แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อาจารย์คะ ถ้าเกิดในช่วงจังหวะที่เรายังออกจากความคิดไม่ได้ แล้วเราจะเหมือนกับว่าอยู่กับ ความคิด คือเหมือนกับว่ามีเคยช่วงเวลาที่รู้สึกว่า ความคิดมันก็เป็นเหมือนแทบจะเป็นอวัยวะหนึ่งอีกชิ้นหนึ่งของร่างกายเรา เราก็แค่เห็นมันเหมือนกับว่าที่เราเจริญกายคตาสติ ก็เหมือนมองแขนขาเคลื่อนไหว เราก็มองมัน มองก็เห็นมัน แค่มองมันก็เป็นแค่อวัยวะอย่างหนึ่ง เราก็แค่อยู่กับมันไปก่อนได้ไหมคะ
# จริง ๆ ที่มองแบบนั้น ก็แสดงว่าออกจากความคิดได้แล้วนะครับ แต่ผมจะพูดใหม่ คือขอโทษ ผมไม่ได้ไปวางพื้น จริงๆน่ะ ในการปฏิบัติธรรมเนี่ยนะ ถ้าเราจะพูดในเชิงทฤษฎีเนี่ย เขาจึงมี“สมถะ” กับ “วิปัสสนา” ถ้า จะพูดในเชิงเทคนิคน่ะนะครับ สิ่งที่มันเป็นสมถะเนี่ยครับ จริงๆ ก็คือการฝึกอยู่กับความคิด เพราะว่าขณะที่เรา บอกว่าความคิดมันก่อให้เกิดปัญหาเนี่ย แต่หมายความคือความคิดมันเป็นความคิดฝ่ายอกุศลนะครับ เพราะฉะนั้นในกระบวนการของสมถกรรมฐาน เขาจึงให้เราอยู่กับความคิด แต่เขาเปลี่ยนความคิดที่เป็นอกุศลนี่ ให้เป็นกุศลเสีย นึกถึงภาพนะครับเวลาที่เราคิดถึงคน เราคิดถึงคน ถ้าเราไปคิดถึงคนที่เป็นศัตรู เราก็อยู่กับศัตรู ถูกไหมครับ หรือแม้กระทั่งถ้าเราคิดถึงคนที่เรารัก ก็ยังอยู่กับความรักที่เป็นความหวงแหน เพราะฉะนั้นในอารมณ์กรรมฐานที่เป็นสมถกรรมฐาน ที่เขาบอกว่าเจริญอนุสติ ให้จำภาษาเทคนิคไว้นะครับ เวลาที่เราพูดถึงสติในวิปัสสนาเราจะเรียกว่า “สติ” แต่ถ้าเวลาเราพูดถึงในสมถะเราจะเรียกว่า “อนุสติ แปลว่า การตามระลึกถึง”
จริงๆ สติไม่ควรแปลว่าระลึกถึงน่ะนะ แปลว่า รู้ แต่โอเค เราเนื่องมาจากตรงนั้น เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดถึงอารมณ์กรรมฐาน เราจึงมีพุทธานุสติ นึกถึงภาพที่เราคิด เรานึกถึงพระพุทธเจ้าอย่างนี้น่ะนะครับ หรือแม้กระทั่งที่เราบอกว่าไม่ให้คิดถึงอนาคต แต่ในอารมณ์กรรมฐาน เรามีมรณานุสติเราไม่เคย ตายนะครับ ความตายเป็นเรื่องในอนาคต เราคิดถึงความตาย การคิดถึงความตายเช่นที่ว่านี้ ก็เป็นอารมณ์ กรรมฐานจึงมีมรณานุสติ
เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดถึงสิ่งที่เป็นการปฏิบัติ ถ้าเราเป็นนักปริยัติเนี่ย เขาจึงบอกเรา ต้องเริ่มต้นนะครับ ถ้าต้องการจะฝึกฝนเรื่องกรรมฐาน ถ้าเรายังไม่สามารถจะออกมาจากความคิดได้ ก็ให้เราเปลี่ยนสิ่งที่เรียกว่าความคิด ที่เป็นความคิดฝ่ายอกุศลนะครับ ให้มาเป็นความคิดฝ่ายกุศล มันจึงมีพุทธานุสติ ธรรมานุสติ ศีลานุสติ จาคานุสติ นึกถึงภาพสิครับ ถ้าคิดจะเอาเนี่ยมันเป็นฝ่ายอกุศลนะ เอ..จะได้อะไรจากคนนี้ ถ้าเราเจอใครแล้วบอกว่าจะให้อะไรกับคนนี้ มันเป็นความหมายที่เชิงจะให้ การคิดถึงการให้เนี่ยนะครับมันก็ เป็นความคิดที่เป็นกุศล
เพราะฉะนั้นในบรรทัดฐานของคนที่เจริญกรรมฐานในอดีตนี่นะ แต่บังเอิญว่าวันนี้เหมือนเรากระโดดเพราะเราเห็นว่าพวกเรา Advance มากแล้ว เพราะวิธีการที่หลวงพ่อเทียนท่านสอน หรือว่าพระอาจารย์ ท่านสอนเนี่ย เราสอนในฝ่ายที่เป็นวิปัสสนาแล้วนะครับ เป็นการเจริญสติก็คือทำให้เกิดสภาวะของการรู้เกิดขึ้น แต่ทีนี้ไม่ได้กลับไปพูดเบื้องต้น ทีนี้พอน้องถามก็เลยนึกขึ้นได้ว่า อ้าว เออใช่สินะ มันไม่ใช่อยู่ดีๆ ทุกคนจะมาฝึกฝนนี้ได้เลย เพราะฉะนั้นจำไว้เลยนะครับ ความคิดไม่ใช่เป็นสิ่งเลวร้ายอะไร แต่ที่เราต้องปกป้องมันเพราะความคิด มันมี ธรรมชาติที่มันจะไหลไปสู่ฝ่ายต่ำ และความคิดที่ฝ่ายต่ำเนี่ย มันนำสภาวะที่กลายมาเป็นความขุ่นมัว เศร้าหมอง คับแค้น ให้ปรากฏขึ้นในใจของเรา แต่ถ้าเมื่อเรายังต้องอยู่กับความคิด ให้คิดถึงสิ่งที่ดีๆ เพราะฉะนั้นในอารมณ์ กรรมฐาน 40 ที่เราพูดถึงกันในเชิงปริยัติเนี่ย มันจึงมีความคิดผสมอยู่ทั้งนั้นเลย แต่คิดถึงสิ่งที่มันดี ขอโทษนึกถึงภาพสิครับ เวลาเราเจริญมรณสติเนี่ยนะครับ ที่เรากำลังมีความประมาท เลินเล่อหรือลุ่มหลงอะไรบางสิ่งบางอย่าง อยู่ในนี้ พอเจริญมรณานุสติมันเป็นอุบาย ที่ระงับความหมายนั้นได้เลยนะ โอ้จะเอาอะไรกันนักหนา เดี๋ยวก็ตาย กันแล้วประมาณนี้น่ะนะครับ แต่กรณีความตาย มันมีทั้งมรณานุสติซึ่งเป็นหนึ่งในอารมณ์กรรมฐาน แล้วก็มีความ ตายซึ่งเป็นวิปัสสนาที่เราเป็นมรณสติก็มีนะครับ เพราะฉะนั้นเวลาเราพูดถึงกรณีเรื่องความตายต้องแยกให้ได้ ระหว่าง “มรณานุสติ”กับ “มรณสติ” อย่าเอาสองสิ่งนี้ผสมกันนะครับ เพราะ “มรณานุสติคือนึก ระลึกถึง ความตาย” เช่น นึกว่าความตายเป็นปกติ ความตายเป็นธรรมดา ความตายเป็นที่สุดรอบของชีวิต ไอ้ความคิดแบบนี้น่ะนะครับเป็นมรณานุสติเป็นอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งถ้าเราเจริญไปแล้วทำให้จิตของเราสงบ ระงับจากการถูก รบกวนด้วยมลทินกิเลสได้ครับ