แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ที่ผมพูดถึงมารนะครับเมื่อเช้า กลับมาใช้คำนี้อีกเพราะว่าที่พูดไปทั้งหมดหวังว่าจะดึงกลับมาใช้เนี่ยครับ มารคือสภาวะที่มันขัดขวางหรือทำลายน่ะครับไม่ให้จิตของเราเนี่ยเบิกบาน แช่มชื่นสดใส มันนำความขุ่นมัวคับแค้น เพราะฉะนั้นเวลาที่เราพูดถึงมารหมายถึง ในพระพุทธศาสนาเวลาพูดถึงมารเป็นคำรวมๆ นะครับ แต่ถ้าจะกล่าวเป็นรายละเอียดจะมีชื่อเฉพาะขึ้นมา มีกิเลสมาร มีขันธมาร มีอภิสังขารมาร มีเทวบุตรมาร มีมัจจุมารนะครับ มัจจุมารนี่คือความตายเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นเองนะครับ
แต่ที่พูดทั้งหมดทั้งสิ้นเนี่ยสิ่งเหล่านี้นะครับ เราสามารถทำสิ่งที่เรียกว่ามารให้สลายกลายเป็นมิตร เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่าให้เขาเข้ามา เขาเป็นมิตรของเรา เขาเป็นเพื่อนของเรา เรารอคอยเขาอยู่ คำว่ารอคอยเขาอยู่คือเราเปิดต้อนรับเขา ที่มันมีปัญหาคือเราปฏิเสธ เราปฏิเสธการสัมผัสรับรู้สิ่งนั้นในความหมายที่มันควรจะเป็น ทีนี้เมื่อตะกี้มันมีคำว่ามาร แล้วมันมีคำว่าตถาคตนะครับ เอาคำนี้มากลับมาใช้กันอีกที เพราะต่อไปเวลาพูดไม่ต้องนิยามอีกนะครับ คือสภาวะที่ชื่อเรียกว่าตถาคต
จริงๆ พวกเราทุกคนนะครับสามารถเข้าถึงสภาวะของความรู้สึกที่ว่ามันว่าเป็นเช่นนี้เองได้ ความรู้สึกที่แก้วแตกมันเป็นเช่นนี้แหละ และความรู้สึกตรงนี้นะครับ แก้วแตกแต่ใจเราไม่แตกสลายใช่ไหมครับ ทีนี้สภาวะแบบเนี่ยนะครับที่ผมเรียกรวมๆ ทั้งหมดว่าเราจะต้องเกิดความหมายเป็นการหยั่งรู้หรือประจักษ์แจ้งมรณะธรรม มรณะธรรมคือสภาวะของความหมายที่มันเกิดประจักษ์แจ้งและมันไม่ทำให้เราเกิดความรู้สึกตื่นตระหนกตกใจ หวั่นไหว ขุ่นมัวคับแค้น แต่พอรู้สึกได้และพอรู้สึกว่ามันเป็นเช่นนี้แหละ มันเป็นเช่นนี้เองนะครับ ความหมายที่ว่ามันเป็นเช่นนี้แหละและเป็นเช่นนี้เอง ไม่ใช่เป็นความคิดที่จะไปบีบคั้นนะครับ แต่มันเป็นความหมายที่เกิดขึ้นในใจของเราและความรู้สึกในใจของเรามันบ่มเพาะให้เกิดความรู้สึกนี้ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง