แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ลำดับต่อไปนี้ก็ขอให้พวกเราที่เป็นพระภิกษุสงฆ์ทุกรูปทุกองค์ไม่ว่าบวชเก่าหรือบวชใหม่ รวมทั้งแม่ชีอุบาสกอุบาสิกาที่นั่งอยู่ในบริเวณนี้ จงตั้งใจเตรียมตัวปฏิบัติตามในเวลาที่ดีที่สุด
มนุษย์เรานี้สรุปแล้วก็มีเพียงสองส่วน ส่วนหนึ่งคือร่างกายเนื้อหนัง อีกส่วนหนึ่งคือจิตใจ จิตใจเนี่ยเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คนเราจะมีความสุขหรือความทุกข์อยู่ที่จิตใจรู้จักคิดรู้จักนึกนั่นเอง เพราะฉะนั้นต้องปรับปรุงจิตใจให้คิดในทางที่ดี โดยเฉพาะปู่ย่าตายายของเราเคยเตือนไว้นานแล้วว่า รู้จักคิดว่าเราเกิดมานี้เรียกว่าเป็นโชคดี เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้มาพบพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องเตือนใจเตือนตัวเองว่าเนี่ยเราโชคดีที่สุดที่เกิดมาเป็นมนุษย์ได้พบพระพุทธศาสนา แล้วก็นึกต่อไปว่าพระพุทธศาสนามาจากไหน พระพุทธศาสนามาจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาบนโลกนี้สองพันหกร้อยกว่าปีมาแล้ว พอพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นในโลก ทำให้สิ่งต่างๆตามมามากมาย สองพันกว่าปีสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระพุทธเจ้าก็ยังมีอยู่ในโลกจนปัจจุบันนี้ พอพระพุทธเจ้าตรัสรู้พระองค์เองก็พ้นจากทุกข์พ้นจากปัญหา เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำว่า “อรหันต์” เนี่ยมีความหมายมาก คนปัจจุบันนี้ไม่เข้าใจความหมายของพระอรหันต์ บางทีหนังสือพิมพ์บางฉบับตอนที่เขาคิดร่างรัฐธรรมนูญก็ใช้คำว่าอรหันต์ เอาอรหันต์มาช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ เอาความหมายของสิ่งสูงสุดมาใช้กับเรื่องธรรมดา คำว่า “อรหันต์” ก็คือผู้ไกลจากกิเลส อรหันต์คือผู้ที่ไม่มีความลับ เป็นบุคคลสูงสุดที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชีวิตของตนก็คือพระอรหันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นจอมพระอรหันต์ ส่วนสาวกของพระองค์เป็นพระอรหันตสาวก แอบเกิดขึ้นในโลกเพราะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอพระองค์ประกาศธรรมออกไปก็ทำให้เกิดพุทธบริษัท เกิดพระภิกษุแล้วก็ภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกาตามมาเพราะมีพระพุทธเจ้า ต่อมาก็มีคำสอนที่มีอยู่ในโลก ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเอาไว้คำสอนเหล่านี้จะไม่มี
คำสอนของพระองค์ทรงสอน สาวกของพระองค์ก็เข้าใจและจำกันไว้ เขาเรียกว่า“มุขปาฐะ” จำคำสอนของพระพุทธเจ้าเอาไว้ องค์นั้นก็จำองค์นี้ก็จำเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ตอนที่ทำสังคยานาหลังจากที่พระพุทธเจ้าดับขันปรินิพพานไปแล้วไม่นาน พระมหากัสสปะก็เป็นห่วงว่าพระธรรมวินัยของพระองค์เนี่ยจะผิดเพี้ยน ก็ได้ชักชวนกันทำสังคยานา นิมนต์พระอรหันต์ 500รูปมาช่วยกันท่องจำคำสอนว่าพระอานนท์จำได้มากที่สุดจำพระสูตรจำพระบาลีจำพระวินัย สืบพระพุทธศาสนามาโดยวิธีท่องจำ เขาเรียกว่า “มุขปาฐะ” สังคยานาครั้งที่หนึ่ง สังคยานาครั้งที่สอง สังคยานาครั้งที่สาม ต่อมาพระพุทธศาสนาแผ่ขยายไปประเทศอื่น เช่น มาสุวรรณภูมิประเทศแถบนี้ไปศรีลังกา
พระมหินกับพระนางสังฆมิตตาก็เป็นพระภิกษุและเป็นภิกษุณีไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา ต่อมาสังคยานาครั้งที่สี่หลายร้อยปี ตามที่ศรีลังกาก็ได้บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าลงในใบลาน เพราะฉะนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าเนี่ยถ้าไม่มีพระพุทธเจ้า คำสอนเหล่านี้จะไม่มี คำสอนเหล่านี้เป็นความรู้ที่สำคัญ ถ้าเปรียบเหมือนยาก็เหมือนอย่างตำรายา คนเป็นโรคไม่สบายก็เอายามารักษา เพราะฉะนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าเนี่ยมีอยู่ในโลกนี้สำคัญมาก
เมื่อเกิดพุทธบริษัท มีพระภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกา มีพระธรรมคำสอนแล้วต่อมาก็มีคนศรัทธา อุทิศที่ดินสร้างวัดสร้างวา เป็นต้นว่าพระเจ้าพิมพิสารถวายมอบที่ดินให้พระพุทธเจ้าอยู่ เกิดวัดแรกในประเทศอินเดีย พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ก็เกิดวัดนิโครธาราม เกิดวัดนั้นวัดนี้ในประเทศอินเดียก่อน แล้วเมื่อพุทธศาสนาแผ่ไปประเทศอื่นก็มีคนศรัทธาก็สร้างวัดขึ้นมา ที่ทางในวัดก็ต้องมีอะไรหลายๆอย่างที่จะเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ เป็นกุฏิ เป็นที่ประชุม เป็นวิหาร เป็นศาลาการเปรียญ เป็นอะไรต่างๆอยู่ในวัดแต่ละวัด เขาเรียกว่าสาธารณวัตถุ มีโบสถ์ มีพระเจดีย์ อะไรต่างๆ นี่เป็นสาธารณวัตถุ ทีนี้ก็ยังมีพิธีกรรมต่างๆ เช่นว่า พระพุทธเจ้าจะมีการอนุญาตให้บวชกุลบุตร ต้องมีพิธีมีกฎเกณฑ์ว่าจะบวชเข้ามาต้องทำอะไรบ้าง เช่นว่า พ่อแม่ต้องอนุญาตให้มาบวชจึงบวชได้ ร่างกายก็ไม่พิการร่างกายก็สมบูรณ์ ไม่ทำผิดกฎหมายบ้านเมือง อะไรหลายๆอย่างมันเป็นกฎเกณฑ์ เวลาที่จะบวชต้องทำพิธีอย่างไร แล้วก็จึงเกิดศาสนพิธี ต่อมาชาวพุทธก็ทำบุญสุนทาน ต้องการจะอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล ก็เกิดพิธีกรรมขึ้นมาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ถ้ามองภาพรวมของพระพุทธศาสนานั้นมีหลายอย่าง ถ้านับจากต่ำไปหาสูงก็คือ
1. ศาสนวัตถุ คือวัดวาอาราม
2. ศาสนพิธี คือพิธีกรรมที่ชาวพุทธเขาทำ
3. ศาสนธรรม คือคำสอนของพระพุทธเจ้า
4. ศาสนปฏิบัติแล้วศาสนปฏิเวธ หมายความว่าศึกษาปริยัติเข้าใจแล้วก็ต้องปฏิบัติ ศาสนปฏิบัติแล้วสูงสุดอยู่ที่ศาสนปฏิเวธได้รับผลจากการปฏิบัติ
แล้วสุดท้ายก็คือศาสนบุคคล บุคคลที่เป็นชาวพุทธก็คือภิกษุภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา ทำหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เรียงมาจนกระทั่งถึงพวกเรา
ต่อไปพวกเราก็ช่วยกันรักษาให้ดีถูกต้องพุทธศาสนาก็อยู่ต่อไปเรื่อยๆ พุทธศาสนาจะเสื่อมหรือว่าจะเจริญอยู่ที่พุทธบริษัทนั่นเอง ทีนี้มีฆราวาสที่เป็นชาวพุทธก็มักจะตำหนิติเตียนว่าพระสงฆ์เนี่ยไม่ได้เรื่อง ว่าพระสงฆ์เนี่ยย่อหย่อนไม่ปฏิบัติพระธรรมวินัย แล้วตัวเองไม่ค่อยมองกัน ชาวพุทธที่เป็นฆราวาสไม่ค่อยมองว่าตัวเองนี้ปฏิบัติหน้าที่ของพุทธบริษัทเคร่งครัดถูกต้องหรือเปล่า ถ้าเป็นพุทธบริษัทต้องมีศีลห้า ๆ เป็นพื้นฐานต้องปฏิบัติศีลห้าให้ได้ พิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางศาสนาก็มีการอาราธนาศีล ชาวบ้านก็อาราธนาศีลรับศีลกันเรียกว่าการปฏิบัติ ถ้ามีศีลจริงๆเนี่ยมันยังน้อยมากมันยังไม่สมบูรณ์ มันจึงเกิดปัญหาต่างๆในสังคมประเทศไทย เพราะว่าชาวพุทธที่เป็นฆราวาสยังไม่ได้ปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา เนี่ยผ่านพระสงฆ์ก็มีส่วนเหมือนกันถ้าเข้ามาบวชในวัดในวาก็ไม่ได้สนใจที่จะปฏิบัติธรรม พุทธศาสนาก็อ่อนแอ เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาจะอยู่ได้ก็เพราะพุทธบริษัท พระพุทธเจ้าตรัสว่าพุทธศาสนาจะเสื่อมไปก็เพราะพุทธบริษัทไม่สนใจปฏิบัติธรรม พุทธศาสนาจะเจริญยั่งยืนก็เพราะพุทธบริษัทปฏิบัติธรรม
เพราะฉะนั้นในฐานะที่พวกเราเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ก็ควรรู้อะไรหลายๆอย่างที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ผมจึงนำมาพูดศาสนวัตถุ ศาสนพิธี ศาสนธรรมคำสอน ศาสนปฏิบัติ ศาสนปฏิเวธ ศาสนบุคคล รวมกันอยู่เกี่ยวกับเรื่องพุทธศาสนา ทีนี้เราเข้ามาบวชก็ควรจะศึกษาศาสนธรรม พระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เขาเรียกว่าสัทธรรม พระธรรมก็คือธรรมะของพระพุทธเจ้านั่นเอง ก็มีปริยัติสัทธรรม ปฏิบัติสัทธรรม ปฏิเวธสัทธรรม ปริยัติก็เป็นเรื่องที่ทำกัน ฉะนั้นการศึกษาทางพุทธศาสนาต้องศึกษาให้ถูกวิธี วันนี้ผมจึงเอามาพูดไว้เป็นส่วนใหญ่ ที่ท่านพระอาจารย์พุทธทาสได้พูดเอาไว้ พิมพ์เป็นหนังสือ การศึกษาธรรมะถูกวิธี
การศึกษาธรรมะให้ถูกวิธีนั้นจะศึกษาอย่างไร หนึ่งเราต้องเข้าใจหัวใจของพุทธศาสนา คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำคัญมันเรื่องอะไร ความจริงมีหลายๆเรื่องแต่หัวใจที่สำคัญของพระพุทธศาสนาคือ “อริยสัจสี่” อริยสัจสี่เนี่ยเรียกว่าเป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา อริยสัจสี่อยู่ในชีวิตมนุษย์เราทุกคนแต่ไม่มีครบมันมีบางข้อ บางข้อบางอริยสัจมันไม่มี เราจึงต้องปฏิบัติส่วนที่ขาด ที่ขาดไปให้มันเกิดสมบูรณ์มากขึ้นๆ ส่วนที่มันมีอยู่แล้วก็ต้องระวังว่าพวกนี้ไม่ควรจะมี อริยสัจสี่มีอะไรบ้าง ก็คือ
1. ทุกข์
2. เหตุให้ทุกข์เกิด เรียกว่า สมุทัย
3. ความดับไม่เป็นทุกข์ เรียกว่านิโรธ
4. มรรค คือหนทางที่จะทำให้ทุกข์ดับ เรียกว่าอริยมรรค
ท่านอาจารย์พุทธทาสท่านอธิบายว่าอริยสัจเนี่ยเป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา ถ้าพูดเป็นภาษาไทยนั้นก็คือว่า คืออะไร จากอะไร เพื่ออะไร โดยวิธีใด เนี่ยเป็นหลักสำคัญว่าคืออะไร จากอะไร เพื่ออะไร โดยวิธีใด คืออะไรก็คืออริยสัจก็คือทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับเหตุแห่งทุกข์ ทางที่ให้เห็นความดับแห่งทุกข์ นี่เรียกว่าควรที่จะรู้จัก ทีนี้ต้องรู้จักว่าคืออะไร แล้วจากอะไรเนี่ยที่ถูกมันมาจากอะไรก็คือเหตุแห่งทุกข์นั่นเอง เหตุแห่งทุกข์ความสรุปแล้วก็มาจากกิเลส กิเลสมันมีหลายอย่างแต่ที่สำคัญก็กิเลสแม่สามอย่าง คือ ราคะ โทสะ แล้วก็โมหะ แล้วก็กิเลส กิเลสทั้งหลายทั้งปวงเนี่ยจะมาสรุปอยู่ในกิเลสสามอย่างนี้ คือ ราคะ โลภะ โลภะก็พวกราคะ โทสะ โลภะก็มีเป็นพวกโทสะ แล้วก็โมหะความหลงความไม่รู้ กิเลสทั้งหลายทั้งปวงจะอยู่ในนี้ กิเลสตัณหาร้อยแปดแยกออกไปเยอะ ทั้งอวิชชาก็เป็นกิเลสประเภทโมหะ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ประเด็นทุกข์เกิดนี่เป็นเรื่องปริยัติ เมื่อรู้ปริยัติแล้วต้องปฏิบัติ ต้องปฏิบัติให้ได้ ก็ต้องรอให้เข้าใจว่าทุกข์มันทุกข์จริงๆ มันคืออะไร แล้วมันมาจากอะไร นี่เป็นการปฏิบัติเพื่อป้องกันอย่าให้กิเลสมันเข้ามาในจิตใจนั่นเอง ก็ต้องรู้ด้วยว่าจิตเดิมเป็นจิตที่ดีเป็นจิตประภัสสร พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าไม่เข้าใจว่าจิตเดิมเป็นจิตที่ดี พวกนี้จะไม่สนใจปฏิบัติธรรมเลย ของเดิมมันดีจิตประภัสสรเป็นจิตผ่องใสแล้วมันเกิดมันดับมันเกิดมันดับตลอดเวลา บางเวลามันเป็นประภัสสรมันผ่องใสแค่ไม่มีกิเลสเข้ามาอยู่ กิเลสประภัสสรมันดับไปกิเลสมันเข้ามาอยู่ เป็นจิตที่ประกอบด้วยกิเลสแล้วปัญหามันก็เกิด เช่นว่าพอเราตื่นนอนขึ้นมารู้สึกแจ่มใสสบาย พอได้ยินเสียงใครพูดหรือพอเห็นใครเดินมามันเผลอสติ ไม่มีสติไม่มีสัมปชัญญะ กิเลสก็เข้ามาพอกิเลสมันเข้ามามันทำลายความผ่องใสให้มันเศร้าหมอง ก็ยินดียินร้ายพอใจไม่พอใจความทุกข์มันก็เกิด เพราะฉะนั้นจิตมันคอยเกิดคอยดับอยู่ตลอดเวลา บางเวลาเนี่ยมันไม่ทำงานเช่นเรานอนหลับ นอนหลับสนิทชีวิตยังมีอยู่ลมหายใจเข้าออกยังมีอยู่ แต่ว่าจิตไม่ทำงาน รู้อะไรไม่ได้เลย ไม่รู้สุขไม่รู้ทุกข์ ภาษาธรรมะเรียกว่าจิตตกภวังค์ จิตมันไม่ทำงานไม่ลุกขึ้นทำงาน เช่นว่าบางคนเจ็บป่วยไปหาหมอ หมอต้องการผ่าตัดวางยาสลบ ในช่วงที่สลบอยู่เนี่ยหมอผ่าตัดตัวนั้นตัวนี้ตัดออก คนป่วยไม่รู้สึกเลยเพราะว่าจิตมันทำงานไม่ได้ แล้วพอหมอทำหน้าที่เสร็จก็รู้สึกตัวรู้สึกปวดรู้สึกอะไรขึ้นมาก็ต้องใช้ยา เพราะฉะนั้นจิตมนุษย์เรามันก็เกิดมันก็ดับๆอยู่อย่างนี้
เนี่ยถ้ารู้ว่าจิตเดิมเป็นจิตที่ดีเราก็ต้องรักษาจิตเอาไว้แล้วคนทั่วไปไม่รู้ พระพุทธเจ้าจึงว่าเป็นคนพาลไม่ได้เป็นบัณฑิต เมื่อจิตมีกิเลสก็ไม่รู้ว่ามีกิเลส เมื่อจิตไม่มีกิเลสก็ไม่รู้ว่าไม่มีกิเลส ไม่เห็นความแตกต่างของจิต การที่พวกเราเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนามาอยู่ในสวนโมกข์ ที่สำคัญเนี่ยก็ต้องมาศึกษาเรียนรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้มันกว้างขวางมากขึ้นๆ ความรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอริยทรัพย์ เขาเรียกว่า “พหุสัจจะ” ถ้าได้ยินได้ฟังธรรมะของพระพุทธเจ้ามากขึ้นๆ มันเป็นอริยทรัพย์เราเอามาใช้มาแก้ไขปัญหา เพราะว่ามนุษย์เรามีตามีหูมีจมูกมีลิ้นมีกายสำคัญก็มีใจ แต่ละวันๆเดี๋ยวตาเห็นรูป เดี๋ยวหูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น เดี๋ยวกระทบๆๆกลายเป็นโผฏฐัพพะเพราะจิตนี้รู้อารมณ์ อารมณ์เลยเยอะมากถ้าเราไม่สนใจที่จะฝึกจิตใจเราก็ไม่รู้อะไร จิตมีกิเลสก็ไม่รู้ว่ามีกิเลส จิตไม่มีกิเลสก็ไม่รู้ว่าจิตไม่มีกิเลส จะก้าวหน้าไม่ได้ ถ้าเรารู้อย่างนี้ เวลานี้กิเลสมันมาอยู่ เช่น ไม่พอใจ เกิดแล้วเกิดกำหนัดเกิดกลัวเกิดวิตกกังวล เพราะว่านี่กิเลสมันเข้ามาอยู่ ก็พยายามขจัดมัน เพราะฉะนั้นรู้ปริยัติแล้วต้องมีการปฏิบัติ ในเมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆมันก็ได้ผลปฏิบัติเรียกว่าปฏิเวธ พุทธธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ผมจึงสรุปปริยัติ ปริยัติธรรม แล้วก็ปฏิบัตินี่สำคัญ ถ้ารู้แต่ปริยัติเรียนจบนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก เรียนมหาเปรียญต่อให้เรียนประโยค 9ประโยค แต่ถ้าไม่มีการปฏิบัติก็ยังไม่มีอะไร เพราะฉะนั้นปริยัติรู้แล้วต้องเอามาปฏิบัติ ตอนปฏิเวธนี้มันจะรู้เอง เรียกว่าพวกเราตอนที่เป็นฆราวาสกันก็ตามใจตัวเองกันนึกจะเที่ยวก็เที่ยว นึกจะเล่นก็เล่น นึกจะดื่มก็ดื่มจะดื่มเหล้าดื่มเบียร์ สูบบุหรี่ตอนเป็นฆราวาส พอเรามาบวชเป็นพระเรียกว่ามาอยู่ที่สวนโมกข์ มาอดกลั้น ความอดทน ตื่นเช้าขึ้นมามาทำวัตรเช้า ตื่นตั้งแต่ตีสามได้ยินเสียงระฆังก็ต้องเตรียมตัวมาทำวัตรเช้า ไหว้พระสวดมนต์ มานั่งบนดินบนทรายนี่เรียกว่าการฝึก พอฝึกไปๆ มันก็รู้สึกว่าไม่ได้เป็นงานที่หนักมันเป็นธรรมดา แม้วันเวลาของผู้คนที่เข้ามาบวชในสวนโมกข์นี้เกือบ 20วันแล้ว พรรษาสามเดือนนี้มันไม่ได้มาก สำหรับผมมันอยู่มานาน 66พรรษาผ่านมาแล้ว ถ้าผ่านพรรษานี้ก็ 67พรรษา อยู่ ๆ ก็พรรษาหนึ่ง อยู่ๆ ก็พรรษาหนึ่ง อยู่พรรษาหนึ่ง มันไม่ได้รู้สึกทรมานอะไรด้วยการฝึก
ขอให้คุณตั้งใจฝึกพยายามเรียนรู้พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีการเรียนนักธรรมนี้ ถ้าเรียนก็ต้องเรียนให้ถูกวิธี เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าทั้งหมดนี้มาสรุปลงในอริยสัจสี่ทั้งนั้น ถ้าผมมีโอกาสผมจะนำมาสอนให้ที่ทุกคนควรท่องจำว่าอริยสัจสี่คืออะไรบ้าง
1. คือทุกข์
2. เหตุที่ให้ทุกข์เกิดเรียกว่าสมุทัย
3. นิโรธ ความดับไม่เกิดทุกข์
4. มรรค คืออริยมรรค ก็ต้องศึกษาอริยมรรคว่ามีอะไรบ้าง
มีสัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
สัมมาสังกัปโป ดำริชอบ
สัมมาวาจา วาจาชอบ
สัมมากัมมันโต การงานชอบ
สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม เพียรชอบ
สัมมาสติ คิดชอบ
สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ
นี่ยังมีอีกมันขยายไปอีกว่าสัมมาทิฏฐิมีอะไรบ้าง สัมมาสังกะโปมีอะไรบ้าง สัมมาวาจา กัมมันโต อาชีโวมีอะไรบ้างก็ศึกษา ศึกษาแบบปริยัติ แล้วก็สรุปลงในอริยสัจสี่ทั้งหมด
ธรรมะในพระพุทธศาสนาเป็นหมวดๆ ตั้งแต่หมวดหนึ่ง หมวดสอง หมวดสาม หมวดสี่ หมวดห้า หมวดสิบเป็นหมวดๆ เรียกว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า เป้าหมายต้องการเอาชนะความทุกข์ ทำให้ทุกข์มันน้อยลงๆ เรื่องการเข้ามาบวชนี้เป้าหมายจริงๆ เนี่ยก็เพื่อทำให้ทุกข์มันหมดทุกข์ในชีวิตนี้ อริยสัจเนี่ยเกี่ยวกับชีวิตของเรา มันไม่ใช่อยู่ที่อื่น มันอยู่ในชีวิตของเรานี่เอง เนี่ยพอทุกข์นี่มันมีอยู่แล้ว เราเกิดมาทุกข์มันมีอยู่แล้ว ความเกิดเป็นทุกข์ ความเกิดทางร่างกายก็มีความทุกข์มากมายทางร่างกาย ความทุกข์ที่ถามกันก็คือเกิดความรู้สึก ถ้าเกิดมีความรู้สึกตัวว่ามีตัวตนเมื่อไหร่นั่นแหละคือทุกข์ทางจิตใจ ทุกข์จริงๆอยู่ที่ตรงนี้ ทุกข์อยู่ที่ตรงนี้ ๆ เพราะอุปาทาน เพราะไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขา นั่นความทุกข์มันเกิด ทุกข์มันมีอยู่แล้ว เหตุให้เกิดทุกข์มันก็คอยมีอยู่ตลอดเวลา เพราะกิเลสคอยเข้ามาทางตาบ้าง ทางหูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง ทางความคิดบ้างมันคอยเข้ามา ถ้าเราไม่มีสติสัมปชัญญะกิเลสพวกนี้นี้มันก็จะเข้ามาตามนัยยะแห่งปฏิจจสมุปบาท อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ (26.46 เสียงไม่ชัดเจน) ฝรั่งก็เอามาพูดเหมือนกันว่าบางคนก็อยู่ที่ได้ยินได้ฟัง พระเดชพระคุณพระอาจารย์พูดก็ตั้งใจฟังก็เข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาท เพราะปฏิจจสมุปบาทเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือพวกเดียวกับอริยสัจสี่ อริยสัจสี่คือปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีสองฝ่าย ฝ่ายทุกข์เกิดจากฝ่ายทุกข์ดับก็อยู่ในชีวิตของพวกเราแต่ละวัน ชีวิตประจำวันนั่นเอง ทุกข์เนี่ยของเก่าก็มีอยู่แล้วที่เกิดทุกข์ก็คอยเกิดตลอดเวลา ถ้าเหตุ ให้เกิดทุกข์มันยังมีอยู่ทุกข์ก็มีอยู่อย่างนั้น ส่วนอริยสัจข้อที่สามความดับจากทุกข์มันไม่มี ถ้าเราไม่ปฏิบัติมันไม่มี มันต้องปฏิบัติ อริยสัจข้อที่สี่คืออริยมรรค อริยมรรคมีถึง 8อย่างตามที่ได้กล่าวไปแล้ว สัมมาทิฏฐิ เป็นต้น แล้วก็พยายามให้มีความเห็นที่ถูกต้อง ความเห็นที่ถูกต้องวันหลังจะเอามาพูด
อริยมรรคเนี่ยย่อที่สุดก็คือสมถะและวิปัสสนา เป็นทางสายกลาง อริยมรรคนี้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลาง ทางสายกลางดูละเอียดก็คืออริยมรรคมีองค์แปด มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีสัมมาสมาธิ เป็นประโยท 3 ข้อสุดท้ายนี่อริยมรรคมีองค์แปดย่อลงในไตรสิกขา
ก็คือศึกษาเรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา ศึกษานี้ไม่ใช่ศึกษาแบบปริยัติ ไม่ใช่อ่านหนังสือแต่ศึกษาด้วยการกระทำ ถ้ากระทำลงไปจริงๆก็ว่าศีลมีอย่างนี้ก็ปฏิบัติศีล เมื่อสมาธิเป็นอย่างนี้ก็ฝึกสมาธิ เมื่อปัญญาเป็นอย่างนี้อบรมให้เกิดปัญญาเรียกว่าเป็นการศึกษา ฉะนั้นทางสายกลางโดยย่อสมถะวิปัสสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธรรมโดยย่อจากวิปัสสนาจากมัชฌิมาปฏิปทา ฉะนั้นต่อไปนี้เราจะศึกษาสมาธิแล้วก็ศึกษาปัญญาซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจสี่นั่นเอง ให้อยู่ที่เรามาพอปฏิบัติระบบอานาปานสติ ระบบอานาปานสติมีถึง 16ขั้นที่ต้องควรรู้อยู่เหมือนกัน ทางทีวีเขาก็เปิดให้ฟังอยู่บ่อยๆ ขั้นที่หนึ่งก็ลมหายใจเข้ายาวลมหายใจออกยาว ขั้นที่สองลมหายใจเข้าสั้น แล้วก็ขั้นอื่นๆวันหลังก็จะเอามาพูดบ้างเพื่อให้ละเอียดแจ่มแจ้งมากขึ้น แล้ววันนี้ก็จะปฏิบัติกัน
อานาปานสติขั้นที่หนึ่งขั้นเดียวนี้ถ้าทำสำเร็จได้ก็ได้สมาธิอย่างเพียงพอ ถ้าได้สมาธิมาก็เจริญวิปัสสนา ความหมายของวิปัสสนาคือเห็นสังขารตามที่เป็นจริง เห็นว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ไม่ได้สิ่งไม่ใช่สังขารคือพระนิพพาน พระนิพพานไม่ใช่สังขารเขาเรียกว่าวิสังขาร จะไปยึดถือเอาเป็นเราเป็นของเราก็ไม่ได้ ถ้าต้องการบรรลุนิพพานจริงๆต้องไม่ยึดถืออะไรว่าเป็นเราเป็นของเรา
ต่อไปนี้ก็ปฏิบัติกันตามเวลาที่มี หายใจเข้าก็ตามไปหายใจออกก็ตามมา เพราะฉะนั้นการที่เรามาบวชในพุทธศาสนานี้ ในฐานะที่บิดามารดาปู่ย่าตายายของเราเป็นพุทธบริษัท เราเป็นลูกเป็นหลานสานต่อรักษาสิ่งที่ดีที่งามสิ่งสูงสุดนี้ยังมีอยู่ในโลก ยังมีประโยชน์ต่ออนุชนคนรุ่นหลังคือลูกหลานของพวกเราเอง ทำให้ดูอยู่ให้เห็นเป็นให้เขารู้สึก นี่เป็นหน้าที่ของพุทธบริษัทแล้วต่อไปก็ปฏิบัติกัน หายใจเข้าก็ตามลมไปหายใจออกก็ตามลมมา มีสติมีสัมปชัญญะมีความเพียร ระวังจิต ไม่ยินดีไม่ยินร้าย แม้ไม่มีอวิชชา ไม่มีโทมนัส ลมหายใจเข้าออกก็สักว่าธาตุตามธรรมชาติ จิตที่ตามลมอยู่ก็สักว่าธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา พยายามคิดอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ถ้าจิตมันว่าง มีความนึกว่าตัวตนมันก็ได้ผล ได้ผลทางจิตใจ ต่อไปก็พยายามระวังจิตอย่าให้กิเลสมันเข้ามา จิตประภัสสรมันก็ยืดยาวมากขึ้นๆ เอาละต่อไปก็ตั้งใจปฏิบัติกันเล็ก ๆ น้อย ๆ