แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เนื้อหา การบูชานี้มีอยู่ 2 ชนิด 1 อามิสบูชา มีดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะที่ชาวพุทธปฏิบัติกันอยู่ ระดับนี้เป็นระดับทั่วไป ข้าพเจ้าสรรเสริญการปฏิบัติบูชา ฉะนั้นเวลาต่อไปนี้เราจะเทียบได้เตรียมตัว เพื่อปฏิบัติบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณ พระเมตตาธิคุณช่วยเหลือสัตว์โลก เริ่มต้นจากที่พระองค์ ทิ้งปราสาทราชวัง ออกไปแสวงหาหนทางที่ให้มนุษย์พ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ส่วนใหญ่ชาวพุทธก็ทราบกันอยู่ดี แล้วว่า ทำไมพระโพธิสัตว์สิทธัตถะจึงต้องออกบวช ก็พระองค์เห็นว่าทุกคนที่เกิดมาก็ไม่มีคนใดเลยที่จะหนีให้พ้น ความแก่ความเจ็บ ความตาย พระองค์ใช้เวลาถึง 6 ปีกว่าจะค้นพบได้ตรัสรู้ เมื่อกลางเดือนวิสาขเพ็ญเดือน 6
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ต้องการจะเอาความรู้ที่พระองค์ได้ค้นพบไปแจกจ่ายเผยแพร่ ก็เสด็จมาโปรดปัญจวัคคีย์เป็นนักบวช ที่ออกไปปรนนิบัติ พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ในช่วงที่พระองค์บำเพ็ญอัตตกิลมถานุโยคทุกกรกิริยา คือการทรมานร่างกายให้ลำบาก ตอนหลังพระองค์มองเห็นว่า ถ้าขืนทำไปก็ไม่มีประโยชน์ เปล่าประโยชน์ อาจจะสูญชีวิตซะเปล่าๆ พระองค์จึงหันมาเสวยพระกระยาหารตามปกติ ปัญจวัคคีย์เหล่านี้ก็เลยเข้าใจผิด คิดว่าพระโพธิสัตว์สิทธัตถะคงไม่มีทางที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ก็หนีมาอยู่เสียที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระองค์ก็ตามมาโปรด พระองค์แสดงธรรมครั้งแรกเรียกว่าปฐมเทศนา เนี่ยเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับเราชาวพุทธ พระองค์ทรงแสดงเรื่องทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา พระองค์ตรัสว่า ทางสองทางไม่ควรจะไปดำเนิน ไม่ควรปฏิบัติ ว่าทางสุดโต่งหนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยค ทางนี้เป็นทางใหญ่คนเดินกันมาก ตั้งแต่สมัยโบราณนานไกลจนกระทั่งปัจจุบันนี้ คนก็ยังเดินทางเช่นนี้อยู่ กามสุขัลลิกานุโยค เพื่อให้คนหมกมุ่นมั่วเมาอยู่ในกามคุณทั้งหลาย คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สรุปแล้วก็คือเรื่องวัตถุนิยม กามนิยมนั้นเอง การเดินในทางนี้ไม่สามารถจะทำให้พ้นความทุกข์ได้
อีกทางหนึ่งอัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนให้ลำบาก คนส่วนใหญ่ไม่มีใครสนใจที่จะปฏิบัติ อาจจะมีบ้างในประเทศอินเดีย ที่มีคนประพฤติอัตตกิลมถานุโยค แต่ทางนี้ก็เช่นเดียวกัน ดับทุกข์ไม่ได้ พระองค์เน้นทางสายกลางมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ทั่วๆ ก็ทราบกันอยู่ดีแล้วว่าคืออริยมรรคมีองค์แปด มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ พูดจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ พากเพียรชอบ สติชอบ สมาธิชอบ ย่อลงมาเรียกว่า ไตรสิกขา คำว่าไตรสิกขา ไตรก็คือสาม สิกขาคือการปฏิบัติ การศึกษาแบบนี้ ไม่ได้หมายถึงเรียนหนังสือ เรียนตำรา เรียนปริยัติ แต่หมายถึงศึกษาปฏิบัติเรื่องศีล เรื่องสมาธิ แล้วก็เรื่องปัญญา เมื่อปฏิบัติอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา มนุษย์ก็จะเข้าใจอริยสัจที่พระองค์ได้ตรัสรู้ อริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐ ความจริงที่ไกลจากข้าศึก เกิดอริยสัจ อันได้แก่ทุกข์ เหตุใดทุกข์เกิด ความดับไม่เหลือทุกข์ ทางถึงความดับไม่เหลือทุกข์ อริยสัจ 4 นี้มีในชีวิตทุกคน แต่ว่าของเรามีไม่สมบูรณ์
ชีวิตของมนุษย์เรา เกิดมาก็จะเกี่ยวกับอริยสัจข้อที่ 1 ทันทีเลย พอเกิดมาอริยสัจข้อที่ 1 อยู่ในชีวิตของเราคือเรื่องทุกข์ กับเหตุให้ทุกข์เกิด อริยสัจ 2 ข้อนี้มีในชีวิตของคนธรรมดากันทุกคน คือทุกข์ กับเหตุแห่งทุกข์เกิด ส่วนอริยสัจข้อที่ 3 ถ้าไม่มีการปฏิบัติธรรม มีไม่ได้เลย ถ้าไม่เจริญ ไม่ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา จะมีไม่ได้เลย งั้นต้องปฏิบัติอริยสัจ ข้อที่ 4 คือหนทางที่ทำให้ทุกข์ดับ ก็คืออริยมรรค ดังได้กล่าวมาแล้ว ที่ว่าโดยย่อคือ สมถะ และวิปัสสนา เป็นทางสายกลาง ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า สมาโธ จ วิปัสสนา จ มัชฌิมาปฏิปทา สมถะและวิปัสสนาคือทางสายกลาง งั้นเวลาต่อไปนี้ เราจะได้อบรม สมถะและวิปัสสนา สมถะคือการอบรมจิตให้สงบเป็นสมาธิ คือจิตบริสุทธิ์ จิตตั้งมั่นที่อ่อนโยน ญาติโยมทุกคนควรจะรู้ควรจะเข้าใจว่าจิตเดิมของเราเป็นจิตที่ดี พระพุทธเจ้าเรียกว่า จิตประภัสสร ก็ทุกคนไม่เข้าใจว่าของเดิมเป็นของดี เป็นจิตที่ดี การปฏิบัติธรรมของผู้นั้นยังไม่มี อันนั้นจิตใจของเรา ของเราทุกคน ของเดิมเป็นของดี คือจิตผ่องใส จิตประภัสสรแต่เราไม่ได้รักษาจิตที่ดีเหล่านี้เอาไว้ ปล่อยให้กิเลส เข้ามาอยู่แล้วจิตมีปัญหา พระพุทธเจ้า อุปมาว่าเหมือนกับ บุรุษคนหนึ่งไปซื้อภาชนะจากร้านตลาดมา เป็นภาชนะเช่นภาชนะทองเหลืองที่บริสุทธิ์สะอาด แต่มาทิ้งซุกเอาไว้ไม่ได้เอาออกมาใช้ ก็มีสิ่งสกปรกเข้าไปเกาะ เข้าไปจับเป็นฝุ่นเป็นอะไร เจ้าของเห็นว่าภาชนะนี้มันสกปรกก็ทิ้งเสีย ไม่ออกมาใช้ เจ้าของบ้านเป็นคนโง่
สรุป ไม่รู้จักของมีค่า นี้ถ้าเจ้าของบ้านรู้ว่า ภาชนะนี้ของเดิมมันดี อะไรมาทำให้มันสกปรก เอาไปล้างเสียไปขัดเสียก็กลายเป็นของสะอาด เอามาใช้ได้ ฉันท์ใดก็เหมือนกัน จิตเดิมของเราเป็นของดี เป็นจิตประภัสสร ฝ่ายพวกนิกายเซนเค้าเรียกว่าจิตพุทธะ จิตพุทธะของเดิมคือจิตที่รู้อะไรได้ รู้สุข รู้ทุกข์ได้ เรียกว่าเป็นจิตเดิมเป็นของดี นี้เราไม่ได้รักษา จิตที่ดี อันนี้เอาไว้แล้วไม่ได้ต่อยอด ไม่ได้พัฒนาต่อเลยไม่เข้าใจเรื่องทุกข์ เข้าใจเรื่องทุกข์ไม่ได้ เพราะว่าทุกข์จริงๆมันมีหลายระดับ ส่วนใหญ่เข้าใจทุกข์ธรรมดา แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ โศกร่ำไรรำพันทุกข์กายทุกข์ใจเป็นทุกข์ เข้าใจความทุกข์ธรรมดา เป็นหนี้เป็นสินเป็นทุกข์ ไม่มีญาติขาดพี่น้องเป็นทุกข์ ความทุกข์แบบนี้เป็นความทุกข์ธรรมดา ตื้นๆ ไม่เข้าใจความทุกข์จริงๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ความทุกข์จริงๆคืออะไร ก็เกิดยึดถือนั่นเอง อุปาทานนั่นเอง เพราะจิตของเราถูกกิเลส อวิชชา เข้ามาครอบงำ แล้วสำคัญผิดคิดไปว่า ร่างกายและจิตใจ เรียกว่าเบญจขันธ์ เบญจขันธ์ก็คือร่างกายและจิตใจนั่นเอง ตั้งแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เข้าใจว่าเป็นเราเป็นของเรา เข้าไปยึดถือ เรียกว่ายึดถือในเบญจขันธ์ ว่าเป็นเราเป็นของเรา และความทุกข์มันเกิดขึ้นในจิตใจก่อน ทุกข์ในจิตใจเนี่ยสำคัญมาก ที่นี้ถ้าเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้า จะเห็นว่าชีวิตที่เรามีมันเป็นแต่เพียงสิ่งปรุงแต่ง เป็นสังขารจริงๆมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เนี่ยเพราะอาศัยจิตที่มีสมาธิมองเห็น การมองเห็นเนี่ยคือปัญญาวิปัสสนา แล้วก็ขจัดเหตุให้ทุกข์มันเกิดก็คืออวิชชา คือตัณหาอุปาทาน ถ้าขจัดเหตุให้เกิดทุกข์ได้ นิโรธ อริยสัจข้อที่ 3 ก็จะปรากฏขึ้นมา ฉะนั้นชีวิตของเรามันเกี่ยวกับอริยสัจกันทุกคน และเพราะอริยสัจข้อที่1 คือทุกข์ เพราะเกิดมาทุกข์มันติดมากับชีวิต แต่ว่าทุกวันทุกเวลา เหตุให้เกิดทุกข์มันคอยเกิด คืออวิชชา ไม่รู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง อวิชชามันก่อให้เกิดความอยาก ตัณหาต่างๆ อยากในเรื่องสวย เรื่องงาม ชื่อว่ากามตัณหา อยากมีอยากเป็น เป็นภวตัณหา อยากไม่มีไม่เป็น เป็นวิภวตัณหา ก็ก่อให้เกิดอุปาทาน ให้ทำเป็นทุกข์ ที่นี้เมื่อต้องการทำให้ทุกข์ดับ ก็ต้องเจริญที่มรรคโดยย่อคือ สมถะและวิปัสสนา ซึ่งเราจะได้ปฏิบัติกันต่อไปนี้ ยังเหลือเวลา 4-5 นาทีไม่ถึง บ่ายโมงครึ่ง ก็เลยบ่าย เพิ่มเติมนิดหน่อย คือเทคนิคในการปฏิบัติให้เกิดสมาธิ ชาวพุทธทุกคนส่วนใหญ่ก็ทราบว่า พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ ตั้งแต่พระองค์ทรงพระเยาว์ ตอนที่พระราชบิดาพาไปแรกนาขวัญ พระองค์ก็ไม่สนใจงานสนุกสนานพิธีแรกนาขวัญ พอพระพี่เลี้ยงออกไปดูงานแรกนาขวัญ พระองค์อยู่ พระองค์เดียวก็นั่งขัดสมาธิ ใช้ลมหายใจเข้าออกของพระองค์เป็นอารมณ์ของสมาธิ พระองค์ก็ได้บรรลุฌาน แล้วพอนั่งพักอยู่ในฌาน ต่อมาเมื่อพระองค์ออกบวช ไปปฏิบัติอย่างงั้นอย่างงี้ไม่สำเร็จ พระองค์ก็หวนระลึกว่าหนทางที่น่าจะทำให้เข้าใจธรรมะตรัสรู้ได้ ก็คือระบบอานาปานสติ ที่พระองค์เคยได้ประสบมาก่อน พระองค์มาเจริญอานาปานสติ พระองค์ก็ปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งมีอยู่ 16 ขั้นด้วยกัน ไม่ต้องการอธิบายโดยรายละเอียดเพราะเวลามันจำกัด
งั้นการเจริญอานาปานสติ อานะ หายใจเข้า อาปานะ หายใจออก เป็นขั้น เป็นขั้น 16 ขั้น เช่น ขั้นที่ 1 คือใช้ลมหายใจเข้ายาว ออก ยาว เป็นอารมณ์ของสมาธิ ขั้นที่ 2 หายใจเข้าสั้น ออกสั้น ครั้งแรกหายใจเข้ายาวออกยาว ขั้นที่2 หายใจเข้าสั้น ออกสั้น ขั้นที่ 3 กายทั้งปวง คือกายแน่นอนกับกายลมที่ทำงานด้วยร่วมกัน ขั้นที่4 ทำกายสังขาร ให้ระงับ คือทำให้ลมหายใจมันสงบระงับ ลมหายใจจะสงบระงับต่อเมื่อจิตมีสมาธิ เมื่อกายระงับก็ได้สมาธิ ก็ได้ปิติ อานาปานสติขั้นที่ 5 ได้ความสุข อานาปานสติขั้นที่6 ศึกษารู้จักจิตสังขาร คือเครื่องปรุงแต่งจิตก็คือเวทนา อานาปานสติขั้นที่ 8 ทำจิตสังขารระงับคือเอาชนะเวทนาได้ ขั้นที่ 9 มารู้จักจิตทุกชนิด ว่าจิตดีจิตไม่ดี รู้จักทุกชนิด ขั้นที่ 10 ทำจิตให้ปราโมทย์ได้ มีแต่จิตบันเทิง รื่นเริง ขั้นที่ 11 ทำจิตให้ตั้งมั่น ขั้นที่ 12 ทำจิตให้ปล่อย ปลดปล่อยขั้นที่ 13 เป็นวิปัสสนา ก็มาตามเห็นความจริงของสังขารทั้งหลายจะเห็นไม่เที่ยง เห็นแต่ความไม่เที่ยง มองไปที่ไหนเห็นแต่ความไม่เที่ยง มองเข้ามาในร่างกายของเราก็เห็นความไม่เที่ยง เช่นลมหายเข้าและหายใจออก เวทนาต่างๆ เปลี่ยนตลอดเวลา ยิ่งดูจิตใจก็เห็นแต่การเกิดดับไม่เที่ยง มองไปข้างนอกมองไปที่ไหน เห็นแต่ความไม่เที่ยงเป็นวิปัสสนา อานาปานสติขั้นที่ 13 เมื่อเห็นความไม่เที่ยงก็จะเห็นว่า การอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ ก็มันไม่มีตัวตน คือเห็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา นั่นเอง ก็ปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ตามเห็นอยู่อย่างนี้ อวิชชาคือความไม่รู้ ตัณหาคือความอยาก อุปาทาน ก็จะคลายออก คลายออก เพราะมันอยู่ไม่ได้ เหมือนกับความมืดมันเกิดขึ้น มองไม่เห็นอะไรเลย ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรอันตราย อะไรไม่อันตราย มองไม่เห็นเลย แต่พอมีแสงสว่างเกิดขึ้นมา ความมืดก็จะต้องหายไป มันก็คลายออก คลายออก ก็อาศัยวิปัสสนาญาณ
ที่นี้ก็คลายออก เมื่อคลายไปเรื่อยๆก็ดับ จนมาถึงอานาปานสติขั้นที่ 15 ก็ตามเห็นแต่ความดับ ตอนนี้มีแต่กิเลสมันดับไป ดับไปเรื่อยๆ แล้วขั้นสุดท้ายก็สลัดอุปาทานออกไปได้เลยหมด ตัวนี้ก็จะบรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นสิ่งสูงสุด เป็นเป้าหมายสูงสุดในพุทธศาสนา ถ้าเราเป็นชาวพุทธเค้าถามว่า อะไรคือสิ่งสูงสุดในพุทธศาสนา ตอบได้โดยไม่ต้องลังเลว่าคือพระนิพพาน พระนิพพานคือสิ่งสูงสุดในพุทธศาสนา ฉะนั้นเราเป็นชาวพุทธต้องมีเป้าหมาย ในการบวชก็เหมือนกัน นิพพานะ สัจฉิกิริยายะ การบวชเนี่ยเพื่อทำพระนิพพาน ให้แจ้ง ญาติโยม อุบาสก อุบาสิกา ถวายทาน นิพพานะปัจจะโยโหตุ การให้ทานของข้าพเจ้าเพื่อเป็นปัจจัย ให้เข้าถึงนิพพาน นิพพานมันมีอยู่แล้วในที่ทุกหนทุกแห่ง นิพพานมีอยู่แล้ว ถ้าเข้าใจความหมายของนิพพาน เป็นธรรมชาติที่ไม่มีกิเลส ไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ มีในที่ทุกหนทุกแห่งทั้งกลางวัน และกลางคืน แต่ว่าจิตใจของเรามันสัมผัสต่อพระนิพพานไม่ได้ เพราะกิเลสมันห่อหุ้มอยู่ ทำให้จิตมันสัมผัสกับนิพพานไม่ได้ แต่พอเปลื้องกิเลสออกไป จิตจะสัมผัสกับนิพพาน แล้วจิตก็เย็น จิตก็สงบ งั้นนิพพานความหมายหนึ่งคือเป็นความหมายสุข นิพพานัง ปรมังสุขัง นิพพานนี้เป็นสุขอย่างยิ่ง ถ้าจิตสัมผัสกับพระนิพพานได้จิตจะเป็นสุขอย่างยิ่ง คือจิตไม่มีกิเลส ไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ จิตว่าง จากความรู้สึกว่าตัวตน ว่านิพพานัง ปรมังสุญญัง นิพพานนั้นว่างอย่างยิ่งไม่ใช่ว่างอย่างที่ว่าง ไม่ใช่ว่างอย่างห้องที่ว่าง แต่จิตมันว่างจากกิเลส จากความยึดมั่นถือมั่น ว่าเป็นเราเป็นของเรา เนี่ยพระพุทธเจ้าต้องการให้ชาวโลกของพระองค์เข้าถึงสิ่งนี้ นั้นพระองค์จึงสรรเสริญการปฏิบัติบูชา
งั้นเวลาต่อไปนี้ขอให้คณะญาติโยม ขอพระสงฆ์ทุกรูปตั้งใจที่จะฝึก ไม่ต้องสนใจคนอื่น สนใจแต่อารมณ์ของสมาธิ จิตของเรามันเกิดมันดับ มันเกิดมันดับตลอดเวลา ให้จิตอยู่กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อานะ หายใจเข้า อาปานะ หายใจออก คือเทคนิคปฏิบัติ หายใจเข้าก็กำหนดลม แล้วก็ตามลมไป จากปลายจมูกเข้าไปข้างใน คือเทคนิคปฏิบัติที่ท่านอาจารย์อธิบายไว้ ให้ทำความรู้สึกว่าลมหายใจเข้าไปในจมูกแล้วเดินทางมาหยุดที่ท้องอยู่ที่สะดือ หายใจออกจากสะดือ ตามมาที่ปลายจมูกระหว่างสองจุดนี้ทำพร้อมกัน ก็เป็นทางเดินของลมแบบจินตนาการ จิตเกาะติดกับลมตลอดเวลา ให้จิตเกาะติดกับลมได้ไม่ไปนึกเรื่องนั้นเรื่องนี้ จิตก็บริสุทธิ์ จิตตั้งมั่น จิตอ่อนโยน แต่ว่าได้สมาธิ หรือสมถะ ถ้าได้สมาธิก็ เจริญวิปัสสนา เมื่อปฎิบัติอย่างเนี้ย จะทำให้นิโรธ อริยสัจ ข้อที่ 3 ปรากฏขึ้นได้ ฉะนั้นว่าต่อไปนี้ เป็นเวลาที่พวกเราจะได้ใช้เวลาฝึกอบรมจิตภาวนา สมาธิภาวนา ต่อไปนี้ต่างคนต่างทำกัน เหลือเวลา 26 นาที บ่าย 2 โมง ตั้งใจปฏิบัติกันเร็ว