แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
“ปัจจุบันขณะ” ไม่มีสิ่งที่เรียกว่านาน ไม่มีสิ่งว่าเร็วว่าช้านะครับ และผมพูดตรงนี้ด้วยความเห็นใจทุกๆท่านที่อยู่ในช่วงวัยของคนที่เป็นคนประมาณซักยี่สิบต้น ๆ เนี่ยนะครับ พวกเราถูกทำให้อยู่ในโลกที่มีความเร็วเป็นปกติ โลกที่อยู่กับความเร็วเป็นปกติ เราจะรู้สึกว่ามันช้าเมื่อไปอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งและอดทนไม่ได้ นี่เป็นสมรรถนะอย่างหนึ่ง นี่คือปัญหาของคนรุ่นใหม่นะครับ
คำว่าปัญหานี้ไม่ได้เอามาเป็นความผิดนะครับ แต่มันเป็นปัญหา คือหมายความเป็นข้ออุปสรรคของคนรุ่นใหม่ที่เราเติบโตมาในโลกที่มีความเร็ว โลกที่มีความเร็วเนี่ยนะครับ มันจะทำให้รู้สึกรังเกียจเกลียดกลัวความช้า ที่นี้พอเรารังเกียจเกลียดกลัวความช้า อะไรเราอยากให้เร็วหมดเลยนะครับ จะทำอะไรก็ได้ ขอให้มันเร็ว เพราะงั้นแม้กระทั่งปฏิบัติธรรม ยังพยายามจะไปหาเลยนะครับว่า สำนักไหนปฏิบัติธรรมแล้วจะบรรลุธรรมเร็ว นะครับ อาจารย์รูปไหนจะสอนปฏิบัติธรรม แนะนำปฏิบัติธรรม ถ้ายังคิดเรื่องเร็วอยู่เนี่ยนะครับ อ่า... แสดงว่ายัง ยังไม่พ้นไปจากสิ่งที่มันเป็นความคิด
เพราะความเร็ว มันเกิดขึ้นบนโลกของความคิดน่ะครับ ความเร็วไม่ได้อยู่ในจิตรู้นะครับ ความเร็วไปอยู่ในจิตคิด ถ้าอย่างนั้นสิ่งที่มันเป็นเร็ว มันช้า มันนาน เป็นเรื่องของความคิด เพราะตรงนี้ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ ที่ผมเอามาเล่า เป็นเพียงเพื่อจะเป็นองค์ประกอบเพื่อให้เราทุกคนจะได้มีโอกาสตรวจสอบตัวเอง เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากจะดูว่าเรามีศรัทธาดี ไม่พอ ก็ต้องดูว่าเรามีวิริยะมั้ย ทีนี้เวลาดูวิริยะ ไม่ต้องดูยากนะครับ
ถ้ายังข่มใจอยู่..ไม่ใช่วิริยะนะครับ วิริยะคือหมายความว่าเราทำสิ่งที่มันเป็นการสร้างจังหวะเนี่ย แล้วรู้สึกเรา พูดกันว่าเราเพลิดเพลินน่ะ เราไม่ได้มีความรู้สึกว่ามันยาก เราไม่รู้สึกว่ามันนานแล้ว เรารู้สึกว่า เรามี
นึกถึงภาพสิครับ ผมยกตัวอย่างใกล้ ๆ เหมือนกับว่าเราอ่านหนังสือนะ คำว่าวิริยะที่เราพูดถึงเนี่ยให้ดูจากการอ่านหนังสือ ถ้าเราอ่านหนังสือโดยที่เราไม่ชอบหนังสือเนี่ยนะ จะถูกบังคับให้อ่าน เช่นเราเป็นนักศึกษาต้องเตรียมตัวสอบเนี่ย พอไปเห็นหนังสือเล่มหนา ๆ จะรู้สึก เอ๋ มันอ่านไหวหรื๊อ ประมาณนี้นะครับ อ่านไปก็ยังเปิดดูหน้าไปด้วยใช่มั้ย สมมุติว่าหนังสือสัก 500 หน้า โห อ่านไปได้แค่สี่ห้าสิบหน้าเอง ประมาณเนี่ยนะ
เราก็จะมีความรู้สึก เอ๊ะ แล้วมันจะจบแล้วมั้ย ประมาณเนี่ยนะครับ นี่คือ นี่คือหมายความว่าเราไม่มีวิริยะนะครับ แต่คนที่เค้าชอบอ่านหนังสือแล้วเค้าสนุกกับการอ่านหนังสือ ขอโทษเถอะนะครับ ตั้งใจว่าจะอ่านเล็กน้อย เดี๋ยวจะนอนเพราะพรุ่งนี้ต้องตื่นเช้าเผลออ่านไปจนกระทั่งจบเกือบสว่าง เพราะอะไร เพราะจิตของเรามันอยู่กับ กับปัจจุบันของความหมายที่ปรากฏทุกตัวอักษร ทุกๆ หน้า ทุกๆ ข้อความ เพราะฉะนั้นไอ้สิ่งที่มันจะเป็นความคิดว่าจะ อ่า อะไรเป็นยังไงไม่ใช่
การอยู่กับปัจจุบันอีกอย่างหนึ่งนะครับ ผมเพิ่งมีความรู้ เอามาเล่าให้ฟัง คือผมเนี่ยเป็นคนไม่ชอบนวด ไม่สนใจเรื่องการนวดเลยน่ะครับ แต่มีอยู่ปีหนึ่งผมไปเดินธรรมยาตรากับพระอาจารย์ไพศาลที่ชัยภูมิ พอไปเดิน แล้วพอกลับมาที่บ้าน บ้านภรรยาผมอยู่ชัยภูมิแล้วนะครับ
อ่า ด้วยความหวังดีของน้องภรรยาผม ด้วยความรู้สึกว่าผมเนี่ยไปเดินมาหลายวันคงปวด คงเมื่อย แล้วพอดีมันมีคุณยายคนหนึ่ง ชื่อคุณยายคูน นะครับ คุณยายคูน เนี่ย บ้านแกอยู่ออกไปนอกเมือง ต้องขับรถไปรับแก ทีนี้ อ่า เค้ามีความรู้สึกว่า เดี๋ยวถ้าผมกลับมาเนี่ยจะไปรับยายคูนมานวด เพราะเวลามาแล้วให้นวดหลาย ๆ คนได้เลย แล้วจะนอนค้างคืนที่บ้านได้เลย
ที่นี้พอผมกลับมา น้องคนที่ว่าหวังดีก็บอก เดี๋ยวจะไปรับยายคูนมา แล้วผมจะได้นวด พอไปรับมาแล้วผมจะปฏิเสธว่าไม่ต้องก็กะไรอยู่ ที่สำคัญคือยายคูนแกมาแล้ว แล้วเค้าอ้างว่าให้แกนวดหลายๆ คน แกจะได้ตังเยอะๆ ผมเลยนอนให้แกนวด เฮ้ย ตอนยายคูนนวดเนี่ยนะ ผมลืมไปเลยว่าผ่านไปสองชั่วโมง คือจิตของเราไปอยู่กับไอ้ สัมผัสของแก... อะไรเนี่ยนะครับ
แกนวดไป เราไม่ได้ส่งจิตไปทำอะไร มันรู้สึกดี มันรู้สึก จนกระทั่งว่า ที่รู้ว่าสองชั่วโมง เพราะเค้าเตรียมอาหารไว้ให้ทานไง แล้วมันผ่านไปสองชั่วโมงกว่า แล้วยายคูน แกก็ไม่ได้มีความรู้สึกว่าแกต้องรีบนิ เพราะแกนอนค้างคืนที่บ้าน แล้วอาหารเย็นที่ตักตั้งไว้บนโต๊ะเนี่ย เค้านึกว่าผมจะนวดซักชั่วโมงหรือว่าซักชั่วโมงกว่าๆ
นี่มันสองชั่วโมงผ่านไปแล้วอะ เค้าเลยจึงมาถามผมว่า พี่จะกินอาหารเลยมั้ยเนี่ย มันตั้งไว้บนโต๊ะ ถ้าไม่กินจะเก็บไปอุ่นหรือจะเก็บไว้ก่อน ผมเลย โอ๊ะ เวลามันผ่านไปสองชั่วโมง แสดงว่าตอนนวดเนี่ย จิตของเราอยู่กับปัจจุบันนะครับ เราอยู่กับสัมผัสรู้ นึกถึงภาพนะ แกนวดไป แกก็สัมผัสไป แล้วคนแก่ แกไม่ได้มีกำลังที่ทำให้เราเจ็บ แต่แกมีศิลปะในการนวดและมีความรู้เรื่องนวดมาตั้งแต่ยังสาว ๆ นะครับ ผม เอ้อ การนวดเนี่ย อยู่ อยู่กับปัจจุบันได้เหมือนกันนะ แต่เราไม่ต้องไปทำสมาธิ ไม่งั้นเสียตังค์นะครับ
แต่หมายความถึงว่า ถ้าเราอยู่กับปัจจุบันเนี่ย จิตของเราเนี่ยครับจะไม่คิดถึงเรื่องอนาคต จะไม่ทำให้เกิดมิติของความนาน รึความเร็วความช้า แต่เราจะอยู่กับมัน เพราะฉะนั้นเวลาเราจะตรวจสอบสภาวะที่เป็นคุณสมบัติอินทรีย์เบื้องต้นว่ามีความแก่กล้าแล้วรึยังเนี่ย ให้ ถ้าเราดูศรัทธา ตัวศรัทธาดูไม่เห็น มันไม่ชัดเพราะไม่รู้จะไปเทียบเคียงกับอะไร ให้ดูจากสภาวะ เรามีวิริยะ คือ ความรู้สึกพอใจแล้วก็อยู่กับสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นเวลาคนมีวิริยะจึงนั่งสร้างจังหวะได้ทั้งวัน บางทีสร้างจังหวะจนกระทั่งว่าลืมทำเรื่องอื่นไปเลย นั่นแสดงว่าเค้ามีศรัทธา จิตเค้ามั่นคงกับสิ่งเหล่านี้แล้วเค้าก็เพลิดเพลิน
ที่นี้ถ้าทำอย่างนี้ ต่อเนื่องแบบนี้ ตัวสติมันก็เกิดอยู่แล้วละครับ มันไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องไปโหยหา ไปเรียกร้อง ไปกดดันตัวเองว่า ต้องเจริญสติให้ตื่นรู้ ต้องอยู่ รู้สึกตัว ความรู้สึกตัวเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมชาติไม่ต่างอะไรกับการทานอาหาร ตอนนั่งทานอาหารพวกเราไม่ต้องคิดกังวลนะครับ
ออกมาจากความคิดเลย อย่าไปกลัวว่าจะไม่อิ่ม ตักได้เรื่อยๆ นึกถึงภาพที่ถ้าอาหารอร่อยเนี่ย ไม่ต้องไปคิดอะไร อร่อยมันก็เพลินไป ซักพักหนึ่งมันก็อิ่ม ไม่ต้องไปนั่งลง เอ๊ มันจะอิ่มมั๊ยเน้อ อาหาร ???ที่???ยุวพุทธ ??? อะไร ประมาณเนี่ยนะครับ ไม่ต้องครับ ให้รู้รสอาหารที่เป็นปัจจุบัน ที่ขณะเคี้ยวกลืน ยิ่งถ้าอาหารนั้นมันเป็นอาหารอร่อย ความอิ่มมันจะเกิดขึ้น ตรงความอิ่มเนี่ยมันเป็นผลนะครับที่เกิดขึ้นจากการที่เราทานอาหาร เพราะฉะนั้นในชีวิตของเรา เวลาเรามาเจริญสติแบบที่สร้างจังหวะเนี่ยครับ ผมพบว่า หนึ่งต้องทำจิตของเราให้นิ่งนะครับ คำว่านิ่งก็คือมีศรัทธา
อันที่สองนะครับ อยู่กับปัจจุบันเนี่ยนะครับ ในลักษณะที่ไม่ใช่ข่มใจ ที่ไม่ใช่ข่มใจนะครับ ต้องอยู่กับจังหวะ เพลิดเพลินกับมือกับจังหวะ มือซ้ายมือขวาการพลิกการยก การอะไรเนี่ยครับ มีรู้สึกเพลิดเพลินและอยู่ตรงนั้น พออยู่ตรงนั้น ปุ๊ป ก็จะเป็นสภาวะที่เราอยู่กับปัจจุบัน ปัจจุบันของกายคือมือนะครับ มันจะหมายความถึงว่าเราได้อยู่กับปัจจุบัน และการอยู่กับปัจจุบันเนี่ย พอมันสร้างเป็นนิสัยแบบนี้ได้แล้วเนี่ยครับ มันจะทำให้เราเนี่ยครับจากกาย เราก็อยู่ปัจจุบันที่เป็นเวทนา เราก็อยู่ปัจจุบันที่เป็นความหมายอื่นๆ ได้แล้ว
สุดท้ายสิ่งที่มันจะเป็นผลนะครับ ผมเข้าใจว่าไม่สามารถจะต้องใช้คำพูดใดมาพรรณนาได้ คนแต่ละคนจะรับรู้สิ่งนี้ และการรับรู้สิ่งนี้เนี่ยครับ จะเป็นการที่ทำให้เรารู้สึกได้เลยถึงความหมาย ความมหัศจรรย์ของภาวนา เพราะสิ่งที่เราเรียกกันว่าภาวนามยปัญญา คือสภาวะที่จิตของเราตื่นรู้ สภาวะที่มันเป็นอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันขณะและอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันขณะที่เรารู้เนี่ยครับ มันเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์