PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
  • ชีวิตขาดไม่ได้
ชีวิตขาดไม่ได้ รูปภาพ 1
  • Title
    ชีวิตขาดไม่ได้
  • เสียง
  • 9858 ชีวิตขาดไม่ได้ /aj-pramuan/2021-08-14-14-51-37.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันเสาร์, 14 สิงหาคม 2564
ชุด
อิสรภาพแห่งชีวิต
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ขอโทษนะครับผม ​ก่อนจะออกเดินทาง​ในตอนที่เดินทาง ผมรู้เลยว่าเมื่อผมออกเดินทาง​ สิ่งที่เป็นสิ่งสำคัญที่ผมจะต้องสังวรระวังให้เป็นที่สุด ผมยกตัวอย่างกรณีเรื่องอาหาร​ พวกเราคงทราบอยู่แล้วใช่ไหมครับว่า​ในคติธรรมพุทธศาสนานี่ อาหารมี 4 ประเภท​ ไอ้ที่เราเป็นตัวเป็นตนเป็นคนอยู่ได้นี่นะครับ​ ต้องมีอาหาร 4 ประเภทนี้ไปหล่อเลี้ยงนะครับ​ไม่งั้นเราจะอยู่ไม่ได้​

    อาหารที่​ 1​ ที่เรียกว่า​ กวฬิงการาหาร ใช่ไหมครับ อาหารคือข้าวคือน้ำ​ มันจะไปหล่อเลี้ยงสิ่งที่เรียกว่าร่างกายของเรา​ สิ่งที่เป็นร่างกายหรือกายภาพของเรานี่​ ถ้าเราไม่กินอาหารไม่กินน้ำนี่นะ​ครับ​ ไม่ต้องไปสงสัยอะไรล่ะครับ​แป๊บเดียวมันก็ไปแล้วนะ ไม่กินข้าวนี่​โอเคอยู่ 2-3 วัน​ ได้นะครับ​ แต่ผมไม่ได้กินน้ำสักวัน​ผมหน้ามืดเป็นลม​ทันทีเลย​ เพราะฉะนั้นไอ้อาหารส่วนนี้เราต้องมี​ไม่อย่างงั้นร่างกายเราอยู่ไม่ได้นะครับ

    แต่ความเป็นมนุษย์ของเราจริงๆ​ เราไม่ได้อยู่​เพียงแค่กายภาพนะครับ​ เรามีความรู้สึกเมื่อกี๊นี้พูดไป เราจึงมี เขาเรียกว่า ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะที่ไปหล่อเลี้ยงเวทนา​ ไอ้ตัวผัสสาหารนี่นะครับมันละเอียดขึ้นมาละ คำว่าละเอียดขึ้นมาคือหมายความว่ามันเริ่มมีนามธรรมอะไรแฝง​เร้นมากละ ไอ้ตอนที่เราไปกินข้าวกินน้ำมันเห็นกันอยู่นะ เห็นกันอยู่ เช่น เราบอกว่าถ้าไปอีสานอาหารอีสานเป็นยังไง อาหารเหนือเป็นยังไง ซึ่งแน่นอนในอาหารมันก็จะเป็นรูปแบบที่แปลก เช่นปัจจุบันเราไปที่ไหนก็สามารถกินอาหารภูมิภาคต่างๆ แต่แน่นอนนะครับเราย่อมเกิดมีความรู้สึกเลยว่า ถ้าเราไปกินอาหารอีสาน เฮ้ย มันต้องไปกินอาหารแบบนั่งกิน แบบกินเหล้ากินเบียร์ประมาณนี้ ร้านอาหารอีสานมีอยู่ทั่วประเทศไทยนะ แต่ถ้าเราจะบอกไปกินอาหารปักษ์ใต้นี่นะต้องไปกินข้าวราดแกงนะ เพราะไม่มีใครอยากจะกินเบียร์แล้วไปนั่งกินร้านปักษ์ใต้หรอก เพราะร้านปักษ์ใต้มันต้องมีแกงราดข้าวใช่ไหม แต่ถ้าไปร้านอาหารเรานึกถึงลาบใช่ไหม เรานึกถึงไอ้พวกน้ำตกประมาณนี้ใช่ไหม จึงที่เหมาะสำหรับนั่งกินกับแกล้มประมาณนี้ คือคำว่าอาหารนี่ จริงๆ มันอาหารอะนะ แต่มันก็มีอะไรบางอย่างซึ่งมันเป็นเรื่องของ…แต่ผมกำลังพูดให้ฟังว่า ตอนที่ผมปฏิบัติการผมมีความรู้เชิงปรัชญาทฤษฎีเยอะ เพราะผมคิดว่าจะทำยังไงกับชีวิตของผม ชีวิตของผมที่เป็นกายภาพ​ แน่นอนผมไม่สนใจมันละ​ผมเชื่อว่าผมจะต้องปล่อยมันไป คำว่าไม่สนใจคือว่าหมายความว่า แต่ผมเริ่มให้ความสำคัญ อาหารข้อที่ 1 คือว่า กวฬิงการาหาร ข้าวน้ำเนี่ยผมคิดว่า ผมอยากทดสอบว่าผมจะอดอาหารได้สักเท่าไหร่​  อาหารคือผัสสารหารที่ไปหล่อเลี้ยงเวทนานี่ ผมตั้งใจว่าผมจะไม่สนใจตรงนี้​ แต่ผมจะรู้เวทนา​ เพราะเวลาปฏิบัติธรรมเนี่ยนะครับ​ พวกเราคงทราบใช่ไหมโดยทฤษฎีคือปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน 4 ซึ่งมีเรื่องของกาย​ เวทนา​ จิตและธรรม​ เพราะฉะนั้นไอ้ตัวที่มันเป็นกาย​นี่นะ ที่มันจะเป็นการหล่อเลี้ยงนี่​ ผมจะดูแลมันในความหมายเชิงมิติด้านจิตใจยังไง​ เวทนาจะเป็นยังไง นี่คืออาหารข้อที่ 2 คือ ผัสสาหาร

    อาหารข้อที่ 3 เขาเรียกว่า มโนสัญเจตนาหาร ข้อนี้เราที่เป็นชาวพุทธเกือบไม่ค่อยได้สนใจกันเลยนะ ทั้งที่อาหารประเภทที่ 3 นี่สำคัญมากๆ เพราะเป็นอาหารที่ไปหล่อเลี้ยงตัวเจตนาซึ่งเป็นตัวกระทำกรรม​ เราไม่เคยใส่ใจสิ่งนี้กันอย่างแท้จริง​ ตรงนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่ผมเข้าใจว่าพวกเราที่เรียนปรัชญาต้องกลับมาสู่ความสนใจในสิ่งเหล่านี้นะ  เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มันละเอียดอ่อนและเราปล่อยให้คนที่บริโภคอาหารในส่วนนี้ นึกถึงภาพนะครับอาหารที่เป็นข้าวน้ำนี้มี​ อย.​ อย. นี่ก็ไปปั๊มตรา​ อย.​ ใช่ไหม เพราะถ้ามีอะไรที่มันไม่ดี ไม่ผ่าน​ อย. ประมาณนี้อ่ะนะ เออ อย่างน้อยๆ​ มี​ อย.​ ละวะ ถ้าไม่มี​ อย.​ กูก็ไม่กินมันประมาณนี้นะครับ เพราะว่ามี​ อย.​ ก็แสดงว่าองค์การอาหารและยาให้การรับรองแล้วก็กินได้ แต่อาหารประเภทที่ 2 ผัสสาหาร นี้แน่นอนแม้จะไม่มี​ อย. แต่มันก็ยังมีเซนส์ของเราเองเนาะที่จะเป็นตัวรับรู้อะไรบางอย่าง แต่พอไปถึงมโนสัญเจตนาหาร คือ อาหารที่ไปหล่อเลี้ยงไอ้ตัวมโนสัญเจตนาที่จะไปทำกรรม หล่อเลี้ยงเจตนาที่เป็นกุศลนี่เราเกือบไม่มีเลยนะตอนนี้ เราไม่สนใจกันเลยนะครับ เราจึงปล่อยให้มีการชักจูงและมีการสร้างสรรค์สิ่งที่เรียกว่าตัวเจตนาที่มันบิดเบือนไปได้มากมาย เมื่อวานเราพูดถึงกรณีที่ว่าอะไรที่เป็นทานที่แท้จริงใช่ไหม​ แล้วเรามีคำถามว่าถ้าคนคนหนึ่งอยากจะถูกหวย เอ๊ะ​ วันนี้​วันหวยออกเหรอ พรุ่งนี้ และบอกว่าถ้าอย่างนั้นจะมาทำบุญตักบาตรพระพรุ่งนี้เช้า​ อยากทำบุญเพราะหวังถูกหวยเนี่ย​เป็นทานไหมถ้าเป็นอย่างนี้ เออ มันก็น่าคิดแล้วนะ เพราะนี่มันเป็นเรื่องมโนสัญเจตนาหารแล้วนะถ้าเป็นอย่างนี้  เพราะว่ามาทำบุญ ทำบุญเอาอาหารมาถวายพระในวันพรุ่งนี้ตอนเช้าแล้วหวังว่าตอนบ่ายๆ จะโชคดี ถ้าเป็นอย่างนี้ในความหมายแบบนี้  เราก็มีข้อวินิจฉัยได้แล้วใช่ไหม ว่ามันเริ่มจะไม่ใช่เป็นทานในความหมายที่เหมาะสมแล้ว เพราะคำว่าทานคือจิตของเราที่ จริงๆ ไม่ได้เมตตาสงสารพระ ไม่ได้คิดอยากเกื้อหนุนอุดหนุนพระศาสนาอะไรหรอก หวังว่าจะถูกหวยมีสิ่งแลกเปลี่ยน ซึ่งตรงนี้เป็นรายละเอียดที่ผมเข้าใจว่าทุกท่านจะต้องให้ความสำคัญนะครับ เมื่อตอนที่ผมเดินทางนี่ ผมจึงบอกว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิตผม ไอ้ตัวมโนสัญเจตนาหารนี่ผมจะต้องดูแลประคับประคองไปที่สุด

    แต่ที่ลึกที่สุดและยากที่สุดเลยนะครับ คือ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณที่จะไปรับรู้นามรูปซึ่งละเอียดอ่อนที่สุด เป็นอาหารที่ละเอียดอ่อนที่สุด และตรงนี้นะครับคือความหมายลึกซึ้งที่เราพูดเมื่อตะกี้ที่ผมพูดถึงการที่เรามีชีวิตอยู่และการที่เราสามารถกำหนดรู้ถึงเรื่อง Subject Object ได้​ เราสามารถที่จะหล่อเลี้ยงสภาวะของการมีชีวิตอยู่ในความหมายเพื่อการรู้แจ้งได้​ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน แต่นำมากล่าวไว้ในตรงนี้เพียงเพื่อจะบอกว่า กระบวนการเรียนรู้ทางปรัชญาถ้าเรามีความละเอียดอ่อนในส่วนเหล่านี้ เราจะเข้าใจนะครับ และเวลาเข้าใจสิ่งเหล่านี้เราก็จะสามารถเติมเต็มส่วนที่มันพร่องไปได้ เพราะฉะนั้นกระบวนการที่ผมพูดเมื่อวานว่า อยากจะพูดกันตรงๆ อยากใช้ภาษาชาวบ้านว่า อยากจะยุให้ท่านนี่นะ ทำวิทยานิพนธ์หรือทำวิจัย แล้วก็ทำยังไงให้วิจัยต้องมีเป้าหมายทิศทาง เพื่อที่จะนำไปสู่กระบวนการที่เราจะมีชุดความรู้ที่มันจะเป็นอาหารหล่อเลี้ยงชุมชนสังคม ปลุกฟื้นอะไรบางอย่างขึ้นมาได้ และสิ่งเหล่านี้นะครับ ผมเข้าใจว่านี่คือสิ่งที่มันเป็นหน้าที่ ผมเรียกว่าเป็นหน้าที่นะ เป็นความรับผิดชอบที่เราจะต้องกระทำสิ่งเหล่านี้ครับ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service