแต่งก็จะถือว่ายังไม่ได้

    เมื่อตะกี้ผมเล่าสิ่งที่มันเป็นประวัติของท่านเว่ยหล่าง เมื่อตอนที่ท่านเว่ยหล่างไปอยู่กับท่านสังฆนายกองค์ที่ห้าและท่านถูกมอบภารกิจให้เป็นคนผ่าฟืนอยู่ในโรงครัว วันหนึ่งเมื่อสังฆนายกองค์ที่ห้าเห็นว่าท่านชราแล้ว ควรจะมีผู้มาสืบทอดตำแหน่งเจ้าสำนักต่อ จึงประกาศให้ศิษย์ของท่านเขียนคำประพันธ์ คำว่าเขียนคำประพันธ์ก็คือเขียนทกวีนิพนธ์ เพื่อแสดงออกให้รู้ว่าใครมีจิตที่บรรลุสภาวะธรรมชั้นสูงแล้ว ก็ปรากฏว่าศิษย์ผู้อาวุโสคือท่านชินเชา ซึ่งเป็นศิษย์ผู้มีพรรษาอายุเป็นลูกพี่ใหญ่ ก็เขียนบทกวีออกมานะครับ เขียนในภาษาที่แปลเป็นไทยว่า “กายนี้ประดุจดังต้นโพธิ์ จิตประดุจดังกระจกเงาอันใส หมั่นดูแลเช็ดฝุ่นละอองให้สะอาด” ปรากฏพอท่านเขียนจบ ...(เสียงไม่ชัดเจน) คนอื่นก็เอาไปภาวนาท่องมนต์กันเลยว่าว่าที่เจ้าอาวาส แล้วก็ไม่มีใครกล้าเขียนต่อ

    แต่เสียงท่องบทกวีนี้ดังไปถึงในครัว ท่านเว่ยหล่างซึ่งผ่าฟืนอยู่ในครัวถามว่ามันเป็นบทสวดอะไร เขาบอกนี่เป็นกวีนิพนธ์ของท่านชินเชาที่เขียนขึ้นมา เพื่อจะแสดงให้เห็นรู้ถึงภูมิรู้ของท่าน ท่านฟังแล้วท่านยังมีความรู้สึกเลยว่า ท่านบอกเราอ่านหนังสือไม่ได้เขียนหนังสือไม่เป็น แต่อยากจะเขียนกวี ท่านช่วยเขียนให้เราหน่อยสิ และก็มีคนไปเขียนให้ท่าน ท่านเขียนตอบท่านชินเชาว่าไม่ใช่เขียนตอบเขียนไปเทียบไว้ใกล้ ๆ กันว่า “ไม่มีต้นโพธิ์ ไม่มีกระจกเงา ฝุ่นละอองจะไปจับที่ไหน” สุดท้ายเมื่อท่านสังฆนายกองค์ที่ห้ามาเห็นข้อความนี้ถามว่าใครเขียน พอรู้ว่าเป็นคนผ่าฟืนเขียนท่านสั่งให้ลบทิ้งทันที แล้วคืนนั้นท่านก็ไปพบคนผ่าฟืน แล้วก็มอบบาตรและจีวรอันเป็นการสืบทอดตำแหน่งให้ และบอกให้ออกไปเสียจากวัด และต่อมาท่านก็ได้เป็นผู้รับตำแหน่งเป็นองค์ที่หกต่อมา

    เพราะคำพูดที่ท่านเขียนไว้นั้น ท่านเจ้าสำนักอ่านปุ๊บรู้เลยว่าเขาเป็นผู้มีจิตที่ไม่ได้ถูกความคิดปรุงแต่งแล้ว คำว่าจิตไม่มีความคิดปรุงแต่งก็คือเขารู้เท่าทันกลไกของความคิดแล้ว ทีนี้ประเด็นที่เราพูดถึงเซนเนี่ยนะครับ เขาจึงพยายามที่จะพูดถึงว่าเวลาเราเกิดสภาวะที่หลุดออกมาจากความคิด เราจะรู้ เราจะรู้และตรงนี้เราจะเรียกว่า “ซาโตริ” 

    ซาโตริคือกระบวนการ จิตรู้แจ้งขึ้นมาโดยที่ไม่ได้คิดปรุงแต่ง

    ทีนี้ประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ละเอียด พุทธศาสนานิกายเซนก็คือพุทธศาสนาที่สืบเชื้อสายมาจากอินเดีย เมื่อตะกี้นะครับผมพูดถึงท่านเสวียนจ้าง ท่านเดินทางไปอินเดียในช่วงเวลาเดียวกับที่พระพุทธศาสนานิกายนี้เจริญอยู่ในอินเดียนะครับ เพราะตอนนั้นท่านไปศึกษาที่นาลันทา ในนาลันทาสมัยนั้นเป็นยุคของท่านศิรภัทรซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านลัทธิโยคาจารย์นิกายหนึ่งของพระพุทธศาสนานะครับและท่านคงทราบจากเรียนมหายานแล้ว ลัทธิโยคาจารย์คือลัทธิที่เน้นผู้ปฏิบัติให้กลับไปสู่สภาวะภายในใจของตัวเราเองว่าสรรพสิ่งล้วนแต่ถูกปรุงแต่งขึ้น กลับไปสู่การชำระสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นในความหมายที่ว่านี้นะครับเมื่อตอนที่ท่านโพธิธรรมเป็นพระภิกษุที่เดินทางมาสู่ประเทศจีนจึงนำความเชื่อแบบนี้ นิกายนี้กลับไปสู่ที่เรียกว่าโยคาจารย์คือผู้ปฏิบัติโยคะ โยคะก็คือการภาวนา ไม่ใช่คือการศึกษาไปท่องตำรับตำรา แต่นำมาสู่การภาวนา

    เมื่อตอนที่ท่านโพธิธรรมเข้าไปสู่ประเทศจีนนั้น เมื่อท่านไปสนทนากับพระจักรพรรดิแล้ว พระจักรพรรดิไม่สนพระทัย เพราะไปถามท่านว่าท่านทำบุญไว้มาก เช่น อนุญาตให้คนบวช สร้างวัดสร้างวิหารไว้เยอะท่านจะได้บุญมากสักเพียงใด ท่านโพธิธรรมวิสัชชนาว่าไม่ได้อะไรเลยถ้าเป็นอย่างนี้เพราะยังทำบุญด้วยหวังจะได้บุญ มันเป็นกระบวนการคิดปรุงแต่งหวังผล เพราะฉะนั้นท่านเลยไม่ได้ไปสอนที่ไหน ก็เลยไปทำสมาธิภาวนาอยู่ในถ้ำเป็นเวลานาน เข้าฌานว่างั้น ตั้งนิกายนี้ถูกเรียกว่าฌานในประเทศจีน หมายถึงลัทธิที่ใช้การบำเพ็ญภาวนาเป็นรูปแบบในการเข้าใจชีวิต

    นิกายนี้เข้าไปสู่ญี่ปุ่นต่อมาจึงเรียกว่า เซน ในภาษา คำว่า ฌาน ออกเสียงเป็นญี่ปุ่น คำว่าเซนเจริญรุ่งเรืองอยู่ในญี่ปุ่นนานมาก คำว่านานมากคือเซนเข้าไปสู่ญี่ปุ่นแล้วทำให้เกิดความหมายที่ลึกซึ้งในหมู่พวกนักรบคือซามุไร ทีนี้พวกซามุไรพอได้ศึกษาเรื่องนี้แล้วก็เข้าถึงสภาวะจิตที่อยู่เหนือพ้นการปรุงแต่ง ถ้าท่านไปดูหนังเรื่องซามุไรเยอะมาก หนังญี่ปุ่นก็ได้หรือหนังฮอลิวูดก็ได้นะครับ จะเข้าใจความคิดความหมายของพวกนี้ ปฏิบัติในความหมายข้ามพ้นความกลัวอย่างนั้นนะครับ เพราะความกลัวคือการคิดปรุงแต่งขึ้นมา กลัวแพ้กลัวชนะนี่ทำให้เราสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่แล้วครับ เพราะกระบวนแบบนี้จึงเป็นกระบวนการที่ภาษาเทคนิคในทางเซนเขาถึงเรียกว่าซาโตริครับ คือจิตรู้ตื่นหรือตื่นรู้ฉับพลันไม่ต้องรอค่อยเป็นค่อยไปครับ.

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service