แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
[04:02] ต่อจากนี้ไป ขอญาติโยมตั้งใจฟังธรรมะกันต่อไป การฟังธรรมคืนนี้ ที่จริงก็พยายามจะหนีห่างไกลจากอริยสัจ 4วกกลับมาอีก เพราะว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากเหมือนกันที่ได้พูดเมื่อคืน และก็สร้างความเข้าใจในอริยสัจ เหมือนกับเป็นกุญแจ คลายหนทางหรือช่องที่จะเข้าสู่ธรรมะที่ช่วยดับทุกข์ได้ โดยการให้ความสนใจในอริยสัจ ก็เป็นสิ่งที่ ถ้าเรามีความปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ ก็ต้องวกกลับอยู่ในอริยสัจอยู่เสมอ จึงจะดี จึงจะหาทางที่จะได้ทางหลุดพ้นหรือเข้าสู่ความสงบหรือเข้าสู่ความรู้ที่แท้จริง เราก็ต้องหาอยู่ในอริยสัจ เหมือนกับถ้าเราเป็นนายพรานในป่า ในดง ไม่ใช่ว่าจะเดิน ไม่ใช่ว่าจะเดินไปทั่วทิศทั่วแดนหาสัตว์ที่จะล่า ก็ต้องไปที่ไร่นา สัตว์มันจะมาหาเรา นี่ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราอยากได้ทางดับทุกข์ เราจะต้องมาดูในจุดที่จะได้ ความรู้สึกต่างๆ ก็จะมารวมกันที่นั้น ตรงที่ความทุกข์เกิด ก็จะเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องศึกษาไว้ให้ดี
ความทุกข์ อย่างที่เมื่อคืนพูด ความทุกข์เกิดจากอุปาทาน ก็มีลักษณะต่างๆ พระพุทธเจ้า คือได้ อริยสัจ 4 อย่างที่เราได้สวดวันก่อนหรือสวดเมื่อคืน เกี่ยวกับอริยสัจ คือมีอริยสัจ แล้วก็มีจิตที่จะต้องทำต่ออริยสัจนั้น จึงจะได้เข้าถึงหนทางจริงๆ ได้ เพราะว่า ปัญหาว่าบางทีเราทำหน้าที่ไม่ถูกต้อง อย่างความทุกข์ ต้องกำหนดรู้หรือต้องรู้ให้ชัดเจน ต้องรู้ให้ชัดเจน ความทุกข์คืออะไร แล้วก็เหตุให้เกิดทุกข์ เราก็ต้องรู้จักละเสีย หาสมาธิ คือมันต้องรู้จักละเสีย ซึ่งเหตุที่เกิดทุกข์นั้น ปัญหาว่าเราอยากจะละทุกข์ แต่อยากจะเก็บเหตุมันไว้ มันขัดกัน เราขัดขวางต่อเป้าหมายที่เราปรารถนาอยู่ ถ้าจะแก้ไข เรียกว่าเข้าใจในความรู้สึกนั้นให้ชัดเจน เข้าใจแล้ว ก็ต้องเป็นผู้พิจารณา สังเกตดูว่า เหตุที่แท้จริงคืออะไร มันเกิดเพราะอะไร
[09:00] พระพุทธเจ้าบอกว่า เหตุก็อยู่ที่ตัณหา อีกอย่างหนึ่งมันเกิดจากอุปาทาน แต่ว่าอุปาทาน มันก็มีตัณหาก่อน ตัณหามาก่อนจึงได้หยุดไว้ แต่ตัณหาคือความอยาก ตัณหามีอยู่ 3 ประเภท กามตัณหา คือตัณหาในกาม เพลิดเพลินในกามคุณ ในกามรมณ์ เพลิดเพลินในสิ่งภายนอก รูป เสียง กลิ่น รส โผฎธัพพะ ธรรมารมณ์ มันก็เป็นตัณหา ความเพลิดเพลิน รู้สึกว่าคลี่คลายความเครียด โดยความเพลิดเพลิน ในแง่หนึ่งไม่น่าจะมีปัญหา แต่ว่าในที่สุด มันก็ไม่มีที่สิ้นสุด อะไรมันก็เป็นปัญหาอยู่ แล้วบางทีมันก็ไม่มีขอบเขตที่เหมาะสม ก็สร้างความทุกข์ให้ผู้อื่นด้วย สร้างความทุกข์ให้เจ้าของด้วย นั้นก็เป็นตัณหาที่พุ่งออกไปข้างนอกเป็นส่วนใหญ่ แต่ว่ามี ภวตัณหา กับ วิภวตัณหา ที่มันเป็นเรื่องภายในเสียมากกว่า คืออยากมี อยากเป็น อยากเป็นอะไรสักอย่าง ที่ประดับความเป็นตัวเป็นตน ความเป็นเราเป็นเขา ยึดไว้หรือมีความกระหายอยากได้อย่างนี้ อยากเป็นอย่างนี้ อยากได้ความสงบ อ้าว..ดีไหม มันพูดในแง่หนึ่ง มันก็ดีอยู่ แต่ว่าเมื่อมันกลายเป็นตัณหา เมื่อเป็นฉันทะ มันก็ไปไล่จูงใจ แต่พอ แหม..มันอยากได้ฌาณ อยากได้แสงสว่าง อยากได้เก่งกว่าเพื่อน อยากดี ได้สมาธิจนอาจารย์สรรเสริญเรา อย่างนี้ก็ตัณหาทั้งนั้น ก็เพราะมันอยากประดับตัวตน เมื่อเป็นอย่างนั้น มันก็เป็นปัญหา เหล่านี้มันไม่ได้เฉพาะเรื่องของ อันนี้เรายกประเด็นของผู้ปฏิบัติ แต่ว่าในทางโลก เราแข่งขันกันเพื่อการสรรเสริญ แข่งขันกันเพื่อยศ เพื่อตำแหน่ง มันก็อยากมี อยากเป็น มันก็เป็นทุกข์อยู่
วิภวตัณหา ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น มันเซ็งแล้ว เบื่อแล้ว ไม่มีเป็นอย่างนี้ โลกไม่น่าเป็นอย่างนั้น มันผลักออก มันเกิดจากแรงไม่พอใจ แต่มันอยู่กับความรู้สึกที่เป็นตัวเป็นตน ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ ไม่อยากให้โลกเป็นอย่างนี้ มันก็กลายเป็นสิ่งที่สร้างความไม่สงบ เป็นทุกข์อยู่ภายในจิตใจ ในเมื่อเป็นอย่างนั้น คือร่างกายที่มีเหตุอยู่ ก็ต้องยอมรับว่าเราจะมีความทุกข์ แต่ส่วนมากก็อยากจะอุ้มเอาไว้ แล้วก็ไม่ให้มันเป็นทุกข์เลย มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมีเหตุเมื่อไร ผลก็ต้องปรากฏ มันก็เป็นหลักของธรรมชาติ จะเอา จุดไฟแล้วไม่ให้มันร้อน มันก็ยากแสนยาก ก็ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น ไฟมันร้อน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันร้อน มันหนัก มันเป็นตัณหาอยู่ เป็นทุกข์อยู่ เป็นสิ่งที่เราต้องพยายามสังเกต เราต้องละอยู่ที่ตัวตัณหา ตรงที่มันมีความอยากอยู่ รู้จักพอเสียที มันก็จะอยู่เหมือนกับหลวงพ่อชาตีความ ตัณหาคืออ้าไม่งับ คืออ้าปากไว้ อ้าจะเอาให้ได้ ไม่งับเสียที มันก็ดูดีอยู่ มันก็น่าหัวเราะ มันก็น่าหัวเราะพวกเรา มีแต่อยากได้ แต่ไม่อยากทุกข์ มันขัดกันอยู่ เราต้องรู้จักหยุด รู้จักพอเสียที
[14:52] ในการภาวนา หรือการปฏิบัติเพื่อเห็นชัดเจนว่า คือ หน้าที่ที่เรามีต่อตัณหา มีที่การละเสีย ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราทำหน้าที่ด้วยการรู้แจ้งซึ่งความทุกข์ คือยอมรับว่า อันนี้ก็เป็นทุกข์ เพราะว่าบางที โดยความรู้สึกลึกๆ ไม่ค่อยจะยอมรับเท่าไร ว่าเราเป็นทุกข์อยู่ ถามคนส่วนมากเลย มีความทุกข์ในชีวิตไหม โอ้ย.. ไม่มีๆ แต่มันก็อย่างนั้น ส่วนมาก ถ้าเป็นอย่างนั้นรู้ว่าเขาไม่สังเกตชีวิตของตัวเองด้วย แต่ถ้าเราพิจารณาดูแล้ว คือความทุกข์ออกมา ออกในรูปต่างๆ จะออกในลักษณะ ที่มีความโศรกเศร้า เสียใจ ร้องไห้ อันนี้ก็เป็นทุกข์อย่างสุดๆ อยู่ แต่ว่าที่มันแค่หงุดหงิดหรือรำคาญ หรือรู้สึกเครียดอยู่ มันก็เป็นทุกข์ ถ้าอยู่ในสังคมสมัยนี้ไม่มีความเครียดเลย อันนี้หายาก มันเป็นลักษณะของชีวิตในโลกทุกวันนี้ มันมีหลายที่ทำให้ไม่สมดุลย์ ไม่บริบูรณ์ ไม่อิ่มเอิบ ไม่เบิกบานแจ่มใสเท่าที่ควรสำหรับผู้ปรารถนาความสงบและเบิกบาน เป็นในแง่ที่น่าพิจารณาว่ามีความทุกข์อยู่หรือมีอะไรเกิดขึ้น
อย่างสมัยก่อน เวลาอยู่กับหลวงพ่อชา ก็เป็นคำถามที่หลวงพ่อจะถามอยู่เรื่อยๆ ว่า บางทีมันมีอุปสสรคในการภาวนา มีอุปสรรคในการดำเนินชีวิตในฐานะที่เราเป็นนักบวชใหม่ๆ เราก็กำลังปรับตัวที่จะอยู่ หลวงพ่อชาก็จะถามอยู่เรื่อย ทุกข์ไหม ส่วนมากก็จะปฏิเสธไว้ก่อนว่า ไม่ทุกข์ แต่ว่าไม่ควรเป็นอย่างนี้เลย โทษเรื่องภายนอก ไม่ดูประสบการณ์ของตัวเองจริงๆ อันนี้มันเป็นธรรมชาติของจิตใจมนุษย์เรา การได้พิจารณาให้ดีว่าความทุกข์มีอยู่ เหมือนกับฝรั่งคนหนึ่งที่ไปกราบหลวงพ่อชา ขออยู่ ขอปฏิบัติ ขอบวช จริงๆ ก็เพิ่งบวช คนนี้เป็นรุ่นต้นๆ ของฝรั่งที่ไปอยู่กับหลวงพ่อชา แล้วเขาเคยเป็นพิชคอร์ที่สกลนคร เลยภาษาไทยก็ดี ภาษาอีสานก็ดี เขาได้จบงานอยู่ที่สกลนครแล้ว เขาไปบวชที่สกลนคร แล้วก็ลงมาคือเขาเคยพบหลวงพ่อสุเมโธที่สกลนคร ที่ภูเพ็ก สมัยนั้นหลวงพ่อสุเมโธปลีกวิเวกอยู่ ได้ข่าวว่ามีพระฝรั่งอยู่ อยู่ในป่า อยู่ในเขา กำลังภาวนา กำลังปฎิบัติอยู่บนเขา เลยไปหา ก็เกิดความเลื่อมใส แล้วก็ได้ข่าวกิติศัพท์ของหลงพ่อชา ก็เลยคิด พอจบการเทอมของการอยู่พิชคอร์ ก็จะไปอยู่กับหลวงพ่อชาสักพักหนึ่ง เพื่อศึกษา
แล้วได้บวชแล้ว เกิดความคิดว่าจะอยู่ระยะหนึ่ง ไม่ได้คิดว่าจะอยู่นาน แล้วได้ไปถึงวัดหนองป่าพงแล้ว ไปกราบหลวงพ่อ หลวงพ่อต้อนรับอย่างไรรู้ไหม ยินดีต้อนรับน้า หวังว่าท่านจะไม่กลัวความทุกข์ ไม่ได้คิดเรื่องความทุกข์ ไม่เข้าใจใครจะไปกลัวความทุกข์ หลวงพ่อเลยอธิบาย คือมีความทุกข์ 2 ประเภท คือมีความทุกข์ที่ทำให้จิตใจเราหวั่นไหว ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทำให้จิตใจแปรปรวนโดยปฎิกิริยาต่างๆ แต่ว่ามีความทุกข์อีกประเภทหนึ่ง ที่เรายอมดู ยอมศึกษา ยอมเอาเป็นครูเป็นอาจารย์ของเรา เพื่อเข้าใจการเป็นมนุษย์ที่มีความรู้สึกอยู่ เราต้องสนใจในความทุกข์ประเภทที่ 2 เพราะ โดยปกติเราชอบวิ่งหนีความทุกข์อยู่ตลอด ไม่ยอมศึกษา ไม่ยอมสังเกต เมื่อเป็นอย่างนั้น ไม่มีวัน ไม่มีเวย์เลย ที่จะได้พ้นจากความทุกข์เลย นี่ก็เป็นคำสอนแรกที่ได้รับจากหลวงพ่อชา เพราะว่าอาตมา เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว อาตมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับประสบการณ์ที่มีที่วัดหนองป่าพง วัดป่านานาชาติ เพราะว่าอยู่ในรุ่นแรกๆ เพราะว่ากำลังคิดอยู่ว่าอีกไม่นาน วัดป่านานาชาติก็จะครบ 50 ปีของการตั้ง น่าจะเก็บประวัติบ้าง ยังอยู่ในความทรงจำของใจ คาดไม่ถึงว่าหลวงพ่อชาจะต้อนรับอย่างนั้น
[23:17] การระลึกถึงความทุกข์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แล้วก็เข้าใจในความทุกข์ เพราะว่าคำศัพท์ทุกข์ เป็นคำศัพท์ที่พระพุทธเจ้าใช้สมัยนั้น สมัยพุทธกาล เป็นคำศัพท์ที่มีอยู่ในภาษามาตั้งนมนาน แล้วก็เป็นภาษาง่ายๆ เพราะว่า ทุกขะ ก็เป็นสิ่งที่มันเจ็บ มันปวด มันเสียด มันแทง มันน่าปรารถนา ไม่น่าเอา สุขะ มันเป็นความสุข ความสบาย แต่ว่าสุขกับทุกข์ ทุกข์มันก็เป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งที่ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น เป็นสิ่งที่ลำบาก สุขเป็นสิ่งที่ดี น่าเอา แต่ขาคือสมัยก่อนพระพุทธเจ้า สังคมอินเดีย เป็นสังคมที่อาศัยม้า อาศัยรถ เพื่อการเคลื่อนไหว การไปไหน ขามันเป็นต้องที่ล้อที่หมุนของเกวียนหรือของอะไร แล้วตัวที่เข้าไป ถ้าทุกขา เข้าจะไม่ค่อยสนิท เข้าไม่ค่อยตรง เลยทำให้การหมุนเวียนของล้อไม่สะดวก ติดขัด แต่สุขา มันไปด้วยดี สุขะ มันไปด้วยดี ราบรื่นดี สะดวกสบาย สุขกับทุกข์ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ ในเมืองมันติดขัด เราก็ประสบความทุกข์ เมื่ออะไรมันไม่ราบรื่น มันก็ประสบความทุกข์ เป็นในลักษณะนั้น
พูดถึงภาษาสมัยโบราณ พระพุทธเจ้าได้ยืมใช้จากภาษาธรรมดาๆ เพราะบางครั้งพระพุทธเจ้าจะใช้ในความหมายที่ลึกซึ้ง อย่างทุกข์มันก็ธรรมดาๆ แต่ว่าใช้ให้มีความหมายลึกๆ ลึกเหมือนกับนิพพาน นิพพาน เราก็นึกถึงว่าเป็นเรื่องที่สูงสุดในเป้าหมายของชาวพุทธ ซึ่งก็ถูกอยู่ แต่ว่านิพพานในสมัยพุทธกาล หรือก่อนพุทธกาลไม่ถึง ทำให้ร่มเย็น เช่นหุงข้าวแล้ว มันร้อนๆ กำลังเดือด เราก็ยกออกจากไฟ ก็เพื่อเอาไว้ให้มันนิพพาน จะได้เย็นลง จะได้ทานได้ คือมันใช้ในภาษาธรรมดาๆ แต่พระพุทธเจ้าดึงออกมาใช้ ให้มีความหมายในทางศาสนาเฉพาะ ศึกษาประวัติศาสตร์หน่อย ในความทุกข์ ทุกข์มันเกิดจากตัณหา ตัณหาป็นเหตุ ในเมื่อเรามีกระแสแห่งตัณหา ตัณหาเป็นสิ่งที่คือความอยาก และเมื่อมีความอยาก อยากเท่าไร มันก็ไม่สามารถที่จะทำให้อิ่มได้ เราสนองอารมณ์ของในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎธัพพะ ธรรมมารมณ์มากเท่าไร มันก็ไม่มีทางจบที่ว่า เราอิ่มแล้ว 100% พอแล้ว 100% ไม่ต้องการอีกแล้ว บางครั้งเราจะรู้สึกอย่างนั้น เราอยากจะออกจากการเบื่อ เช่นเราชอบอะไรสักอย่าง เป็นอาหารสักชนิดหนึ่ง ทานทุกวันๆ ในที่สุดมันก็ โอ้ว.. เบื่อจะตาย
อย่างอาตมาเองได้จำพรรษาที่หนึ่ง คือมันอยู่ในป่าลึก คือเดาๆ นะ ปีแรกที่เราไป มันก็เป็นเหมือง ผู้คนที่ทำเหมืองก็ไม่ได้เป็นคนละเอียดที่สุดในสังคมเท่าไร เจ้าของเหมือง เขาก็เป็นคนใจดี นิมนต์ให้เราอยู่ สร้างกุฏิถวาย แต่ว่าได้มอบให้แม่ครัวทำอาหารถวาย บิณฑบาตรทุกวัน คือตอนรับบาตรแรกๆ พวกชาวบ้านเขาตื่นเต้น แต่ว่าในที่สุดเราก็ธรรมดา อาหารไม่มากจากชาวบ้านทั่วๆ ไป พวกคนงานต่างๆ แต่ก็ได้รับอาหารทุกๆ วันจากแม่ครัว แม่ครัวก็ไม่สู้จะฉลาดนัก เห็นว่าเราเป็นฝรั่ง ฝรั่งไม่เป็นไทย ก็คงทานอาหารไทยไม่เป็น เลยได้หุงข้าว ถวายข้าวทุกวัน แล้วได้ทำไข่เจียวทุกวัน เท่านั้น ยกเว้นบางวันเขาตื่นสาย ก็ได้ปลากระป๋อง ซึ่งอาตมาเบื่อไข่เจียว จนเห็นปลากระป๋อง แหม..ดีใจ หลังจากจำพรรษาที่นั้น ดูไข่เจียว มันดูไม่ออกเลย แต่ว่าเดี๋ยวนี้กลับมาน่าสนใจอีก
[31:08] ตัณหามันไม่มีที่จบ มันอยู่ที่เราเข้าใจในตัณหา เราเข้าใจในทุกข์ เราเข้าใจในโทษของการอุ้มเก็บตัณหาไว้ในจิตใจของเรา อันนี้เป็นแง่ที่เราทำถูกต้องกับเหตุ คือเราต้องละที่เหตุ เราต้องละที่ตัณหา เช่นเดียวกันกับความรู้สึกการเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา เราต้องเห็นชัดเจนว่าที่เราสร้างความรู้สึกต่อตัวตนนั้น มันสร้างบนฐานของสิ่งที่ไม่มีสาระ หรือไม่ใช่ว่าไม่มีสาระ ไม่มีแก่นสาร รูป คือ รูปร่างกาย ร่างกายของเราเปลี่ยนอยู่ตลอด ยิ่งอายุมากขึ้น มันก็ยิ่งเปลี่ยน จะเอาเป็นที่พึ่ง จะเอาเป็นสาระ หรือเป็นสิ่งที่เราจะอาศัยอยู่ตลอดกาล ตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ จิตใจก็เช่นเดียวกัน ความรู้สึก สุขก็ได้ ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี มันก็ปรับเปลี่ยนตลอด ขึ้นลงขึ้นลง ธรรมดา ความทรงจำ สำคัญมั่นหมาย ก็ไว้ใจยาก มันเปลี่ยนอยู่ตลอด
การคิดด้วยอารมณ์ การปรุงแต่งต่างๆ คิดในทางดี มันก็ดี คิดในทางไม่ดี มันก็ไม่ดี มันก็เป็นธรรมชาติ ถ้าเราต้องเห็น ที่จะยึดเอาไว้สาระจริงๆ คือแม้แต่วิญญาณการรับรู้ จะให้แน่นอนอยู่ตลอด มันเปลี่ยนอยู่ตลอด โดยธรรมชาติ เราต้องยอมให้มันสลายไป ไม่ให้ยึดไว้ รับรู้อยู่ อันนี้ทำได้ แต่ยึดให้มันมั่นคง ไม่ได้ เราต้องยอมปล่อย ยอมวาง คืออย่างนี้มันสบาย ในนี้เป็นเหตุที่เราเข้าใจ เราเข้าใจในเหตุผลที่จะออกมา คือเราสนใจในการปล่อย เช่น การดับทุกข์ เวลาเราได้สวดระลึกถึง หน้าที่ที่ต้องมีต่อทุกขนิโรธ คือการดับทุกข์ มันก็อยู่ที่การปล่อย การวาง อย่างที่เราสวด อยู่ในธรรมจักกัปปวัตนสูตร เรามีหน้าที่ๆ จะต้องทำ เพื่อให้การดับทุกข์ปรากฏ จาโค ปฎินิสสัคโค มุตติ อนาลโย อย่างนี้มันเป็นคำศัพท์ที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นหนทางที่จะเข้าสู่การงานปลอดโปร่ง จาโค เราต้องรู้จักละ จาคะ คือการให้ แต่ว่าส่วนมากก็เสียสละ ความหมายมันออกในทางเสียสละมากกว่าให้ๆ เพราะเราเสียสละ จาโค จาคะ ปฎินิสสัคโค ก็ยอมปล่อย ..36:28..เพื่อการถ่ายทอดให้ถูกต้อง อาศัยความจำไม่ได้ ไม่เที่ยงจริงๆ จาโค เป็นความสลัดทิ้ง รู้จักเสียสละเสีย ปฎินิสสัคโค เป็นความสลัดคืน เสียสละก็จริงอยู่ แต่เราต้องที่ว่า ปฎินิสสัคโค กำลังคิดอยู่ในภาษาไทย กลับมาคิดในภาษาอังกฤษ มันคิดไม่ออกอีกแล้ว สมองมนุษย์เอย แต่สละคืน เหมือนกับหลวงพ่อพุทธทาสบอก ปฎินิสสัคโค หรือ..37:17... เป็นคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน ที่มีความสำคัญ คือเราสลัด เหมือนกับเราสลัดคืน คืนให้ธรรมชาติ เพราะมันไม่ได้เป็นของเรา มันเกี่ยวกับความรู้สึกต่อตัวตนจริงๆ ไม่ได้เป็นเรา ไม่ได้ของเรา ไม่ได้เป็นของๆ เรา มันเป็นของธรรมชาติ ต้องรู้จักสลัดคืน คืนให้ธรรมชาติ
หลวงพ่อพุทธทาสท่านก็เคยพูด ปัญหาว่าคือมนุษย์เราเป็นขี้ขโมย ชอบขโมยของที่ไม่ได้เป็นของตัวเอง เอามาเป็นของตัวเอง เลยขี้ขโมยเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันขโมยจากธรรมชาติ แล้วคิดว่าเป็นของตัวเอง ปัญหาอยู่ เราเป็นขี้ขโมย เรารู้จักสลัดคืน ต้องคืนให้ธรรมชาติ อย่างนี้สบายดี สบายจริงๆ ไม่ได้ไปเอาของที่ไม่ได้เป็นของเรา แบบนี้รู้จักปล่อย รู้จักวาง รู้จักแบมือ แทนที่จะกำไว้ อันนี้ของๆเรา อันนี้ไม่ใช่ของเรา เราก็รู้จักปล่อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกามตัณหา ภวตัณหาก็ดี วิภวตัณหาก็ดี ก็รู้จักปล่อย ว่าปล่อยมันสบาย ไม่ได้เก็บอะไรไว้เป็นของตัวเอง ไม่ได้เก็บอะไรไว้ โดยความคาดหวังจะได้สะสมเอาไว้ มันก็สบาย เพราะว่าในที่สุดไม่มีอะไรเป็นของเราสักอย่าง คือเรามีของที่จะใช้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรามีบ้านมีช่อง มีสิ่งมีของ แต่มันชั่วคราว ก็รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ ก็รู้จักปล่อย อย่าไปหวงมันมากเกินไป อย่าไปเก็บมัน สะสมมันไว้จนมากเกินไป เดี๋ยวเป็นทุกข์
แล้วยิ่งเรื่องของตัวตน ก็ยิ่งอย่าเก็บมันมาเป็นของเรา เราต้องรู้จักสลัดคืน เราต้องรู้จักปล่อย รู้จักสลัดทิ้ง อันนี้ไม่เอา เสียสละดีกว่า อนาลโย เป็นการทำให้ไม่มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น คือไม่มีที่เกาะของตัณหา ไม่มีที่ติดของตัณหา ไม่มีที่จะได้ก่อตัวขึ้นมา ก่อกำลังขึ้นมา ตัวตัณหาจะได้เคลื่อนไหวเหมือนกับเป็น คือจิตมีความสว่าง มีความเบิกบาน มีความแจ่มใส เห็นชัดเจนว่านี้ไม่ได้เป็นของเรา ไม่ได้เป็นของๆ เรา ไม่ได้เป็นอะไรที่เราควรจะคิดว่าเป็นเราเลย เมื่อเป็นอย่างนั้น เราสามารถที่จะอยู่ในความสว่าง เบิกบาน แจ่มใส ตัณหาไม่ก่อ ความอยากก็ไม่ก่อ ความไม่อยากมันก็ไม่ก่อ เหมือนกับจิตมันเป็นเทฟลอน (Teflon) มันไม่เป็นติด มันหลุดออกไปเลย ทำความสะอาดง่าย โดยการภาวนา การปฏิบัติตามรูปแบบของอริยสัจ 4 มีไว้เพื่อทำให้จิตของเราแจ่มใสดี เมื่อมันแจ่มใส ตัวตัณหาไม่มีที่ติดไว้ ไม่มีที่ก่อตัวกันไว้เป็นกำลัง เพื่อให้เกิดอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีที่ก่อ
[42:21] จาโค ปฎินิสสัคโค มุตติ อนาลโย น่าศึกษา เพราะมันเป็นช่องเข้าสู่ทุกขนิโรธ อริยสัจที่ 3 เป็นการดับทุกข์ อีกแง่หนึ่งที่ท่านสมเด็จประปยุตโตพูดอยู่ คือท่านชี้แจง คำศัพท์ว่าทุกขนิโรธ คือมีปัญหากับคำศัพท์ว่านิโรธ เพราะว่าไม่ผิดที่แปลว่าดับ การดับแห่งทุกข์ ก็ถูกอยู่ แต่ว่าไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ พอเราพูดว่าเราต้องดับทุกข์ มันก็เหมือนกับเราสร้างภาพในหัว มันมีความทุกข์อยู่ที่เป็นก้อนที่เราต้องทำให้สลายอยู่ แต่ท่านสมเด็จท่านพูดอยู่ว่า การแปลอีกอย่างหนึ่งที่ถูกเช่นเดียวกัน คำศัพท์นิโรธ คือไม่ปรากฎ เมื่อเราได้เน้นอยู่ที่การสลัดทิ้ง เน้นอยู่ที่การสละคืน เน้นอยู่ที่การปล่อย เน้นอยู่ที่ความที่ไม่ทำให้มีซึ่งที่อาศัยของตัณหานั้น ความทุกข์ไม่ปรากฏเพราะไม่มีที่เกาะอยู่ของความทุกข์ ไม่ใช่ว่าจะต้องไล่ไป ไปทำลายมัน ไปดับมัน มันไม่เกิด มันก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
ยิ่งโดยเฉพาะเวลาที่เราดูลมหายใจเข้า หายใจออก สังเกตดูนิวรณ์ เราชอบวิ่งดับนิวรณ์อยู่เรื่อย แทนที่จะสร้างกำลังของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานภายในจิตใจเพื่อไม่ให้นิวรณ์ปรากฏ มันก็เป็นนิวรณ์ นิโรธเช่นเดียวกัน แต่ว่าบางทีมันมองข้ามเพราะจิตใจของมนุษย์ชอบก่อตั้งอะไรให้เป็นสิ่งเป็นอัน เป็นตัวเป็นตน เป็นอะไรที่แน่นอนชัดเจนสักอย่าง เราต้องยอมพิจารณาด้วยลักษณะของธรรมชาติ เพื่อกลับมาสู่ธรรมชาติที่ปลอดโปร่ง เบิกบานดีกว่า เพราะว่ามีอยู่ การดับทุกข์มีอยู่ ขอให้เราเป็นผู้สังเกต ให้เราเป็นผู้ปฎิบัติ เพื่อลิ้มรสของการดับทุกข์
นี่ก็หกโมงครึ่งแล้ว ถ้าจะพูดเรื่องอริยมรรคไม่รู้จะจบเมื่อไร แต่ว่าในแง่หนึ่งของที่เราบอก หน้าที่ๆ ต้องทำต่อแต่ละอริยสัจ ต้องให้ความสนใจ ของทุกข์ก็ต้องกำหนดรู้ เหตุที่ให้เกิดทุกข์ก็ต้องละเสีย การดับทุกข์ต้องทำให้แจ้ง คือเราดับให้แจ้งซึ่งการดับทุกข์ อันนี้เป็นอีกแง่หนึ่งอีกมุมหนึ่งให้ความสนใจ ทำอย่างไรทุกข์ถึงไม่ปรากฎ ทำให้แจ้งซึ่งการดับทุกข์ หนทางที่จะดับทุกข์ เราจะต้องทำให้มีเกิดขึ้น ที่ว่า ภาเวตัพพันติ คำรากศัพท์เดียวกันกับภาวนา ทำให้มีเกิดขึ้น เราต้องฝึก ต้องทำให้มีหนทางที่จะดับทุกข์ให้เกิดขึ้น คืออยู่ที่ศีล อยู่ที่สมาธิ อยู่ที่ปัญญา นี้คือหน้าที่ของผู้ปฎิบัติ ทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น ความดับทุกข์ก็ย่อมปรากฎอยู่ เลยวันนี้อาตมาก็ให้ข้อคิดในธรรมะ พอสมควรแก่เวลา ก็ขอยุติลงเพียงเท่านี้