แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
แต่ว่าได้เป็นสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นโอกาสที่ทำให้ เช่น บางทีมันได้มีเรื่อง มีปัญหากัน เป็นโอกาสที่จะแก้ไขสถานการณ์ในสิ่งที่ทำให้มันดีขึ้น อันนี้ก็น่าเอาเหมือนกัน มันก็ต้องดูกรณีนะ อันนี้ดูดำกับขาวเขาจนเกินไป คือพูดตามความเป็นจริงทุกวันนี้ได้มาอ่านภาษาไทยปีละครั้ง ไม่ค่อยได้อ่าน ถ้าหากว่ามีคนช่วยอ่านก็จะเป็นประโยชน์ ภาษาไทย “เสือก” ไม่ใช่ว่าแค่อ่านภาษาไทยปีละครั้ง แทบจะพูด ปีละครั้งเท่านั้น อยู่ที่อเมริกาพูดภาษาไทยน้อยมาก ไม่มากเลย เพราะว่าลูกศิษย์คนไทยไม่ได้มากมาย หรือถ้ามีอยู่ส่วนมากเขาก็คล่องภาษาอังกฤษกัน ไม่ จะว่าขี้เกียจก็ขี้เกียจ
[02:01] กราบขอโอกาสเจ้าค่ะ กราบนมัสการท่านเจ้าคุณอาจารย์เจ้าค่ะ เวลาเราเจ็บปวดเพราะอาการป่วย ทำอย่างไรให้เราน้อมใจไปสู่การพิจารณาทุกขเวทนาให้ได้เจ้าคะ ลูกศิษย์ลองพยายามดู แต่เหมือนมันเป็นการคิดนำมากกว่าออกมาจากใจอย่างเป็นธรรมชาติ ลูกศิษย์ควรทำอย่างไรดีเจ้าคะ กราบขอบพระคุณ
พระอาจารย์ปสันโน : เคยเห็นโดยเฉพาะเวลาเราพิจารณาความเจ็บปวด คือแทนที่จะคิดในลักษณะ โอ้ เราต้องพิจารณาการเจ็บปวด แล้วก็การพิจารณาการเจ็บปวด ก็จะต้องเป็นอย่างนี้ๆ ขอให้พิจารณาว่าจิตของเรามันชอบกระเด็นออกไปไหน หรือได้เกิดอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร เพราะว่ามันมักจะเกิดความกลัวหรือความเครียด หรือความรู้สึกหงุดหงิดอะไร เพราะความเจ็บปวด เลยเราค่อยพิจารณาในผลที่ปรากฏเพราะความเจ็บปวด เมื่อได้พิจารณาเราแก้ไขในหรือยอมสังเกตดูเพื่อคลี่คลายในปฏิกิริยาของจิตที่ไม่อยากจะรับความเจ็บปวด ไม่มีใครอยากรับความเจ็บปวดอยู่แล้ว อย่างนั้นก็เป็นการพิจารณาอีกทอดหนึ่งเพราะว่าพอเราตั้งประเด็น จะต้องพิจารณาความเจ็บปวดแล้ว จะเป็นอย่างนี้ๆ เป็นการคาดคะเน เป็นการวาดภาพ ที่ไม่มีแก่นอะไรเลย
แน่นอนเราก็ยอมรับความเจ็บปวด เราก็จะเอ้อ นี่ ความเจ็บปวดเน๊อะ ความเจ็บปวดเป็นอย่างนี้หนอ แต่ไม่ใช่ว่าจะต้อง Yeah Yeah อย่างนี้อย่างนั้น มันคิดเกินไป ก็ต้องให้ได้ยกประเด็นของการเจ็บปวดก็ดี ความเจ็บปวดก็เป็นอย่างนี้ แต่ว่ามากกว่านั้นก็คือให้มาแก้ไขตรงที่จิตมันชอบหากระเด็นออก หรือไม่อยากอยู่กับหรือมีความกลัว หรือมีความไม่พอใจที่จะอยู่ หรือเกิดความหงุดหงิดอะไร เราแก้ไขตรงนั้น มันก็เป็นการสร้างสมรรถภาพในจิตใจของเราที่จะอยู่กับการเจ็บปวดได้ ตัวนี้มันสำคัญเพราะว่าอย่างส่วนมากเราชอบอยู่กับทฤษฎีหรืออุดมการณ์ว่า เราต้องเป็นนักปฏิบัติพิจารณาความเจ็บปวดเมื่อมันถึงวาระที่เราไม่สบายหรือเจ็บปวด มันก็คาดคะเน ไปได้ เมื่อมันถึง way หรือถึงคราวก็ให้จิตได้พิจารณา แต่อีกแง่นึง ในเวลาธรรมดาๆ ก็ลองพิจารณาความรู้สึกที่มันเป็นทุกขเวทนา สุขเวทนา อทุกขมสุกขเวทนา เหมือนกับได้เห็นชัดเจนมากขึ้นว่าในความเป็นมนุษย์ ยังไงมันก็ต้องได้รับ ทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา ทั้งไม่ทุกข์ไม่สุข อันนี้เป็นเรื่องธรรมชาติของประสบการณ์ของการเป็นมนุษย์ เลยเมื่อได้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ยอมรับมากขึ้น พอเมื่อมาถึงเวลาที่เจ็บป่วยจริงๆ หรือได้รับความทุกขเวทนา มันง่ายขึ้นในการสังเกตว่าอันนี้คือทุกขเวทนา ก็ลองดู
[07:07] กราบนมัสการท่านเจ้าคุณอาจารย์เจ้าค่ะ สติ สัมปชัญญะต้องอยู่คู่กันเสมอ สติ ตัวรู้ รู้ว่าโกรธ บางครั้งก็วางความโกรธไม่ลง เรียกว่าไม่มีสติสัมปชัญญะ คือปัญญา ใช่หรือไม่เจ้าคะ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : ก็ในแง่หนึ่งก็จริง คือถ้าหากว่าเราจะเป็นอารมณ์ไหน จะเป็นความโกรธก็ดี หรือความพอใจเพลิดเพลินก็ดี หรือความโลเลสงสัยก็ดี มันก็เกิดออกจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รู้เท่าไม่ถึงการเคลื่อนไหวของจิตใจของเรา มันเพราะอะไร เพราะจิตของเราชอบหาเหตุผลเข้าข้างกิเลสของตัวเองอยู่ตลอด เลยมันก็ทำให้อย่างยิ่งโดยเฉพาะความโกรธ พอมีความรู้สึกโกรธ หรือไม่พอใจ ไม่ชอบใจ มันมีเหตุผลเพียบพร้อมหมดว่า เขาไม่ดี เราถูก มันก็แน่นอนเป็นอย่างนี้แหละ เมื่อเป็นอย่างนั้น มันทำด้วยการไม่รู้ตัว สติสัมปชัญญะจะเป็นตัวที่แก้ กันไว้ก่อน ถ้ามันต่ำจริงๆ มันก็แก้ด้วย เพราะมันทำให้สำนึกว่าอันนี้อารมณ์ของความไม่พอใจ แต่ยังไงมันก็ไม่สมควรกับเราเพราะว่า ตราบใดที่เรามีความไม่พอใจ มีความโกรธ หรือมีความรู้สึกไม่ชอบคนนี้ หรือความประพฤติของเขา คนที่เศร้าหมองก่อนที่รับความทุกข์ก่อน คือ ตัวเรา
อย่างพระพุทธเจ้าทรงยกเปรียบเทียบเหมือนกับผู้คนที่ถ่มน้ำลายใส่พายุ ลมพายุมาแล้วก็ถ่มน้ำลายเอามันกลับมาหาเรา ความโกรธ ความไม่พอใจ ความไม่ชอบใจ อารมณ์ที่ประกอบด้วยโทสะ มันก็ มันเป็นสิ่งที่ทำให้เราเศร้าหมอง ทำให้เราเป็นทุกข์ จะหาเหตุผลมากน้อยแค่ไหนบอกว่าเราถูก เขาผิด ยังไงเราก็ทุกข์คือเก่า เศร้าหมองคือเก่า เราจำเป็นต้องพยายามพิจารณาเห็นโดยสติสัมปชัญญะ ว่ามันเป็นเช่นนั้น เราสมควรที่จะละ หรือไม่ให้อาหารกับมัน เพราะว่าอารมณ์ของความไม่พอใจ มันต้องการอาหาร อะไรที่เลี้ยงไว้ เหตุผลเรื่องราวที่เราได้ เพราะว่ามันจะแต่งเรื่องในจิตใจ ของเขาก็เป็นแบบนี้ เราก็ถูกอย่างนี้ แต่ว่าตราบใดที่จิตยังมีความไม่พอใจอยู่ มันก็ต้องแพ้กิเลสของเจ้าของ
[11:14] กราบนมัสการท่านอาจารย์ อยากให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายถึงวิธีที่จะวางอุเบกขาให้ด้วยครับ
พระอาจารย์ปสันโน : ก็แล้วแต่จะวางอุเบกขาแบบไหน เพราะว่าบางทีอุเบกขา อุเบกขาคือความเป็นกลาง อุเบกขาคือ อุเบกขาแปลเป็นภาษาไทยก็แปลว่าวางเฉยใช่ไหม วางเฉย มันก็แหม๋ ก็ไม่ค่อยแปล แปลยังไงมันก็ไม่ดีเนอะ เพราะว่าคือ เฉยมันก็วางไม่รู้เรื่อง อย่างนี้มันก็ไม่ถูกนะ เพราะว่าอุเบกขาในพระพุทธศาสนา คือเป็น พรหมวิหาร แล้วก็ไม่ใช่พรหมวิหารระดับอนุบาลนะ มันพรหมวิหารที่มันตั้งบนพื้นฐานของการฝึกให้มี เมตตา กรุณา มุทิตา ให้มีความละเอียดในจิตใจจริงๆ เมื่อมีความละเอียดในจิตใจและจิตใจของเราประณีตจริงๆ นิ่มนวลจริงๆ มันก็ได้ มันสามารถที่จะเห็นอย่างรอบรู้ รอบคอบจริงๆ เมื่อมันรอบรู้ รอบคอบ จิตไม่เชื่อแต่อารมณ์หรือเหตุผลของอารมณ์เลยจึงมึนเฉย แต่ว่ามันเฉยแบบมั่นคง เยือกเย็น ไม่ใช่เฉยแบบเฉยแฉะ เฉยชา เฉยเมื่อย มันเป็นเรื่อง
เพราะว่าในภาษา บางที่ใช้คำศัพท์ว่าเฉย มันก็ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย แต่นี้ความรู้สึกนี้ รู้ว่าเอ้อ อันนี้มันเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ดี แต่ว่าเราไม่มีสิทธิที่จะไปยุ่ง ไปเกี่ยว ไปทำอะไร เราก็ เรารู้ไว้ค่อยดูจังหวะว่าเราจะทำอะไรได้มั้ย จะช่วยได้ไหม หรือจะวางไปเรื่อยๆ ไว้ก่อนดีกว่า เพราะว่าเลยวางเฉยก็ ต้องตีความให้ถูก อย่างภาษาอังกฤษ ใช้คำศัพท์ว่า Equanimity ต่างจากสิ่งที่เป็นอุปสรรค หรือเป็นอาการของจิตที่ใกล้เคียงแต่มันผิดธรรมะ หรือที่เค้าเรียกว่า Indifferent อันนั้นถ้าเป็น indifferent คือมันเฉย มันเฉยจริงๆ ไม่แคร์แล้ว อย่างนั้นไม่ใช่ Equanimity หรือว่ามันเป็น Equanimity ที่ผิดหนทางของพระพุทธองค์ ในแง่นึง Equanimity เป็นจิตใจที่ประณีตแบบพรหมวิหาร ตั้งบนพื้นฐานของความมั่นคง จิตไม่วอกแวก สามารถแต่ความรู้รอบคอบมีพร้อมอย่าง
คิดดู ฌาน 4 คือฌานที่ละเอียดที่สุด ประกอบด้วยอุเบกขากับสติ บริบูรณ์ทั้งสองฝั่ง มันเป็นจิตที่ประณีตจริงๆ แต่ว่ามั่นคง ไม่วอกแวกเลย Equanimity หรืออุเบกขา เราต้องเข้าใจว่าเรากำลังพัฒนาจิตเพื่ออะไร เราต้อง ยังไงมันต้องบนพื้นฐานของผู้รู้อยู่ อันนี้จะทิ้งไม่ได้ ตั้งบนพื้นฐานของผู้มีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันอารมณ์ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม ในความรู้สึกและอารมณ์เหล่านั้น เลยมั่นคง เลยอุเบกขาได้ เพราะกำลังของผู้รู้ อันนี้มันเป็นคุณธรรมที่เราน่าพิจารณาเพราะเป็นสิ่งที่มีอะไร รำคาญเรา หรือรู้สึกมันปวดหัว เราอุเบกขาดีกว่า แต่ก็จริงอันนี้มันเกิดจากความเกลียดมากกว่า มันไม่ใช่อุเบกขา เราต้องลองดูว่าเป้าหมายของพระพุทธเจ้าดูออกในลักษณะไหน
[17:43] กราบนมัสการท่านอาจารย์เจ้าค่ะที่ท่านพระอาจารย์แนะนำว่าเวลานั่งสมาธิ รู้แล้วให้วาง หมายความว่าอย่างไรคะ เช่นรู้ว่าไม่ชอบเกิดขึ้นแล้วไม่คิดต่อใช่ไหมเจ้าคะ
พระอาจารย์ปสันโน : ก็เป็นในลักษณะนั้น คือรู้แล้วเราวางในลักษณะที่ เพราะถ้าหากว่าเรารู้จริงๆ คือ เชื้อของความปรุงแต่งต่อก็จะไม่มี แต่เพราะเราไม่ได้เกิดความรู้สึกว่า ความพอใจ ความไม่พอใจ หรือความสงสัยหรือความโลเล อย่างใดอย่างหนึ่ง มันรู้ชัดเจน อย่างที่หลวงพ่อพุทธทาส ชอบใช้สำนวนว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง และก็เมื่อมันเป็นเช่นนั้นเอง มันก็จะให้เป็นอย่างอื่น ก็เป็นไปเรื่อยๆ เราก็ไม่จำเป็นต้องปรุงต่อ หรืออย่างหลวงพ่อสุเมธโธท่านชอบใช้สำนวน It’s like this. ซึ่งมีความหมายที่ลึกมาก ดูผิวเผินมันก็ผิวเผินอยู่ แต่พอพิจารณา อืม..มันเป็นอย่างนี้ ความเป็นจริงเป็นอย่างนี้ หรือเราดูแล้ว เอ๊ย มันสักแต่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือดูในเพียงผิวเผิน มันก็เหมือนปกติ ไม่ต้องคิดอะไรมาก แต่เมื่อมาพิจารณาจริงๆ เห็นว่า อย่างไงตามสัจจธรรม ตามความเป็นจริง ให้เป็นอย่างอื่นก็เป็นไปไม่ได้ ก็เพราะจะเป็น คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นสังขาร ที่มีส่วนประกอบจะเป็นของ ที่มีรูปก็ดี นามก็ดี จิตใจก็ดี เรื่องโลกภายนอกก็ดี มันก็มีความไม่เที่ยงครอบงำอยู่ มีความทุกข์ครอบงำอยู่ มีอนัตตาเป็นสภาพที่ มันก็เถียงไม่ได้ เป็นอย่างอื่นไม่ได้ และเมื่อเราเห็นชัดเจนอย่างนั้น โอ๊ะ มันโล่งอกโล่งใจ เออ วางได้ ไม่เป็นเรื่องที่จะต้องหนักใจ หรือกลุ้มใจหรือเกิดความรู้สึกกลัว หรือเกลียดยังไง มันก็เท่านี้แหละ จะเป็นอย่างอื่นก็เป็นไปไม่ได้
[20:50] กราบนมัสการพระอาจารย์ ระหว่างปฏิบัติแล้วมีเสียงก๊อกแก๊ก เสียงนก เพื่อนไอจาม เราควรปฏิบัติกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร ฝึกอะไรได้จากเสียงเหล่านี้ครับ
พระอาจารย์ปสันโน : ก็ เสียงคือเสียง ความไม่ชอบเสียงก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งของจิตใจ เพราะเราไม่มีหน้าที่ที่จะทำให้เสียงไม่มี ยิ่งโดยเฉพาะเวลา คือไม่ใช่เราไปหาที่ที่ดังสนั่นหวั่นไหว วุ่นวายจริงๆ แต่ว่าในเมื่อเรามาอยู่ ณ สถานที่ใด มันก็จะต้องมีเสียงเพราะมีคน หรือมันเป็นที่อยู่มนุษย์ แม้จะเป็นที่อยู่ธรรมชาติ นกก็มีเสียง แมลงต่างๆ ก็มีเสียง ยิ่งอยู่ในเขตร้อน ธรรมชาติมันหลากหลายเหลือเกิน เขาแข่งขันกันแสดงว่า เราอยู่ที่นี่ล่ะ มันก็มีเสียงอยู่เรื่อย เราต้องยอมรับนะ ธรรมชาติก็เป็นอย่างนั้น เราอย่าไปทะเลาะกับเสียง ถ้าไม่ทะเลาะกับเสียง เสียงก็คือเสียง ผู้รู้ก็เป็นผู้รู้ มันก็คนละประเด็นกันในจิตใจของเรา ผู้รู้ก็สงบ เสียงมันก็เป็นไปตามเสียง และถ้าเราแยกออกได้ ก็ทำให้สบาย เพราะเราไม่ได้สร้างปัญหากับเสียง
เหมือนกับที่หลวงพ่อชาไปประเทศอังกฤษ เป็นครั้งแรกที่ท่านไป แล้วก็พอดีที่ที่ท่านไปเป็นที่พักของสงฆ์ ที่พักของพระสำนักสงฆ์ ที่ในที่สุดทางมูลนิธิทางโน้นถวายหลวงพ่อชาให้เป็นที่ที่เริ่มทำสาขา อยู่ในกรุงลอนดอน พอดีมันก็เป็นบ้าน 4 ชั้น ก็ใหญ่พอสมควร มีที่พักอาศัย มีที่ประชุม แล้วก็อยู่ในถิ่นที่ไม่แย่เลย มันก็อยู่ใกล้ๆ สนาม Park อยู่ใกล้ๆ พื้นที่พอสมควร แต่มันก็ติดถนนใหญ่ เลยก็มีรถผ่านไปตลอด อีกอย่างก็จะมีผับข้ามถนน ยิ่งในช่วงเวลาฤดูกาลที่หน้าร้อน เขาก็มี เขาก็เปิดเสียงดังเปิดหน้าต่างทั้งวัด มันก็อากาศร้อน ก็เปิดหน้าต่างให้มีอากาศถ่ายเท มันก็ได้ยินเสียง แล้วช่วงเวลาที่มีการนั่งสมาธิ หลวงพ่อชาเป็นผู้นำ นำนั่งสมาธิแล้วก็อบรมธรรมแล้วก็เปิดโอกาสคำถามคำตอบ ก็มีคน ทำยังไงเวลาเสียงมารบกวนเราเวลานั่งสมาธิ หลวงพ่อชาท่านก็ เออะ เสียงไม่ได้รบกวนเรา เราไปรบกวนเสียง เสียงก็คือเสียง เราเป็นผู้รู้ ต้องแยกออกให้ได้
[25:13] กราบเรียนถามพระอาจารย์เรื่องความตั้งใจในการนั่งสมาธิตามลมหายใจอย่างไรจึงไม่รู้สึกว่ากำลังบังคับ กำลังคิดว่าตามลมหายใจอยู่ถ้าคิดว่าตามได้ไหมครับ
พระอาจารย์ปสันโน : คืออย่างหนึ่งก็ลองกำหนดที่รู้สึกว่าสบาย และวิธีที่กำหนด เช่น ถ้าหากว่าที่ปลายจมูก เป็นความรู้สึกเป็นความรู้สึกที่ชัดเจนที่สุด ก็เอาตรงนั้น แล้วก็คอยสังเกตดู ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เพราะว่าความรู้สึกนั้นก็จะเปลี่ยน ลมหายใจเข้าก็จะรู้สึกอย่างหนึ่ง ลมหายใจออกก็จะรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง ลมหายใจเข้าก็จะเย็นซักหน่อย ลมหายใจออกก็จะอุ่นซักหน่อย เราก็จะมีการเปลี่ยน แม้ในระหว่างที่สัมผัสอยู่มันก็ยังจะมีความรู้สึกเปลี่ยนอยู่ แต่ก็เป็นการคอยสังเกตด้วยความละเอียด หรือจะดูที่ท้อง หน้าท้อง ยุบก็ดี พองก็ดี ว่ามันมีความรู้สึกอย่างไร เราก็คอยตั้งใจดู หรือความรู้สึกภายในร่างกาย ลมหายใจเข้านั้นมันมีความรู้สึกใด ในบริเวณศีรษะเข้าถึงหน้าอก ลงถึงหน้าท้อง คือเราก็คอยสังเกตดู ติดตามความรู้สึกเพื่อเห็น อย่างหนึ่งก็คืออะไรที่ทำให้สบาย เพราะว่าความรู้สึกมีอยู่แต่ว่าเราต้องเป็นผู้สังเกตความรู้สึกนั้น
แล้วพยายามที่จะตั้งประเด็นว่ามันเปลี่ยนแปลงอย่างไร และบางทีมันกำหนดจะว่ามากเกินไป จะให้ได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง มันก็ไม่จำเป็น ขอให้ได้เห็นพอสมควรเพื่อจะอยู่สบายๆ แล้วก็ได้ประคับประคองสติ ประคับประคองการกำหนดไว้ เราเพื่อสังเกตดูว่า เอ..จิตของเรายังมีความพอใจกับการกำหนดไว้หรือมีความคิดที่จะปรุงไหม เหมือนเริ่มฝ่าพายุไป แล้วก็ต้องค่อยๆ ยกประเด็นขึ้นมาพิจารณา หรือมันเริ่มที่จะบางทีเราจำเป็นจะต้องลืมตาไว้แทนที่จะหลับตากำหนดลมหายใจเข้า ลมหายใจออก บางทีเราก็จำเป็นลืมตาไว้ เพื่อไม่ให้ง่วง ไม่ให้เผลอ แต่ก็ต้องหาอุบาย หาวิธีที่จะทำให้รู้สึกมีความต่อเนื่องตามความรู้สึกลมเข้า ลมออก ความรู้สึกที่สัมผัสตามร่างกายของเรา แล้วก็ให้มีความคลี่คลายในความรู้สึกนั้น ไม่ให้มันจดจ่อจนเกินไป บางทีมันจดจ่อจนเกินไปมันจะรู้สึกอึดอัดคับแคบ แต่พอมีความรู้สึกพอใจอยู่กับการกำหนดลมเข้าลมออก ก็จะมีความต่อเนื่องของผู้รู้มากขึ้น เมื่อมีความต่อเนื่องของผู้รู้มากขึ้นมันก็จะมีความพอใจที่จะอยู่ ความนึกคิดปรุงแต่งมันจะน้อยลง ความรู้สึกก็จะเด่นขึ้น มันก็เป็นธรรมชาติของจิต มันจะต้องค่อยๆ ฝึกค่อยๆ หัด
[29:45] กราบเรียนท่านอาจารย์ ศิษย์อยากทราบว่าสิ่งใดหรือเหตุการณ์ใดทำให้ท่านมุ่งมั่นตั้งใจปฏิบัติเพื่อหลุดพ้นจากวัฏฏะสงสาร มุ่งสู่นิพพาน ท่านเคยมีช่วงที่ท้อแท้ในการปฏิบัติภาวนา การสู้กับกิเลสบ้างหรือไม่ แนวคิดใดที่ท่านใช้เพื่อผ่านความท้อแท้นั้นๆ
พระอาจารย์ปสันโน : โอ อาตมามีแต่ความสำเร็จล่ะโยม Kidding มันไม่มีใครที่ไม่จำเป็นต้องต่อสู้เลย หรือที่เกิดความท้อแท้ และนี่เป็นเรื่องธรรมดาเลย เป็นทุกคนไม่ว่าจะเป็นใคร เป็นแง่ที่เราฝึกจิต มันก็เป็นส่วนที่เราต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงของจิต กิเลสมันมีแต่ละชั้นๆ แต่ละชั้นจริงๆ เราก็ต้องคอยหาอุบายที่จะสังเกตมัน เพราะว่าก็ได้ชั้นนึงแล้ว อ้าว มันลึกเข้าไปอีก เราต้องคอยพัฒนาการภาวนาหรือการปฏิบัติของเราให้มันละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือต้องหากำลังใจอยู่เรื่อย อันนี้ก็เป็นส่วนธรรมชาติของการปฏิบัติ ที่เราเริ่มสนใจที่จะอยู่และ ทุ่มเท พูดตามความเป็นจริง พูดแง่หนึ่งมันก็ อาตมาว่ามันคือมันเกิดจากความรู้สึกว่า เบื่อจริงๆ เบื่อชีวิต เบื่อการเป็นมนุษย์ เบื่ออยู่ในสังคม แต่ความเบื่อนั้นมันยากที่จะดูว่ามันมาจากไหน อาตมาคิดว่าบุญช่วยส่ง ทำให้เราสงสัยในคุณค่าที่คนในสังคม เขาว่าอันนั้นดี อันนี้ดี อันนี้น่าเอา อันนี้น่าเป็น เห็นแล้วก็ทำไมคนวิ่งตามสิ่งเหล่านั้นอยู่ ทำให้เราสงสัย เราพยายามที่จะหาทางออก
แต่คิดในแง่นึง มันน่าจะเป็นบุญเก่าช่วยส่ง เลยก็ผลักดันมาเมืองไทย ไม่ใช่ว่าตั้งใจมาเมืองไทย เพราะว่าเรามาเมืองไทยใหม่ๆ คือว่าเราจะผ่านเฉยๆ ไม่รู้ว่าเมืองไทยเป็นเมืองที่มีพระพุทธศาสนาอยู่ ความรู้ก็น้อย เราได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็มีความ คือพูดถึงในปรัชญาและในศาสนาที่เราได้ศึกษาอยู่ พระพุทธศาสนามีเหตุผลที่พอใจที่สุด แต่ว่าหนังสือส่วนมากที่เราอ่านเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและการฝึกจิตใจ สมัยนั้นมีน้อยมาก มีไม่มาก ก็เกี่ยวกับญี่ปุ่นและเซน ของญี่ปุ่น เลยมีความคิดในใจที่ว่า เที่ยวหาประสบการณ์เพื่อเพราะว่าเราเป็นเด็กบ้านนอก ประสบการณ์น้อย ยังขาดประสบการณ์ในชีวิตและอยากรู้โลกมากขึ้น เลยคิดว่าจะเที่ยวให้อิ่มเสียก่อน แต่มันก็ยิ่งเที่ยวมันยิ่งไม่ค่อยอิ่มเท่าไหร่ เราเลยยิ่งทำให้อยากหาอะไรที่เป็นสาระ อันนี้มันเป็นสิ่งที่อยู่ในใจ แม้แต่ตอนอยู่ในอินเดีย อยู่ในเนปาล นั้นมันก็ คืออะไรๆ ก็สวยงาม คนที่เราพบอยู่ก็เป็นคนดีพอสมควร แต่ว่ามันมีเสียงในจิตใจหรือความรู้สึกในจิตใจ อันนี้ไม่ถูก ไม่พอแล้ว ทำอย่างไรที่จะหาอะไร พอมาถึงเมืองไทย ก็รู้สึกทันทีว่า น่าจะก็คงอยู่ที่นี่ต่อ หาประสบการณ์ที่นี่ หาความรู้ที่นี่ เพราะเรารู้ว่า พอมาถึงสิ่งที่มีอยู่ทั่วๆ ไปคือวัด แต่ในพุทธศาสนาก็ว่าเราต้องค้นคว้าเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่นี่ล่ะ ค่อยไปญี่ปุ่นทีหลัง นี่ 50 ปีผ่านไป ยังไม่ถึงญี่ปุ่นเลย
แต่เป็นอีกอย่างหนึ่งที่บุญ เราเรียกว่าบุญ หรือว่ามีชื่อในภาษาไทยว่าบุญส่ง ใช่ไหม เออ ชื่อนี้เลยมีความหมายมากที่สุด มันก็บุญส่งให้เรามาเมืองไทย บุญส่งให้เราไปกราบหลวงพ่อชา เพราะว่าได้พบกับหลวงพ่อก็ทำให้เรามีความรู้สึกมั่นใจว่าอันนี้คืออาจารย์ของเรา อันนี้คือหนทางที่เราต้องศึกษา ทั้งๆ ที่ไม่ได้ ทั้งๆ ที่เรามีอุปสรรคมากมาย แต่ว่าพออยู่ไปก็มีกำลังใจว่าครูบาอาจารย์ก็ทำมาก่อน เราได้ ปีนี้ในตอนประมาณซักเดือนเมษา เออ ใช่ สงกรานต์ โยมแม่ของอาตมาลงมาร่วมสงกรานต์ที่วัด ก็ไปเจอก็ช่วยพวกเรา แต่ก็ได้อยู่และแม่ก็ได้เล่าให้ฟังว่าแม่กำลังจะเก็บของเตรียมจัดของที่สะสมไว้มานาน ก็เพื่อเวลาสิ้นชีวิตแล้วคนอื่นจะได้ไม่ต้องเก็บของของท่าน เจอก็มีกล้อง จดหมายทั้งหมดที่อาตมาได้เขียนถึงแม่ตั้งแต่ 2516 ตอนเราเริ่มเที่ยวแล้วก็เริ่มพบกับพระพุทธศาสนาในเมืองไทย แล้วก็ได้เริ่มอยู่ที่วัดนานาชาติ ทั้งหมดแม่เก็บไว้ ส่วนมากอาตมาจำไม่ได้ เขียนก็เพื่อเขียน อาตมาส่งรูปไปให้ตั้งแต่ 2518 หรืออย่างไง คือช่วงที่สร้างวัดนานาชาติใหม่ๆ หลวงพ่อสุเมธโธยังเป็นประธานสงฆ์ ยังเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อส่งไปที่โน่น แม่ก็เก็บอยู่ในหีบให้ คุณภาพก็เลยดีเชียว มีตั้ง 30-40 แผ่น เหมือนกับเป็นประวัติของวัดป่านานาชาติ แต่ในนั้นก็อาตมาเองก็ไม่ได้ไปอ่านจดหมายที่เราคิด ขี้เกียจอ่านเพราะมันเยอะเลย แต่ว่ามีจดหมายฉบับนั้นที่ได้ส่งรูปไปเพราะว่าอาตมาอธิบายรูปทั้งหมด แล้วก็ได้อธิบายว่าเราได้ ในตอนนั้นคงเป็นพรรษา เริ่มเข้าพรรษา 3 หรือไงก็ 2 พรรษาแล้ว เริ่มเข้าพรรษา 3 เราได้ ก็คงคิดมานานพอสมควรแล้ว แต่ไม่รู้จะบอกกับพ่อแม่ว่าอย่างไร ว่ายังไงก็ไม่กลับบ้านแล้ว เราเลยบอกว่าเราตั้งใจอยู่อย่างน้อย 5 ปี แต่ได้อธิบายกับเขา อันนี้ที่อ่าน อาตมาจำไม่ได้ว่าได้เขียน แต่ว่าอ่านดู ว่าได้บอกกับพ่อแม่ว่า ที่เราคิดจะอยู่ต่อก็เพราะว่าหลวงพ่อชาเป็นอาจารย์ที่นี้ และท่านเป็นตัวอย่างที่สำคัญมากเพราะว่าในชีวิตไม่เคยพบคนที่เป็นคนที่มีความมั่นคง สงบ นิ่ง ในสถานการณ์ไหน เป็นคนมั่นคงนิ่ง เราอยากหัดให้เป็นอย่างนั้นซักหน่อย นี่มันเป็นการทวนความจำของอาตมาแล้วก็ทวนเหตุผลที่เราได้อยู่กับหลวงพ่อชา
[41:23] กราบนมัสการพระอาจารย์ เวลาที่รู้สึกว่ากำลังตกอยู่ในอันตราย เช่น มีคนเมากำลังเดินเข้ามาใกล้ เดินฝ่าในความมืด มีป้ายประกาศให้ระวังหมีในละแวกนั้น อยู่ในเรือที่กำลังฝ่าคลื่นลมแรง เราควรจะสวดมนต์บทไหน
พระอาจารย์ปสันโน : ไม่ไปดีกว่าหรอ ไม่เหนื่อยในการสวด บทไหนที่เรารู้สึกว่าพอใจ บทนั้นล่ะดีที่สุด แต่บทที่ใช้ได้ทุกกรณีทุกๆ แง่มุม จะอันตรายไม่อันตราย จะรู้จักอบอุ่น รู้สึกว้าเหว่ อิติปิโส อันนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์และเป็นการระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่งที่แท้จริง อันนี้มันเป็นความรู้สึกของอาตมา จะแบ่งบทที่น่าใช้มากที่สุด แต่ถ้าพูดถึงกรณีจริงๆ แล้วก็รู้สึก มันเป็นสถานการณ์ที่รู้สึกกลัว และความที่มันฉุกคิดขึ้นมาว่าต้องแผ่เมตตาก็ช่วยไว้ก่อน หรือควรจะอุทิศส่วนก็อุทิศส่วนบุญกุศล แต่ถ้าเรากำลังสงสัยว่า เอ๊ะ จะสวดบทไหนดีที่ไม่พลาด อิติปิโส ก็ไม่ต้องห่วงละ มันใช้ได้ในทุกกรณี
[43:58] กราบนมัสการท่านเจ้าคุณอาจารย์ ทำอย่างไรที่จะให้เราออกจากความหลงในกามตัณหา ความหลงในซีรีส์ละคร หลงในความเพลินกับเพลง เพราะบางทีเราแอบบอกกับตัวเองว่าสิ่งนี้ไม่ได้เลวร้าย ไม่ใช่บาปกรรม เราน่าจะทำได้ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : ก็อยากเจอเหตุผล ก็เราหาเหตุผลอยู่เรื่อย แล้วก็พยายามมองเห็นสาระ พยายามเห็นสาระของความสงบ เพราะที่ได้ความตื่นเต้นหรือได้ความสนุกสนาน มันก็ชื่นใจอยู่ แน่นอนเราก็ จะว่ามันสิ่งเลวร้าย ไม่ใช่ แต่ว่ามีคุณค่าเท่าความสงบไหม ไม่ เลยเราพยายามที่จะพิจารณาเห็นคุณค่าของความสงบ แล้วก็ยิ่งเหมือนกับทำยังไงจึงจะให้จิตใจของเรายินดี พอใจกับความสงบ เราก็ดำเนินการพัฒนาจิตของเรา แต่ว่าก็แน่นอนล่ะ มันก็เป็นการฝืนความเคยชินของเราและค่านิยมของสังคม แต่เมื่อได้จิตของเราไปเผลอ เลยได้รู้สึกยินดี การเพลิดเพลินอย่างนั้น ก็ลองทบทวนดูว่า เอ๊ะ จิตของเราสงบไหม เยือกเย็นไหม ปลอดโปร่งไหม เป็นสาระไหม เป็นสาระในลักษณะไหน ยิ่งดู มันก็ยิ่งมีสาระน้อยลง แต่ว่าอย่าไม่มาด้วยความเป็นเหมือนเอาอุดมการณ์มาทับเอา ยังไงก็ต้องละให้ได้ ต้องบังคับไม่ให้ทำ มันต้องหาเหตุผลให้ได้ มันต้องหาสิ่งที่ดีกว่านั้น ถ้าเราไม่ได้หาอะไรที่ดีกว่า จิตก็จะค่อยวกกลับหาสิ่งที่จะสร้างความพอใจให้ได้ ไปหาสิ่งที่ดีกว่า หาสิ่งที่ละเอียดกว่า หาสิ่งที่ประณีตกว่า อยู่ที่ความสงบปลอดโปร่ง ดังนั้นเป็นคำพูดของอาตมาอย่าไปเชื่อ เราหาของเราอย่างนั้นจะแน่นอนกว่า
[47:03] กราบนมัสการพระอาจารย์ เวลาผมมีสติใคร่ครวญในที่ทำงานเพื่อนบางคนบอกว่าอ่านเราไม่ออก ไม่อยากสนิทด้วย เราควรทำอย่างไรกับเรื่องนี้ครับ กราบขอบพระคุณครับ
พระอาจารย์ปสันโน : มันก็ต้องทบทวนดูว่าเรากำลังพยายามตั้งสติด้วยความเป็นจริง หรือตั้งสติด้วยอุดมการณ์ มันก็อยู่คนละประเด็น ผู้ที่มีสติก็สามารถที่จะปรับเข้ากับสถานการณ์ได้สบาย แต่ผู้ที่บังคับสติให้อยู่ลำบากในการปรับตัวได้ เหมือนกับมีสมัยก่อน อันนี้ที่สมัยก่อนเป็นประสบการณ์ของอาจารย์อมโร ที่วัดอมโรวดี พอดีมีตำรวจคนหนึ่งที่ไปวัดประจำแล้วเขาไปรู้สึกท้อใจ เศร้าใจ มาเล่าอุปสรรคของในชีวิตมาให้อาจารย์อมโรฟัง ว่าที่ในครอบครัวทั้งภรรยาและทั้งลูกสองคนไม่พอใจกับเขาที่เขาเป็นผู้พยายามให้เป็นผู้มีสติและฝึกตัวเองในธรรมะ เขารำคาญและอึดอัด อาจารย์อมโร ทำสติอย่างไรจึงได้ทำให้คนรำคาญ เอ้า ก็เราพยายามที่จะตามรู้ในทุกอย่าง เราก็พยายามเดินแต่เช้าเลย ยกอะไร เราก็พยายามตามรู้ที่เรายก ได้จัดซีเรียลตอนเช้า เราก็พยายามเทให้มีสติ มันดูแล้วมันสร้างความรำคาญให้คนรอบตัวมาก มันก็อย่างนี้แหละ มันก็สติตามอุดมการณ์ ไม่ใช่ว่าสติตามความเป็นจริง เราต้องคอยทบทวนดูว่าที่เรากำลังตั้งสติอยู่ บังคับให้มี ไม่แสดงออกถึงความยินดีหรือความเรียบร้อย มันก็เป็นอุดมการณ์ คนอื่นก็อ่านไม่ออก แต่ว่าสตินั้นเป็นสติที่บริบูรณ์ไหม หรือมันเป็นสติตามที่เราวาดภาพ ในการจินตนาการของเรา อันนี้ก็เป็นเพราะว่าผู้มีสติจริงๆ อยู่กับเพื่อนมนุษย์ก็อยู่กันสบาย
[50:43] ที่บ้านเลี้ยงไก่เป็ดไว้กินไข่ค่ะ กลางวันปล่อยเดินเล่นนอกกรง วันหนึ่งสุนัขจรจัดในหมู่บ้านมากัด เอาไปกิน ตั้งใจว่าจะให้คนงานเอาสุนัขไปปล่อยที่อื่นเพราะกัดเป็ดตาย ที่เหลือจะอันตราย และสุนัขไม่ได้ฉีดยา ทำแบบนี้บาปไหมครับ ถ้าบาปทำอย่างไรไม่ให้บาปครับ เอาเป็ดขังกรงแทนสุนัขหรือคะ
พระอาจารย์ปสันโน : อันนี้อาตมาไม่แน่ใจ แต่ว่าคือบางที่ถ้ามันเป็น คืออย่างหนึ่งเราเลี้ยงไก่ เราก็ป้องกัน การป้องกันนั้นก็ดีที่สุด เราในที่สุดถ้าหากว่ามี ถ้าหากว่าเป็นไม่รู้จักสถานการณ์ที่แท้จริง ในบางที่ เช่น หมามันพอจะเคย รู้ว่าไม่มีเจ้าของ แต่รู้ว่ามันเคยอยู่กับหมู่บ้านนั้น อะไรอย่างนั้นนะ มันก็ไปจับเอาไปฉีดยา เอาไปดูแลให้หมอแล้วก็ให้อาหารซักหน่อย มันก็จะไม่มากินไก่เรา แต่สิ่งที่สำคัญเรื่องการป้องกันตัวนี้ตัวสำคัญกว่า
[52:21] บทสวดมนต์ในหน้า 66-67 โอวาทปาติโมกขคาถา ตอนจบบอกว่า ธรรม มี 6 อย่างคืออะไรบ้างคะ เพราะถ้าเริ่มจากขันติ น่าจะมีเกิน 6 ข้อค่ะ กราบเรียนถามค่ะ
พระอาจารย์ปสันโน : เอ้ จำไม่ได้ ต้องทบทวน มี 6 อย่าง หรือเปล่าหนอ ก็อาจจะแล้วแต่จะนับน่ะ ไม่เคยนับซักทีเลย แต่ทบทวนดูก็ว่ามันดีทั้งนั้น ก็เลยไม่ได้นับ คือการ ไม่แน่ใจ คือไม่เคยคิดเลย ที่แน่นอน ที่เราจะขึ้นประจำ..54:02.. อันนั้นก็สามอย่างนั้น แล้วก็หกอย่าง ขันติ ปะระมัง ตะโป ตีติกขา ก็คงจะต้องดู ต้องแยกออก อาตมาเองก็มันแยกออกไม่เป็น เวลาเหลือน้อยเกินไป
[54:36] กราบเรียนท่านอาจารย์ ความหมายของศีล 8 ข้อที่ 8 หมายความว่าอย่างไร and how do it relate to the dhamma. Thank you.
พระอาจารย์ปสันโน : คืออยู่เรียบง่าย จะนอนก็ดี นอนก็ดี ก็ให้เรียบง่าย คิดแค่นี้แหละ I mean living simply that relates to the dhamma. Do you want to be implementing simplicity in your life as much as possible so that how you sleep, how you sit, what things you surround yourself with those conditions simplicity really helpful really support so that อยู่อย่างเรียบง่าย Living with simplicity is a goal.
คำถามหมดแล้ว อย่างนั้นก็คำตอบก็หมดแล้วเหมือนกัน