PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระราชวัชรโพธิคุณ (โพธิ์ จนฺทสโร)
  • กิจกรรมภาคเช้า
กิจกรรมภาคเช้า รูปภาพ 1
  • Title
    กิจกรรมภาคเช้า
  • เสียง
  • 6473 กิจกรรมภาคเช้า /aj-pho/2020-12-31-10-47-11.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระภาวนาโพธิคุณ (โพธิ์ จันทสาโร)
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันอังคาร, 03 กันยายน 2562
ชุด
กิจกรรมภาคเช้า
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  •             เอาล่ะต่อไปนี้ก็ขอให้พวกเราที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปทุกองค์พร้อมทั้งแม่ชีอุบาสกอุบาสิกาที่นั่งอยู่ ณ บริเวณนี้  ขอให้เตรียมตัวตั้งใจที่จะปฏิบัติธรรม  เวลาที่ดีที่สุดเพื่อเข้าใจธรรมะที่พระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบ หรือที่เรียกว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้  พุทธศาสนามาจากพระพุทธเจ้า  ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าพุทธบริษัทก็จะไม่มี  พุทธบริษัทคือภิกษุเป็นนักบวชผู้ชาย  ภิกษุณีเป็นนักบวชผู้หญิง  เป็นอุบาสกอุบาสิกา  ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าคำว่าพุทธบริษัทก็จะไม่มี  แม้แต่วัดวาอารามก็ไม่มี  ท่านอาจารย์พุทธทาสท่านมาสร้างสวนโมกข์เอาไว้  ถ้าไม่มีท่านอาจารย์พุทธทาสสวนโมกข์ก็มีไม่ได้  ท่านอาจารย์พุทธทาสท่านกลับพูดว่าถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าท่านก็มีไม่ได้  คำสอนในพระพุทธศาสนามากมายรวมเป็นพระคัมภีร์ พระไตรปิฎกซึ่งมีค่ามาก มีคุณมาก 25 เล่ม เฉพาะเป็นบาลีนอกนั้นเป็นอรรถกถามากมายคัมภีร์พุทธศาสนา ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าพระไตรปิฎกก็มีไม่ได้  แม้แต่ประเพณีต่างๆ ที่ชาวพุทธปฏิบัติกันอยู่  ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าก็มีไม่ได้  งั้นพวกเราพุทธบริษัทจะมองให้เห็นความสำคัญของพระพุทธเจ้า  พระองค์อุบัติขึ้นมาบนโลกนี้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของคนจำนวนมากทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

                หมายความว่าทั้งคนยากจนทั้งคนมั่งมีถ้าปฏิบัติพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็จะได้รับประโยชน์ได้รับความสุข ที่สำคัญที่สุดว่าเราเน้นไม่เข้าใจไม่แจ่มแจ้งในสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้และทรงสอน  ส่วนใหญ่ก็รู้กันว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องอริยสัจ 4  อริยสัจ 4 คือสิ่งที่มีในชีวิตประจำวันของทุกคนอันนี้  แต่เรามีไม่ครบ ไม่ครบอริยสัจ 4  อริยสัจ 4  มีอะไรบ้าง คือ หนึ่งเรื่องทุกข์ ทุกคนมีอยู่แล้วพอเกิดมาก็พาความทุกข์ติดตัวมาแล้ว  สองเหตุให้ทุกข์เกิด เหตุให้ทุกข์เกิดนั้นมันมีตลอดเวลา ส่วนความดับแห่งทุกข์มันไม่ค่อยจะมี  เพราะว่าไม่ได้ปฏิบัติในหนทางเพื่อให้ทุกข์มันดับ  ดังนั้นการปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติในหนทางที่ทำให้ทุกข์มันดับ  มันก็ต้องศึกษาให้เข้าใจว่าความทุกข์นั้นน่ะมันคืออะไรบ้าง  ความทุกข์มันมีหลายอย่าง ความเกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์  เจ็บเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์  โศกร่ำไรรำพันทุกข์กายทุกข์ใจ  มันมีอาการของความทุกข์  มันเยอะ การพึ่งพึงมันเจ็บปวดมันทนได้ยากมันทรมาน เรียกว่าทุกข์  ความหนักอกหนักใจ จิตใจมันรู้สึกมันหนักมันเหนื่อย นั่งก็ความทุกข์ สรุปแล้วความทุกข์มันมี 2 อย่าง ความทุกข์ทางร่างกายทางเนื้อหนัง  สองความทุกข์ทางด้านจิตใจ  ความทุกข์ทางร่างกายคนก็เห็นอยู่ก็ไม่อยากจะให้มันเป็นทุกข์ เช่น ความหิว อย่างนี้ก็เป็นอาการของความทุกข์ก็พยายามที่แสวงหาอาหารระงับความทุกข์  ความหนาวความร้อนก็เป็นความทุกข์ทางร่างกายก็ไม่เอา  ป้องกัน  เจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นความทุกข์ทางด้านร่างกาย ก็พยายามที่จะใช้ยาหาหมอรักษาหรือวิธีต่างๆ  นี่เป็นความทุกข์ทางร่างกาย ใคร ๆ ก็เห็นมองเห็น แต่ความทุกข์ทางด้านจิตใจ  คนส่วนมากมองไม่เห็นว่ามันมาจากอะไร ความทุกข์ทางด้าน

                จิตใจเนี่ยมันก็มาจากยึดถือว่ามาจากอุปาทาน   อุปาทานคือการยึดถือเอาของหนัก  ที่เราสวดทำวัตรเช้ากันทุกวัน  ปัญจุปาทานขันธ์ ทุกขา  เพราะยึดถือในเบญจขันธ์ อะไรคือตัวทุกข์  เบญจขันธ์ก็คือชีวิตของเราที่ยังมีความรู้สึกได้  ยังมีสัญญาและเวทนา ยังรู้สึกได้  ยังจำได้  ยังรู้สึกได้ เบญจขันธ์ก่อเกิดหนึ่งรูป สองเวทนา สามสัญญา สี่สังขาร ห้าวิญญาณ  รูปเนี่ยเป็นวัตถุ  สามารถมองเห็นได้จับต้องได้ ดมได้นี่เป็นส่วนของรูป  รูปประกอบด้วยธาตุทั้ง 4  ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นส่วนของรูปคือชีวิตที่เรามี เวทนาคือความรู้สึก รู้สึกเป็นสุข รู้สึกเป็นทุกข์  รู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์  นี่เป็นเวทนา  สัญญาจำได้ หมายรู้  จำรูปจำเสียงจำกลิ่นจำรสจำโผฏฐัพพะ  จำเรื่องราวต่างๆ นี่ความหมายธรรมดา แต่ว่าสัญญานี้ ถ้ากิเลสมันเข้ามาอยู่ในจิตใจได้ มันจะเป็นสัญญาวิปลาส  คำว่าวิปลาสนั้นคือมันผิดปกติ เสียสติ ปัญหาต่อไปก็คือบ้านั่นเองสัญญาวิปลาสเพราะสำคัญผิดที่มาจากกิเลส  เอากิเลสเข้ามาอยู่ในจิตใจได้ มันก็ทำให้เข้าใจผิดสำคัญผิด สิ่งที่ไม่เทียงก็คิดว่ามันเที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์ก็คิดว่าเป็นสุข  สิ่งที่ไม่งามก็เห็นว่างาม  สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนก็เห็นว่าเป็นตัวตน  สิ่งที่เป็นทุกข์คนมาสำคัญว่าเป็นสุข เป็นอย่างไรก็ลองพิจารณาดู  คนทั่วไปกล่าวว่าทั่วไปก็ชอบยึดถือว่านี่ของเรานั่นของเรา อยากจะมีให้มากๆ มีที่ดิน มีทรัพย์สิน มีเงินมีทองให้มากๆ แล้วก็ไปยึดถือว่าเป็นของเรา ขนาดยึดถือเอาสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เพราะอำนาจของกิเลสที่เรียกว่าอวิชชา ก็ได้ทำให้ทุกข์ เกิดขึ้นในจิตใจ ไม่รู้จักหยุดไม่รู้จักหย่อน อันสัญญานี้ตัวสำคัญน่ะ แล้วก็สังขาร  สังขารมันมีความหมายมากสิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็เป็นสังขาร  สิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลายก็เป็นสังขาร  ในตัวชีวิตที่เรามีอยู่ก็มีสังขารอีกหลายชนิด กายสังขาร  ลมหายใจเข้าหายใจออก ว่ากายสังขาร วจีสังขาร คำพูดที่เราพูดออกมาได้ก็เพราะมีวิตกคือจิตที่จะวิจารณ์จิตที่ตกเอาคำพูดที่พูดออกมา  วจีสังขาร จิตสังขาร ก็เพราะมีสัญญา และเวทนาจึงทำให้จิตทำงานได้เรียกว่าจิตสังขาร ก็สังขารกลุ่มนี้ก็อยู่ในชีวิตของเรานี่  ถ้ามีสังขารที่ร้ายที่สุดที่มาจากอวิชชา อวิชชาปัจจยา สังขารา  อวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร นี่คือมันปรุงจิตให้เห็นผิดให้เข้าใจผิด โดยเฉพาะปรุงให้รู้สึกว่ามีตัวตนตามนัยยะแห่งปฏิจจสมุปบาท

                ปฏิจจสมุปบาทก็คือเรื่องอริยสัจที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ คืนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้พระองค์ก็มาพิจารณาปฏิจจสมุปบาทนี้  พระก็ไปสวดเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่ว่าเวลาคนแก่ๆ นิมนต์พระไปสวดบังสุกุลเป็น และพระก็สวดชุดนี้อวิชชาปัจจยา สังขารา สังขาราปัจจยา เรื่อยไปจนกระทั่งถึงชาติ ชาติเนี่ยที่ทำให้เกิดความทุกข์ ชาตินี้มี 2 ความ หมาย คือชาติที่เกิดจากท้องมารดา ทุกคนมีการเกิดมาก็เพราะมีบิดามารดา และก็มีชาติ ชาตินี้ชาติทางเนื้อทางหนังมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นแล้วอยู่ไปจนกระทั่งแก่เจ็บตาย แล้วแต่อายุของคน บางคนตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา  บางคนคลอดมาไม่กี่ปีก็ตาย ตายในวัยหนุ่มวัยสาว ตายในวัยพ่อบ้านแม่เรือน วัยแก่ชราก็ไม่แน่นอน  นี่ชาติที่เกิดมาจากทางเนื้อทางหนังของท้องมารดามีเพียงครั้งเดียว  ชาติในความรู้สึกมีตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อผัสสะเกิด  ผัสสะนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ชาวพุทธจะต้องเรียนรู้  เพราะผัสสะมันมีหลายผัสสะมีถึง 6 ผัสสะ  ความหมายของผัสสะคือสิ่ง 3 สิ่งมันมาทำงานร่วม กัน  สิ่ง 3 สิ่ง หนึ่งคืออายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อายตนะภายใน สิ่งที่ติดต่อหรือที่โยงภายในอีกชื่อหนึ่งคืออินทรีย์ อินทรีย์คือความเป็นใหญ่เป็นหน้าที่ของตน คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตาเป็นใหญ่ในการเห็นรู้ หูเป็นใหญ่ในการฟังเสียงจะมาแลกเปลี่ยน สับ เปลี่ยนไม่ได้ จะเอาตามาแทนหูหูมาแทนตาไม่ได้ อีกความหมายหนึ่งคือเป็นที่ๆ สำคัญที่สุด อินทรีย์นี่เป็นที่ๆ สำคัญที่สุดต้องควบคุมให้ได้ก็ว่าสำรวมอินทรีย์  ทีนี้อีกพวกหนึ่งอยู่ข้างนอกเรียกอายตนะภายนอก คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฐทัพพะ และก็ธรรมารมณ์  ธรรมารมณ์นี้มากที่สุด เออสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจ เห็นรูปก็เกิดอารมณ์ขึ้นมา  บางทีอารมณ์ในอดีตตั้งแต่เราเกิดตั้งแต่เราจำความได้ยังเป็นอารมณ์คอยเกิดขึ้นมาเป็นอารมณ์ใหม่ พระพุทธเจ้าก็สอนให้ระวังเรื่องอารมณ์ในอดีตจะคอยตาม มาเกิด ฉะนั้นพวกเราที่มาบวชเป็นพระ โดยเฉพาะท่านที่มีอายุมากแล้วมาบวชนี่ต้องระวังให้ดี อารมณ์ที่เคยเกี่ยวข้องเคยสัมผัสมันมาในอดีตมันจะมารบกวนจิตใจ ถ้าไม่มีการฝึกเอาไว้มันจะมาพุ่งให้เป็นอารมณ์ใหม่มันเยอะ  รูป เสียง กลิ่น รส โผฐทัพพะ ธรรมารมณ์ก็เรียกอายตนะภายนอกก็เรียกอารมณ์ก็เรียกวิญญาณ วิญญาณจริง ๆ ก็คือจิตของเรานั่นเอง ชีวิตของเราโดยสรุปก็มี 2 อย่างคือกายกับจิต ถ้าจำแนกออกไปจิตก็คือวิญญาณ จิตเมื่อมาทำหน้าที่ในขณะที่ตาเห็นกับรูปก็เป็นจักขุวิญญาณ  มาทำหน้าที่เอาหูฟังเสียงเรียกโสตวิญญาณ  ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ  กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณเนี่ยมันหก    เนี่ยพอตาเห็นกับรูปวิญญาณก็เกิดก็เป็นผัสสะ

                ผัสสะนี่เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ผัสสะจึงมี 6 ผัสสะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ พอผัสสะแล้วเวทนาก็จะเกิด สัญญาก็จะเกิด สังขารก็จะเกิด เกิดตามที่ผัสสะ  ตัวร้ายที่สุดคือตัวเวทนา เวทนามันมีทุกขเวทนา รู้สึกเป็นทุกข์ รู้สึกสบาย ทุกขเวทนารู้สึกเป็นทุกข์มันไม่สบายไม่ชอบใจ ก็มาทุกขเวทนารู้สึกเฉยๆ ที่เรามองไปที่ภูเขามองไปที่ท้องฟ้าบางทีรู้สึกเฉยๆ ถ้ามองไปที่คนมองไปที่สัตว์มันก็รู้สึกคนละอย่าง โดยเฉพาะเพศที่ตรงกันข้ามนี่ตัวร้าย พระพุทธเจ้าจึงสอนภิกษุไม่เห็นเป็นการดีไม่มองเป็นการดี เห็นแล้วไม่พูดเป็นการดี สองเพศนี้มันชักจูงให้จิตมันตกต่ำก็ต้องระวัง การปฏิบัติธรรมนี่สำคัญที่สุดก็คือที่ผัสสะนี่เอง เพราะว่าอวิชชามันจะคอยสงสัยคอยดลใจ  อวิชชานี่เป็นธรรมชาติของกิเลสที่ร้ายกาจที่สุด คอยลงลงในจิตใจของคนที่ไม่มีสติไม่มีสัมปชัญญะ อวิชชาเข้ามาได้มันจะมาผสมโรงกับเวทนาแล้วก่อให้เกิดกิเลสต่างๆ อีกมากมาย เช่น เกิดทุกขเวทนาขึ้นมาก็ทำให้ราคะมันเกิด ราคะนี่เป็นตัวกิเลสที่มันเผาผลาญจิตใจให้เร่าร้อนไม่เลือกว่าคนหนุ่มคนแก่ ถ้าเกิดทุกขเวทนา โทสะปฏิฆะก็จะเกิดคือไม่พอใจ จะเกิดอทุกขมสุขเวทนา ก็เกิดโมหะอวิชชาตกลงในจิตใจแล้วก็ปรุงแพรบเดียวให้มีความรู้สึกว่าเป็นเราเป็นของเรา ทุกผัสสะ ไม่ว่าผัสสะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจก็ผัสสะแล้ว หากเราไม่มีศีลสัมปชัญญะไม่มีสมาธิไม่มีปัญญา ก็นำไปสู่การเกิดการเกิดใหม่ การเกิดของจิตใจมันมีวันหนึ่งไม่รู้สักเท่าไหร่ ก็เป็นชาติ เพราะชาติมันเกิดต่อไปความแก่ความเจ็บความตายมันก็ต่างมารวมอยู่ในความรู้สึกว่ามีตัวตนนั่นเอง ชาตินี้เป็นชาติที่สำคัญจะต้องระวังอย่าให้ชาติมันเกิด นี่เป็นความรู้ของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสรู้ลงในอริยสัจสี่ เรื่องทุกข์ทุกข์เกิดทุกข์มันมีอยู่ในชีวิตของเรา ถ้าเหตุให้เกิดทุกข์มันคอยเกิด เกิดตลอดเวลา หากไม่ปฏิบัติธรรม ก็ความทุกข์ความดับทุกข์ถ้าไม่มีการปฏิบัติธรรมมันดับไม่ได้ เราก็ต้องปฏิบัติในหนทางที่ทำให้ทุกข์ดับ เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา  ทางสายกลาง ทางสายกลางโดยย่อคือสมถะและวิปัสสนา อบรมจิตของเรา ที่สวนโมกข์เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมก็ต้องสนใจเรื่องนี้ เรื่องอื่นเป็นงานอดิเรก งานกิจนิมนต์อย่าถือว่าเป็นงานหลักเป็นงานอดิเรก ที่ว่าไปสงเคราะห์ญาติโยมไปทำบุญอย่านึกว่าไปได้ไทยทานได้สะตุ้งสตางค์อย่าไปคิดอย่างนั้น งานหลักนี้คืองานปฏิบัติธรรม มีเวลาปฏิบัติมากเท่าไหร่จะมีประโยชน์ ให้เป็นเครื่องทดสอบว่าจิตใจแต่ละวันๆ มันปกติหรือไม่ปกติ จิตใจสงบหรือไม่สงบ นี่เป็นเครื่องวัด พอตื่นขึ้นมามันผัสสะมันมีทุกที แต่ถ้าจะเอาอธิบายละเอียดว่าถ้าผัสสะกระทบปฏิฆะสัมผัส ปัญหามันก็ไม่มี  แต่ถ้าอวิชชาสัมผัสอธิวจนสัมผัส ปัญหามันเกิด อยากจะสอนว่าให้ตาเห็นรูปแล้วจำไว้คือมีแต่ปฏิฆะสัมผัส แต่มันยาก ถ้าไม่มีการฝึกเอาไว้นะมันยาก ที่เห็นสักว่าเห็น หูฟังสักว่าได้ยิน จมูกดมกลิ่นสักว่าดม จิตรู้อารมณ์สักว่ารู้ จะต้องมีการฝึกเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่พยายามฝึกมันยังแพ้ต่อกิเลส เพราะว่ากิเลสนะมันแยบยลแยบคาย มันสอนให้เพลินในอารมณ์นั้นๆ ก็ต้องเห็นโทษเห็นโทษของกิเลสว่าเป็นตัวร้ายกาจตัวอันตราย และก็จนฝึกให้มีสติสัมปชัญญะ อย่าให้อวิชชามันเกิดขึ้นมา ถ้าอวิชชาเกิดขึ้นได้ ตาเห็นรูปอวิชชาเข้ามาร่วม อวิชชาสัมผัสสัมผัสด้วยอธิวจนสัมผัสกลับไปถือเอาสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของจริงของจังขึ้นมาทั้งที่เป็นเพียงสังขารเท่านั้น ต้องปฏิบัติธรรมจึงจะเอาชนะกิเลสได้ก็ว่ามันเป็นเพียงสังขารธรรม

               ถ้าสังขารมันก็ต้องไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน ดังนั้นพวกเราอยู่ที่สวนโมกข์มีโอกาสเยอะก็ขอให้ใช้เวลาสำหรับปฏิบัติ ทำให้มากๆ สำหรับฆราวาสที่เป็นพุทธบริษัทก็ต้องทำสองอย่าง หนึ่งหาโภคทรัพย์ทรัพย์สินเงินทอง พอตื่นขึ้นมาก็คิดว่าวันนี้ไปทำอะไรงานการที่มันค้างคาอยู่ต้องทำอะไรบ้าง ถ้ามีลูกจ้างก็ต้องคิดถึงลูกจ้าง คิดถึงคนเรื่องนั้นเรื่องนี้  ฆราวาสเขาประกอบอาชีพการงานจะเป็นชาวนาหรือจะเป็นชาวสวนพ่อค้าราชการก็ต้องคิดถึงหน้าที่การงานมันเกี่ยวกับโภคทรัพย์ของต้องแสวงหา  แต่ว่าถ้าเป็นพุทธบริษัทฆราวาสที่ดีก็ต้องพยายามหาอริยทรัพย์คือคุณธรรมศรัทธา  เป็นต้น อริยทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริละอายบาป โอตัปปะกลัวบาป  พหุสัจจะได้ยินได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้าจำได้เข้าใจมากขึ้น เป็นจาคะปัญญา มีฆราวาสหลายคนที่เขาประสบความสำเร็จในชีวิต วัดวาอารามอยู่ได้ก็เพราะฆราวาสที่เป็นพุทธบริษัทที่เขามีทรัพย์สินเงินทองนั่นเอง ก็เพราะเรานั่นเป็นพระมันเป็นเนื้อนาบุญของโลกก็ต้องทำหน้าที่รักษาเนื้อนาให้ดี  เนื้อนาที่เขาหว่านพืชลงข้าวลงไปในผืนนาแล้วมันไม่ได้ผลเพราะเป็นนาดินเค็มนาดินดอนนาที่มันไม่น่าปลูกข้าวข้าวมันก็ง่อย งดงามไม่ได้เพราะเนื้อนามันไม่ดี  พระสงฆ์เราที่บวชเข้ามาต้องไม่ลืมว่าพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก  ปุญญักเขตตัง โลกัสสะต้องรักษาเนื้อนาให้ดี ก็คือการปฏิบัติธรรม เอาชนะกิเลสให้ได้แต่ละวันๆ พอตื่นขึ้นมาก็ต้องมีสติมีสัมปัชชัญญะ ระหว่างเมื่อผัสสะมันเกิดตาเห็นรูปหูฟังเสียงเป็นต้น พยายามฝึกสติถ้าเห็นรูปก็สักว่า ได้ยินเสียงก็สักว่าฟัง  ทำปริยัติก็ต้องเรียนต้องศึกษาให้เข้าใจ  ห้องสมุดเป็นหนังสือเยอะ ๆ หมด ไม่ว่าห้องสมุดไหนหนังสือก็เยอะแยะหมด หนังสือที่มีประโยชน์ก็ควรจะออกมาอ่าน เอามาทบทวน ห้องเหล่านี้เอาหนังสืออิทัปปัจจยตา ท่านอาจารย์เคยบรรยายเอาไว้ เมื่อก่อนผมก็บันทึกเสียงท่านอาจารย์บรรยายซึ่งก็นานมากแล้ว เอามาอ่านใหม่มันได้ประโยชน์มาก เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก ถ้าชาวพุทธอ่านหนังสืออิทัปปัจจยตา เข้าใจและปฏิบัติได้นี่จะแก้ปัญหาได้ทุกปัญหาอันอยากจะโฆษณาหนังสือที่ดีที่สุดที่ท่านอาจารย์พุทธทาสทำขึ้นมาก็คือหนังสืออิทัปปัจจยตา  เล่มไม่แพงไม่แพงมากที่ธรรมทานมูลนิธิเขามีขาย ใครต้องการจะก้าวหน้าควรหาอ่านควรทบทวนบ่อยๆ จะมีประโยชน์มาก มันเป็นความรู้ที่จะมาแก้ปัญหาได้ ท่านอาจารย์อธิบายทุกเรื่องรวมอยู่ในคำว่าอิทัปปัจจยตา เอาละเวลาต่อไปนี้ก็ปฏิบัติกันเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทโดยเฉพาะพวกเราที่อยู่สวนโมกข์ หน้าที่อื่นถือว่าเป็นงานอดิเรก หน้าที่หลักงานหลักคืองานปฏิบัติธรรม ถ้าไม่สนใจเรื่องนี้แล้วก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่ละวันๆ ปฏิบัติธรรมตามเวลาที่มี

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service