PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
  • ศาสนากับการปฏิบัติธรรม
ศาสนากับการปฏิบัติธรรม รูปภาพ 1
  • Title
    ศาสนากับการปฏิบัติธรรม
  • เสียง
  • 9676 ศาสนากับการปฏิบัติธรรม /aj-pramuan/2021-08-04-15-01-42.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันพุธ, 04 สิงหาคม 2564
ชุด
สนทนาธรรม
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • ...แต่ที่ผมพูดตรงนี้เพียงเพื่อที่จะบอกว่าการที่ผมไปอยู่ในอินเดียทำให้ผมต้องพบปะกับผู้รู้ในหลากหลายลัทธินิกายนะครับไม่ใช่เฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้นนะครับ ผมได้อยู่ในพื้นที่..ผมเรียนปริญญาตรีในวิทยาลัยซึ่งเป็นเขตของมุสลิม จนกระทั่งผมไม่สามารถจะดำรงตนอยู่ได้ในหอพักซึ่งมีเพื่อนเป็นมุสลิมทั้งหมดได้ สุดท้ายด้วยความช่วยเหลือของเพื่อนชาวฮินดู ก็หาที่อยู่ให้ใหม่ของผมได้อยู่ภายใต้การดูแลของครอบครัวชาวคริสต์ ผมเป็นพระพุทธนะครับ แต่ได้รับความอุปถัมภ์จากญาติโยมที่เป็นคริสต์นะครับ  ญาติโยมที่เป็นคริสต์ซึ่งผมไม่รู้จะตอบแทนบุญคุณท่านที่เกื้อหนุนผมได้ยังไง ก็ทำได้เพียงแค่ไปเป็นเพื่อนท่านในวันอาทิตย์ หลวงพ่อที่โบสถ์ก็รู้ว่าผมเป็นนักบวชท่านก็ให้เกียรติผมให้ไปนั่งอ่านหนังสืออะไรก็คุยกับท่านบ้างอะไรอย่างนี้นะครับ

    แต่ที่เล่าตรงนี้เพียงเพื่อที่จะบอกว่าโดยโครงสร้างแบบนี้ ทำให้ผมมีความเป็นไปในลักษณะที่จำต้องเปิดรับความคิดความเชื่อของลัทธิศาสนาต่าง ๆ  พื้นฐานตรงนี้เองผมเข้าใจว่าจึงนำมาสู่ความหมายที่ผมเมื่อกลับมาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ต่อมาเมื่อลาออกเพื่อออกเดินทางเพื่อการปฏิบัติธรรมผมจึงไม่ค่อยติดอยู่..เมื่อตะกี๊ที่เราต่อไม่ค่อยจบเนี่ยนะ ผมบอกว่าผมได้เรียนรู้วิธีการที่จะเติมเต็มการภาวนาจากความรู้ที่เกิดขึ้นทั้งสายที่ตัวเองเป็นเถรวาทอยู่ ทั้งฝ่ายมหายาน ทั้งฝ่ายวัชรยาน ขอโทษ..หรือแม้กระทั่งสภาวะที่ได้เรียนรู้จากเพื่อนชาวมุสลิม หรือครูบาอาจารย์ที่เป็นมุสลิม

    ผมยังจำได้ว่าตอนที่ผมจะออกเดินทางแล้ว หลวงพ่อที่จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นพระเถระที่เชียงใหม่ เมื่อรู้ข่าวว่าผมลาออกจากราชการแล้วก็..ท่านไม่เข้าใจว่าผม..เพราะตอนนั้นก็มีข่าวลือว่าผมเพี้ยนไปแล้วลาออกจากราชการ ท่านก็ให้ลูกศิษย์มาบอกผมว่ามีอะไรก็ให้ไปพบหลวงพ่อหน่อยหลวงพ่อเป็นห่วง ผมก็ไปพบท่าน พอท่านทราบความประสงค์ของผมว่าผมต้องการจะใช้ชีวิตเพื่อการภาวนา ท่านเลยเสนอให้ผมบวช ท่านจะจัดบวชให้เลยไม่ต้องออกเงินออกทองอะไรเลยท่านบอก ท่านจะบวชให้เสร็จเลยแล้วหล้งจากบวชเสร็จค่อยไปธุดงค์ ผมก็กราบเรียนท่านเพียงแค่ว่าผมไม่ปรารถนาที่จะใช้อาภรณ์ หรือเครื่องมือทางสังคมใด ๆ มาปกป้องคุ้มครองผม ผมจะใช้ความเป็นมนุษย์ของผมเท่านั้นในการเดินทางออกไป มีแต่ความเป็นมนุษย์ ไม่มีอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย ไม่มีด็อกเตอร์ทางปรัชญา ไม่มีใครอีกแล้วอะไรอย่างนี้นะครับ

    ผมจำได้ว่าตอนเมื่อผมไปลาเพื่อนชาวมุสลิม ซึ่งเป็นโต๊ะอิหม่ามอยู่ที่มัสยิดช้างคลาน เพื่อนผมคนนี้ชื่ออาจารย์ซอแระ อาจารย์ซอแระกอดผมเมื่อรู้ข่าวว่าจะต้องทำเช่นนี้ ตอนที่กอดผมแล้วก็ปล่อยกอดแล้วก็บอกผมว่าขอให้พระผู้เป็นเจ้าคุ้มครองนะครับ ผมยังจำได้ว่าเอ๊ะผมได้รับพรจากเพื่อนชาวมุสลิมก็เป็นพรที่ประเสริฐดีเหมือนกันนะ และไม่น่าเชื่อเลยนะว่าพรนี้จะเป็นพรที่ประเสริฐมากเลย เมื่อตอนที่ผมเดินทางไปจวนถึงอำเภอปรานบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันนั้นผมเดินตั้งแต่เช้าแล้วเดิน..ไม่ใช่เดินหลงนะ แต่ผมเดินไปนึกว่ามันจะเดินไปตามทะเลได้ ไปสุดเขตที่อำเภอปากน้ำปรานแล้วเดินต่อไม่ได้เพราะถนนที่จะตัดผ่านอุทยานไม่มีต้องย้อนกลับมาที่อำเภอปรานบุรี แต่ปรากฏว่าการเดินทั้งวันวันนั้นหน่ะผมไม่มีน้ำติดตัว เพราะฉะนั้นวันนั้นตอนที่เดินกลับขึ้นมาถึงค่ายธนะรัชต์ อยู่บนถนนเพชรเกษมที่จะลงใต้เนี่ยนะผมรู้สึกกระหายน้ำเหมือนใจจะขาดแล้ว ก็เลยจึงไปเจอปั๊ม ป.ต.ท. อยู่ด้านซ้ายมือขาลงนะครับก็เลยเข้าไปนั่งในปั๊มตรงหน้าร้านเซเว่น ตอนนั้นผมเอง..ก็จริง ๆ ไม่ปรารถนาจะนั่งที่ปั๊มจะเป็นการไปรบกวนคนอื่นแต่รู้สึกเหมือนกับที่นั่งไม่มีเลยมันเป็นย่านอำเภอปรานบุรีซึ่งมีบ้านคน

    ที่เล่าตรงนี้เพียงเพื่อจะบอกเล่าความรู้สึกอันหนึ่งนะครับ ความรู้สึกนี้อาจจะเป็นอะไรบางอย่างที่จะทำให้ผมขยายละเอียดเล่าเพิ่มเติมได้  ขณะที่ผมนั่งและผมก็ไม่ได้กินอาหารและผมก็ไม่ได้ดื่มน้ำร่างกายแย่มาก  ตั้งใจจะไปกินน้ำก๊อกตรงอ่างล้างมือที่ปั๊มเค้ามีให้  แต่พอจิบไปเล็กน้อยก็รู้ว่าน้ำที่ก๊อกนี้ไม่ใช่น้ำดื่มมันเป็นน้ำสำหรับใช้เพื่อล้างมือมันเป็นน้ำที่สูบจากผิวดิน  มันมีลักษณะที่ผมรู้โดยธรรมชาติของการดื่มน้ำปกติ  ผมจึงมานั่งอยู่ตรงหน้าเซเว่นแต่ก็เจียมเนื้อเจียมตัวไปนั่งที่ม้าหินที่ถัดสุดถัด  ในขณะที่นั่งอยู่นั้นนะครับมีชาวมุสลิมซึ่งเขาคงสงสัยผมมาตั้งแต่ตอนผมเดินมาแล้วหล่ะ  เขาเข้ามาแล้วก็มานั่งใกล้ผมแล้วก็ถามผม  สุดท้ายเมื่อถามผมแล้วก็รู้ว่าผมเดินมาแล้วก็มีวัตรปฏิบัติอย่างไรเขาก็พูดกันว่าผมกำลังทำเหมือนพวกเรา  “พวกเรา” ก็คือพวกเขาอ่ะนะ  ผมก็ไม่ทราบว่าคำว่าพวกเรานี่คือทำอย่างไร  แต่ถ้าเป็นชาวมุสลิมก็คงมีวิธีการทำแบบนี้เหมือนกัน  เพราะผมตอบเขาว่าผมต้องการจะชำระจิตของผมให้สะอาดให้มีจิตใจที่มั่นคงอะไรอย่างนี้นะครับ 

    แต่ที่เล่ามันมีความสำคัญตรงนี้ครับ  เมื่อเขารู้ว่าผมไม่มีอะไรกินและไม่มีเงินมีทองเขาเลยถามผมว่าถ้าเขาจะซื้ออาหารให้ผมกินผมจะรับได้ไหม  ผมก็ตอบเขาเพียงแค่ว่าผมไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่เป็นเรื่องกฎเกณฑ์ข้างนอก  ผมมีหลักเพียงแค่ว่าผมจะมีชีวิตอยู่โดยไม่เบียดเบียนผู้ใด  ถ้าการที่ผมทำอะไรไปแล้วและผู้อื่นเดือดร้อนผมจะไม่ทำสิ่งนั้น  ถ้าการที่เขาจะทำสิ่งที่เรียกว่าการซื้ออาหารให้ผมนั่นถ้าเขาเดือดร้อนอย่าทำเลย เพราะเขามีความลำบากอย่าทำเลย  เขาบอกว่าเขาไม่เดือดร้อนเขาไม่ลำบาก  พูดเช่นนั้นแล้วเขาก็รีบเอาเงินให้คนหนึ่งไปซื้ออาหารมาให้ผม  แต่สุดท้าย..เล่าย่อ ๆ ก็คือพอเขาเอาอาหารมาผมก็รับอาหารคือเครื่องดื่มเป็นนมถั่วเหลืองแล้วก็ขนมปัง..ขนมที่อยู่ในถุงซองพลาสติกที่ฉีกแล้วก็กินได้เลยนะครับ..แล้วก็คืนที่เหลือให้เขาแล้วเขาก็บอกว่าเขาต้องไปยะลา ซึ่งมันไกลมากตอนนั้นมันเย็นมากแล้วเขาก็คิดว่าเขาไม่ควรจะไปถึงดึกดื่นเกินไป  จริง ๆ ก็มืดแล้วหล่ะเขาจึงต้องไป  ตอนที่เขาไปนะครับเขาก็อวยพรให้ผมแล้วเขาก็ไปขึ้นรถ  พอเขาขึ้นรถไปความที่ผมก็หิวอยู่แล้วผมก็รีบเจาะนมถั่วเหลืองเอาหลอดที่อยู่ข้างกล่องมาเจาะแล้วก็ดูดนมถั่วเหลืองแล้วก็แกะเอาขนมปังจากถุงพลาสติกมากัดไปได้คำนึง 

    ช่วงขณะที่กัดขนมปังไปได้คำนึงแล้ว ก็ดื่มนมถั่วเหลืองไปนิดหน่อยคนที่เขาไปขึ้นรถเขาก็ขับรถอ้อมแล้วก็มาผ่านหน้าร้านเซเว่นใหม่เหมือนจะต้องการมาทักทายผมใหม่อีกครั้งนึง  เขาหมุนกระจกลงแล้วก็โบกมือให้ผม  ขณะที่เขาโบกมือให้ผมเนี่ยนะครับผมเลยเอามือที่ว่างเนี่ยนะโบกมือเขาตอบ  แล้วตอนนั้นมันก็มีความรู้สึกได้ถึงความหมายอะไรบางอย่าง  เมื่อเขาผ่านไปแล้วผมก็เลยดูดนมถั่วเหลืองต่อ ชั่วขณะที่ผมดูดนมถั่วเหลือง  ในขณะที่จิตยังเห็นชาวมุสลิมที่เขาขับรถจากไปเนี่ยผมแหงนหน้าขึ้นบนฟ้ามันมีความรู้สึกอันหนึ่งที่นึกถึงอาจารย์ซอแระแล้วบอกไม่ถูก  เมื่อผมเดินทางเสร็จกลับไปที่เชียงใหม่แล้วผมก็ไปหาอาจารย์ซอแระแล้วก็เล่าเหตุการณ์นี้ให้ฟังถึงว่าวันนั้นที่ผมดื่มอาหารเนี่ย..ดื่มนมแล้วกินขนมปังเนี่ยผมมีความรู้สึกเหมือนกับว่าพระอัลเลาะห์ประทานอาหารนี้ให้กับผม  ผมรู้สึกตื้นตัน..ผมไม่เคย..แล้วผมก็เล่าความรู้สึกอะไรบางอย่างละเอียดมากกว่านี้นะครับ  ผมยังจำได้ว่าอาจารย์ซอแระพูดกับผมด้วยภาษาที่งดงามมากนะ  อาจารย์ใช้คำว่า “ผมเป็นบ่าวผู้รับใช้พระองค์อยู่โดยแท้ แต่ยังไม่ได้รับเมตตาเหมือนที่อาจารย์ได้รับเลย” อย่างเนี่ยนะ  ผมเล่าตรงนี้ให้ฟังเพียงเพื่อที่จะบอกว่าความหมายนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องทางพุทธศาสนาเลยนะครับ  แต่ผมก็ยังมีความรู้สึกที่ดีกับปรากฏการณ์นี้ได้

    ทีนี้ประเด็นที่ผมเล่าตรงนี้เพื่อจะกลับมาสู่ประเด็นที่ต่อมา ก็คือพอมาถึงจุด ๆ หนึ่งผมก็เลยมีความรู้สึกได้ว่ามันมีความเป็นธรรมชาติอะไรบางอย่างอยู่ในทุก ๆ มิติของในศาสนาหรือรูปแบบของการปฏิบัติที่สัมพันธ์กับเรื่องภายใน  กรณีเรื่องของชาวมุสลิมเนี่ยผมรู้สึกได้ถึงความหมายของการที่จิตของชาวมุสลิมที่ผูกพันกับองค์พระผู้เป็นเจ้านะครับ  แล้วก็มีความหมายแบบนี้ก็ทำให้ผมกลับมาสู่ฐานของความหมายภายในใจของผมเอง และที่สำคัญคือทุกครั้งที่มันมีปฏิบัติการในเชิงการจาริกด้านในเนี่ยผมจะสำรวจตรวจสอบสภาวะที่มันเป็นปรากฏการณ์ว่า เราจะจัดการกับมันอย่างไรให้มันกลับมาสู่ฐานของความหมายที่จิตของเรามั่นคงแล้วก็เบิกบาน ไม่กระทบกระเทือนไม่หวั่นไหวเมื่อมีอารมณ์ หรือสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นและทำให้เราหวั่นไหว 

    เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันเป็นปรากฏการณ์นี้เนี่ยนะครับจึงทำให้ผม..ถึงจุด ๆ หนึ่ง มันเลยดูเหมือนประหนึ่งว่าผมไม่ค่อยอยู่กับกรอบใดกรอบหนึ่ง  เพราะไม่ค่อยอยู่ในกรอบใดกรอบหนึ่งเลยทำให้ถูกมองว่าผมเป็นอะไรไปเสียแล้ว  แต่ผมไม่ได้สนใจในตัวผมเองตรงนี้นะแต่ว่าคำถามนี้มันมาจากคนอื่น  บางคนถามว่าผมยังเป็นพุทธอยู่ไม๊  หรือผมยังศรัทธาในวิถีของเถรวาทอยู่ไหม  ผมศรัทธามากกว่าเดิมอีกแต่ความหมายของผมก็คือผมไม่ได้ศรัทธาในเถรวาทมากกว่าเดิมแล้วผมจะรังเกียจรูปแบบของมหายาน หรือวัชรยานไม่ใช่อย่างนั้นนะครับ  หรือแม้กระทั่งเมื่อผมศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคงแล้วผมจะรังเกียจความเชื่อความศรัทธา  มันเหมือนกับที่เราเล่ากันตอนบนโต๊ะอาหารใช่ไหมว่าซิสเตอร์ซึ่งเป็นผู้อาวุโสอายุเก้าสิบแล้วเนี่ยนะเมื่อท่านฟังผมพูดแล้วท่านก็รู้สึกชื่นชม  แล้วเมื่อผมจะลาท่านและท่านปรารภขึ้นมาว่าแล้วเราจะได้เจอกันอีกไม๊นี่ ผมก็บอกว่าสุดแท้แต่พระประสงค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า  ท่านก็พูดตอบทันทีว่าถ้าพูดเช่นนั้นก็แสดงว่าเราจะได้พบกันแน่นอนในอาณาจักรของพระองค์ เพราะความหมายก็คือถ้าเราสามารถวางใจว่าทุกสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ก็แสดงว่าเราศรัทธาในพระองค์และถ้ามีใครศรัทธาในพระองค์เช่นนี้ก็แสดงว่าตายไปก็จะได้กลับคืนสู่อาณาจักรของพระองค์แน่นอน

    คำพูดแบบนี้ผมเอามาเล่ายาวไปนิดหนึ่ง ก็เพราะว่าอยากจะให้ทุกท่านในที่นี้ซึ่งมาปฏิบัติธรรมได้มีความมั่นคงในวิถีที่เราปฏิบัติอยู่ และเมื่อเราปฏิบัติในวิถีนี้แล้วผมเชื่อว่าพอเราไปถึงจุด ๆ หนึ่งเราจะพบเลยนะครับ  พบเหมือนตอนที่ผมกลับไปเยี่ยมครูของผมที่อินเดียในปี 50 ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมดีใจมากที่ครูคนแรกในอินเดียที่สอนผมอ่ะหนะสอนวิชา ... (เสียงไม่ชัดเจน) คือพระเวท และครูคนนี้ยังไม่เสียชีวิตแต่แก่มากความจำไม่ค่อยดีแล้ว  แต่ขณะที่ผมไปคุยกับท่านเนี่ยท่านมีความจำดีมากคุยกับผมนานมาก  ที่สำคัญตอนที่ผมถามถึงว่าผมอยากให้ท่านแนะนำผมว่าเราจะมีวิธีเข้าสู่เป้าหมายสุดท้ายในชีวิตอย่างไรประมาณเนี้ยอ่ะนะ  ท่านก็ตอบผมว่า “ถ้าเมื่อผมสมาทานพระรัตนตรัยเป็นสรณะมีพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมครู แล้วเดินไปทางนั้นสุดท้ายเราจะได้พบกันแน่นอน เพราะว่าในวิหารแห่งความหมายอันสูงส่งในชีวิตนั้น  จะมาประตูไหนเข้ามาทางไหนไม่ใช่เป็นประเด็น  ประเด็นคือเมื่อเราไปอยู่ในวิหารนั้นแล้วเราจะอยู่ในที่เดียวกัน” คำตอบของครูนี้ดูเหมือนกับเป็นสำนวน แต่ความจริงมีความหมายที่ดีมาก  ท่านเป็นฮินดูผมเป็นพุทธแต่เราก็มีความเคารพมีการสัมพันธ์กันในเชิงศิษย์ครูที่ดี 

    ทีนี้ประเด็นนี้นะครับที่ผมมาตอบซะยาว ก็เป็นเพียงแค่จะบอกว่านะ..แค่จะบอกตอบ..อาจจะไม่เหมือนกับตอนที่ตอบไปว่า ทำอย่างไรที่จะทำให้เราไม่ว่าอยู่ที่ไหนให้เราสามารถใช้ประโยชน์กับสิ่งที่มันมีอยู่รอบตัวเราให้เป็นคุณได้  ผมเลยยกตัวอย่างกรณีอาหารว่าผมเนี่ยไปอยู่อินเดียนานตอนแรกเรียนปริญญาตรีอยู่ไม่เคยคิดทำอาหารเองเลย  กินอาหารหอพักมาตลอด  แต่ต่อมาเมื่อผมเรียนสูงขึ้นและก็มีเพื่อน ๆ โดยเฉพาะพระภิกษุที่ไปอยู่ในอินเดียแล้วมีปัญหาในการฉันอาหารของท่าน  ผมก็เลยใช้ความรู้ความสามารถในการอยู่อินเดียนานแปลงวัตถุดิบ วิธีการ เครื่องมือทุกอย่างที่มีอยู่ในอินเดียมาทำอาหารถวายพระ จนกระทั่งพระที่กลับมาเมืองไทยแล้วก็ยังเล่าขานถึงเรื่องว่าไม่เคยกินแกงฉู่ฉี่ปลาจาระเม็ดขาวที่มันอร่อยเหมือนที่อาจารย์ประมวล ... (เสียงไม่ชัดเจน) ทำให้ฉันที่ในอินเดียเลยอะไรประมาณนั้นนะครับ  แต่ที่พูดเช่นนี้ก็คือเรากำลังพูดในเชิงอุปมานะครับว่า เราจะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า สิ่งที่มันปรากฏเป็นตัวเป็นเราอยู่กับเราเนี่ยนะครับให้เป็นวิถีในการเข้าถึงสภาวะ  เกิดความรู้แจ้งในอารมณ์ให้ได้ 

    คำว่า “รู้แจ้งอารมณ์” ก็คือไม่ตกอยู่ภายใต้กระแสที่ถูกอารมณ์พัดพาไปในลักษณะที่ทำให้เราเกิดความขุ่นมัวเศร้าหมองหวั่นกลัวเนี่ยนะครับ  เพราะฉะนั้นโดยรูปแบบที่ว่านี้นะครับพอมาถึงจุด ๆ หนึ่งถ้าเราอยู่ในเถรวาทไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับใครก็ใช้เถรวาทเนี่ยละครับ  แต่ถ้าในเถรวาทของเรามีหลายรูปแบบ ถ้าสมมุติว่าเกิดมีรูปแบบไหนน่าสนใจเกิดอยากจะทดลองดูก็ไม่ใช่เรื่องน่าเสียหายอะไร  แต่ที่แน่ ๆ ก็คือให้จำไว้อย่างเดียวเท่านั้นเองก็คือว่า รูปแบบที่จะใช้นั้นก็เพื่อที่จะสนองเป้าหมายที่มันเป็นเป้าหมายแห่งการปฏิบัติธรรมก็คือเราต้องรู้แจ้งธรรม  เพราะฉะนั้นในความหมายนี้เนี่ยนะครับ กรณีที่พวกเราไม่ได้ไปศึกษาลัทธินิกายอะไรมากก็อยู่ในเถรวาท  แต่ถ้าใครวันหนึ่งสนใจ มีเพื่อนฝูงมีคนรู้จักเป็นมหายาน หรือบางทีพวกเราที่มาทางสายสังคมคนจีนครอบครัวชาวจีนก็ย่อมจะมีความเชื่อมหายานอยู่ด้วยโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวอยู่แล้วนะครับ เพราะในคติของวัฒนธรรมจีนมาจากมหายานก็อย่าไปรังเกียจใด ๆ ที่จะเรียนรู้สิ่งเหล่านั้นแล้วก็ปฏิบัติตามแนวทางนั้น แต่ให้สำคัญคือให้ผลที่มันเกิดขึ้นคือเป็นผลของการที่เราเนี่ยอ่ะนะครับ.. พูดกันตรง ๆ คือให้ได้ผลของการปฏิบัติธรรม  ถ้าเราเป็นโรคผลก็คือเราหายจากการเป็นโรค  ปัจจุบันนี้เรามีความทุกข์ท่วมทับบีบคั้นเราอยู่  ปฏิบัติเพื่อให้คลาย จางคลายไปให้ออกมาจากนั้นได้ก็โอเค  นั่นคือสิ่งที่ผม..คิดว่าเป็นความเห็นของผมนะ  เดี๋ยวพระอาจารย์ท่านอาจจะมีอะไรที่เป็นข้อสังเกตุให้กับพวกเราครับ.

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service