แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
มารนี่ไม่ใช่เป็นศัตรูแล้วนะครับตอนสุดท้ายแล้วนี่ พวกเราคงทราบดีนะครับว่า มีเรื่องราวที่เล่าอยู่ในคัมภีร์ของพุทธศาสนาฝั่งมหายานว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระพุทธเจ้าเราตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระศาสดาเอกของโลกแล้วนะครับ มารก็ยังมีแก่ใจที่จะมาเยี่ยมพระพุทธเจ้าอีก แต่ตอนนั้นพระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดามีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากคอยที่จะดูแลว่าใครจะเข้าพบพระพุทธเจ้าได้หรือไม่ได้ เหมือนกับมีเลขานุการส่วนตัว เมื่อมารจะมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระอานนท์อ้างเหตุไม่อนุญาตให้มารเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้อ้างเหตุว่า มารเป็นศัตรูของพระพุทธเจ้า เมื่อพระอานนท์ไม่อนุญาตด้วยเหตุอ้างว่ามารเป็นศัตรูของพระพุทธเจ้า มารเลยถามพระอานนท์ว่า พระมหาบุรุษเมื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วยังมีศัตรูอยู่อีกหรือ พระอานนท์จนด้วยเหตุผล พระพุทธเจ้าเองซึ่งประทับอยู่ในพระคันธกุฎีได้ยินเสียงสนทนาของมารกับพระอานนท์จึงส่งเสียงหรือว่าตรัสกับพระอานนท์บอก อานนท์อนุญาตให้เขาเข้ามาเขาเป็นเพื่อนเรา เรารอคอยพบเขาอยู่ ผมเข้าใจว่าเรื่องนี้ที่ผมจำและผมเล่านี่มันเป็นความหมายที่ ที่ดีมากนะครับ ที่ดีมาก ผมเข้าใจว่านี่คือเหตุอันสำคัญนะครับเพราะปัจจุบันผมเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ถ้าจะตีความก็คือ ขันธมารคือ ความชำรุดของสังขาร นี่แหละครับเป็นสิ่งที่พระองค์ไม่ปฏิเสธแล้ว เพราะพระองค์เองก็เคยเปรียบเทียบให้พระภิกษุฟังว่าตอนที่พระองค์ปลงอายุสังขารว่า สังขารของตถาคตเก่าแก่คร่ำคร่าเปรียบประดุจดังเกวียน เกวียนเก่าๆ ที่ยังขับเคลื่อนไปได้เพราะใช้ไม้ไผ่ นึกถึงภาพเกวียนทำด้วยไม้นะ อุปมาเกวียนนี่มันไม่ค่อยเห็นภาพเท่าไหร่สำหรับพวกเรายุคปัจจุบัน แต่ในพระไตรปิฎกอุปมาเป็นเกวียนไงครับผมก็เลยต้องพูดเป็นเกวียน เกวียนนี่มันทำด้วยไม้เอามาต่อๆ กันเป็นเกวียน ที่พอมันเก่ามันจะหลุดเป็นชิ้นๆ วิธีการก็คือเอาไม้มาแล้วเชือกผูกเพื่อไม่ให้หลุดเป็นชิ้นๆ
พระพุทธเจ้าจึงอุปมาว่าสังขารร่างกายของพระองค์เก่าแก่คร่ำคร่าประดุจดังเกวียนเก่าที่ยังเคลื่อน หรือวิ่งเคลื่อนไปได้เพราะใช้ไม้ไผ่มาแลกอาบไว้แล้วใช้เชือกผูก ถ้าเชือกขาดเมื่อใดมันก็หลุดออกเป็นชิ้นๆ เพราะฉะนั้นสังขารของพระองค์เป็นเช่นนี้พระองค์จึงประกาศกับพระภิกษุว่า นับจากนี้ไปอีก 3 เดือน ตถาคตจะดับขันธปรินิพพานแล้ว นี่คือคำประกาศที่เรียกว่า ปลงอายุสังขารนะครับ ทีนี้คำพูดเช่นนี้นะครับเป็นคำพูดที่ไม่ได้คิดว่ามารเป็นศัตรูแล้ว คำพูดเช่นนี้ไม่ได้ประกาศว่า ตัวเองจะต้องเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งที่มันเป็นธรรมชาติที่ว่านี้แล้วนะครับ ผมเข้าใจว่าสิ่งที่เป็นความหมายที่สำคัญที่อยากจะเพิ่มเข้ามาตรงนี้นะครับว่าเป็นคำนะ เราต้องสื่อสารกันผ่านคำ กลับไปสู่ประเด็นที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดาเนี่ยนะครับ มีสิ่งที่เป็นความหมายที่สำคัญประการหนึ่งที่ผมเองอยากจะเชิญชวนทุกท่านทำความเข้าใจว่าทันทีที่พระพุทธเจ้าของเรา หรือพระมหาบุรุษที่เป็นพระศาสดานะครับ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณที่พวงต้นโพธิ์ พวงพระศรีมหาโพธิ์นะครับ มันมีคำที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ของชาวพุทธก็คือ พระองค์จะมีสรรพนามเรียกตัวเองที่เปลี่ยนไปนะครับ สรรพนามที่เรียกตัวเองที่เปลี่ยนไปนั้นนะครับผมกล่าวไว้ในปีที่แล้วไปนิดหนึ่งแล้ว ปีนี้จะขยายความให้มากขึ้นนะครับ พระองค์จะเรียกตัวเองทันทีที่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณว่า ตถาคต ตถาคตที่ถ้าเราจะใช้และมีการแปลคำนี้เนี่ยครับ
ผมโยงกลับไปสู่ความหมายของคำๆ นี้นะครับว่า คำๆ นี้มันมาจากคำว่า ตรัส หรือ ตัด-ถะ ซึ่งเป็นคำที่มีปรากฏอยู่ในความเชื่ออินเดียโบราณนะครับว่าเป็นความจริงอันสูงสุดที่เมื่อใครเข้าถึงแล้วจะบรรลุสภาวะที่เรียกว่า โมกษะ พระพุทธเจ้าของเราตอนที่พระองค์เสด็จออกเนี่ยนะ พระองค์ใช้คำว่า พระองค์ต้องการเสด็จออกจากวังเขาเรียกว่า มหาภิเนษกรมณ์ มหาภิเนษกรมณ์ก็คือ การเสด็จออกเพื่อแสวงหาโมกษะธรรม โมกษะธรรมคือ สภาวะที่ทำให้พระองค์หลุดพ้นจากความหวั่นไหว หวาดกลัว ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ต้องเข้าใจประเด็นนี้ให้ได้ก่อนนะครับว่าสิ่งที่มันเป็น ความแก่ ความเจ็บ ความตายเนี่ย เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ใครก็ไม่สามารถหนีพ้นสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์นี้ได้ แต่สิ่งที่มันเป็นปัญหาคือ ความกลัวต่อปรากฏการณ์นี้ เพราะฉะนั้นคำว่า กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย มันเป็นความกลัวที่อยู่ในใจเรา การเสด็จออกจากวังมาเป็นนักบวช มาบำเพ็ญภาวนาทางใจเนี่ยนะครับ ก็เพื่อที่จะแสวงหาโมกษะธรรมนะครับ ใช้ว่า โมกษะธรรม ต่อมาคำนี้ใช้คำว่า นิพพาน ในเวลาต่อมาในทางพระพุทธศาสนา โมกษะธรรม คือสภาวธรรมที่ทำให้ไม่เกิดความรู้สึกหวั่นกลัวกับปรากฏการณ์นี้ ต้องเข้าใจตรงนี้ให้ได้ก่อนว่าความหมายนี้มีอยู่ในสังคมวัฒนธรรมอินเดีย และความหมายนี้นะครับจึงทำให้คนอินเดียซึ่งเป็นนักบวชเนี่ย เวลาเขาออกไปแสวงหาเนี่ย เขาจึงต้องมีการแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า ตัด-ถะ หรือ ตถตา เนี่ยนะครับว่าบรรลุถึงสภาวะนี้ พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้เป็นผู้รู้แล้ว จึงเรียกตนเองว่า ตถาคต ตถาคตแปลว่า ผู้เข้าถึง ตถตา หรือเข้าถึงตรัสเนี่ยนะครับ เวลาเขียนเป็นภาษาไทยก็ ต เต่า ถ ถุง นะครับ สระอา ค ควาย ตอ เต่า ตถาคต แปลว่าผู้เข้าถึงซึ่งตถตา ตถตาก็คือความเป็นธรรมชาติที่มันเป็นเช่นนี้แหละ เป็นมาเนิ่นนาน เป็นอย่างนี้มาเรื่อยมา และจะเป็นตลอดไปก็คือการที่เราทุกคนเนี่ยเหมือนกับเป็นกฎธรรมชาติทั่วๆ ไปนะครับ เป็นความรู้สึกที่เป็นธรรมดามาก