แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
[01:45] : กราบนมัสการท่านอาจารย์เจ้าค่ะ ศิษย์ขอความกระจ่างในคำว่า “ผู้รู้” เราจะเห็นตัวผู้รู้เมื่อไรเจ้าคะ ขอความเมตตาด้วยเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : เมื่อไรที่สงบสบายปล่อยวางเสียทีก็จะได้เห็น มันก็เป็นเรื่องที่จะบีบผู้รู้ออกมาให้ได้ มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่ใช่ผู้รู้เป็นตัวเป็นตนเป็นอะไรที่จะออกมาแสดงว่ามีแล้ว มีผู้รู้ เพราะว่ามันเป็นภาษาที่เราสมมุติขึ้นมา หมายถึงความรู้ที่ คือ มีความเข้าใจในธรรมะ มีความสงบ มีความปลอดโปร่ง มีการทบทวนในหลักของความเป็นจริง มันก็พอยิ่งพูด มันก็ยิ่งไม่ชัด มันเป็นกลายเป็นครูบาจารย์ ผู้รู้ เพราะว่าเป็นสมรรถภาพของจิตใจ ที่เรียกว่าเป็น ปัจจัตตัง ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ ผู้รู้ก็ต้องรู้เฉพาะตัวเอง ในเมื่อได้เกิดความรู้สึก รู้ชัดเจน ความสงสัยก็หายไป ความสงบ แล้วมันไม่ใช่ว่าแวปเดียวก็ได้ มันก็ต้องอาศัยได้ต่อเนื่อง แล้วก็รู้สึกว่ามันคงไว้ใจได้
[03:56] : กราบนมัสการพระอาจารย์ ความคิดระหว่างการปฏิบัติ เราเป็นคนคิดหรือจิตเป็นตัวคิดครับ หรือจิตเป็นตัวรู้ครับ ขอความกรุณาเมตตาให้ความรู้ด้วยครับ
พระอาจารย์ปสันโน : คิดมากเกินไป ว่าเราจะเอา คือ เรามีความสามารถที่จะคิดได้ คิดให้เป็นประโยชน์ก็ได้ นี่เป็นเหตุที่พระพุทธเจ้าเอากุศลกับอกุศลเป็นฐานในการสังเกตุหรือในการพิจารณา เพราะพอเราเริ่มคิดให้เป็นตัวเป็นตน เป็นอะไรที่แน่นอน ก็ยิ่งไม่ค่อยชัดเจน เพราะไม่ได้เป็นอะไรที่เป็นรูป เป็นก้อนอะไร แต่ว่า สภาพของจิตที่พอจะมีความเบิกบาน พอจะมีความรู้สึกสงบ พอจะมีความรู้สึกกระจ่างอยู่ อันนี้มันเป็นกุศล และมีความสุข มีความมั่นคงอยู่ คือ ลักษณะของกุศลธรรมในอันใดที่ช่วยให้กุศลธรรมเพิ่มขึ้น อกุศลลดลง อันนี้เป็นไปในทิศทางที่ถูก
[05:25] : กราบนมัสการท่านอาจารย์เจ้าค่ะ นิวรณ์ข้อที่ท่านอาจารย์เห็นควรว่าควรจะละให้ได้ข้อแรกคือข้อใดเจ้าคะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : พบเมื่อใดก็ละเมื่อนั้น มันไม่ใช่ว่าจะเรียงลำดับได้หรอก ปล่อยเอาไว้ก่อน มันมาเมื่อไรเราต้องจัดการเมื่อนั้น มันไม่ค่อยขออนุญาตเข้าคิวเลย
[06:17] : กราบนมัสการท่านอาจารย์ ศิษย์อยากทราบอุบายที่ท่านเคยใช้ในการต่อสู้กับอุปาทาน การยึดมั่น เมื่อท่านเอาชนะได้แล้วเป็นอย่างไร ศิษย์ไม่แน่ใจว่าแค่ชนะได้ชั่วคราว แบบกดข่มไว้หรือเปล่า
พระอาจารย์ปสันโน : คือการที่ได้ คืออย่างหนึ่งที่ได้ผลก็การพิจารณาในความทุกข์อยู่ ว่าเราอยากจะแบกความทุกข์นานเท่าไรหรือมากน้อยแค่ไหน ก็ทำให้เรามีกำลังใจว่ายังไงก็ต้องปล่อย เมื่อเรายึดในสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่หนักอยู่ พอเราปล่อยสิ่งที่หนักอยู่ มันก็รู้สึกว่าเบา มันก็เป็นสิ่งที่เราสัมผัสเอง มันเบา มันปลอดโปร่ง มันสบาย แต่ว่าเรายังต้องทบทวนสังเกตดูว่ามันกลับมาไหม หรือกลับมาในอีกรูปแบบไหม เพราะว่าแน่นอน มันไม่ใช่ว่าครั้งเดียวมันก็หมดเรื่องไป มันก็ต้องค่อยฝึก ค่อยหัด ค่อยละ ค่อยปล่อย มันก็เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการปฏิบัติ การฝึก การหัด ในระยะเวลาที่ยาวหน่อย
[07:53] : กราบนมัสการท่านอาจารย์ครับ Sometimes the voice in my head speaks so loud, Sitting alone in silence only amplifies it. ท่านอาจารย์ มีคำแนะนำในการจัดการกับเสียงเหล่านี้อย่างไรครับ ขอบพระคุณครับ
พระอาจารย์ปสันโน : ก็ให้เป็นเพื่อนกัน บางทีเราทะเลาะกับตัวเอง the voices in our mind. That we give them power. So, we've got to be able to be friend them or to see them as our allies, or how do we bring them in to be our allies? This is really important because we tend to want to. We just want to get rid of these sort of extraneous voices or extraneous personality traits that we have. That don’t fit our perception of what we think we should be, and you know we end up fighting with ourselves all time. So that learning that how to pay attention to your drawing, drawing them in to be an ally or drawing them into be friends with us so that they can support us. It's really, I mean, it's in the same way you try to do that externally and how you live with other people. You want to be doing that within yourself as well.
[09:24] : กราบนมัสการท่านเจ้าคุณอาจารย์
กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : อย่างเรื่องง่ายของความก้าวหน้าคือ กุศลเพิ่มขึ้นอกุศลลดลงไม่ต้องไปดูว่าเราได้เก่งมากขึ้นแค่ไหน หรือเราได้อะไรสักอย่างที่เป็นลักษณะที่ได้เห็นแสงสว่าง หรือได้เห็นนิมิตอะไร มันหลากหลายเหลือเกิน ขอดูที่สภาพของจิตว่ากุศลเพิ่มขึ้นอกุศลลดลง มันเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะไว้ใจได้มากกว่าอย่างอื่น เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ เพราะว่าโดยสัญชาติญาณของเราที่ยังมีกิเลส มีความยึดมั่นไว้ เรามักจะอยากหาอะไรที่เป็นตัวเป็นตน ที่เหมือนกับประดับตัวตนของเรา ปฏิบัติธรรมได้อย่างนี้ ปฏิบัติธรรมได้อย่างโน้น เพื่อป้องกันความสงสัยหรือกลัวว่าปฏิบัติธรรมไม่ได้อะไรสักที เป็นเหมือนความสุดโต่งในความเป็นตัวเป็นตนของเรา แต่เราต้องกลับไปดูว่าสภาพของจิตเราจะพัฒนาจิตได้อย่างไร เพื่อให้ความดีงามของเราได้เพิ่มขึ้น ความสุขสบายของเราดีขึ้น ความสว่างเบิกบานในจิตใจของเราให้ดีขึ้น ให้มากขึ้น ตัวนี้ตัวสำคัญมากกว่าอย่างอื่น
และลักษณะของฌานที่ 1 ก็อย่างที่อาตมาเริ่มได้เอ่ยถึงตอนเช้าคือ วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ ธัมเมหิ คือ เราสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลทั้งหลาย เริ่มเป็นลักษณะของการที่จะเข้าเป็นสู่ความเป็นฌาน คือ จิตถอยห่างออกจากการเกี่ยวพันกับการเพลิดเพลินหรือหลงในนิวรณ์ จะเป็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็สุดแล้วแต่หรือจะมากก็สุดแล้วแต่ แต่ว่าเป็นเมื่อเราเริ่มถอยห่างสักนิด เป็นแง่ที่ทำให้เรากลายเป็นเครื่องวัดเริ่มเข้าใกล้อย่างหนึ่ง อย่างในบทเดียวกันที่เราสวดเกี่ยวกับอริยมรรคแปด สัมมาสมาธิ คือ ส่วนประกอบก็มีวิตก วิจารณ์ ปีติสุข เอกัคคตา เป็นส่วนประกอบของจิตที่ร่วมเป็นฌานที่ 1 คือ ยังมีวิตก ยังมีจิตนึกอะไรสักอย่าง แต่ว่า นึกในลักษณะที่เป็นธรรมะ หรือนึกอะไรเพื่อได้มีการต่อเนื่องของการกำหนด แม้แต่เรื่องลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นึกลมเข้า ลมออก เป็นอย่างไร วิจารณ์ ค่อย ๆ สังเกตการณ์ เราก็คิดว่ามันมีลักษณะอย่างนี้ หรือมันได้นึกในข้อธรรมะข้อใดข้อนึง จะเป็นเรื่องอริยสัจ เรื่องอนิจจัง เรื่องทุกขังก็ได้ทั้งนั้นถ้ามันช่วยให้จิตใจมั่นคงมากขึ้น
เมื่อมันมั่นคงมากขึ้น คือ วิตก วิจารณ์ มันคล้อยตาม คือจิตมันเคลื่อนไหวที่อยู่ในขอบเขตที่ไม่กวนความสงบและความปลอดโปร่งของจิต มันเป็นแง่ของฌานที่ 1 ปีติก็มีความอิ่มเอิบ จิตมันก็ Enjoy มันซาบซึ้งในความสงบ มันมีความสุข ในลักษณะมีทุกขเวทนา ก็แน่นอนมีอารมณ์ที่ประกอบด้วยความสุข แต่มันก็ทำให้ร่างกายคลี่คลาย เบา ปีติสุข มันก็ทำให้จิตใจเบิกบาน แจ่มใส แต่ว่าทำให้ร่างกายเบาสบาย เรื่องการเจ็บปวดก็แทบจะไม่ค่อยมีเท่าไร มันเบา มันถอยออกห่างหน่อยหรือมันหายไปเลย แล้วก็เอกัคคตา ถ้าเราคิด เอกัคคตา แปลว่าจิตเป็นหนึ่ง แต่ในเมื่อเราคิดในลักษณาการเป็นหนึ่งของจิต ต้องดูว่าหนึ่งแบบไหน เพราะว่าเราโดยปกติเวลาเราคิดให้จิตเป็นหนึ่ง อยากให้จิตเป็นหนึ่ง โดยความรู้สึกว่าจะต้องผลักออก สิ่งไม่ได้เห็นชัดเจน ปล่อยและวาง และ รู้และวาง มันโดยความกลัวก็ดี ความเกลียดก็ดี ความกังวลว่าจะกวนความสงบของเรา มันไม่อยากสัมผัสอะไรทั้งสิ้น จิตเป็นหนึ่งแต่ว่ามันมีความเครียดอยู่ เพราะมันเป็นหนึ่งที่ คือ รักษาอย่างนี้ มันเป็นหนึ่งแต่มันแน่นเหลือเกิน เพราะพยายามผลักไม่ให้มีอะไรมากวน
อันนี้ไม่ใช่ฌาน อาจจะเป็น definitely a kind of concentration หรือจดจ่อ จดจ่อแต่ไม่สบายเท่าไร ในลักษณะนี้ แต่จิตเป็นหนึ่ง ก็อาจจะใหญ่ สามารถที่จะอยู่ได้ เป็นหนึ่ง จับเอาไว้ เป็นหนึ่ง มันอยู่ได้ สบาย ๆ มันไม่กวนความเป็นหนึ่งของจิต มันไม่กลัวกับอะไร ไม่แน่นจนเกินไป ไม่จดจ่อจนเกินไป มันมีความพอดีอยู่ในตัว ไม่หลวม ไม่แน่น ก็นึกภาพออกในลักษณะ เดี๋ยวต้องขอใช้เป็นภาษาอังกฤษ The point that excludes and the point that includes One clue. Because เอกัคคตา is saying in English is often translated as one pointed. จิตเป็นหนึ่ง One point at concentration. But what kind of point? Because if it's a point that excludes, it's pushing away, it's got some either some shear or some anxiety or some dislike for not wanting something so it's not so balanced. A point that includes is the point can be any sign, so long as it includes, It doesn't have a problem. So that just be able to see things arise and cease. And stay with the point of dhamma. It's really important. Figuring out what kind of point is going to work for you. But for me, I like the point that includes.
[19:48] : กราบนมัสการพระอาจารย์ ธรรมเทศนาเป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10 ที่เป็นเรื่องยากเพราะตนเองไม่มั่นใจในสิ่งที่ตัวเองรู้ว่ารู้จริงหรือไม่ และกลัวว่าเวลาถูกถามกลับมาจะตอบไม่ถูกต้องตามหลักของพระศาสนา อยากเรียนถามว่าควรจะเริ่มกับใคร และเรื่องอะไรดีคะ ตัวเองมีลูกสองคน อายุ 13 และ 11 ถ้าจะเริ่มกับลูกควรสอนเรื่องอะไรดีคะ กลัวพูดเยอะแล้วลูกจะยิ่งหนีจากพระพุทธศาสนาเพราะความช่างเทศน์ทุกเรื่องของคุณแม่ค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : คือ ก็สมควรที่จะกลัวเหมือนกัน แต่คือการที่ให้อย่างหนึ่งแล้วจะคิดในลักษณะให้ลูกสนใจในธรรมะที่ทำให้ คือ กลับมาที่ตัวเราเองอย่าไปดูที่ทฤษฎี อย่าไปดูที่การคาดคะเน ว่าควรจะเป็นอย่างนี้ ๆ ดูว่าธรรมะข้อไหน คือทำให้ตัวเองเกิดความรู้สึกปลอดโปร่งสบาย ตัวธรรมะในลักษณะไหนทำให้ตัวเองสงบมากขึ้น ทำให้เบิกบานมากขึ้น ก็อย่างนั้นเวลาเราพูดเราก็จะสามารถพูดออกจากประสบการณ์ของเราแทนที่จะพยายามพูดออกจากทฤษฎีว่าเราควรจะเป็นอย่างนี้ เราควรเป็นอย่างนั้น เราพูดออกจากประสบการณ์ดีกว่า เพราะว่านี้เป็นสิ่งที่จะเป็นบุคคลใดก็ตามยิ่งสำหรับลูกและญาติใกล้ชิด ถ้าเราพูดออกจากทฤษฎี เขารู้ทันที ถ้าเราพูดออกจากประสบการณ์ เราก็มีความรู้สึกจริงใจและหวังดีต่อเขา เรามีความปรารถนาดีและไม่ได้ถือตัว และไม่ได้หลงในบางทีคนเราทำมากๆ มันน่าเบื่อ คนวิ่งหนีจริง ๆ เราต้องพยายามพูดออกจากจิตใจที่มีประสบการณ์จริงและมีความหวังดี มีความเมตตากรุณา และคอยสังเกตดู
[22:47] : กราบเรียนถามหลวงพ่อครับ ขณะจิตสุดท้ายก่อนตายมีความสำคัญ ถ้าเรายังตื่นและได้ฝึกสติและสมาธิมาตลอดเราสามารถกำหนดจิตสุดท้ายได้ไหมครับ และควรฝึกอย่างไร ถ้าเราเสียชีวิตขณะนอนหลับ เราจะไปไหน และควรฝึกกำหนดจิตอย่างไรขณะนอนหลับให้มีสติ กราบขอบคุณหลวงพ่อครับ
พระอาจารย์ปสันโน: คือ อันนี้เป็นคำถามที่ดีเพราะว่าบางที่ในคัมภีร์รุ่นหลังจะให้ความสำคัญมากกับจิตดวงสุดท้าย ซึ่งไม่ใช่ว่าผิด แต่บางครั้งมันเกินที่พระพุทธเจ้าได้บัญญัติไว้ เช่น มีพระสูตรชุดหนึ่ง คือ เป็นญาติของพระพุทธเจ้าเอง คือ พระมหานามะ เป็นหัวหน้าฝ่ายเจ้าศากยะ เรียกว่าเป็นในหลวงของท้องถิ่นที่นั้น ก็มีความรู้สึกคุ้นเคยอบอุ่นกับพระพุทธเจ้าอยู่ เป็นคนที่ถามปัญหากับพระพุทธเจ้าเป็นครั้งเป็นคราว ในครั้งหนึ่งได้พูดถึงว่า ในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า และเป็นผู้ที่พยายามนำการปฏิบัติเข้าสู่ชีวิตประจำวัน ก็ได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง
แต่ว่ามีเวลาบางครั้งบางคราว เวลาทำหน้าที่ของการเป็นผู้นำของประเทศหรือท้องถิ่นนั้น หรือได้เข้าไปในเขตชุมชนที่ค่อนข้างจะชุลมุน อาจจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ได้ เช่น ช้างก็อาจจะวิ่งออกมาเหยียบเขาหรืออะไรอาจจะเกิดขึ้นที่ทำให้เขาเสียชีวิตอย่างฉับพลัน เมื่อเป็นในลักษณะนั้น อยู่ในเหตุการณ์ที่ค่อนข้างจะปั่นป่วน motivate จิตดวงสุดท้ายจะเป็นอย่างไรที่จะต้องพาไปในภพใหม่ ภพอื่น พระพุทธเจ้าบอกกับเขา อย่าไปห่วง อย่าไปโลเลอย่าไปสงสัย เธอได้ฝึกจิตไว้ดีแล้วตั้งนานแล้ว เธอมีความมั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่แล้ว คือได้เข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องที่ดีงาม เมื่อไรจิตสุดท้ายมาแล้ว ไม่ต้องห่วงเพราะจะไปด้วยดี เหมือนกับมีหม้อดินที่ใส่น้ำมันงา ใส่ไว้แล้วก็ทิ้งไว้ในสระน้ำ มันจะจมลงไป พอถึงพื้นข้างล่างโดนหิน หม้อมันแตก น้ำมันก็จะลอยขึ้นข้างบน จิตของเธอก็เข่นเดียวกัน ร่างกายก็จะแตกสลายเหมือนกับหม้อดิน แต่ว่าจิตต้องย่อมไปในทิศทางที่ดี เพราะได้ฝึกได้หัดได้มีความมั่นใจแล้ว เป็นลักษณะ คือ จิตดวงสุดท้าย มันจะไปตามที่เราได้เคยฝึก เคยหัดจนคุ้นเคยมากกว่า
ซึ่งอันนี้ก็น่ากลัวพอสมควรเหมือนกัน แต่ว่ามันไม่มากเท่า เช่น เราตายแล้วเราไปไหน เราคงจะเกิดในที่มืดมน หรือ ได้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ร่างกายแตกดับไปแต่ว่าจิตมันก็ ถ้าจิตที่ฝึกไว้ดีแล้วอยู่กับธรรมะ ถ้าในชีวิตนี้เราพยายามอยู่กับธรรมะ อยู่กับสติ อยู่กับปัญญา อยู่กับคุณงามความดี หรือว่าแม้ร่างกายจะแตกดับไป จิตก็ไปในทิศทางที่ประกอบด้วยคุณงามความดี มันเป็นธรรมชาติของจิต จำเป็นที่จะต้องยังฝึกยังหัดเหมือนเดิม ไม่ใช่ว่าเราได้ฝึกมาแล้วนั่งสมาธิอย่างนี้ ๆ ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ตายเข้าไปถึงที่ไหน มันก็จิตพาไป แต่นี้เป็นเหตุที่ยังต้องให้รับผิดชอบในการฝึกการหัด เพราะว่าไหน ๆ จิตก็จะพาไป ตายด้วยดีหรือตายไม่ดี จิตมันก็สามารถที่จะแยกออก จิตมันคนละประเด็นกับร่างกายของเรา
[30:07] : กราบนมัสการ ในชีวิตคนเรามีการดำรงชีวิตที่อาจต้องเบียดเบียนผู้อื่น เช่น เจอแมลงสาบในบ้าน ต้องฉีดยาฆ่าแมลงสาบถ้าจะไม่ให้มี มีหนูในครัว ต้องดักหนู ต้องทำอะไรที่เราอาจต้องเบียดเบียน อยากขอทราบหลักในการพิจารณาว่า ควรยึดหลักในการดำรงชีวิตอย่างไรที่ไม่ต้องบวชพระ บวชชีก็ถือว่าเบียดเบียนผู้อื่นน้อยที่สุด กราบขอบพระคุณ
พระอาจารย์ปสันโน : ก็ให้เบียดเบียนน้อยที่สุด เราต้องค้นคว้า เพราะว่ามียิ่งทุกวันมันมีอินเตอร์เน็ตที่สามารถจะค้นคว้าอะไรได้ แต่ก็ค้นคว้าในลักษณะวิธีธรรมชาติที่เป็นลักษณะป้องกัน สัตว์เข้ามาหรือได้ป้องกัน เราต้องเอาใจใส่ในการป้องกันแทนที่จะใช้วิธีไหนในการกำจัด ง่ายที่สุด เร็วที่สุด อันนั้นปลายทาง เราต้องมาป้องกันไว้ก่อน ซึ่งมันก็มีวิธีหลายวิธี แต่บางทีเราต้องเอาใจใส่ค้นคว้าอย่างหนึ่ง อย่างหนึ่งเอาใจใส่ในเรื่องการทำ แต่ทำด้วยเจตนาที่ดี เจตนาที่ปรารถนาไม่เบียดเบียดเบียน ก็เป็นความงดงามอย่างหนึ่ง
[31:46] : กราบท่านเจ้าคุณอาจารย์ ศิษย์กราบขอคำสอน คือว่า ศิษย์เคยมีหัวหน้าที่คอยแต่จะจับผิดและดุว่าตลอดเวลาจนศิษย์ทนไม่ได้และได้ขอย้ายงาน หลังจากได้ย้ายงานแล้วศิษย์ก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่พบ และพยายามไม่ให้เธอเห็นหน้า ศิษย์ได้อโหสิกรรมให้เธอและพยายามแผ่เมตตา ก็ทำให้ศิษย์ใจดีขึ้น แต่ถ้าหากมีใครพูดถึงวีรกรรมของหัวหน้าคนนี้ทีไร ศิษย์ก็จะมีความแค้นใจทุกครั้ง ต้องใช้คุณธรรมข้อไหนถึงจะทำให้ความรู้สึกนี้หมดไป กราบนมัสการเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : คือที่เราได้หลีกเลี่ยงมันก็ถูกต้องแล้ว คือถ้าเราไม่จำเป็น ที่จะต้องคบคนที่ไม่ดีก็อย่าไปคบเลยไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงานก็ดี บางทีก็เป็นในครอบครัวก็มี แต่เป็นแง่ที่เราต้องหลีกเลี่ยง แล้วถึงเวลาที่เราก็รู้ว่ายังมีความรู้สึกแค้นอยู่ เพราะความรู้สึกเกิดขึ้นเป็นความแค้นความเศร้าหมองในจิตใจของเราในเวลานั้น เหตุที่จะแค้นไม่มี เพราะเราได้หลีกเลี่ยงแล้ว แต่มันเป็นสิ่งที่อยู่ในความทรงจำ แล้วเรากลับไปรื้อฟื้นความทรงจำขึ้นมา หมกหมุ่นอยู่ และคิดอยู่ ปัญหาอยู่กับเรา ปัญหาไม่ได้อยู่กับเขา คือ เราได้จัดการในลักษณะหลีกเลี่ยง เราก็ได้ยกโทษให้อโหสิกรรมไปแล้ว เพราะว่า ไม่ใช่ว่าเพราะคุณธรรมของเขา แต่เราอยากจะรักษาคุณธรรมของเรา แต่มันเป็นคนละประเด็นกันกับการให้อโหสิกรรม แต่ส่วนมากมันอยู่กับเรา เราจะรักษาความเบิกบานและความสบายใจของเรา เราต้องยอมสละความแค้นใจ หรือควบคุมความโกรธไว้ แต่ปัญหาว่านึกถึงเขาเมื่อไร มันมาทำให้เราเศร้าหมอง ที่เราเศร้าหมองไม่ใช่เพราะเขา มันเป็นเพราะเรา เราต้องรู้จักวางจริง ๆ มันยังไม่อยากวาง แต่เราต้องพร้อมที่จะวาง
[34:55] : กราบนมัสการท่านอาจารย์ หากมีความจำเป็นต้องพูดเกินความจริงหรือพูดโกหกเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท หรือได้รับความคาดหวังของหัวหน้าว่าต้องทำเช่นนั้น ควรทำอย่างไรดีคะ
พระอาจารย์ปสันโน : ไม่มีเหตุการณ์ที่จะต้องพูดในสิ่งที่เป็นการโกหกหรือพูดเกินความจริง คือ บางทีมันไม่จำเป็นที่จะต้องพูดความจริง แต่ว่าเราไม่ควรจะต้องพูดโกหก หรือได้หลอกลวง หรือได้พูดมันเป็นอย่างนี้ก็ไม่สมควร มันเกิดออกจากจิตใจที่เรียกว่ามุสาวา พูดเมื่อไรมันก็ผิดเมื่อนั้น เราต้องรู้จักหลีกเลี่ยง ซึ่งบางทีมันทำให้เราอึดอัด แต่เราก็ต้องฉลาดมากขึ้นในการใช้วาจา ที่มันก็ยากจริงอยู่ แต่มันก็ค่อยผลักหรือหาทางหลีกเลี่ยง มันต้องฉลาดมากขึ้น เพราะว่าบางทีเราพูดในสิ่งที่ไม่จริง มันพูดเอาความสะดวกของเรามากกว่า แต่เราเอาข้ออ้างเหมือนสะดวกกับเขาหรือสะดวกกับสถานการณ์ แต่ที่จริงมันก็ต้องพูดหาความสะดวกใส่เจ้าของ เราหลีกเลี่ยงดีกว่า
[36:37] : กราบนมัสการท่านเจ้าคุณอาจารย์ เรื่องของเจ สิริพงษ์ บอกสอนอะไรเราบ้างเจ้าคะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : อันนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งนานแล้ว ตั้งยี่สิบกว่าปีที่แล้ว อาตมาได้อยู่กับคนไทยที่ถูกประหารที่คุกที่อเมริกา ที่ศาลแคนตัน คือส่วนหนึ่งที่เป็นสิ่งที่สอนเราหรือสอนผู้อื่นหรือเป็นตัวอย่างของผู้อื่น คือ มันแน่นอน คือถึงวาระสุดท้ายของการอยู่ ได้มั่นคงไม่หวั่นไหวต่อความตาย เพราะว่ารู้ว่าจะตายเวลาไหน เพราะทางวัดเขากำหนดมาแล้ว และเจ้าหน้าที่ก็พาไป แต่อาตมาไม่ได้อยู่ถึงวาระสุดท้าย แต่ได้อยู่ถึงตรงที่อยู่ถึงเที่ยงคืน และเจ้าหน้าที่ได้พาเข้าไปในห้องประหารซึ่งมันอยู่ติด ๆ กัน เขาก็มั่นคงดี เยือกเย็นดี ไม่หวั่นไหว
เราได้อธิบายวิธีที่จะทำจิต คือเราพูดตรงไปตรงมาเดี๋ยวเขาจะมา เขาจะได้พาไป เราจะได้รับตัวในที่นอน จะได้เหยียดแขน เขาจะได้ใส่สายยาฉีด พอเข้าไปก็ต้องทำตัวให้สงบ คลี่คลาย แล้วก็ไม่ต้องไปดูอะไรทั้งสิ้น จะมีเจ้าหน้าที่จะอยู่ คนอื่นก็จะอยู่ เป็นครอบครัวของเราก็มี ญาติของเราก็มี เพื่อนของเราก็มี เพื่อนที่ของคนตายก็มี เจ้าหน้าที่รัฐก็มี มีคนทั้งหลาย ไม่ต้องสนใจ เดี๋ยวนี้เธอมี เวลาเหลือไม่เยอะแล้ว เราต้องทำจิตสงบ เขาก็ทำตาม ก็ได้รู้สึกว่าเราไปด้วยดี อย่างคำสุดท้าย คือตัวเจ ก็อยู่ในห้องขัง cell ตรงนี้ อาตมาถูกขัง cell ตรงนี้ เราได้คุยกันผ่านลูกกรงใช่ไหม เจ้าหน้าที่ได้อยู่ล้อมประมาณ 3-4 คน ก็เฝ้าดูเราอยู่ตลอด แต่ว่าเราก็ไม่ได้สนใจเขา ในที่สุดพวกนั้นเขาก็เอ็นดูเรา ได้ถึงเวลาเที่ยงคืนเขาก็จะพาไปเพื่อประหาร เจ้าหน้าที่เข้าไปรับออกจากห้องขัง และก็อาตมานั่งอยู่นี้ ประตูเข้าห้องประหารอยู่ตรงนี้ เขาก็เดินออกจากนี้ ตรงนี้แกก็หยุดยกมือไหว้ ลาก่อนครับ แล้วก็เข้าห้องประหาร มั่นคงดีและไม่หวั่นไหว
ตอนเช้าหลังจากถูกประหาร ก็มี คือ เขาเอาศพไปที่ข้างนอกเป็น memorial เราได้ไปญาติ ๆ และเพื่อน อาตมาให้เขาเปิดและก็ช่วยเปิดถุง body bag ตามหลักของเขา เขาไม่ให้ แต่อาตมาบอกควรจะเปิดโอกาสให้เรา เขาก็ทำตาม เราก็ได้ไปเปิดดู ดูหน้าตาสงบ แจ่มใสดี คือ ไปด้วยดี ไม่น่าเป็นห่วง ก็ทำให้พี่สาวกับญาติ ๆ และเพื่อนสนิทก็ทำให้สบายใจว่าเขาไปด้วยดี นั่นเป็นการแสดงออกถึงความสามารถของเรา เราสามารถที่จะถึงเวลาสุดท้าย โดยไม่หวั่นไหวได้
อย่างหนึ่งที่เขาเปิดเผยกับอาตมาว่าเขาถูกขังไว้ 16 ปี ก่อนที่ในที่สุดที่ถูกประหาร เขาได้ถูกขังไว้ประมาณสัก 3-4 ปี แล้วเกิดความรู้สึกว่าเดี๋ยวนี้เราเป็นคนกำลังทุกข์มาก ได้อารมณ์ความรู้สึกพัวพันอยู่กับความเศร้าหมอง ความโกรธ ความแค้น ความเสียใจ ถ้าหากเราไม่ทำอะไรอย่างอื่น ถ้าเราอยู่อย่างนี้ ตายก็ชีวิตไม่มีความหมาย ตายอย่างคนเศร้าหมอง ทำให้เขานึกถึงว่าได้เคยบวชชั่วคราว ได้เคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาน่าจะกลับไปทบทวน เพื่อทำให้ตัวเองมีหลักในจิตใจของตัวเอง และถ้าเราสามารถเปลี่ยนจิตใจของตัวเองได้ ก็เป็นการใช้เวลาที่เหลือในทางที่ดี เขาก็ทุ่มเทในการเปลี่ยนและพัฒนาจิตของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่อยู่ในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยเกื้อกูลเท่าไร แต่ว่าด้วยความมั่นใจ และความตั้งใจ สามารถที่จะทำได้ คิดดูพวกเราอะไร ๆ ก็เกื้อกูลทั้งนั้น น่าจะเอาเป็นแบบอย่างหน่อยนะ
[44:45] : กราบนมัสการท่านอาจารย์ คำสอนบทใดที่ท่านประทับใจมากที่สุดและทำไมเจ้าคะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : มันแล้วแต่กำลังอ่านอะไร ฟังอะไร จึงโอ้นี่น่าประทับใจมากที่สุด สิ่งที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนา คือ สิ่งที่เป็นคำสอนที่สำคัญ ๆ มีมากมาย แต่ที่การจะพูดออกจากใจเดี๋ยวนี้แล้วแต่จังหวะที่ถาม คำตอบก็จะไม่เหมือนกัน บางทีทุกวันนี้ที่มันก้องอยู่ในจิตใจ อันนี้แหละคือสิ่งที่ประณีต อันนี้แหล่ะสิ่งที่สำคัญ อันนี้แหล่ะสิ่งที่มีแก่นมาก คือ การสิ้นสุดของสังขาร คือการดับทุกข์จริง ๆ คือ การเห็นธรรมะของพระพุทธเจ้า ทำให้เกิดอัศจรรย์ในละเอียด ความประณีต ของความเป็นจริงของความสุขที่เกิดขึ้นจากการเห็น ก็จะเป็นกำลังใจ
[46:29] : กราบนมัสการท่านเจ้าคุณอาจารย์ ทำไมผู้ปฏิบัติธรรม หรือผู้เข้าวัดส่วนใหญ่ จึงเป็นหญิงมากกว่าชายเจ้าคะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : ไม่รู้ เราเป็นผู้ชายเราเองก็สงสัยเหมือนกัน ด้อย ก็ด้อยปัญญาเรื่องนี้ แต่ไม่รู้ ธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าจะศาสนาพุทธหรือศาสนาคริสต์ก็ใกล้เคียงกัน คนที่ไปโบสถ์ในวันอาทิตย์ของศาสนาคริสต์ อาจจะเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอีก มันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร
[47:21] : คำถามสุดท้ายเจ้าค่ะ กราบนมัสการท่านอาจารย์ โปรดเมตตาแนะนำพระภิกษุผู้ติดตามทั้ง 4 รูป ด้วยเจ้าค่ะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : คือ มีคนนั่งดู และก็สนใจว่าไปกับใคร ก็มีอาจารย์ชุนนะ อาจารย์ชุนนะบวชมา 16 พรรษา บวชที่วัดอภัยคีรี เป็นชาวอเมริกัน ปีที่ผ่านมาหรือปีเศษ ๆ ก็ ได้ช่วยรับผิดชอบที่วัดอภัยคีรี 2 ปีกว่าได้ช่วยเป็นรองเจ้าอาวาส ได้โอกาสที่จะมากับอาตมาก็เป็นโอกาสปลีกตัวจากหน้าที่ ก็มาพักผ่อนเสียหน่อย แล้วจะได้อยู่ต่ออาจารย์สิริปัญโญก็ชวนไปเต่าดำ คืออาตมาจะกลับปลายเดือนของเดือนธันวา แต่ท่านจะอยู่วัดนานาชาติต่อจะได้สัมผัสงานของหลวงพ่อชา เพราะไม่ได้ค่อยมาเมืองไทยในฐานะที่เป็นนักบวชเป็นพระ หลังจากนี้ก็จะไปกับหมู่คณะที่เต่าดำ เดือนเมษายน ก็กลับวัดอภัยคีรี
แล้วก็มีองค์ที่ 3 อาจารย์ไก่ พระบวชกับหลวงพ่อจันดีที่วัดอัมพวันก็ได้รับผิดชอบที่วัดใหม่ที่ฉะเชิงเทรา เป็นสาขาของวัดอัมพวัน บวชมาได้ 11 พรรษา ตั้งแต่ปีที่แล้วชวนอาจารย์ไก่มาวัดอภัยคีรี ก็กำลังจะดำเนินการที่จะขอวีซ่า ขอครั้งหนึ่งเขาไม่ให้ เลยกำลังทำใหม่แต่คนละรูปแบบให้อยู่นานหน่อย องค์ถัดไปท่านทีปกร ท่านบวชที่วัดอมรวดี ท่านเป็นชาวฝรั่งเศส เติบโตอยู่ที่ฝรั่งเศส ท่านไปศึกษากับเชื้อสายเขมร ได้ไปอยู่วัดอมรวดีได้บวชที่นั่น บวชมาเดี๋ยวนี้บวชได้ 9 พรรษา กำลังเตรียมที่จะวันพรุ่งนี้ จะไปอยู่ที่สาขาของหลวงพ่อชาที่ออสเตรเลีย ประมาณสัก 2 เดือน แล้วหลังจากนั้นท่านจะกลับอมรวดี อยู่เมืองไทยตั้ง 3-4 ปี แล้วจะกลับไปพรรษาที่ 10 ตั้งใจจะอยู่ที่วัดอมรวดี
องค์สุดท้าย คือ ท่านยัสสะเป็นชาวอเมริกัน บวชที่วัดอภัยคีรี บวชได้ 3 พรรษา พรรษาที่ผ่านมาได้มาเมืองไทยตอนช่วงหน้าร้อน จำพรรษากับอาจารย์อนันต์ที่ระยอง ปกติของวัดอภัยคีรีพรรษาที่ 3 จะเปิดโอกาสให้ไปศึกษาที่อื่น ที่อยู่ทในเครือข่ายสาขาของวัดป่าพง ท่านได้เลือกไปศึกษากับท่านอาจารย์อนันต์ ท่านเป็นคนที่เริ่มสนใจในพุทธศาสนาตั้งแต่หนุ่ม ๆ จริง ๆ ไม่ใช่เดี๋ยวนี้แก่ แต่ว่าหนุ่มกว่านี้ แต่ก็อุปสรรคทั้งร่างกายและอุปสรรคทางจิตใจ ก็โลเลสงสัยว่าจะไหวไหม เลยไปปฏิบัติที่อื่นบ้างทดลองที่นี่บ้างที่โน่นบ้าง เรียนหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่เบิกเลย์ มาได้หาประสบการณ์ต่าง ๆ นานา ในที่สุดก็กลับมาและครั้งนี้ก็บวชได้ ก็ดี ท่านเป็นคนที่อยู่ใกล้วัดอภัยคีรีมาตั้งนาน 10 กว่าปี เดี๋ยวนี้ได้บวชแล้ว ก็ดี เป็นคนได้มีโอกาสมาเมืองไทยก็เป็นประสบการณ์ ก็เป็นชุดที่มาด้วยกัน
มีเท่านี้หนอ พอแล้ว เดี๋ยวเตรียม เพื่อจะไปเดินจงกรมกันต่อ