แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ต่อไปนี้ก็ขอให้พวกเราที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปทุกองค์ รวมทั้งแม่ชี อุบาสก อุบาสิกา ที่นั่งอยู่ในบริเวณนี้ จงเตรียมตัวตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรมในเวลาที่ดีที่สุด คือ เวลาหัวรุ่ง เพื่อจะทำให้ความทุกข์ในชีวิตของเราลดลง ลดลง จนกระทั่งทำให้ความทุกข์หมด นี่คือเป้าหมายของการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา การที่เราออกมาบวชนี่ ก็เพื่อความมุ่งหมายอันนี้ ชีวิตฆราวาสมีภาระมาก มีหน้าที่การงานมาก ยากที่จะปฏิบัติที่จะทำให้พรหมจรรย์ได้สมบริบูรณ์ ไม่เหมือนกับการออกบวช พวกเราออกบวชมาประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะการมาอยู่ที่วัดสวนโมกข์ซึ่งเป็นวัดที่พระเดชพระคุณท่านอาจารย์พุทธทาสสร้างขึ้นไว้ ให้คนมาปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เพื่อประสงค์อย่างอื่น ผู้ที่มาอยู่ที่สวนโมกข์ไม่ว่าเป็นพระสงฆ์ เป็นแม่ชี เป็นอุบาสก-อุบาสิกา ถ้ามาอยู่เพื่ออย่างอื่น ก็ได้ประโยชน์น้อย หรือ ไม่ได้ประโยชน์เลย ดีไม่ดีเป็นภาระให้แก่คนอื่นเสียอีก มันเป็นการไม่สมควร ควรมาอยู่เพื่อปฏิบัติธรรมเพื่อทำให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ที่สำคัญที่สุดทำให้ความทุกข์ในชีวิตของเราลดลง เพราะวัดได้ว่าเมื่อกระทบกับอารมณ์ จิตใจยังเร่าร้อนเหมือนเดิมอยู่หรือเปล่า หรือว่าลดลงกว่าเมื่อก่อน สติสัมปชัญญะมันเพิ่มขึ้น หรือว่ายังไม่มีสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะนี่สำคัญ ถ้าเราเผลอสติเมื่อไร กิเลสก็เข้ามาเมื่อนั้น ความทุกข์จริงๆ มันมาจากอวิชชา อวิชชานี้เองทำให้ความทุกข์มันเกิดในชีวิตของมนุษย์เรา เพราะฉะนั้นก็ต้องทำให้อวิชชามันลดลง แต่วิชชามันเพิ่มขึ้น ดังนั้นก็ต้องสนใจศึกษาเรียนรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระเดชพระคุณท่านอาจารย์พุทธทาสนำมาอบรมสั่งสอน ก็ต้องพยายามเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หัวใจของพุทธศาสนา พวกเราอยู่ที่สวนโมกข์โดยเฉพาะออกบวชกันมาหลายปีแล้ว ถามว่าอะไรเป็นหัวใจของพุทธศาสนาต้องตอบได้
หัวใจของพุทธศาสนาที่ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวเอาไว้ มีหลายลักษณะ ที่สำคัญที่สุด คือ อริยสัจ 4 ต้องจำได้ ต้องตอบให้คนอื่นเข้าใจได้ อธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ คือเรื่องทุกข์ ตั้งแต่ยังทุกข์เกิด ยังความดับไปยังทุกข์ เรื่องทางถึงความดับไปยังทุกข์ ทางไปถึงความดับอันถูก อริยเดียว อริยมีองค์ 8 ต้องจำได้ มาอยู่ในสวนโมกข์ ถ้าไม่จำอริยมรรคมีองค์ 8 เรียกว่าแย่มาก ไม่สนใจที่จะศึกษาเรียนรู้ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แต่ละอย่างต้องอธิบายด้วย เข้าใจได้ด้วย สัมมาทิฏฐิ คืออะไร สัมมาสังกัปโป คืออะไร สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ต้องศึกษาให้เข้าใจ ถ้าใครถาม ต้องอธิบายได้ และที่สำคัญมากกว่านี้ คือ เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เพราะอริยสัจ 4 คือ เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทมีอยู่ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายทุกข์เกิด และ ฝ่ายทุกข์ดับ ฝ่ายทุกข์เกิด คือ สมุทยวาร อันนี้ต้องสนใจศึกษาเรียนรู้ว่า ลูกโซ่ของปฏิจจสมุปบาทมีอะไรบ้าง ฝ่ายทุกข์เกิด ก็ตั้งต้นจาก
อวิชชา เป็นปัจจัยก่อให้เกิด สังขาร สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ
สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ ผัสสะ เป็นปัจจัยเกิด เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัยเกิด ตัณหา ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด กองทุกข์ต่างๆ
ต้องจำได้ ต้องเข้าใจความหมาย นี่ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายทุกข์ดับ ก็เพราะอวิชชาดับ พออวิชชาดับ อื่นๆก็จะดับมาตามลำดับ ตัวทุกข์จริงๆ มันอยู่ที่ชาติ การเกิดทุกทีเป็นทุกข์ทุกๆที ชาติมันมี 2 ความหมาย ความหมายทั่วไประดับศีลธรรม คือ การเกิดจากครรภ์ของมารดา พระพุทธเจ้าตรัสว่า เพราะบิดามารดาอยู่ร่วมกัน คันธัพพะ คือปฏิสนธิ ก็คงจะเป็นเชื้อของบิดามารดารวมกันเรียกว่า คันธัพพะ ทารกก็เกิดในครรภ์ของมารดา มารดาเลี้ยงดู 8 เดือนบ้าง 9 เดือนบ้าง ถ้าสมบูรณ์ 10 เดือน ก็คลอดออกมา นี่คือชาติตามเนื้อธรรม ระดับศีลธรรม เราเกิดมาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น แล้วก็อยู่ไป จนกว่าจะตาย แต่ชาติในปฏิจจสมุปบาทมันเกิดได้ทุกครั้งเมื่อผัสสะเกิด เมื่อผัสสะเกิดถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ชาติมันเกิดด้วยความรู้สึกว่ามีตัวตน เพราะด้วยความมีตัวตนความทุกข์มันก็ตามมา พระพุทธเจ้าก็ได้สอนว่าอย่างเรียกว่า ตาเห็นรูป วิญญาณเกิดนี่มันเป็นธรรมชาติ ตามอย่างธัมมานุ เรียกว่าผัสสะ พอผัสสะและเวทนามันเกิด เวทนามีอยู่ 3 เวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา สุขเวทนา รู้สึกเป็นสุข, ทุกขเวทนา รู้สึกเป็นทุกข์ , อทุกขมสุขเวทนา รู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ พอผัสสะนี่ อวิชชาก็จะหล่นใส่ มันจะตกลงมาพร้อมที่จะตามมา ถ้าเกิดสุขเวทนา ราคะก็จะเกิดราคานุสัย ก็ให้เกิดความเคยชินของกิเลสที่เราไม่ได้บ่ม มันเคยชินที่จะเกิดกิเลส เมื่อเกิดทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย และความโกรธมันจะเกิด อทุกขมสุขเวทนาเกิด อวิชชานุสัยมันก็เกิด พออวิชชาเข้ามา มันก็ปรุงให้เกิดตัณหา คือความอยากต่างๆ พอเกิดตัณหาก็เกิดอุปาทาน พอเกิดอุปาทานเกิดภพเกิดชาติ มันเร็วมาก แว็บเดียว แว็บเดียว เกิดความรู้สึกว่ามีตัวตน อหังการ สำคัญว่าเรา ,มมังการ สำคัญว่าของเรา, อัสสิสมานะ สำคัญว่ามีตัวตน ความทุกข์มันก็เกิด ชาติมันเกิด
ชาติใน ปฏิจจสมุปบาทเกิดได้ตลอดเวลา แล้วเกิดทางตาบ้าง ผัสสะทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้น ทางกาย โดยเฉพาะทางใจ ถ้ามีตามันไม่ได้เห็นๆ หูไม่ได้ฟัง นอนอยู่นี่ ที่นอนนะ จิตมันถึงกับธรรมารมณ์ ผัสสะเกิด เราขาดสติสัมปชัญญะ อวิชชาก็เข้ามา ดังนั้นการปฏิบัติธรรมจริงๆ เมื่อปฏิบัติเรื่องผัสสะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การปฏิบัติธรรมก็มีเรื่องที่คนสนใจหนึ่ง คือ ฝึกสมาธิประจำวัน ฝึกให้มากขึ้น ไม่เฉพาะสติปัฏฐาน 4 ตามเห็นกายในกาย ตามเห็นเวทนาในเวทนา ตามเห็นจิตในจิต ตามเห็นธรรมในธรรม เป็นที่พึ่งของใจ โดยเฉพาะ เจริญอานาปานาสติ 16 ขั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อเจริญอานาปานาสติ 16 ขั้น ได้ชื่อว่าเจริญสติปัฏฐาน 4 ได้ชื่อว่า อบรมโพชฌงค์ทั้ง 7 โพชฌงค์ทั้ง 7 นี่ก็สำคัญ เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ คือ
1) สติ 2) ธัมมวิจยะ 3) วิริยะ 4) ปิติ 5) ปัสสัทธิ 6) สมาธิ 7) อุเบกขา
อุเบกขาไม่ใช่ ไม่ใช่วางเฉย แต่เพ่งเฉพาะอยู่เพื่อจะบรรลุ เพื่อจะเข้าใจธรรมะ ได้รับรู้ได้เข้าใจพระนิพพาน คำว่าอุเบกขาไม่ใช่วางเฉย ไม่ใช่ว่าไม่รับรู้อะไร ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่ออบรมโพชฌงค์ก็ทำให้วิชชาในวิมุตติเกิดขึ้น วิชชาที่สำคัญที่สุดคือเข้าใจเรื่องพระไตรลักษณ์ เข้าใจว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงมันไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนันตา ถ้าเข้าใจนี่จิตก็วิมุตติ หลุดพ้นจากความทุกข์ โดยเฉพาะความทุกข์ที่มีอยู่ในจิตใจของมนุษย์เราออกมาจากอวิชชา ที่ก่อให้เกิดตัณหา เกิดอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่น เป็นเรา เป็นของเรา ถ้าใครทำให้เห็นโดยไม่ยึดว่าเป็นตัวเรา ความโลภก็ดี ความโกรธก็ดี ความหลงก็ดี มันก็จะลดลง ราคะ โทสะ โมหะ ความกำหนัดรัก เรียกว่า ราคะ ความโลภ ความอยากได้ เรียกว่า โลภะ โทสะความโกรธ โมหะความหลง มันจะลดลง
เมื่อเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาก็สังเกตดูว่า แต่ละปีแต่ละปีนี่ กิเลสเหล่านี้มันเบาบางลงหรือเปล่า ถ้ากิเลสเหล่านี้ยังไม่เบาบาง ก็ต้องขวนขวายปฏิบัติให้มากขึ้น เพราะชีวิตในส่วนสังขาร มันเดินทางไปสู่ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ทุกเวลานาที ถ้าไม่สนใจปฏิบัติธรรมมันก็ตายซะก่อน การที่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศาสนา ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ก็ให้สนใจปฏิบัติ โดยเฉพาะมาอยู่ที่สวนโมกข์ ต้องเพิ่มสติสัมปชัญญะ สติที่สมบูรณ์ก็ต้องเจริญสติปัฏฐาน 4 ตามเห็นกายในกาย ตามเห็นเวทนาในเวทนา ตามเห็นจิตในจิต ตามเห็นธรรมในธรรม การปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ใช่ว่าต้องไปอินเดีย ไปนั่งอยู่ที่โคนต้นโพธิ์ แล้วจะเข้าใจธรรมะ อันนั้นดีไปอินเดียได้ไปนั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แต่ว่าถ้าไม่อบรมจิตมันก็เหมือนอยู่ที่อื่น
ดังนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ไปที่ไหน ก็ต้องระวัง เมื่อผัสสะ ผสฺสสมุทยา พรหมจรรย์ 10 พระพุทธเจ้าสรุปพรหมจรรย์ 10
ฉนฺทมูลกา การปฏิบัติธรรมต้องมีฉันทะเป็นมูล
มนสิการสมฺภวา ต้องใคร่ครวญพิจารณาให้เป็นแดนเกิด
ผสฺสสมุทยา ต้องปฏิบัติที่ผัสสะเป็นสมุทัย เหตุให้เกิด
เวทนาสโมสรณา เพราะว่าตัวปัญหาจริงๆเอาชนะมันยากคือเวทนา
ต้องมีสมาธิ สมาธิปมุขา ฝึกจิตให้มีสมาธิมากขึ้น
ต้องมีสติ สตยาธิปเตยฺยา สตินี่เป็นอธิปไตย เป็นใหญ่
สำคัญสุด ปญฺญุตฺตรา ปัญญานี้เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง
ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ได้ ก็จะวิมุต วิมุตฺติสารา วิมุตเป็นแก่น ก็จะหยั่งลงสู่ อมตะธรรม อมโตคธา
สุดท้าย นิพพานปริโยสานา สูงสุดก็ว่านิพพาน เป้าหมายของนิพพาน คือ จิตไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ นิพพานเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมชาติที่ไม่มีราคะ โทสะ และโมหะ จิตของเราเป็นสังขาร เป็นสังขตธาตุ ถ้าจิตไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เมตตาก็ปรากฏขึ้น จิตก็รับรู้ ก็จะเย็น จะสงบ จะพบความสุขสูงสุด เรียกว่า วิมุตติสุข
ระดับต่อไปนี้ ก็ขอให้สนใจปฏิบัติ ปฏิบัติรวมๆกัน แต่ว่าอยู่ที่กุฏิก็สนใจปฏิบัติให้มากขึ้น แต่ละวัน แต่ละวันอย่างน้อยมีโอกาสเจริญสมาธิภาวนา 2 ครั้ง 3 ครั้ง หรือว่าหลายครั้ง ผมเห็นพระที่สนใจปฏิบัติมากที่สุด ไม่เคยเห็นใครที่ท่านชอบ แก่กว่าผม 7 ปี เป็นคนชลบุรี ท่านไปอยู่ที่เกาะแต่ง.... เป็นเกาะเล็กๆ ท่านปฏิบัติธรรมทั้งวัน นั่งสมาธิ เดินจงกรม ไม่รับนิมนต์ ไม่ไปไหน ปฏิบัติธรรมทั้งวัน ท่านเรียบร้อยมาก สงบมาก ตอนนี้ก็มรณภาพไปแล้ว เป็นตัวอย่างที่ดี พวกเราอยู่ที่สวนโมกข์ ถ้าไม่สนใจเรื่องนี้ เรียกว่า เวลาที่ผ่านไป ก็เปล่าประโยชน์ ต่อไปก็ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ต้องสนใจที่ศึกษาเรียนรู้ปริยัตติธรรม หนังสือของท่านอาจารย์ก็นำมาอ่าน ท่านแปลมาเรื่องขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ อริยสัจจากพระโอษฐ์ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ เป็นหนังสือหลัก เป็นพระไตรปิฎก แต่ว่าหนังสือที่ท่านพูดพิมพ์ขึ้นมาแต่ละเล่ม แต่ละเล่ม ในห้องสมุดก็มี พยายามอ่าน แต่ละวัน แต่ละวัน อย่าไปอยู่กับอารมณ์ของโลกเฟซบุ๊ก, ไลน์ สนใจแต่เรื่องโลกๆ, ฟังวิทยุเรื่องโลกๆ, อ่านหนังสือพิมพ์เรื่องโลกๆ ไม่มีประโยชน์ ก็ขอให้ตั้งใจปฏิบัติกันต่อไป