แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ผู้ถาม (ญ): ขออนุญาตค่ะอาจารย์ พอดี เรื่อง“ตัวรู้”น่ะค่ะอาจารย์ อยากจะให้อาจารย์ขยายเรื่องตัวรู้หน่อย เพราะว่าบางทีเริ่มปฏิบัติใหม่ตัวรู้มันก็น้อยนะคะ และยิ่งอีกอย่างหนึ่งบางทีเจอ เจอเรื่องหนักๆหรือเรื่องที่แรงๆกับชีวิต หรือชีวิตประจำวันเนี่ย บางทีรู้อย่างเดียวมันเอาไม่อยู่น่ะค่ะ อยากให้อาจารย์ช่วยเพิ่มเทคนิคด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
อาจารย์: ในส่วนเรื่องเพิ่มเทคนิคนี่ผมอาจไม่ชำนาญ เดี๋ยวพระอาจารย์อาจจะช่วยเพิ่มได้ แต่พูดประเด็นเรื่องตัวรู้ก่อนครับ เมื่อตอนเช้าผมเปรยไปนิดหนึ่งนะครับ แต่ว่านี่มันมาเป็นคำถาม เพราะฉะนั้นกรณีนี้อาจจะทำให้เรามีโอกาสคุยในลงลึกไปได้นะครับว่า ไอ้ตัวจิตแท้ๆเนี่ยนะ ที่เป็นภาษาพระท่านเรียกว่าจิตเดิมแท้เนี่ยนะ จิตที่ประภัสสร หรือจิตเดิมแท้เนี่ย มันเป็นตัวรู้อยู่แล้ว มันเป็นตัวรู้โดยธรรมชาติของมัน มันเป็นตัวรู้อยู่แล้ว แต่ทีนี้ว่าไอ้จิตมันทำหน้าที่หลายอย่าง พูดง่ายๆว่า ทำหน้าที่หลายอย่าง พอทำหน้าที่หลายอย่าง ไอ้ตัวการแย่งชิงพื้นที่ หรือความสามารถในการทำเนี่ย พอเราใช้ความคิดมาก ไอ้ตัวสมรรถนะในตัวรู้เนี่ยมันก็เหมือนกับ นึกถึงภาพว่าปากสามารถกินข้าวก็ได้ พูดก็ได้ แต่ถ้าพอเราพูดคุยกันเพลิน กินข้าวช้าลงนะ (หัวเราะ) ...กินข้าวช้าลง หรือว่าถ้าเราอยากจะกินข้าวให้เสร็จเร็วๆ เราก็จะต้องพูดให้น้อยลงเพราะว่าเรามีความรู้สึกเหมือนกับ กินกับพูดเนี่ย มันพูดพร้อมกันไม่ได้เนี่ยนะครับ
ผมยังนึกภาพได้ ตอนผมไปอินเดียครั้งก่อนและมีคนนำทางคนหนึ่งซึ่งเป็นคนอินเดีย และเขารู้จักภาษาไทยดีมาก เขาดีมากจนกระทั่ง เขาก็คุยเรื่องนั้นเรื่องนี้ แล้วผมก็ถามถึงพระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ในอินเดีย ท่านสอนอะไรคุณบ้าง? เขาก็บอกว่าท่านสอนผมดีมากเลย บอกว่า “..เอาปากไว้กินข้าวบ้าง อย่าพูดมากนัก” (หัวเราะ) ประมาณนี้นะครับ คือหมายความว่า ถ้าพูดมากก็ต้องกินข้าวกินน้อยลงประมาณนี้ ทีนี้คนคนนี้เขาพูดมากไง และพูดเป็นทำนองซุบซิบนินทาด้วยไง พระคงไม่ค่อยพอใจประมาณนี้
แต่ที่พูดตรงนี้คือกำลังพูดถึงว่าจิตของเราเนี่ยมันทำหน้าที่ในการรู้ ในการคิดปรุงแต่ง ในการเก็บจำอะไรเยอะแยะมากมาย เพราะฉะนั้นส่วนที่มันเป็นนามในขันธ์ทั้ง 5 เนี่ยนะ มันทำหน้าที่นี้มาก เพราะฉะนั้นที่เรากำลังพูดกันเนี่ย จริงๆมันกำลังพูดในความหมายว่าเพื่อจะมาจัดสรร สิ่งที่เรียกกันว่าภารกิจของจิตเนี่ยนะ ให้มันมาทำหน้าที่หลักเลย ให้เป็นหน้าที่หลักให้สำคัญมากขึ้นเนี่ยนะ หน้าที่หลักคือหน้าที่รู้ตรงนี้ เพราะสุดท้ายแล้วสิ่งที่มันเป็นความหมายที่สำคัญของจิตตัวนี้เนี่ยนะครับ คือจิตนี่มันแปลกนะครับ มันทำหน้าที่ทั้งเป็นฝ่ายตัวรู้ และมันก็ทำหน้าที่ทั้งเป็นฝ่ายถูกรู้ด้วยนะ นี่ถ้าพูดกันในภาษาเชิงเทคนิคเนี่ยนะ เพราะว่าเวลาเราพูดถึงว่าเวลาจิต เวลาเราบอกว่าในการเจริญ(สติ)เนี่ย ไอ้ตัวกายยังไม่เท่าไหร่ แต่พอเป็นเวทนา พอไปเป็นไอ้ตัวความคิด ตัวจิต ตัวธรรม มันเป็นเรื่องของสภาวะภายในจิตภายในใจทั้งนั้น ภาษาศัพท์เทคนิคมันยังใช้ยากเลยนะครับ ขอโทษนะครับเวลาเราใช้เป็นภาษาเทคนิคเนี่ย คำว่า “จิต”เนี่ย เราแปลมาจากคำว่าจิตโดยตรงเลยนะ แต่คำว่าใจเนี่ยเราแปลมาจากคำว่า “มโน(จริต)”นะ “มานะ(จริต)” เนี่ยนะ เพราะฉะนั้นไอ้ตัว “มานะ” คือกระบวนการที่ทำงานในเชิงความคิดและการรับรู้ที่ไม่ใช่เป็นปกติแล้ว หมายความว่ามันเป็นการขับเคลื่อน เคลื่อนไหวซึ่งสำคัญแล้ว
ทีนี้ประเด็นเหล่านี้เนี่ยนะครับ ผมเข้าใจว่า ถ้าเรานะครับ..ถ้าเราสามารถเพียงแค่ให้จิต คิดน้อยลง หรือทำให้จิตปลอดพ้นจากการคิดเสียบ้าง ไม่ต้องไปบังคับฝืนใจเรื่องรู้เลยนะครับ มันจะทำหน้าที่รู้เนี่ยได้เร็ว ได้ชัดขึ้นนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ ผมเข้าใจว่านี่เป็นธรรมชาติที่..อธิบายค่อนข้างยาก แต่ที่ผมเล่าไปเมื่อเช้าจริงๆเจตนาจะเล่าตรงนี้นะครับ จะเล่าตรงนี้ว่าเวลาผมเกิดความรู้สึกปีติตื้นตันในความหมายอะไรบางอย่าง มันเป็นจังหวะที่ผมไม่อยู่กับ ความคิดปรุงแต่ง แล้วก็รู้อารมณ์ที่มันเกิด พอรู้อารมณ์ที่มันเกิด พอได้ยินเสียง พอได้เห็นภาพ เห็นอะไรเหล่านั้นแล้ว เราไม่คิดปรุงแต่งเนี่ย มันกลับพบความมหัศจรรย์ ความมหัศจรรย์ที่ว่านี้นะครับ มันเป็นสิ่งที่ เป็นอะไรที่มันบางๆ หรือมันฉับไวมาก เพราะฉะนั้นความหมายที่ผมอยากจะเสนอตรงนี้คือ ทันทีที่เราใช้จิตคิดปรุงแต่งให้น้อยลงสมรรถนะในการรู้แจ้งอารมณ์ก็จะเพิ่มพูนขึ้นเป็นสัดส่วน ยิ่งถ้าพอเรามีความปลอดพ้นจากการคิดนะครับ เพราะเวลาเราอยู่ในองค์ฌานอะไรประมาณนี้ เราถึงบอกว่ามันมี มีสิ่งที่มันเป็นปาฏิหาริย์อะไรบางอย่างนะ นึกถึงภาพนะ ถ้าเราพูดในเชิงทฤษฎีว่าเมื่อพระเจริญสมถกรรมฐานจนกระทั่งจิตนิ่งสงบแล้วเนี่ยนะครับ แม้ไม่เอาจิตมารู้อารมณ์ แต่มันนิ่งสบเพียงพอแล้ว มันจึงเกิดสภาวะที่สำคัญ ที่มันเป็นปรากฏการณ์อะไรบางอย่างทางจิตที่ครูบาอาจารย์ท่านเล่าให้เราฟัง
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นประเด็นนี้ ผมเลยจึงเอามากล่าวย้ำตรงนี้เพียงแค่ว่า ถ้าเราสามารถฝึกสร้างจังหวะนะครับ ให้จิตของเราอยู่กับปัจจุบัน พออยู่กับปัจจุบันมันก็ไม่ต้องคิด พอไม่ต้องคิด จิตก็จะมีความสามารถที่จะรู้ และสุดท้ายแล้วความสามารถที่จะรู้เนี่ย มันจะเกิดสมรรถนะที่จะรู้แจ้งอารมณ์ที่เข้ามากระทบ พอเข้ามากระทบแล้ว พอจิตรู้แจ้งอารมณ์ มันก็เท่ากับ “รู้เท่าทัน” คำว่า “รู้เท่าทัน” ก็คือ เมื่อรู้แล้วก็ไม่ปล่อยให้สถาวะที่เป็นอารมณ์ที่เขาอยู่ภายในใจเนี่ย มากดทับ มาบีบคั้นบังคับอะไรได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่มันเป็นความทุกข์ สิ่งที่มันเป็นความขุ่นมัว สิ่งที่มันเป็นความหวั่นกลัวเนี่ยนะครับ มันล้วนแต่เป็นผลจากการคิดปรุงแต่งทั้งนั้น เพราะถ้าเราไม่คิดปรุงแต่ง มันก็จะเกิดสภาวะที่รู้และก็เข้าถึงความหมายนั้นโดยเขาเรียกว่าเป็น “ความรู้แจ้ง” ครับ