แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
… ให้ญาติโยมทั้งหลายได้ฟัง ทุกคนมันมีจุดใดจุดหนึ่ง ที่ทำให้เราขุ่นใจในการปฏิบัติธรรม ไม่ต้องเหมือนกัน ปรารภตัวเองบ้าง ปรารภผู้ที่มีพระคุณบ้าง แม้แต่ปรารภพระพุทธศาสนาส่วนรวมบ้าง
ทีนี้ การปฏิบัติธรรมนี้ ความจริงพอเราตั้งใจปฏิบัติธรรม มันก็ได้ปฏิบัติธรรมแล้ว แต่ว่าที่จะได้ผลสูงสุด มันก็ต้องรอ รอได้ คอยได้ ก็ต้องบ่มอินทรีย์ ต้องบ่มอินทรีย์ให้แก่กล้า
อินทรีย์มันมี ๒ ชนิด หนึ่ง อินทรีย์ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อินทรีย์ ๖ เพราะเรามีอินทรีย์ ๖ มันทำให้เกิดปัญหา เพราะว่ากิเลสมันเข้ามา ก็เพราะอินทรีย์ถึงกับอารมณ์ อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรรมารมย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกอย่างน้อย ๓ ชื่อ เรียกอายตนะคือที่ติดต่อ นี่ก็ชื่อหนึ่ง เรียกว่าอินทรีย์ อินทรีย์คือความเป็นใหญ่ ตาเป็นใหญ่ในการเห็นรูป หูเป็นใหญ่ในการฟังเสียง จมูกเป็นใหญ่การดมกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการชิมรส ผิวหนังทางร่างกายเป็นใหญ่ในการรับสัมผัส จิตเป็นใหญ่การรู้อารมณ์ เรียกว่าอินทรีย์ เอามาสับเปลี่ยนกันไม่ได้ จะเอาตามาแทนหู จะเอาหูมาแทนตาไม่ได้ หน้าที่ของตนๆ ทำหน้าที่อย่างนี้ เขาเรียกว่าอินทรีย์
ทีนี้ อีกชื่อหนึ่งคือทวาร ทวารคือประตู ก็ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้เอง ทางเข้า ทางออกของกิเลส เรียกว่าโพธิ กิเลสคือสิ่งที่ทำให้เราเป็นทุกข์ โพธิคือสิ่งที่ทำให้เราดับทุกข์ ก็ผ่านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่าทางทวารทั้ง ๖ นี้เอง
ทีนี้ อินทรีย์ ๖ ต้องสำรวมอินทรีย์ ถ้าไม่มีการสำรวมอินทรีย์ กิเลสก็เข้ามาตลอดเวลา ปัญหาก็เกิดขึ้น เพิ่มขึ้น เพราะปัญหาจริงๆมันมาจากกิเลส ทุกคนๆยังมี เรายังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็ต้องมีกิเลสตามมากตามน้อย ทีนี้ก็ต้องรออบรม บ่มอินทรีย์ บ่มอินทรีย์ ๖ อย่าง ก็คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และก็ปัญญา
ศรัทธาคือความเชื่อ มีหลายชนิด โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุด เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือเชื่อว่าสิ่งที่เราปฏิบัตินี้ พระพุทธเจ้าได้ค้นพบ ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติอย่างนี้ ก็ตถาคตโพธิสัทธา และยังมีกัมมสัทธาคือเชื่อกรรม วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน คือมีความเชื่อว่าเราทำกรรมอย่างนี้ ต้องได้รับผลอย่างนี้ นี่คือศรัทธา
ทีนี้ พอมีศรัทธา เราสนใจปฏิบัติก็ต้องใช้ความเพียร ความเพียรนี้ขาดไม่ได้เลย ที่สำคัญที่สุดคือสติ ถ้าเราไม่มีสติ มันก็ไม่สำเร็จ ถ้ามีศรัทธา มีความเพียร มีวิริยะ มีสติ จิตก็เป็นสมาธิ พอได้สมาธิมา ก็อบรมปัญญา อินทรีย์นี้เขาเรียกว่าอินทรีย์ฝ่ายโพธิ โพธิปักขิยธรรม ก็ต้องอบรมไปเรื่อยๆ
อีกชื่อหนึ่งคือสร้างบารมี บารมีคือการทำให้เต็ม เช่น บารมี ๑๐ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อย่างที่เราปฏิบัตินี้คือการสร้างบารมี เหมือนพระพุทธเจ้าตรัสว่า แม่ไก่มันออกไข่ มันกกไข่ของมัน แม่ไก่ก็คิดว่าลูกไก่ต้องออกมา วันนี้ออกมาไม่ได้ ก็ตัวลูกไก่ในกองไข่ มันยังโตไม่เพียงพอ แม่ไก่ก็ต้องพยายามกกไข่ คอยพลิกไข่เอาใจใส่ วันคืนผ่านไปตัวลูกไก่ในกองไข่มันเจริญเติบโต พวกมันก็เจาะเปลือกไข่ออกมา
ในการปฏิบัติธรรมต้องทำถูกต้อง ต้องมีสติ มีสัมปชัญญะ มีความเพียร เป็นองค์ธรรมะที่สำคัญมาก ทีนี้ การที่จะบรรลุธรรม ต้องมาศึกษาอันนี้ ธรรมกถา บางคนฟังคำของพระพุทธเจ้าบรรลุเป็นพระอรหันต์เลยก็มี มีหลายรูปหลายองค์เหมือนกัน เป็นฟังธรรมไม่กี่ประโยคไม่กี่คำก็เป็นพระอรหันต์ได้
พระพุทธเจ้าแสดงธรรมครั้งแรก หลังจากตรัสรู้แล้ว แสดงเรื่องธรรมจักรฯ ครั้งนั้นผู้ที่เข้าใจแล้วบรรลุธรรมเพียงองค์เดียวเท่านั้น คือพระโกณฑัญญะ ส่วนอีก ๔ องค์ยังไม่บรรลุ พระพุทธเจ้าก็พยายามสั่งสอนวิธีอื่น ต่อมาก็ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าระดับโสดาบัน เป็นพระอริยเจ้าชั้นต้น
ต่อมาพระองค์ก็แสดงพระอนัตตลักขณสูตร อนัตตลักขณสูตรคือว่าเรื่องเบญจขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เรื่องอนัตตา อนัตตานี้เข้าใจยากที่สุด พุทธศาสนาที่สูงสุด ก็เป็นเรื่องของอนัตตา เรื่องไม่ใช่ตัวตน
ทีนี้ เรานี้มีสัญชาตญานติดมากับชีวิตมีหลายๆอย่าง ทุกคนมีสัญชาตญานนี้ รู้จักกินอาหาร รู้จักหลับนอน รู้จักกลัวภัย รู้จักสืบพันธุ์และก็ตัวตนนี่เอง มันลึกมาก แต่ความรู้สึกว่าตัวตนนี้ มันมีประโยชน์ ถ้าเราไม่รู้สึกว่าตัวตนเลย เราจะพัฒนาอะไรมันทำไม่ได้ จะเป็นการเรียน การศึกษา หน้าที่การงาน มันทำด้วยตัวตน ตัวตนมาก่อนทั้งนั้น มีตัวตนเป็นผู้ทำ แต่เมื่อทำไปๆ มีอะไรทุกอย่างแล้ว
มีทรัพย์สินเงินทอง มีอะไรทุกอย่าง แต่ทำไมมันหนัก ก็ปล่อย ก็วางตัวตน
เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุรุษต้องการจะข้ามแม่น้ำ ก็ไปกวาดท่อนไม้กิ่งไม้ เอาหญ้าเอาเชือกมามัดทำเป็นแพ แล้วบุรุษคนนี้ก็ไปอาศัยแพ พยายามว่ายไปหาฝั่ง พอไปถึงฝั่งโน่นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยแพแล้ว ปล่อยทิ้งไป แพนี้ก็คือธรรมะหลายอย่างและก็ตัวตนนี้ อันนี้ตัวตนไม่ใช่เป็นของเสีย แต่ว่าต้องพัฒนาตนให้สูงขึ้นๆ จนกระทั่งปล่อยวางตัวตนในขั้นสุดท้าย
โดยธรรมชาติ ถ้าเราสนใจปฏิบัติ ขณะนี้ไม่เข้าใจ แต่วันข้างหน้าก็จะเข้าใจได้ วันหนึ่งอาจจะเข้าใจได้ โดยเฉพาะเมื่อป่วยหนัก โดยเฉพาะเมื่อใกล้ๆจะตาย บางคนได้บรรลุธรรมเมื่อใกล้ๆจะตาย ก็มองเห็นว่า ทุกอย่างที่เราทำ ที่เรามี ที่เราหวังมันไม่มีอะไร ก็ปล่อยวางได้ ก็บรรลุพระอรหันต์ แล้วก็ปรินิพพานเลย สังขารก็แตกสลายไปเลย
ทีนี้ ก็มีอยู่องค์หนึ่งน่าสนใจคือพระอานนท์ พระอานนท์นี้เป็นพวกศากยะออกบวชพร้อมกันหลายๆ องค์ เช่น พระอนุรุทธะ พระเจ้าภัททิยะ พระอนุรุท
รวมทั้งพระเทวทัต พระเทวทัตนี้บาป ไม่ประสบความสำเร็จแล้วก็ตกนรกไปเลย เพราะว่าพระเทวทัตไปหลงในลาภสักการะที่พระเจ้าอชาตศัตรูบำรุง
ตอนแรกพระเทวทัตออกบวช ก็บำเพ็ญได้สมาธิระดับฌาน สามารถแสดงปาฏิหาริย์ให้พระเจ้าอชาตศัตรูศรัทธาเลื่อมใส หลังจากนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูก็บำรุงพระเทวทัต เอาอาหารมาถวาย พระเทวทัตติดอยู่ในลาภสักการะ และก็มีเพื่อนไม่ดีชื่อว่าโกกาลิก เพื่อนพระเทวทัตชื่อว่าโกกาลิก เป็นมิตรชั่ว เป็นเพื่อนที่ไม่ดี ก็ทำให้พระเทวทัตตกนรก ไม่ได้บรรลุธรรมอะไรเลย
ส่วนบรรลุพระอนุรุทก็บรรลุพระอรหันต์ พระภัทรทิยะ และก็สำหรับพระอานนท์ได้บรรลุธรรมเพียงโสดาบันเท่านั้น ตอนหลังพระอานนท์มีภาระมาก ต้องคอยติดตามพระพุทธเจ้า เป็นพุทธอุปัฏฐากต่อพระพุทธเจ้า ภาระมาก ไม่ค่อยมีเวลาที่ได้ปฏิบัติ ฉะนั้นเวลาที่จะสงบ ก็เริ่มมีปริโภชน์มันยากสักหน่อย แต่ว่าถ้าเรามีวิธี อันนี้น่าทดลอง น่าพิสูจน์ว่าเรามีงานอย่างนี้ เราเข้าใจธรรมะได้นี้น่าสนใจ
พวกเซน นิกายเซนเป็นพุทธศาสนานิกายหนึ่ง ที่ไปเจริญในประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น พระนิกายเซนเขาทำงานหลายอย่าง ทำโน้นทำนี่และก็ฝึกสมาธิในชีวิตประจำวัน ก็ก้าวหน้ามาก
ทีนี้ เราอยากจะพิสูจน์ว่าทำงานหลายอย่าง จะทำให้ใจสงบได้อย่างไร อาตมาก็มานึกถึงตัวเอง ตอนที่ไปรับใช้ท่านอาจารย์พุทธทาส ไปปีแรกๆทำงานหนักตลอด ไปก่อกำแพงหิน ไปก่อสร้าง สร้างอาคาร สร้างหลายๆอย่าง แต่ว่าสิ่งที่อาตมาขาดไม่ได้เลย คือนั่งสมาธิทุกวัน เย็นๆก็นั่งสมาธิ อันนี้ช่วยได้มาก
อาตมาจะมองเห็นว่าการฝึกสมาธิมันช่วยได้มาก คือมันลดละอารมณ์ร้อนอารมณ์ร้ายได้ ทำให้นึกถึงคำของปู่ย่า ตายายที่เขาเตือน น่าสนใจมากว่า ผิดก็เป็นครู ถูกก็เป็นครู ฉะนั้น เวลาใดที่เรามีอารมณ์ร้อน อารมณ์ร้าย ก็พยายามที่จะให้มีสติ มีสัมปชัญญะ มีขันติ อดทนๆไว้ก่อน ให้มันอยู่ข้างใน ดูไปๆ อารมณ์ค่อยๆ
คลายออกๆ
พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า อริยสาวกของพระองค์ยังไม่บรรลุถึงขั้นสูงสุดเป็นพระอรหันต์ บางคราวก็มีอารมณ์ มีกิเลสเกิดขึ้นแต่มันไม่นาน พระพุทธเจ้าอุปมาเหมือนกับกะทะที่วางบนเตาไฟมันร้อนตลอดเวลา บังเอิญน้ำมันตกหยดลงไปในกะทะ ไม่นานก็จะแห้ง
ฉะนั้น คนที่ฝึกปฏิบัติธรรม บางเวลาเรายังสู้กิเลสไม่ได้ แต่มันไม่เก็บไว้นานมันหายไป เราต้องพอใจเมื่อกิเลสเข้ามา พอรู้ว่าศัตรูเข้ามาก็ต่อสู้ๆเอาชนะให้ได้หลายๆอย่าง ขันติบ้าง เมตตาบ้าง แม้แต่กตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ ต่อพระพุทธเจ้าหลายอย่าง เอามาต่อสู้กิเลส กิเลสนี้เป็นสังขาร
อานาปานสติขั้นที่ ๙ ที่ญาติโยมทั้งหลายได้ฟัง คือรู้จักจิตทุกชนิด จิตมีราคะก็รู้มีราคะ จิตมีโทสะก็รู้จิตมีโทสะ มีโมหะก็รู้มีโมหะ จิตมีอะไรรู้หมด จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น รู้หมด ตามเห็นจิตในจิต นี้ก็พยายามอบรมเรื่อยๆ ต่อไปก็จะเกิดจิตกุศล จิตปราโมทย์ จิตบันเทิงรื่นเริง จิตตั้งมั่นเป็นจิตสมาธิ แล้วก็จิตปล่อย จิตวาง
ถ้าเราฝึกสำเร็จ ได้จิตชนิดนี้มันก็ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ แต่ว่ามันยากเพราะมีสัญชาติญานตัวตนอยู่ หวัง หวังจะให้สำเร็จ หวังจะให้บรรลุ อันนี้คือตัวปัญหา คือตัณหานั่นเอง คือความอยากนั่นเอง
มันมีพระอนุรุทธะ พระอนุรุทธะได้บรรลุพระอรหันต์ เพราะฟังธรรมของพระสารีบุตร คือพระอนุรุทธะสามารถบรรลุอิทธิปาฏิหาริย์ หูทิพย์ ตาทิพย์ พระอนุรุทธมีญาณพิเศษ หูทิพย์ ตาทิพย์ แต่ไม่บรรลุพระอรหันต์ วันหนึ่งมาสนทนากับพระสารีบุตรว่า ทำไมกระผมมีความสามารถรู้หมด เห็นหมด ทิพยจักขุ ทิพยโสต แต่ทำไมไม่บรรลุพระอรหันต์ พระสารีบุตรเตือนว่า เพราะท่านยังมีความสำคัญว่าฉันเป็นผู้บรรลุ ฉันเป็นผู้ที่มีความสามารถ ท่านต้องถอนความรู้สึกอันนี้ออกเสีย คือไม่มีตัวตนนั่นเอง แล้วพระอนุรุทปฏิบัติก็บรรลุพระอรหันต์
ทีแรก ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าชั้นต้น ยังไม่เป็นพระอรหันต์ พระอริยเจ้าชั้นต้น พระโสดาบันก็ยังไม่ละกิเลสอันสิ้นเชิง สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพพตปรามาส พระโสดาบันละได้ นี้เป็นประเภทโมหะ ประเภทโมหะอย่างหยาบ กายทิฏฐิ เห็นว่ากายนี้เป็นของตน เห็นแต่มันละความสุขในตัวตนยังไม่ได้ มันเหมือนกับว่าคนมองลงไปในบ่อ มีน้ำ มองเห็นว่ามีน้ำ แต่ยังไม่มีเครื่องมือ ไม่มีถังน้ำ ไม่มีเชือกที่จะผูกถังน้ำไปตักน้ำขึ้นมา มันไม่มีอันนี้ แต่มันมองเห็นแล้วว่ามันมีน้ำ นี่เขาเรียกว่า เห็นว่ากายนี้ไม่ใช่ของตน จะละตัวตนมันยังละไม่ได้ ก็ต้องปฏิบัติจนกระทั่งถึงขั้นพระอรหันต์ ละมานะ มานะคือความสำคัญว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา ถึงขั้นพระอรหันต์จึงจะละได้
ทีนี้ ในระดับโสดาบัน เช่นนางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน แต่พอหลานที่รักตาย นางวิสาขาก็ร้องไห้เศร้าโศก มาเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าหายเศร้าโศก แต่ก็ไม่นาน มันไม่ได้นาน ความรักยังมี ความโศกยังมี ความกลัวยังมี ยังมีอยู่ในพระอริยเจ้า ขั้นโสดาบัน ขั้นสกิทาคา พระอนาคา ละความโกรธหมดสิ้นได้ แต่ยังละราคะในชั้นละเอียดยังไม่ได้ ราคะนี้ลึกมาก ต้องมาถึงขั้นพระอรหันต์เช่นเดียวกัน นี่คือพระอริยเจ้าที่เราต้องเอามาเป็นตัวอย่าง และเราเพิ่มศรัทธา เพิ่มศรัทธาว่ามีผู้เคยทำอย่างนี้ประสบความสำเร็จ เราก็พยายามปฏิบัติตาม
เพราะฉะนั้น เวลาปฏิบัตินี้ พยายามที่จะมีสติสัมปชัญญะ มีความเพียรและก็ไม่หวังอะไร ไม่ต้องถามอะไร พยายามปรับปรุงจิตใจให้มีแต่สติสัมปชัญญะและความเพียร ให้มีแต่จิตที่อยู่กับกายได้ ให้มีแต่จิตที่อยู่กับเวทนาได้ ให้มีอยู่แต่จิตที่อยู่กับจิตเองได้ ให้มีแต่จิตที่อยู่กับอารมณ์ต่างๆได้
ทีนี้เมื่อทำได้อย่างนี้ จิตมันก็จะอิ่ม ก็ดวงตาเห็นธรรม เห็นว่าสิ่งใดมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ฉะนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม
มีอยู่เรื่องหนึ่ง อย่าไปประณามตัวเองว่า ฉันยังโง่ ยังไม่ฉลาด ยังอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าไปทำอย่างนั้น ถ้าไปประณามตัวเองว่า ปฏิบัติมาหลายปีแล้ว ทำไมไม่ก้าวหน้าสักที นี้เขาเรียกว่ามองในแง่ลบ จะทำจิตใจให้เศร้าหมอง
เพราะฉะนั้น ต้องพยายามมองในแง่ดีคือทำให้มีฉันทะ คือความพอใจ ทำให้เกิดปราโมทย์ เกิดบันเทิงรื่นเริงในจิตใจ ก็มองในแง่ดี ทุกคนมันก็มี ทำดีบ้าง ทำไม่ดีบ้าง ผิดบ้าง ถูกบ้าง แต่สิ่งที่ไม่ดีก็ไม่ต้องเอามาคิด เพราะไม่มีประโยชน์ คิดแต่เรื่องดีๆ
ชาวพุทธเรามีเครื่องมือเป็นที่พึ่ง เช่นอนุสติ ๑๐ อย่าง ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าบ้าง ระลึกถึงคุณของพระธรรมบ้าง ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์บ้าง ระลึกถึงคุณของทาน ของศีล นึกถึงความตาย นึกถึงความไม่งามของร่างกาย กายคตาสติและอานาปานสติ แม้แต่นึกถึงพระนิพพานว่า เป็นธรรมชาติอันสงบอันปราณีต ธัมมานุสติ??? 24.30 ระลึกถึงคุณพระนิพพาน มีมากมาย ถ้าเราได้ศึกษาเรียนรู้เอามาแก้ไขจิตใจ จิตใจค่อยๆสูงขึ้นๆ เพราะได้อบรม อบรมอินทรีย์ ๕ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญา
ทีนี้ ยังมีเทคนิคว่า ศรัทธานี้ต้องมาทำงานร่วมกับปัญญา ถ้าศรัทธาไม่มีปัญญา ก็เป็นศรัทธางมงาย ชาวพุทธเยอะถูกหลอกถูกลวงเสียเงินเสียทอง เพราะมีแต่ความเชื่อที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
ทีนี้ พอมาถึงความเพียรต้องมาทำงานร่วมกับสมาธิ ถ้าเพียรอย่างเดียวจะฟุ้งซ่าน มันต้องเพียรพอดี ทีนี้ พอสมาธิมันเกิดก็มาทำงานร่วมกันจับคู่กัน มันก็ก้าวหน้า ส่วนสติเรียกว่าเป็นผู้คุมเลย สติคุมตลอด สติเป็นเรื่องใหญ่ เหล่านี้เป็นความรู้
อาตมาคิดว่าทุกคน ถ้ายังไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนๆกัน เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงว่าไม่ต้องสนใจจิตใจคนอื่น เพราะว่าไม่มีประโยชน์ สนใจจิตใจตัวเองดีกว่า นี้การปฏิบัติธรรม ใครจะได้ ใครจะเสีย ใครจะเป็นอะไร ช่างหัวเขา ไม่สนใจ นี่ก็จะก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
ต่อไปนี้ เราก็ปฏิบัติธรรม วันนี้ญาติโยมทั้งหลายก็ได้ฟังเทปบรรยายที่พระเดชพระคุณท่านอาจารย์พุทธทาสได้บรรยายไว้ อย่างฝึกอานาปานสติเป็นขั้นๆวันนี้ ก็คือหมวดกาย ขั้นที่ ๑ ลมหายใจเข้ายาว ขั้นที่ ๒ ลมหายใจเข้าสั้น ออกสั้น ขั้นที่ ๓ กายทั้งปวง ขั้นที่ ๔ ทำกายสังขารให้ระงับ กายก็มี ๒ ชนิด กายเนื้อหนังกับกายลม ลมหายใจจะระงับต่อเมื่อจิตมีสมาธิ จะทำอย่างไรให้จิตมีสมาธิ ก็มีเทคนิค อย่างขั้นที่ ๑ ให้ไปศึกษาเรียนรู้ ว่าลมมันยาวอย่างไร แบบไหน ขั้นที่ ๒ ศึกษาเรื่องหายใจเข้าสั้น ออกสั้น เมื่ออยู่กับหายใจเข้าสั้น จิตใจมันเป็นอย่างไร มันไม่เหมือนกัน ต่อขั้นที่ ๓ ลมหายใจกับกายเนื้อหนังมันทำงานร่วมกันตลอดเวลา ขั้นที่ ๔ สำคัญในหมวดนี้ คือการทำกายสังขารระงับ
ทีนี่ ถ้าต้องการปฏิบัติง่ายๆ ปฏิบัติขั้นที่ ๑ ขั้นเดียวก่อน ได้ผลอย่างนี้ ได้อานาปานสติขั้นที่ ๑ เป็นหลัก พอลมหายใจยาว มันช่วยใจสบาย ก็ต้องตามลม ต่อมาก็มาเฝ้าดูเฉพาะจุด ต่อมาน้อมจิต สร้างมโนภาพ บางคนเห็นเป็นภาพปรากฎเหมือนเมฆเหมือนหมอก น้ำค้าง ดวงดาว เป็นภาพปรากฎ เรียกว่า อุคคหนิมิต ตามภาษากรรมฐาน
ทีนี่ เมื่อภาพเหล่านี้เกิดก็ต้องสนใจภาพแล้วขณะนี้ ไม่ต้องสนใจลมเพราะจิตทำงานทีเดียวสองอย่างไม่ได้ สนใจภาพแล้วก็ลมหายใจมาก่อน ทำงานตลอดเวลา และก็ปรับปรุงภาพให้เล็กให้ใหญ่ เคลื่อนไปเคลื่อนมา เลือกเอาที่พอใจมาเพ่งลง มาเพ่งๆๆ ก็เกิดองค์ของสมาธิ เรียกว่าจิตจดจ่อภาพนิมิต วิจารณ์ จิตคลอเคลียอยู่กับภาพนี้ เกิดปิติ เกิดสุข เกิดสมาธิแค่นี้ก็พอแล้ว
เอกัคคตา เกิดสุข เกิดเอกัคคตา ทำอย่างนี้ก็เจริญวิปัสสนา ตามเห็นว่าลมหายใจเข้าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วมาดูเวทนาต่างๆ จะเป็นสุข เป็นทุกข์ต่างๆก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มาดูความคิดนึกต่างๆ คิดดี คิดชั่ว ก็เป็นสังขาร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ปฏิบัติอย่างนี้ นี่คือข้ามมาปฏิบัติขั้นที่ ๑๓ เป็นการปฏิบัติแบบง่ายๆ แบบละ
โยมลองปฏิบัติดู แต่ว่าถ้าสนใจปฏิบัติทีละขั้นๆก็ทำได้ แต่ละขั้น ก็ปฏิบัติ ๒ อย่าง คือได้สมาธิและเจริญวิปัสสนาควบคู่กันไป นี่ก็ต้องชัดเจนในวิธีปฏิบัติ ต่อไปก็ปฏิบัติกันต่อไปนี้